1S 1.3: Enhanced Recovery after Surgery (ERAS)

การส่งเสริมการฟื้ นตัวหลังผ่าตัด

Definition

การส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด หมายถึง การที่ทีมงานสหสาขา (Multi-disciplinary

team) น าขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) มาท าให้ผู้ป่วย

ที่มารับการผ่าตัดอยู่ในสภาวะที่พร้อม (Optimal condition) เพื่อให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม

ที่สุด (The most appropriate care) ตามศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่ เริ่มตั้งแต่ก่อนผ่าตัด

ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด โดยให้ความส าคัญของการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ

Goal

1) ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 2) ลดระยะเวลาอยู่โรงพยาบาล (Hospital stay) 3) เพิ่ม

คุณภาพชีวิต (Quality of life) ของผู้ป่วยหลังผ่าตัด 4) สร้างการมีส่วนร่วมของทีมผู้ให้การ

รักษา ผู้ป่วย และญาติ

Why

เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างสามารถป้องกันได้ การเตรียมการผ่าตัดที่ดี

สามารถลดระยะการอยู่โรงพยาบาล โดยไม่ลดทอนคุณภาพการรักษา การดูแลผู้ป่วยผ่าตัด

เป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้การรักษา ผู้ป่วยและญาติ ท าให้ทุกฝ่ายเกิดความตระหนักถึง

การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

Process

การส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัด เพื่อให้เกิดผลรับที่ดี ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ระยะก่อนผ่าตัด

1.1. การให้ความรู้และค าแนะน าก่อนผ่าตัด ควรครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้

- ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล

- วิธีการผ่าตัด ผลกระทบ และความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการผ่าตัด

- การให้ยาระงับความรู้สึก และผลกระทบที่เกิดจากการให้ยา

- การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด ได้แก่ การหายใจ การไอ และการลุก

จากเตียงโดยเร็ว

- วิธีการระงับปวดหลังผ่าตัด

ฯลฯ

1.2 ประเมินและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการก่อนผ่าตัด โดยใช้เครื่องมือ เช่น Nutrition triage

หรือ Nutrition alert form2

1.3 งดน ้าและอาหารตามแนวปฏิบัติ (Guidelines) ของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ แห่งประเทศ

ไทย3

2. ระหว่างการผ่าตัด

2.1 ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีข้อบ่งชี้

2.2 ให้ยาป้องกันภาวะคลื่นใส้อาเจียนหลังผ่าตัด ตามแนวปฏิบัติ (Guidelines) ของอเมริกา4

2.3 ไม่ใส่ท่อระบายหรือสายสวนโดยไม่จ าเป็น

2.4 ให้สารน ้าและเกลือแร่เท่าที่จ าเป็น เพื่อให้เกิดความสมดุล

2.5 ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอุณหภูมิกายต ่า (Hypothermia)

3. หลังการผ่าตัด

3.1 ประเมินและควบคุมอาการปวดอย่างเหมาะสม

3.2 พิจารณาให้น ้าและอาหารทางปากโดยเร็ว ถ้าไม่มีข้อห้าม เช่น

สัญญาณชีพไม่คงที่ มีความเสี่ยงต่อการส าลัก มีภาวะท้องอืด

3.3 ให้การรักษาอาการคลื่นใส้อาเจียน (ถ้ามี)

3.4 กระตุ้นและช่วยให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงโดยเร็ว

3.5 ถอดท่อระบายหรือสายสวนออก เมื่อไม่มีข้อบ่งชี้หรือไม่มีความจ าเป็น

3.6 ให้ค าแนะน าก่อนกลับบ้าน เกี่ยวกับอาการส าคัญของภาวะแทรกซ้อน ช่องทางการ

ติดต่อสื่อสารเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม หรืออาการส าคัญที่ควรกลับมาพบแพทย์ก่อนวันนัด

3.7 ประเมินการปฏิบัติและผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง

Training

ควรให้ความรู้แก่ผู้ให้การรักษา ผู้ป่วยและญาติ เกี่ยวกับการส่งเสริมการฟื้นตัวหลัง

ผ่าตัด เพื่อให้เกิดความตระหนักและน าไปใช้อย่างสม ่าเสมอ

Monitoring

1. ติดตามว่ามีการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดของทีมงานสหสาขา หรือไม่

อย่างไร

2. ติดตามผลลัพธ์ที่เกิดจากการส่งเสริมการฟื้นตัวหลังผ่าตัดว่าเป็นอย่างไร โดย อาจติดตาม

ผลจากสิ่งต่อไปนี้

 ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด

 ระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัด (Post-op hospital stay)

 การผ่าตัดซ ้าโดยไม่ได้วางแผนไว้ก่อน ภายใน 30 วัน

 การกลับมารักษาตัวในโรงพยาบาลซ ้า (ด้วยสาเหตุเดียวกัน) ภายใน 30 วัน

 อัตราตาย ภายใน 30 วัน

Pitfall

 ขาดความร่วมมือระหว่างทีมสหสาขาผู้ให้การรักษา

 ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา

 ไม่ตระหนักถึงความส าคัญของการประเมินภาวะทุพโภชนาการ หรือประเมินแล้วให้การ

รักษาไม่เหมาะสม

 ขาดการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะคลื่นใส้อาเจียนหลังผ่าตัด

 ให้สารน ้าไม่สมดุลย์ เช่น ให้สารน ้าเกินในขณะผ่าตัด

ไม่ให้ค าแนะน าเรื่องภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดก่อนกลับบ้าน

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 หัวข้อ 4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IC.1)

ก. ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (4), ตอนที่ III หมวดที่ 4 หัวข้อ 4.3 การดูแลเฉพาะ

(PCD.3) ก. การระงับความรู้สึก (1), (2) และ (3) ข. การผ่าตัด (1), (2), (3), (5) และ (7) ค.อาหาร

และโภชนบ าบัด (2) จ. การจัดการความปวด (3), หมวดที่ 6 การดูแลต่อเนื่อง (COC) (4)