SAR:III-5 การให้ข้อมูลและการเสริมพลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว

III-5 การให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ : การดูแลแบบองค์รวมและการมีส่วนร่วมของครอบครัว

บริบท

โรงพยาบาลและทีมนำคลินิกมีนโยบายและมุ่งเน้นในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการวินิจฉัย การพยากรณ์โรค และการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษา กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความรู้และความสามารถของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองและการปฏิบัติตน ภายหลังการตรวจรักษาและการจำหน่าย

ตัวอย่างโรคคุณภาพการให้ข้อมูลและเสริมพลังมีความสำคัญ:

· ผู้ป่วยทารกคลอดก่อนกำหนด

· ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

· ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคหอบหืด โรคไตวายเรื้อรัง

ลักษณะประชากร/ผู้รับบริการที่มีผลต่อการให้ข้อมูลและเสริมพลัง:

· บิดามารดาและผู้ดูแลเด็กและทารกคลอดก่อนกำหนด

· ผู้ป่วยและญาติ

· ผู้ประกันตนแรงงานต่างด้าวที่มีปัญหาในการสื่อสาร

· ระดับความรู้ของผู้รับบริการ

กระบวนการ:

· โรงพยาบาลและทีมดูแลผู้ป่วยดำเนินการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและครอบครัว โดยการสื่อสารทางวาจาในลักษณะสหสาขาวิชาชีพ และให้ข้อมูลต่อเนื่องโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังหรือมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จัดทำแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคและจัดทำบอร์ดให้ความรู้ตามจุดต่างๆของโรงพยาบาล มีการจัดสถานที่ห้องให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติที่แผนกผู้ป่วยนอก

บทเรียนเกี่ยวกับการวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ :

· ผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลได้รับการประเมินแรกรับผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ บันทึกลงใน admission note และ nursing evaluation noteเพื่อใช้เป็นข้อมูลประเมินปัญหาและวางแผนการในให้การเรียนรู้แก่ผู้ป่วยและญาติตามสภาพของปัญหาความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย

· โรงพยาบาลจัดกิจกรรมสร้างเสริมความรู้เช่นการสัมมนาคุณแม่คุณภาพให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสตรีที่เตรียมตัวตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด โดยให้สามีได้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้เตรียมพร้อมสำหรับการรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลตนเอง การสร้างเสริมสุขภาพ ทราบการบริการของโรงพยาบาลและทราบแพทย์ที่ให้บริการในเรื่องดังกล่าว

· หน่วยทารกแรกเกิดจัดทำ discharge plan กำหนดให้มีการจัดให้บิดามารดาของทารกคลอดก่อนกำหนดที่รักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานานได้มาเลี้ยงดูทารกก่อนการจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อฝึกและกระตุ้นให้เกิดความมั่นใจในการเลี้ยงดู มีการกำหนดวันจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเพื่อครอบครัวได้เตรียมสถานที่และเตรียมบุคคลสำหรับการเลี้ยงดูแล

บทเรียนเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่จำเป็น การสร้างการเรียนรู้ เพื่อการดูแลตนเองและพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม:

· ทีมผู้ให้การรักษาเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลรักษา ผู้ป่วยที่รับตัวไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลจะได้รับทราบข้อมูลและยินยอมเข้ารับการรักษา แสดงความยินยอมรับเมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วนในเรื่องที่ทีมให้การรักษาให้ความสำคัญ ในกรณีที่มีการเลือกทีมจะเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีรักษา โดยเฉพาะการรักษาที่ต้องมีการวางแผนร่วมกันอย่างรัดกุมเช่น การทำหัตถการและการผ่าตัด เป็นต้น

· การแจ้งให้ผู้ป่วยทราบผลการประเมินและให้คำแนะนำการตรวจรักษาจะกระทำทั้งในส่วนของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แพทย์เป็นผู้แจ้งผลการตรวจวินิจฉัย แผนการรักษา คำแนะนำและทางเลือกในการรักษา โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง(ใบ Advice Form)ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดูแลตนเอง ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน , วัณโรค , ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด จะได้รับทราบข้อมูลการวินิจฉัย การปฏิบัติตน การปรับสภาพแวดล้อม การรับประทานยา การปรับพฤติกรรมเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดกรกำเริบ ผู้ป่วยเบาหวานได้รับทราบข้อมูลการใช้ยา การควบคุมอาหารเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ยาที่ห้ามรับประทานร่วมกัน เป็นต้นทั้งนี้เพื่อผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้เหมาะสมกับโรคของตนเอง

