5L 1.1 In-Transit Ambulance Safety

L 1.1 In-Transit Ambulance Safety

Definition

In-Transit Ambulance หมายถึง

ขบวนการปฏิบัติการดูแลและรักษาผู้ป่วยบนรถพยาบาล

ขณะนำส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล

Goal

การตายการบาดเจ็บของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่บนรถพยาบาลจากอุบัติเหตุรถพยาบาลลดลง

Why

สถานการณ์ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 แม้จะได้มีการสนับสนุน ให้

ความรู้และมีมาตรการต่างๆเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่บน

รถพยาบาลแล้วก็ตามแต่จากการเก็บข้อมูลโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติในปี

พ.ศ.2556 ปรากฏว่า ยังพบอุบัติเหตุรถพยาบาล 61 ครั้ง ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ได้รับ

บาดเจ็บรวมแล้วจ านวน 131 คน และมีผุ้เสียชีวิต 19 คน

มาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่ลดความรุนแรงขณะชนยังไม่ได้ตาม

เกณฑ์ที่นานาชาติยอมรับและใช้อย่างแพร่หลาย ดังนั้นการปรับปรุงรถพยาบาลเพื่อให้ได้

มาตรฐานความปลอดภัยตามที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติจึงสมควรเป็นอีกหนึ่ง

วิธีการที่จะลดการบาดเจ็บ การตายของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่บนรถพยาบาล

Process

จากการศึกษามาตรฐานรถพยาบาลของกลุ่มประเทศยุโรปและงานวิจัยต่างๆ พบว่า

มาตรฐานความปลอดภัยของรถพยาบาลนั้นต้องได้รับการออกแบบด้านวิศวกรรมเป็น

อย่างดีตั้งแต่ตัวถังรถ การติดตั้งอุปกรณ์ยึดตรึงเครื่องมือและการติดตั้งอุปกรณ์ความ

ปลอดภัยและได้มาตรฐานการทนแรงในทุกทิศทาง 10 G ทั้งตัวอุปกรณ์และวิธีการติดตั้ง

(10 G คือ มาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ เก้าอี้ เตียงและตกแต่งภายในต่างๆ ภายในห้อง

พยาบาลของรถพยาบาล ตามการคำนวณแรงกระทำต่อจุดยึดในทิศทางไปข้างหน้า ข้าง

หลัง ด้านซ้ายและด้านขวา โดยจุดยึดดังกล่าวต้องสามารถทนแรงได้ไม่น้อยกว่า 10 เท่า

ของน้ำหนักวัตถุนั้นๆ)

1. อุปกรณ์เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่

งานวิจัยต่างระบุว่าการจัดวางหรือตกแต่งภายในของส่วนห้องพยาบาลบน

รถพยาบาลนั้นไม่ได้ค านึงถึงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มากเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น

การวางอุปกรณ์การแพทย์ส่วนมากไว้ที่ฝั่งตรงข้ามกับเก้าอี้นั่งของเจ้าหน้าที่ ท าให้

เจ้าหน้าที่ต้องถอดเข็มขัดนิรภัยเพื่อไปใช้อุปกรณ์นั้น การแก้ปัญหาคือ ปรับการวาง

อุปกรณ์ที่ใช้บ่อยเช่นเครื่องวัดสัญญาณชีพมาติดตั้งที่ฝั่งเก้าอี้นั่งเจ้าหน้าที่ หรือจัดซื้อ

อุปกรณ์ที่สามรถควบคุมผ่านอุปกรณ์ไร้สายได้(Remote controller)เมื่อเจ้าหน้าที่นั่ง

บนเก้าอี้ที่ยึดไม่ได้มาตรฐานและใช้เข็มขัดนิรภัยที่ไม่ผ่านการทดสอบย่อมไม่สามารถ

ลดการเกิดการบาดเจ็บและการตายได้ ดังนั้นมาตรฐานความปลอดภัยของเก้าอี้นั่งและ

เข็มขัดนิรภัยควรได้มาตรฐานการทนแรงในทุกทิศทาง 10 G ทั้งตัวอุปกรณ์และวิธีการ

ติดตั้ง

2. อุปกรณ์เกี่ยวกับผู้ป่วย

ในท านองเดียวกันหากผู้ป่วยนอนบนเตียงพยาบาลที่เข็มขัดนิรภัย เตียงและ

ฐานรองเตียงไม่ได้มาตรฐานย่อมไม่สามารถลดการเกิดการบาดเจ็บและการตายได้

ดังนั้นมาตรฐานของเตียงผู้ป่วย ฐานเตียงและวิธีการติดตั้งควรได้มาตรฐานการทนแรง

ในทุกทิศทาง 10 G ทั้งตัวอุปกรณ์และวิธีการติดตั้ง

3. การยึดตรึงอุปกรณ์การแพทย์บนรถพยาบาล

วัตถุที่มีมวลทุกอย่างตามหลักฟิสิกส์จะมีแรงเฉื่อยดังนั้นเมื่ออุปกรณ์การแพทย์

ที่มีน ้าหนักอยู่บนรถพยาบาลที่วิ่งด้วยความเร็วและเมื่อเกิดการหยุดกะทันหันจาก

อุบัติเหตุ อุปกรณ์การแพทย์จะลอยออกจากชั้นวางและสามารถกระแทกผู้ป่วยและเจ้า

หน้าท าให้เกิดการบาดเจ็บได้ การแก้ปัญหาคือการจัดให้อุปกร์ทุกชิ้นที่เคลื่อนที่ได้ให้

ติดตั้งลงบนฐานเฉพาะของอุปกรณ์นั้นๆโดยที่ฐานยึดอุปกรณ์ต้องผ่านการทดสอบ

ความทนแรงทุกทิศทาง 10 G

Training

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยดังกล่าวจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆหากผู้ปฏิบัติไม่ได้

ใช้อย่างถูกต้องดังนั้น สถานพยาบาลควรต้องอบรมทัศนคติและการปฏิบัติการเพื่อ

ความปลอดภัยของตนเองและผู้รับบริการ

Monitoring

** รถพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกคันที่จัดซื้อหลังจากงบประมาณ พ.ศ.

2561 ทุกคันมีเก้าอี้พร้อมเข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตรฐาน เตียงผู้ป่วยและฐานรองเตียง

ที่ได้มาตรฐาน และอุปกรณ์การแพทย์ได้รับการยึดด้วยมาตรฐานความปลอดภัย

** ข้อมูล อุบัติการณ์และความรุนแรงจากอุบัติเหตุรถพยาบาล

ทำให้เกิดการตายการบาดเจ็บของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่บนรถพยาบาล

Pitfall

อุปกรณ์การแพทย์ เก้าอี้และเตียงผู้ป่วยนั้นแม้จะผ่านมาตรฐาน 10 G ที่ผ่าน

การทดสอบจากต่างประเทศมาแล้ว ยังคงต้องได้รับการยึดกับตัวถังรถด้วยมาตรฐาน

10 G ดังนั้นโรงงานผู้ผลิตต้องมีเอกสารรับรองวิธีการติดตั้งด้วยมาตรฐาน 10 G ที่

รับรองด้วยองค์กรที่น่าเชื่อถือด้วย

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 6 การดูแลต่อเนื่อง (COC) (3)

เครื่องที่ดี

การยึดกลับยานพาหนะ

ฝึกฝนการใช้งาน