5 คุณสมบัติและการศึกษาของบุคลากร (SQE)

ภาพรวม สถานพยาบาลต้องการบุคลากรที่มีทักษะและคุณสมบัติหลากหลายเหมาะสมเพื่อทำหน้าที่ให้บรรลุ พันธกิจขององค์กรและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยผู้นำองค์กรร่วมกันกำหนดจำนวนและประเภทของ บุคลากรที่ต้องการ โดยอาศัยคำแนะนำจากผู้บริหารของแผนกและงานบริการ

การสรรหา การประเมินและการบรรจุบุคลากรสำเร็จผลดีที่สุด โดยอาศัยกระบวนการที่ประสานความ ร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและเป็นแนวทางเดียวกัน มีความตำเป็นที่จะต้องบันทึกหลักฐานทักษะ ความรู้การศึกษา และประสบการณ์งานที่ผ่านมาของผู้สมัคร มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทบทวนหลักฐานคุณสมบัติ (Credentials) ของบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเป็นผู้เกี่ยวข้องใน กระบวนการดูแลทางคลินิกและทำงานโดยตรงกับผู้ป่วย องค์กรต้องมีการจัดการปฐมนิเทศทั้งในภาพรวมของ องค์กรและตามหน้าที่เฉพาะตามตำแหน่งงานหน้าที่ความรับผิดชอบนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการ ทำงานที่สำคัญบุคลากรต้องได้รับการปฐมนิเทศก่อนเริ่มปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้และพีฒนาตนเองทั้งด้าน ส่วนตัวและวิชาชีพ โดยมีการจัดให้มีการศึกษาระหว่างประจำการ(In-servoce education) และโอกาส เรียนรู้อื่น ๆแก่บุคลากร

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบุคลากร มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจในงานและมีความปลอดภัยในการทำงานสถานการณ์ต่าง ๆ สถานพยาบาลจะต้องมีการดำเนิน การจัดให้มีแผนงานระบบการสร้างเสริมสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทั้งองค์กร รวมไปถึงบุคลากร คู่สัญญาด้วย ซึ่งจะต้องเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพที่จะส่งผลกระทบก่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคประจำปีการควบคุมดูแลในเรื่องอาชีวอนามัยต่าง ๆ การป้องกันโรคและส่งเสริมให้มีภูมิต้านทาน เพื่อที่บุคลกรจะได้ปลอดภัยในการให้การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่อยู่ ในภาวะเสี่ยงต่าง ๆ

หมายเหตุ: ในบางมาตรฐานโรงพยาบาลต้องจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารสำหรับ กระบวนการที่เฉพาะเจาะจงอื่น ๆ เป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

การวางแผน

SQE.1 ผู้นำองค์กรกำหนดการศึกษา ทักษะ ความรู้และข้อกำหนดอื่น ๆที่ต้องการสำหรับบคุลากรทุกคน

SQE.1.1 มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรแต่ละคนไว้ในคำบรรยายลักษณะงานที่เป็น ปัจจุบันè P

SQE.2 ผู้นำองค์กรจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการสำหรับการสรรหา การประเมิน และการบรรจุ บุคลาการ รวมถึงวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอื่น ๆที่องค์กรกำหนด

SQE.3 องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าความรู้และทักษะของบุคลากรสายงานคลินิก สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย

SQE.4 องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าความรู้และทักษะของบุคลากรนอกสายงาน คลินิก สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรและตามข้อกำหนดของแต่ละตำแหน่งงาน

SQE.5 มีการจัดทำแฟ้มข้อมูลส่วนบุคลของบุคลากรแต่ละคนè P

SQE.6 มีการจัดทำแผนบุคลากรขององค์กร ซึ่งจัดทำโดยผู้นำ หัวหน้าแผนก ของแต่ละหน่วยงานและส่วนงาน บริการ ที่มีการกำหนดจำนวน ประเภท และคุณสมบัติที่ต้องการของบุคลากรè P

SQE.7 บุคลากรทั้งสายงานคลินิกและนอกสายงานคลินิก ได้รับการปฐมนิเทศให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร แผนก หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน และเกิดความคุ้นเคยกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ของตำแหน่งงาน เมื่อได้รับการบรรจุ

SQE.8 บุคลากรแต่ละคนได้รับการศึกษาและฝึกอบรมระหว่างประจำการ รวมถึงการศึกษาและฝึกอบรมอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อธำรงหรือเพิ่มพูนทักษะและความรู้ของตน

SQE.8.1 บุคลากรซึ่งให้การดูแลผู้ป่วย และบุคลากรอื่น ๆ ที่องค์กรระบุได้รับการฝึกอบรมและสามารถ แสดงความสามารถที่เหมาะสม เกี่ยวกับเทคนิคการช่วยฟื้นคืนชีพ

SQE.8.2 องค์กรจักให้มีแผนงานสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร ที่แสดงให้เห็นได้ว่าบุคลากร จะมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาบและจิตใจ สามารถปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่าง ปลอดภัยè P

SQE.8.2.1 องค์กรจะต้องมีการกำหนดประเภทตำแหน่งของบุคลากรที่มีความเสี่ยงที่จะเกิด การติดเชื้อหรือโรคติดต่อ และจะต้องมีการจัดให้บุคลากรเหล่านั้นได้รับวัคซีนตาม แผนงานที่กำหนด เพื่อที่จะได้มีภูมิต้านทานในการป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆè P

การกำหนดสมาชิกภาพของบุคลากรสายแพทย์

SQE.9 องค์กรมีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันและต่อเนื่องสำหรับรวบรวม สอบทาน และประเมิน หลักฐานคุณสมบัติของบุคลากรสายแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้ดูแลผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมดูแลè P

SQE.9.1 เอกสารคุณวุฒิคุณสมบัติต่าง ๆ ของบุคลากรสายแพทย์ตามข้อกำหนดของกฏหมายต้องได้ รับการตรวจสอบและต้องเป็นปัจจุบันเสมอè P

SQE.9.2 มีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันในการอาศัยข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแต่งตั้งบุคลาการสาย แพทย์ที่เริ่มปฏิบัติงานใหม่è P

การกำหนดสิทธิทางคลินิก

SQE.10 องค์กรมีวิธีปฏิบัติที่ใช้หลักฐานที่เป็นธรรม มีมาตรฐาน(มาตรฐานized objective,evidence- based) ในการมอบสิทธิแก่บุคลากรสายแพทย์ที่จะรับและรักษาผู้ป่วยและให้บริการทางคลินิกอื่น ๆ อย่าง สอดคล้องกับคุณสมบัติของบุคลากรผู้นั้นè P

การเฝ้าติดตามและประเมินผลบุคลากรสายแพทย์อย่างต่อเนื่อง

SQE.11 องค์กรใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานและต่อเนื่อง ในการประเมินคุณภาพและความปลอดภัยการให้บริการผู้ป่วยโดยบุคลากรสายแพทย์แต่ละคนè P

การต่ออายุและการมอบสิทธิทางคลินิกใหม่อีกครั้งแก่บุคลากรสายแพทย์

SQE.12 โรงพยาบาลกำหนดสมาชิกภาพบุคลากรสายแพทย์และสิทธิทางคลินิกว่าจะให้ต่อไปโดยมีหรือไม่มี การปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นอย่างน้อยทุกสามปีโดยอาศัยการเฝ้าติดตามและการประเมินผลสมาชิกบุคลากร สายแพทย์อย่างต่อเนื่องè P