บทเรียนเกี่ยวกับการร่วมกันกำหนดแผนการดูแลผู้ป่วยโดยทีมผู้ให้บริการกับผู้ป่วย/ครอบครัว:

· โรงพยาบาลกำหนดให้การกำหนดแผนการดูแลผู้ป่วยโดยทีมผู้ดูแลรักษาจะกระทำโดยการให้ข้อมูลเป็นสหสาขาวิชาชีพ แก่ผู้ป่วยและญาติอย่างต่อเนื่อง เช่นแพทย์ พยาบาลให้ความรู้แก่บิดามารดาและญาติในการให้ภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมสำหรับบุตรหลาน โดยการให้ข้อมูลทั้งประสิทธิภาพของวัคซีน โภชนากร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมกับโรค อาหารทดแทนในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

· ทีมผู้ให้ดูแลรักษากระตุ้นให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง รู้จักการดูแลตนเอง การจัดการสภาพแวดล้อม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

บทเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเสริมพลัง/เสริมทักษะให้แก่ผู้ป่วย/ครอบครัว ให้มีความสามารถในการดูแลตนเอง:

· การจัดกิจกรรมคุณแม่คุณภาพ และการจัดให้บิดามารดามีโอกาสเลี้ยงดูทารกก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ทำให้บิดามารดามีความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกถูกวิธียิ่งขึ้น

· ให้ความรู้ทางวิชาการในโรงพยาบาลในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การจัดอาหารสุขภาพ การจัดเอกสารแผ่นพับและการให้ความรู้อย่างต่อเนื่องของทีมให้การดูแลทำให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจในการดูสุขภาพของตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้เผยแพร่แก่เพื่อนบ้านและสังคมข้างเคียง

บทเรียนเกี่ยวกับการประเมินผลกระบวนการเรียนรู้และเสริมพลัง:

· ผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจในการดูแลตนเอง เช่นผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สามารถงอเข่าและเดินได้อย่างปกติใน 2 สัปดาห์

· สตรีที่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดมีความเสี่ยงต่อการการคลอดบุตรนำหนักตัวน้อย มีความพร้อมเตรียมตัวก่อนคลอด

· ในปี 2557ได้มีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มโรงงาน กลุ่มพนักงานในโรงพยาบาลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน/Metabolic Syndrome ผลการประเมินการดูแลส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ชุมชนสามารถได้มีน้ำหนักลดลงและมีการนำไปเป็นแบบอย่างกลุ่มพนักงานในโรงงาน

· โรงพยาบาลได้มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยจัดระบบการขึ้นทะเบียนผู้ป่วย มีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีระบบการส่งต่อเมื่อเกิดการดื้อยา มีการให้ข้อมูลและเสริมพลังแก่ญาติแนะนำญาติในการเฝ้าระวังมาตรวจประเมินเพื่อการดูแลตนเอง

ผลการพัฒนาที่สำคัญ:

· การให้ข้อมูลและเสริมพลังผู้ป่วยวัณโรค

· ทีมการแพทย์พยาบาลได้สร้างความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติในการดูแลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมพบว่ามีความพึงพอใจสามารถดูแลผู้ป่วยได้ที่บ้าน

มาตรฐาน

การให้ข้อมูลและเสริมพลัง

Score

3

ประเด็นในแผนการพัฒนา 1-2 ปี ข้างหน้า

· พัฒนาระบบบริการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคMetabolic Syndromeให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

· การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้มีประสิทธิภาพ

· การพัฒนาระบบการดูแลสตรีที่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้น

- พัฒนาสนับสนุนส่งเสริมการดูแลตนเองผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจในกลุ่ม ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

- พัฒนาส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ชุมชนให้สามารถดูแลตนเองในโรงงานได้

- พัฒนาระบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจในการดูแลกลุ่ม Acute Strokeขณะอยู่โรงพยาบาลและเมื่อกลับไปบ้าน มีระบบการติดตามเยี่ยมต่อผู้ป่วยที่บ้านอย่างเป็นรูปแบบที่เหมาะสม