บุคลากรสายพยาบาล

SQE.13 องค์กรมีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันและต่อเนื่องสำหรับรวบรวม สอบทาน และประเมิน หลักฐานคุณสมบัติของบุคลากรสายพยาบาล(ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การศึกษา การฝึกอบรม และประสบการณ์)

SQE.14 องค์กรมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบและจัดมอบงานทางคลินิก บนพื้นฐานของเอกสารคุณสมบัติของพยาบาลและระเบียบบังคับที่มี

SQE.14.1 องค์กรต้องมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการกำหนดให้บุคลากรสายพยาบาลมีส่วนร่วมใน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเมื่อมี ข้อบ่งช

ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่น ๆ

SQE.15 องค์กรมีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันและต่อเนื่องสำหรับรวบรวม สอบทาน และประเมิน หลักฐานคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่น ๆ (ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การศึกษา การฝึกอบรมและประสบการณ์)

SQE.16 องค์กรมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบและจัดมอบงานทางคลินิก บนพื้นฐานของเอกสารคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่น ๆ และระเบียบบังคับที่มี

SQE.16.1 องค์กรต้องมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการ สุขภาพอื่น ๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณภาพรวมทั้งมีการประเมินผล การปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเมื่อมีข้อบ่งชี้

มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้

การวางแผน

มาตรฐาน SQE.1 ผู้นำองค์กรกำหนดการศึกษา ทักษะ ความรู้และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่ต้องการสำหรับบุคลากร

เจตจำนงของ SQE.1 ผู้นำองค์กรกำหนดความต้องการเฉพาะสำหรับตำแหน่งบุคลากร ผู้นำกำหนดการศึกษา ทักษะ ความรู้และ คุณสมบัติอื่น ๆที่พึงประสงค์เป็นส่วนหนึ่งของการคาดการณ์บุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ผู้นำ ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการคาดการณ์ความต้องการของบุคลากร ได้แก่

• พันธกิจขององค์กร

• ลักษณะผสมของผู้ป่วย(Patient mix) ที่องค์กรให้บริการ รวมถึงความซับซ้อนและความรุนแรงของความ ต้องการของผู้ป่วย

• บริการการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่จัดให้โดยองค์กร

• จำนวนผู้ป่วนนอกและจำนวนผู้ป่วยใน

• เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์และเทคโนโลยีที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย

องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับซึ่งกำหนดระดับการศึกษา ทักษะ หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่พึง ประสงค์ของบุคลากร กฎหมายและระเบียบข้อบังคับซึ่งกำหนดจำนวนบุคลากรหรือสัดส่วนผสมของบุคลากร สำหรับองค์กร องค์กรใช้พันธกิจขององค์กรและภาวะความต้องการของผู้ป่วย นอกเหนือไปจากข้อกำหนด ของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.1

❏ 1. มีการใช้พันธกิจขององค์กร จำนวน ลักษณะผสมของผู้ป่วย บริการและเทคโนโลยีในการวางแผน บุคลากร( ดูGLD.8 ร่วมด้วย)

❏ 2. มีการกำหนดการศึกษา ทักษะ ความรู้ที่พึงประสงค์สำหรับบุคลากร(ดูQPS.9,ME2 ร่วมด้วย)

❏ 3. มีการนำกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนบุคลากร

มาตรฐาน SQE.1.1 มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรแต่ละคนไว้ในคำบรรยายลักษณะงานที่เป็นปัจจุบัน

เจตจำนงของ SQE.1.1

มีการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่จะปฏิบัติงานโดยอิสระไว้ในคำ บรรยายลักษณะงานที่เป็นปัจจุบัน คำบรรยายลักษณะงานที่เป็นฐานสำหรับการมอบหมายงาน การปฐมนิเทศหรือ สร้างความคุ้นเคนกับงาน และการประเมินผลว่าบุคลากรทำตามหน้าที่รับผิดชอบได้ดีเพียงใด คำบรรยายลักษณะงานมีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ ในกรณีต่อไปนี้

a) บุคคลซึ่งมีบทบาทหลักในการบริหารจัดการ เช่น ผู้จัดการแผนก หรือผู้ที่มีหน้าที่ควบคู่กันทั้งด้านคลินิก และด้านบริหารจัดการ โดยระบุหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน (ดู SQE.10 ร่วมด้วย)

b) บุคคลซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านคลินิกที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานด้วยตนเองตามลำพัง เช่น ผู้ ประกอบวิชาชีพที่กำลังเรียนรู้บทบาทใหม่หรือทักษะใหม่

c) บุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล ซึ่งแผนงานการศึกษาจะระบุว่าสิ่งใดที่ สามารถทำได้โดยอิสระ สิ่งใดที่ต้องทำภายใต้การควบคุมดูแล ในแต่ละขั้นตอนหรือระดับของการฝึกอบรม

d) บุคคลได้รับอนุญาตให้ทำงานให้บริการในองค์กรชั่วคราว เช่น พยาบาลจากบริษัทจัดหาชั่วคราว

เมื่อองค์กรใช้คำบรรยายลักษณะงานทั่วไปหรือของประเทศ เช่น คำบรรยายลักษณะงานสำหรับ”พยาบาล” จำเป็นต้องปรับคำบรรยายลักษณะงานลักษณะนี้ด้วยหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับพยาบาล ประเภทต่าง ๆ เช่น พยาบาลหน่วยดูแลผู้ป่วยวิกฤติพยาบาลเด็ก พยาบาลห้องผ่าตัด และตำแหน่งอื่น ๆ สำหรับบุคลากรที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมายและโดยองค์กรให้ทำงานอย่างอิสระ มีกระบวนการที่จะระบุและให้ สิทธิการปฏิบัติแก่บุคคลบนพื้นฐานของการศึกษา การฝึกอบรม และประสบการณ์ (ดูSQE,9 ME 2 ร่วมด้วย) ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้ประยุกต์ใช้กับ “บุคลากร” ทุกประเภท ผู้ซึ่งต้องมีคำบรรยายลักษณะงาน เช่น บุคลากรประจำ บุคลากรชั่วคราว ผู้ได้รับค่าจ้าง อาสาสมัคร หรือบุคลากรชั่วคราว

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE 1.1

❏ 1. มีคำบรรยายลักษณะงานสำหรับบุคลากรที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานอย่างอิสระ (ดู MMU.6,ME1; SQE.5,ME3 ;SQE.14; and SQE.16 ร่วมด้วย)

❏ 2. มีคำบรรยายลักษณะงานสำหรับบุคลากรที่ระบุไว้ในเจตจำนงของมาตรฐานข้อ a) ถึง d) ที่มาทำงาน ในองค์กรอย่างเหมาะสมกับกิจกรรมและหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรดังกล่าว หรือได้รับสิทธิการดูแลถ้า มีระบุไว้เป็นทางเลือก (ดูAOP.3,ME1;PCI.1,ME3 และ SQE.5,ME3 ร่วมด้วย)

❏ 3. คำบรรยายลักษณะงานเป็นปัจจุบันตามนโยบายขององค์กร

มาตรฐาน SQE.2 ผู้นำองค์กรมีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งกระบวนการสรรหา การประเมินคุณสมบัติและการบรรจุบุคลากร รวมถึงวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่องค์กรกำหนด

เจตจำนงของ SQE.2 องค์กรจัดให้มีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ อาจเป็นลักษณะประสานความร่วมมือหรือรวมศูนย์สำหรับ

• การสรรหาบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานที่ว่าง

• การประเมินการฝึกอบรม ทักษะ ความรู้ของผู้สมัคร และ

• การบรรจุบุคคลเป็นบุคลากรของโรงพยาบาล

มีการใช้เกณฑ์กระบวนการ และแบบฟอร์ม เพื่อให้มีกระบวนการที่เป็นแนวทางเดียวกัน ในกรณีที่ไม่มีการรวมศูนย์กระบวนการดังกล่าว ผู้บริหารแผนกและงานบริการ มีส่วนร่วมโดยการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ จำนวนและคุณสมบัติของบุคลากรที่ต้องการเพื่อให้บริการทางคลินิกแก่ผู้ป่วย การทำหน้าที่สนับสนุน ที่มีการใช้งานด้านคลินิกและทำหน้าที่สอนหรือหน้าที่อื่น ๆของแผนก ผู้บริหารแผนกและงานบริการช่วย ตัดสินใจเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะได้รับการบรรจุเป็นบุคลากร ดังนั้น มาตรฐานในบทนี้จึงเป็นส่วนเสริมให้แก่ มาตรฐานการกำหับดูแลกิจการ การนำและทิศทางองค์กร ซึ่งอธิบายหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารแผนก หรืองานบริการ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.2

❏ 1. มีกระบวนการที่พร้อมปฏิบัติในการสรรหาบุคลากร (ดูGLD.3.3,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 2. มีกระบวนการที่พร้อมปฏิบัติในการประเมินคุณสมบัติของบุคลากรใหม่ (ดูSQE.10;SQE.14,ME1 และ SQE.16,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 3. มีกระบวนการที่พร้อมปฏิบัติในการบรรจุบุคคลเป็นบุคลากร (ดูSQE.9.2,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 4. มีกระบวนการที่พร้อมปฏิบัติกระบวนการดังกล่าวให้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งองค์กร (ดูGLD.3.3 ร่วม ด้วย)

มาตรฐาน SQE.3 องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าความรู้และทักษะของบคุลากรสายงานคลินิก สอดคล้อง กับความต้องการของผู้ป่วย

เจตจำนงของ SQE.3 องค์กรจ้างบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยใช้กระบวนการที่ทำให้มั่นใจว่าคุณสมบัติของบุคคลที่จะรับ เป็นบุคลากรสอดคล้องกับข้อกำหนดของตำแหน่ง กระบวนการนี้ยังสร้างความมั่นใจว่าทักษะของบุคลากร สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มแรกและตลอดระยะเวลที่ปฏิบัติงาน สำหรับผู้ประกอบ วิชาชีพสุขภาพขององค์กรซึ่งมิได้ปฏิบัติงานภายใต้คำบรรยายลักษณะงาน มีกระบวนการระบุไว้ใน SQE.9 ถึง SQE.12

กระบวนการสำหรับบุคลากรสายงานคลินิกที่ปฏิบัติงานภายใต้คำบรรยายลักษณะงานประกอบด้วย

• การประเมินขั้นต้นเพื่อสร้างความมั่นใจว่ายุคคลผู้นั้นสามารถปฏิบัติตามหน้าที่รับผิดชอบในคำบรรยาย ลักษณะงานได้การประเมินนี้กระทำก่อนหรือในเวลาที่จะเร่มต้นปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ องค์กรอาจมี ระยะเวลาทดลองปฏิบัติงาน ซึ่งบุคลากรสายงานคลินิกจะได้รับการควบคุมอย่างใกล้ชิด และประเมินผล หรือใช้กระบวนการที่ไม่เป็นทางการมากนัก ไม่ว่าจะใช้กระบวนการใด องค์กรสร้างความั่นใจว่าบุคลากรที่ ให้บริการที่มีความเสี่ยงหรือให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้รับการประเมินตั้งแต่เมื่อเริ่มต้น ปฏิบัติงาน การประเมินทักษะและความรู้ที่จำเป็นและพฤติกรรม การปฏิบัติงานที่พึงประสงค์นี้ทำโดย แผนกหรืองานบริการที่บุคลากรได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน

• จากนั้นองค์กีกำหนดกระบวนการและความถี่สำหรับการประเมินความสามารถของบุคลากรอย่าง ต่อเนื่อง การประเมินอย่างต่อเนื่องสร้างความมั่นใจว่ามีการฝึกอบรมเมื่อต้องการ และบุคลากร สามารถปฏิบัติ ตามหน้าที่ใหม่หรือหน้าที่เปลี่ยนแปลงได้การประเมินดังกล่าวจะดีที่สุดเมื่อดำเนิน การอย่างต่อเนื่อง ควร มีการประเมินบุคลากรสายงานคลินิกที่ทำงานภายใต้คำอธิบายลักษณะงานแต่ ละคนและบันทึกไว้อย่าง น้อยปีละครั้ง(ดูCOP.3.1;GLD.11.1 และ SQE11 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.3

❏ 1. องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อจัดให้มีความรู้และทักษะของบคุลากรสายงานคลินิกกับความ ต้องการ ของผู้ป่วย มีความสอดคล้องกัน (ดูCOP.7,ME1;COP.8;ASC.3.1,MEs.1 และME2 ; MMU.6,ME1 และ SQE.14,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 2. มีการประเมินบุคลากรใหม่ในสายงานคลินิกเมื่อเริ่มปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ

❏ 3. แผนกหรืองานบริการที่บุคลากรได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทำการประเมิน

❏ 4. องค์กรกำหนดความถี่ในการประเมินบุคลากรสายงานคลินิกอย่างต่อเนื่อง

❏ 5. มีการประเมินบุคลากรสายงานคลินิกแต่ละคนที่ปฏิบัติงานภายใต้คำบรรยายลักษณะงานอย่างน้อยปี ละครั้ง หรือบ่อยกว่าตามที่องค์กรกำหนดและบันทึกผลไว้ (ดูSQE.11,ME.1 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน SQE.4 องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดเพื่อสร้างความมั่นใจว่าความรู้และทักษะของบุคลากรนอกสายงานคลินิก สอดคล้อง กับความต้องการขององค์กรและข้อกำหนดของตำแหน่ง

เจตจำนงของ SQE.4 องค์กรแสวงหาบุคลากรที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามข้อตกลงในตำแหน่งนอกสายงานทางคลินิก ผู้ควบคุมดูแล บุคลากรจัดให้มีการปฐมนิเทศเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับตำแหน่งดังกล่าวและสร้างความมั่นใจว่า บุคลากรสามารถ ทำหน้าที่รับผิดชอบตามคำบรรยายลักษณะงานได้บุคลากรได้รับการควบคุมดูแลในระดับที่ ต้องการและได้รับการ ประเมินเป็นระยะเพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีความสามารถในตำแหน่งดังกล่าวตลอดเวลา

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.4

❏ 1. องค์กรใช้กระบวนการที่กำหนดไว้เพื่อจัดให้ความรู้และทักษะของบุคลากรนอกสายงานคลินิกกับ ข้อกำหนด ของตำแหน่งมีความสอดคล้องกัน (ดูAOP.5.1,ME2 ; AOP.5.2,MEs1และ3 ; AOP.6,MEs 1,2และ6 ; PCI.7, ME3 ร่วมด้วย)

❏ 2. มีการประเมินบุคลากรใหม่ที่มิใช่ด้านคลินิก เมื่อเริ่มปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบ

❏ 3. แผนกหรืองานบริการที่บุคลากรได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทำการประเมิน

❏ 4. องค์กรกำหนดความถี่ในการประเมินบุคลากรที่มิใช่คลินิกอย่างต่อเนื่อง

❏ 5. มีการประเมินบุคลากรที่มิใช่ด้านคลินิกอย่างน้อยปีละครั้งหรือบ่อยกว่าตามที่องค์กรกำหนดและบันทึก ผลไว้ (ดูSQE.5,ME5 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน SQE.5 มีแฟ้มเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรแต่ละคนè P

เจตจำนงของ SQE.5 บุคลากรแต่ละคนในองค์กรมีเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติความรู้ความสามารถและบันทึกประวัติการฝึกอบ รมตามหน้าที่รับผิดชอบ และต้องมีเอกสารที่แสดงให้เห็นถึงผลการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นไปตาม ความคาดหวังของตำแหน่งด้วยอย่างไร ซึ่งแฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีการเก็บรักษาเป็นความลับเพราะมี เอกสารที่มีความละเอียดอ่อนบรรจุไว้ภายใน

บุคลากรทุกคนในองค์กรรวมถึงผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและโดยองค์กรให้ทำงานด้วยความอิสระ ต้องมีการ จัดทำแฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารคุณวุฒิคุณสมบัติข้อมูลด้านสุขภาพ ได้แก่ ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่าง ๆ และต้องมีข้อมูลหลักฐานการได้รับการปฐมนิเทศ การได้รับการอบรม อย่างต่อเนื่อง และผลของการประเมินภายหลังการผ่านการอบรม ตลอดจนผลการประเมินการปฏิบัติงาน รายบุคคลที่แสดงให้เห็นระดับของทักษะความรู้ความสามารถ สอดคล้องกับหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละ ตำแหน่งงาน ซึ่งต้องจัดทำเป็นเอกสารที่มีรูปแบบมาตรฐานและมีความเป็นปัจจุบันตามนโยบายองค์กร (ดูSQE.9.2,ME3 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.5

❏ 1. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรแต่ละคนมีการบรรจุเอกสารที่มีรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน มีความ เป็นปัจจุบัน และมีการเก็บรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายขององค์กร (ดูMOI.2,ME1 ร่วม ด้วย)

❏ 2. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีเอกสารคุณวุฒิคุณสมบัติของบุคลากรแลพประวัติการทำงานของบุคลากรผู้นั้น (ดูSQE.9,ME3 ;SQE.13,ME4 และ SQE.15,ME4 ร่วมด้วย)

❏ 3. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีคำบรรยายลักษณะงานของบุคลากรผู้นั้น (ดูSQE.1.1,ME1 และ 2 ร่วมด้วย)

❏ 4. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีประวัติการได้รับการปฐมนิเทศทั้งในระดับของโรงพยาบและเฉพาะตามหน้าที่ รับผิดชอบ และมีบันทึกการเข้าร่วมการศึกษาระหว่างประจำการของบุคลากรผู้นั้น (ดูASC.3.1,ME3 ; MMU.5.1,ME4 ; FMS.3,ME2 ; FMS.11,ME4 ; SQE.8,ME4 และ SQE.8.1 , ME3 ร่วมด้วย)

❏ 5. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้นั้น (ดูSQE.4,ME5 ร่วมด้วย)

❏ 6. แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคลมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของบุคลากรผู้นั้น (ดูSQE.8.2,ME2 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน SQE.6 แผนบุคลากรขององค์กรซึ่งจัดทำด้วยความร่วมมือของผู้นำ กำหนดจำนวน ประเภทความรู้ความสามารถ และคุณสมบัติที่ต้องการของบุคลากรè P

มาตรฐาน SQE.6.1 มีการทบทวนแผนบุคลากรอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันตามความจำเป็น

เจตจำนงของ SQE.6 และ SQE.6.1 การจัดให้มีบุคลากรที่เหมาะสมและเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดูแลผู้ป่วย เช่นเดียวกับกิจกรรมการสอนและ การวิจัยซึ่งองค์กรอาจจะมีส่วนร่วม ผู้นำองค์กรเป็นผู้วางแผนบุคลากร กระบวนการวางแผนใช้วิธีการซึ่งเป็นที่ ยอมรับสำหรับการกำหนดระดับของบุคลากร ตัวอย่างเช่น การใช้ระบบการจำแนกอาการหนัก-เบาของผู้ป่วย ในการกำหนดจำนวนพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยวิกฤติสาขากุมารสำหรับหอผู้ป่วยวิกฤต กุมารสิบเตียง

มีการจัดทำแผนเป็นลายลักษณ์อักษร ระบุจำนวนและประเภทของบุคลากรที่ต้องการในแต่ละแผนกและงาน บริการ รวมทั้งทักษะ ความรู้และคุณสมบัติอื่น ๆ (ดูSQE.14 ร่วมด้วย)แผนบุคลากรต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้

1) การปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานบุคลากรจากแผนกหรืองานบริการหนึ่งไปยังอีกแผนกหรืออีกงาน บริการหนึ่ง เพื่อตอบสอนงต่อความต้องการของผู้ป่วยที่เปลี่ยนแปลงไปหรือการขาดแคลนบุคลากร

2) การพิจารณาคำขอของบุคลากรเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนการมอบหมายงาน บนพื้นฐานของค่านิยมทาง วัฒนาธรรมหรือความเชื่อทางศาสนา ; และ

3) สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนด

มีการเฝ้าติดตามการจัดบุคลากรที่วางแผนไว้และเกิดขึ้นจริงอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงแผนตาม ความจำเป็น ระหว่างที่มีการเฝ้าติดตามในระดับแผนกและงานบริการ มีกระบวนการที่ผู้นำองค์กรร่วมมือกัน ปรับปรุงแผนทั้งหมดโดยรวม (ดูGLD.7 และ GLD.9,ME2 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.6

❏ 1. มีแผนเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับการจัดบุคลากรสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดต่าง ๆ (ดู PCI.4,ME1 และ GLD.2,ME5 ร่วมด้วย)

❏ 2. แผนบุคลากรระบุจำนวน ประเภท คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบุคลากร โดยใช้วิธีการจัดอัตรากำลังซึ่ง เป็นที่ยอมรับ

❏ 3. แผนบุคลากรระบุการมอบหมายงานและการปรับเปลี่ยนการมอบหมายงานบุคลากร

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.6.1

❏ 1. องค์กรมีการเฝ้าติดตามประสิทธิผลของการจัดบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

❏ 2. มีการทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดบุคลากรเมื่อจำเป็น (ดูGLD.9 ,ME2 ร่วมด้วย)

❏ 3. มีกระบวนการที่ผู้นำองค์กรร่วมมือกันจัดทำแผนการจัดบุคลากรของแผนกและงานบริการ (ดูGLD.9, ME3 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน SQE.7 บุคลากรทุกคนทั้งสายงานคลินิกและนอกสายงานคลินิก ได้รับการปฐมนิเทศเมื่อได้รับการบรรจุให้เกิด ความคุ้นเคยกับองค์กร แผนกหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงาน และเกิดความคุ้นเคยกับหน้าที่ รับผิดชอบเฉพาะของตำแหน่งงาน

เจตจำนงของ SQE.7 การตัดสินใจบรรจุบุคคลเป็นบุคลากรขององค์กรก่อให้เกิดการเริ่มต้นของกระบวนการหลายอย่าง การที่บุคลากร ใหม่ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใดจะปฏิบัติงานได้ดีจำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมขององค์กร และเข้าใจว่าหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะของตนจะมีผลต่อการบรรลุพันธกิจขององค์กรอย่างไร สิ่งนี้จะบรรจุได้ โดยการปฐมนิเทศทั่วไปให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กรและบทบาทของตนในองค์กร และการปฐมนิเทศเฉพาะ เกี่ยวกับหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งงานที่ได้รับบรรจุการปฐมนิเทศรวมถึงประเด็นต่อไปนี้ได้แก่การรายงาน ความผิดพลั้งทางการแพทย์การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและการควบคุมการปฏิบัติงาน (ดูPCI.11,ME1 ร่วมด้วย) นโยบายขององค์กรเกี่ยวกับการสั่งยาทางโทรศัพท์และอื่น ๆ ผู้ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง อาสาสมัคร และนักศึกษา/ผู้อยู่ระหว่างการฝึกอบรม ได้รับการปฐมนิเทศให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กรและงานที่ได้รับ มอบหมายหรือหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะ เช่น ความปลอดภัยของผู้ป่วย การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.7

❏ 1. บุคลากรใหม่ทั้งสานงานคลินิกและนอกสายงานคลินิก ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับ องค์กร แผนกหรือหน่วยงาน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งงานของแต่ละ คนและงานที่ได้รับมอบ หมายเฉพาะ (ดูGLD.9,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 2. ผู้ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร แผนกหรือ หน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งงานแต่ละคนและงานที่ได้รับ มอบหมายเฉพาะ (ดูGLD.6 ร่วมด้วย)

❏ 3. อาสาสมัคร ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กร แผนกหรือหน่วยงาน ซึ่งได้รับ มอบหมายให้ปฏิบัติงานหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งงานของแต่ละคนและงานที่ได้รับมอบ หมายเฉพาะ

❏ 4. นักศึกษา/ผู้อยู่ระหว่างอบรม ได้รับการปฐมนิเทศเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับองค์กรและหน้าที่ รับผิดชอบ ที่ได้รับมอบหมาย (ดูGLD.14 ,ME6 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน SQE.8 บุคลากรแต่ละคนได้รับการศึกษาและฝึกอบรมระหว่างประจำการ รวมถึงการศึกษาและฝึกอบรมอื่น ๆอย่าง ต่อเนื่องเพื่อธำรงหรือเพิ่มพูนทักษะและความรู้ของตน

เจตจำนงของ SQE.8 องค์กรรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อเข้าใจความต้องการการศึกษาของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ผลจากการวัด คุณภาพและความปลอดภัยเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยระบุความต้องการการศึกษาของบุคลากร ข้อมูลการเฝ้า ติดตามแผนงานบริหารอาคารสถานที่ การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ประเด็นความรู้และทักษะ ที่ค้นพบจากการทบทวนปฏิบัติงานตามหน้าที่ วิธีการปฏิบัติงานทางคลินิกใหม่ และแผนจัดบริการใหม่ในอนาคต เป็นแหล่งข้อมูลดังกล่าวด้วยเช่นกัน องค์กรมีกระบวนการรวบรวมและบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆเพื่อ วางแผนแผนงานการศึกษาของบุคลากร องค์กรกำหนดว่าบุคลากรกลุ่มใด เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ ที่จะต้องมีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อธำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติรวมถึงวิธีการเฝ้าติดตามและบันทึกการศึกษา ของบุคลากรเหล่านี้ (ดูGLD.3.3,ME3 ร่วมด้วย)

เพื่อธำรงไว้ซึ่งผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ยอมรับได้การสอนทักษะใหม่ ๆ และการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับ เครื่องมือหรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ ๆ องค์กรควรจัดให้มีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้ให้ความรู้และเวลา สำหรับการศึกษาระหว่างประจำการและการศึกษาอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง การจัดการศึกษานี้สอดคล้องกับความ ต้องการของบุคลากรแต่ละคน และสอดคล้องกับความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องขององค์กรในการตอบสนองความ ต้องการของผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น สมาชิกแพทย์อาจได้รับการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ความก้าวหน้าของเวชปฏิบัติหรือเทคโนโลยีใหม่ มีการบันทึกความสำเร็จด้านการศึกษาของบุคลากรแต่ละคนไว้ใน แฟ้มข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนั้น แต่ละองค์กรมีการจัดทำและนำไปปฏิบัติซึ่งแผนงานสุขภาพและความปลอดภัย ของบุคลากรที่เหมาะสมกับความต้องการด้านสุขภาพของบุคลากร และใส่ใจด้านความปลอดภัยภายในองค์กรและ ของบุคลากร

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.8

❏ 1. มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงผลจากกิจกรรมวัดคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อ ระบุความต้องการการศึกษาของบุคลากร

❏ 2. มีการวางแผนแผนงานการศึกษาจากข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้ (ดูGLD.3.3,ME3 ร่วมด้วย)

❏ 3. บุคลากรขององค์กรได้รับการศึกษาและฝึกอบรมระหว่างประจำการอย่างต่อเนื่อง (ดูAOP.5.3,ME4 ; AOP.6.3,ME5 ; PCI.11,ME2 และ SQE.5 , ME4 ร่วมด้วย)

❏ 4. การศึกษาสอดคล้องกับความสามารถของบุคลากรแต่ละคนที่จะตอบสนองภาวะความต้องการของ ผู้ป่วย และ/หรือ ความต้องการการศึกษาต่อเนื่อง (ดูAOP.3,ME4 และ AOP.6.3,ME5 ร่วมด้วย)

❏ 5. องค์กรจัดให้มีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และเวลาที่เหมาะสมในการเปิดโอกาสให้บุคลากร ได้รับการศึกษาระหว่างประจำการและการศึกษาอื่น ๆ

มาตรฐาน SQE.8.1 บุคลากรซึ่งให้การดูแลผู้ป่วย และบุคลากรอื่น ๆ ที่องค์กรระบุได้รับการฝึกอบรมและแสดงความสามารถ ที่เหมาะสมเกี่ยวกับเทคนิคการช่วยฟื้นคืนชีพ

เจตจำนงของ SQE.8.1 องค์กรระบุบุคลากรที่ต้องเข้ารับการอบรมเทคนิคการช่วยฟื้นคืนชีพ และระดับของการฝึกอบรม (ระดับ พื้นฐานหรือระดับก้าวหน้า) ที่เหมาะสมกับบทบาทของแต่ละคนในองค์กร บุคลากรที่ถูกระบุได้รับการฝึกอบรม ในระดับที่เหมาะสมซ้ำตามข้อกำหนด และ/หรือ กรอบเวลาที่แผนงานฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับระบุไว้หรือทุก สองปีถ้ามิได้ใช้แผนงานฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับ มีหลักฐานแสดงว่าบุคลากรแต่ละคนที่เข้าร่วมรับการฝึก อบรมบรรลุความสามารถในระดับที่ต้องการอย่างแท้จริง (ดูCOP.3.2 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.8.1

❏ 1. องค์กรระบุบุคลากรทีมีหน้าที่ดูแลผู้ป่วย และบุคลากรอื่น ๆ ที่จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการ ช่วยฟื้นคืนชีพ

❏ 2. องค์กรมีการจัดการฝึกอบรมในระดับที่เหมาะสม โดยมีความถี่ที่พอเพียงสำหรับตอบสนองความ ต้องการ ของบุคลากร

❏ 3. มีหลักฐานแสดงว่าบุคลากรผู้ใดได้ผ่านการอบรม

❏ 4. มีการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพในระดับที่พึงประสงค์ให้แก่บุคลากรแต่ละคนซ้ำ ตามข้อกำหนด และ/หรือ กรอบเวลาที่แผนงานฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับระบุไว้หรือทุกสองปีถ้ามิได้มีการใช้แผนงาน ฝึกอบรมซึ่งเป็นที่ยอมรับ

มาตรฐาน SQE.8.2 โรงพยาบาลจัดให้มีแผนงานสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรที่ตอบสนองต่อสุขภาพบุคลากรทั้งทางร่างกาย และจิตใจและสภาพการทำงานที่ปลอดภัยè P

มาตรฐาน SQE.8.2.1 โรงพยาบาลระบุบุคลากรที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสและการแพร่กระจายเชื้อที่เป็นไปได้ของโรคที่ป้องกันได้ด้วย วัคซีนและดำเนินการแผนงานการให้วัคซีนและสร้างภูมิคุ้มกันโรคè P

เจตจำนงของ SQE.8.2 และ SQE.8.2.1

แผนงานสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญในการธำรงรักษาสุขภาพร่างกายและ จิตใจของบุคลากร ความพึงพอใจ ผลิตภาพและสภาพการทำงานที่ปลอดภัย

วิธีการที่โรงพยาบาลปฐมนิเทศและอบรมบุคลากรก่อให้เกิดการทำงานที่ปลอดภัย ช่วยรักษาอุปกรณ์และ เทคโนโลยีทางการแพทย์ป้องกันหรือควบคุมการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ อีก มากมายซึ่งเป็นตัว กำหนดความผาสุกของบุคลากร1 (ดูPCI.2, ME 4 ร่วมด้วย) แผนงานสุขภาพและความ ปลอดภัยของบุคลากร สามารถเกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลหรือนำไปรวมในแผนงานภายนอกได้แผนงานจัดให้มี ต่อไปนี้ a) การตรวจสุขภาพการจ้างงานครั้งแรก b) มาตรการควบคุมการสัมผัสกับการประกอบอาชีพที่เป็นอันตราย เช่น การสัมผัสกับยา ที่เป็นพิษและระดับ เสียงที่เป็นอันตราย2–4 c) การให้วัคซีนป้องกันโรคและการทดสอบเป็นระยะๆ5,6 d) การให้การศึกษา การฝึกอบรมและการจัดการยกผู้ป่วยอย่างปลอดภัย7,8 e) การให้การศึกษา การฝึกอบรมและการจัดการเกี่ยวกับความรุนแรงในสถานที่ทำงาน9–11 f) การให้การศึกษา การฝึกอบรมและการจัดการสำหรับบุคลากรที่อาจจะเป็นเหยื่อที่สองจากเหตุการณ์ไม่ พึงประสงค์หรือเหตุการณ์พึงสังวร11–13 g) การรักษาสภาวะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั่วไป เช่น การบาดเจ็บที่หลัง หรือได้รับบาดเจ็บเร่งด่วนมากขึ้น 14

ไม่ว่าจะเป็นด้วยอัตรากำลังและโครงสร้างของแผนงาน บุคลากรเข้าใจวิธีการรายงานการ ได้รับการปฏิบัติตลอดจน ได้รับการให้คำปรึกษาและการติดตามสำหรับการบาดเจ็บ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทั่วไป เช่น ผู้ที่อาจเกิดจากเข็ม ตำ สัมผัสกับโรคติดเชื้อ เผชิญกับความรุนแรงในสถานที่ทำงาน การจัดการยกผู้ป่วย สภาพอาคารสถานที่ที่เป็น อันตราย ตลอดจนความปลอดภัยและสุขภาพอื่น ๆ การออกแบบของแผนงานนำเอาการป้อนกลับข้อมูลจาก บุคลากรและดึง เอาทรัพยากรทางคลินิกของโรงพยาบาลเช่นเดียวกับทรัพยากรที่อยู่ในชุมชนมาร่วมด้วย

พยาบาลและบุคลากรอื่น ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือในการย้ายผู้ป่วยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของการบาดเจ็บที่หลังและ ได้รับ บาดเจ็บกล้ามเนื้อและกระดูกอื่น ๆ เนื่องจากต้องใช้ร่างกายในการจัดการยกผู้ป่วย การจัดการยกผู้ป่วยด้วย เทคนิคที่ ไม่เหมาะสมยังสามารถมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและคุณภาพของการดูแล งานการ เคลื่อนย้ายและยก ผู้ป่วยมีการกระทำในรูปแบบสภาพแวดล้อมทางคลินิกที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่มีวิธีการ แก้ปัญหาใด ๆ ที่เฉพาะ เจาะจงที่เหมาะสมสำหรับทุกพื้นที่ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายและจัดการยกผู้ป่วยที่เกิดขึ้น ตัวอย่างของการจัดการยกที่ ปลอดภัยอาจรวมถึงการใช้เข็มขัดรัด การช่วยลำเลียงด้านข้าง การฝึกอบรมในกลศาสตร์ร่างกาย การดำเนินงาน ของ ทีมงานเคลื่อนย้ายและลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้15–17 ความรุนแรงในสถานที่ทำงานได้กลายเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นในสถานพยาบาล การขาดแคลนบุคลากร ความ รุนแรงของอาการผู้ป่วย และความเข้าใจผิดว่าความรุนแรงที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสถานพยาบาลหรือถ้ามีความรุนแรง เกิดขึ้น ก็มักเป็นส่วนหนึ่งของงานซึ่งเป็นเพียงไม่กี่อุปสรรคที่จะทำให้ต้องยอมรับว่าการใช้ความรุนแรงในสถานที่ ทำงานมีอยู่ จริงและต้องจัดทำเป็นแผนงานเพื่อป้องกันความรุนแรง18–21 (ดูQPS.7 ร่วมด้วย)

บ่อยครั้งที่สภาพแวดล้อมการดูแลมักจะมีความท้าทายทางอารมณ์ที่สามารถทำให้เกิดความเครียดทางจิตใจและ ร่างกาย22–26 ผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพมักจะตกเป็นเหยื่อที่สองของข้อผิดพลาดและเหตุการณ์พึงสังวร เมื่อผู้ป่วย และ สมาชิกในครอบครัวได้รับข้อผิดพลาดทางคลินิก ผู้ดูแลผู้ป่วยรู้สึกสำนึกผิดและ วิตกกังวลและความรู้สึกของพวกเขา จากความทุกข์ทางศีลธรรมมักจะไม่ได้รับการรับทราบหรือตอบสนอง โรงพยาบาลจำเป็นต้องรับทราบว่า สุขภาพทาง อารมณ์และประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ไม่พึง ประสงค์และเหตุการณ์พึงสังวรสามารถมีผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของการดูแลผู้ป่วย

เนื่องจากมีการติดต่อของบุคลากรกับผู้ป่วยและวัสดุติดเชื้อของผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพจำนวนมากจึงมีความ เสี่ยงกับการรับและมีโอกาสการแพร่กระจายโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การระบุการติดเชื้อทางระบาดวิทยาที่สำคัญ การกำหนดบุคลากรที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเหล่านี้และการดำเนินการแผนงานการคัดกรองและ การป้องกัน (เช่น การให้ภูมิคุ้มกันโรค การให้วัคซีนและการป้องกันโรค) สามารถลดอุบัติการณ์ของการแพร่กระจายโรคติดเชื้อ ได้อย่างมีนัยสำคัญ31–35 (ดูAOP.5.3.1; PCI.5, ME 2 และ PCI.8.2 ร่วมด้วย)

การติดเชื้อที่ไม่มีอาการเป็นเรื่องปกติและบุคคลสามารถติดเชื้อก่อนที่จะมีอาการใด ๆ รวมทั้งจากโรคไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพมักจะมีการรายงานว่ามาทำงานแม้ในขณะที่ป่วย

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมีความเสี่ยงที่สำคัญต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อที่แพร่กระจาย อันสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพ การระบาดของโรคติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลโยงไปถึงผู้ปฏิบัติ งานดูแลสุขภาพที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของโรคไข้หวัดใหญ่ โรงพยาบาลจะต้องพิจารณาทำตาม ขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อโดยผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพที่ไม่ได้รับวัคซีน ผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพมีหน้าที่ทั้งทางจริยธรรมและทางวิชาชีพเพื่อปกป้องตัวเอง เพื่อนร่วมงานตลอดจนผู้ป่วย ครอบครัว การให้วัคซีนจึงเป็นหน้าที่สำหรับผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพทุกคน

กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงของผู้ป่วยจากการสัมผัสกับโรคติดเชื้ออาจรวมถึงความพยายามที่จะส่งเสริมการฉีด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัด และกำหนดให้บุคลากรที่ยังไม่ได้รับวัคซีนสวม หน้า กากในช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ 38 บุคลากรที่ยังไม่ได้รับวัคซีนให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น มี ภาวะ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุและเด็กทารกเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ป่วย ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออยู่แล้ว ดังนั้น สถานะการให้วัคซีนของบุคลากรจำเป็นจะต้องมีการขึ้นบัญชีเมื่อมีการมอบหมายงานบุคลากร

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.8.2

❏ 1. โรงพยาบาลจัดให้มีแผนงานสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรที่มีการตอบสนองต่อความต้องการ ทั้งเร่งด่วนและไม่เร่งด่วนของบุคลากรด้วยการรักษาโดยตรงและการส่งต่อ

❏ 2. แผนงานบุคลากรและความปลอดภัยครอบคลุมอย่างน้อย a) จนถึง g) ในเจตจำนง (ดูSQE.5, ME 6 ร่วมด้วย)

❏ 3. โรงพยาบาลระบุพื้นที่/สถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดความรุนแรงในสถานที่ทำงานและดำเนินการจัดการ เพื่อลดความเสี่ยง

❏ 4. โรงพยาบาลจัดให้มีการประเมินผล การให้คำปรึกษาและติดตามการรักษาสำหรับบุคลากรที่ได้รับ บาดเจ็บจากการใช้ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน

❏ 5. โรงพยาบาลจัดให้มีการศึกษา การประเมินผล การให้คำปรึกษาและติดตามการรักษาสำหรับบุคลากรที่ เป็นเหยื่อที่สองของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือเหตุการณ์พึงสังวร

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.8.2.1

❏ 1. โรงพยาบาลระบุการติดเชื้อที่มีนัยสำคัญทางระบาดวิทยาเช่นเดียวกับระบุบุคลากรที่มีความเสี่ยงสูง สำหรับการสัมผัสและแพร่กระจายการติดเชื้อตลอดจนการดำเนินการแผนงานการให้วัคซีนและสร้าง ภูมิคุ้มกันโรคแก่บุคลากร (ดูPCI.6 ร่วมด้วย)

❏ 2. โรงพยาบาลประเมินความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับบุคลากรที่ไม่ได้รับวัคซีนและ ระบุกลยุทธ์ในการลดความ เสี่ยงของผู้ป่วยจากการสัมผัสกับโรคติดเชื้อจากบุคลากรที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

❏ 3. แผนงานป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อให้แนวทางในการประเมินผล การให้คำปรึกษาและการ ติดตามบุคลากรที่สัมผัสกับโรคติดเชื้อ (ดูPCI.2, ME 4 ร่วมด้วย)

การกำหนดสมาชิกภาพของบุคลากรสายแพทย์

มาตรฐาน SQE.9 องค์กรมีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันและต่อเนื่องสำหรับรวบรวม สอบทาน และประเมินหลักฐาน คุณสมบัติของบุคลากรสายแพทย์ที่ได้รับอนุญาตให้ดูแลผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องมีการควบคุมดูแลฮ P

มาตรฐาน SQE.9.1 เอกสารคุณวุฒิคุณสมบัติต่าง ๆ ของบุคลากรสายแพทย์ตามข้อกำหนดของกฎหมายต้องได้รับการตรวจสอบและ ต้องเป็นปัจจุบันเสมอฮ P

มาตรฐาน SQE.9.2 มีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันในการอาศัยข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแต่งตั้งบุคลาการสายแพทย์ที่เริ่ม ปฏิบัติงานใหม่è P

หลักฐานคุณสมบัติ (Credential) องค์กรมีกระบวนการที่เป็นแบบเดียวกันและต่อเนื่องในการจัดการหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสาย แพทย์ประกอบด้วยสำเนาหลักฐานการศึกษาและฝึกอบรม สำเนาของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่เป็นปัจจุบัน หลักฐานความสามารถปัจจุบันจากสารสนเทศขององค์การอื่นซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพเคยปฏิบัติงาน และจดหมาย รับรอง และ/หรือ สารสนเทศอื่น ๆ ที่กำหนดโดยกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับสำหรับสมาชิก

บุคลากรสายแพทย์แต่ละคนไว้ในแฟ้มข้อมูลส่วนตัวหรือในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติแยกต่างหากและเอกสาร ต้องได้รับการตรวจสอบจากแหล่งต้นกำเนิดของเอกสารด้วย ซึ่งการตรวจสอบจะมีแนวทางในการดำเนินการ ต่างกันตามตำแหน่งงานที่สมัคร ตัวอย่างเช่นมีผู้สมัครในตำแหน่งหัวหน้าของแผนกหรือหน่วยงานบริการ องค์กร จำเป็นต้องมีการตรวจสอบไปยังสถานที่ทำงานที่ผู้สมัครได้เคยปฏิบัติงานและมีประสบการณ์มาจากองค์กรนั้น สำหรับผู้สมัครในตำแหน่งงานด้านคลินิก องค์กรจำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าผู้สมัคร มีประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมาแล้วจำนวนกี่คนต่อปีเพื่อตรวจสอบระดับของประสบการณ์ในการดู แลรักษาผู้ป่วย

บุคลากรสายแพทย์ (Medical Staff) บุคลาการสายแพทย์หมายความถึง แพทย์ทันตแพทย์และบุคคลอื่นซึ่งมีใบอนุญาตประกอบวิาชีพให้ทำ

เวชปฏิบัติได้อย่างอิสระ(โดยไม่ต้องมีการควบคุมดูแล) และเป็นผู้ให้บริการป้องกันโรค บำบัดรักษา คืนสภาพ ศัลยกรรม ฟื้นฟูสมรรถภาพ หรือบริการทางการแพทย์และทันตกรรมอื่น ๆให้แก่ผู้ป่วย หรือเป็นผู้ให้บริการแปร ผลการตรวจแก่ผู้ป่วย เช่น การตรวจทางพยาธิวิทยา รังสีวิทยา หรือการตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ครอบคลุมการจำแนกการบรรจุ/แต่งตั้งทั้งหมด บุคลากรทุกประเภทและทุกระดับ (ลูกจ้าง กิตติมศักดิ์คู่สัญญา รับเชิญ และสมาชิกบุคลากรส่วนตัวในชุมชน ) บุคลากรที่รับเชิญรวมไปถึงผู้ที่ทำหน้าที่แทนชั่วคราว หรือ ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับเชิญ ครู“ชั้นเยี่ยม” และบุคลากรอื่น ๆ ที่อนุญาตให้บริการดูแลผู้ป่วยชั่วคราว องค์กรจะต้องกำหนดผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ดังกล่าว เช่น “แพทย์ประจำบ้าน” “แพทย์ที่รักษาเฉพาะคนไข้ใน โรงพยาบาล” และ “แพทย์อ่อนอาวุโส” ซึ่งไม่ต้องรับการฝึกอบรมอีกต่อไป แต่อาจจะหรืออาจจะไม่ได้รับการ อนุญาตโดยโรงพยาบาลให้ปฏิบัติงานอิสระ ดังนั้นคำศัพท์บุคลากรสายแพทย์รวมเอาแพทย์ทั้งหมดและผู้ ประกอบวิชาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้รักษาผู้ป่วยโดยเป็นอิสระบางส่วนหรือ ทั้งหมด โดยไม่ต้องมีความสัมพันธ์อันใดกับโรงพยาบาล (ยกตัวอย่างเช่น, ลูกจ้างหรือที่ปรึกษาอิสระ) พบว่าในบางวัฒนธรรมผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนโบราณ, เช่น ฝังเข็ม ผู้ที่บำบัดด้วยการจัดกระดูก และ อื่น ๆ อาจจะได้รับอนุญาตโดยกฎหมายและโรงพยาบาลให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ดังนั้น บุคคลเหล่านี้ได้รับการ พิจารณาว่าเป็นสมาชิกบุคลากรสายแพทย์และมาตรฐานดังกล่าวนำไปใช้อย่างเต็มรูป แบบ (ดูGLD.6.2 ,ME3 ร่วมด้วย)

การสอบทาน (Verification) การสอบทานหลักฐานคุณสมบัติคือ กระบวนการในการตรวจเช็คความสมบูรณ์และความครบถ้วนของหลักฐาน คุณสมบัติจากแหล่งที่ออกหลักฐานกระบวนการดังกล่าวสามารถบรรลุได้โดยการสอบถามผ่านฐานข้อมูล ออนไลน์ที่มีการรักษาความปลอดภัย, ยกตัวอย่างเช่น, บุคคลดังกล่าวได้รับใบอนุญาตฯ ในเมืองหรือประเทศ ของโรงพยาบาลกระบวนการยังสามารถบรรลุผลได้โดยการบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์กับแหล่งที่ออก เอกสาร หรือโดยการส่งอีเมล์หรือจดหมายสอบถามกับแหล่งที่ออกเอกสารทางไปรษณีย์แบบดั้งเดิม การสอบทานหลักฐานคุณสมบัติจากภายนอกประเทศอาจจะยุ่งยากซับซ้อนกว่าและในบางกรณีเป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ตามจะต้องมีหลักฐานแสดงความพยายามในการสอบทานหลักฐานคุณสมบัติที่เชื่อถือได้ (credible effort) ความพยายามที่เชื่อถือได้มีลักษณะคือมีความพยายามหลายครั้ง (อย่างน้อยสองครั้งภายในเวลา 60 วัน) โดย วิธีการต่าง ๆ (ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์อีเมล์และจดหมาย) ด้วยการบันทึกความพยายามและผลลัพธ์ ลงไป

สถานการณ์สามประการต่อไปนี้ถือว่าเป็นวิธีการทดแทนสำหรับโรงพยาบาลในการสอบทานหลักฐานคุณสมบัติ จากแหล่งที่ออกหลักฐานที่ยอมรับได้ได้แก่

• ใช้สำหรับโรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐโดยตรง กระบวนการสอบทานของภาครัฐ ได้รับการสนับสนุนโดยระเบียบข้อบังคับที่มีพร้อมปฏิบัติของภาครัฐและได้รับการประกาศเกี่ยวกับการ สอบทานไปยังแหล่งที่ออกเอกสารร่วมกับใบอนุญาตฯ ของภาครัฐ หรือเทียบเท่า เช่น การขึ้นทะเบียน และการให้สถานภาพเฉพาะ (ยกตัวอย่างเช่น ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญและอื่น ๆ) ที่เป็นที่ยอมรับ เช่นเดียวกับกระบวนการสอบทานขององค์กรไตรภาคีทั้งหมดมีความสำคัญที่จะสอบทานว่าองค์กร ไตรภาคี (ยกตัวอย่างเช่นหน่วยงานภาครัฐ) นำกระบวนการสอบทานไปปฏิบัติตามที่อธิบายไว้ในนโยบาย หรือระเบียบข้อบังคับและกระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามความคาดหวังที่อธิบายไว้ในมาตรฐานเหล่านี้

• ใช้สำหรับโรงพยาบาลทุกแห่งที่มีโรงพยาบาลในเครือซึ่งมีการสอบทานกับแหล่งที่ออกเอกสารของ บุคลากรสายแพทย์ที่สมัครเรียบร้อยแล้วการสอบทานนั้นจะเป็นที่ยอมรับตราบเท่าที่โรงพยาบาลในเครือ ได้รับการรับรองจาก JCI โดยปฏิบัติตามกระบวนการสอบทานที่ระบุไว้ใน SQE.9.1, MEs 1 และ 2 อย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์“full compliance”

• ใช้สำหรับโรงพยาบาลทุกแห่ง ที่มีการสอบทานเอกสารคุณสมบัติโดยองค์กรไตรภาคีซึ่งเป็นอิสระเช่น หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการตราบเท่าที่เป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ โรงพยาบาลที่ตัดสินใจบนพื้นฐานของสารสนเทศจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับการแต่งตั้ง อย่าง เป็นทางการควรสร้างความเชื่อมั่นในความครบถ้วนสมบูรณ์, ความถูกต้อง และความรวดเร็วของ สารสนเทศดังกล่าว เพื่อให้บรรลุในระดับความเชื่อมั่นของสารสนเทศดังกล่าว โรงพยาบาลควรประเมินผล หน่วยงานที่ส่งมอบสารสนเทศตั้งแต่แรกเริ่มและเป็นระยะหลังจากนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐาน JCI จะได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องครบถ้วน

มีความสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจกระบวนการสำหรับการออกหลักฐานคุณสมบัติบางอย่าง. ยกตัวอย่างเช่น องค์กรภาครัฐนั้นออกใบอนุญาตเพื่อประกอบวิชาชีพโดยอาศัยการตัดสินใจจากข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมดดังต่อ ไป นี้ได้แก่ การสอบทานหลักฐานการศึกษาหลักฐานการสอบด้านสมรรถนะการฝึกอบรมโดยสมาคมการแพทย์ เฉพาะทาง หรือ หลักฐานสมาชิกภาพและการจ่ายค่าธรรมเนียมถ้าการรับเข้าศึกษาในแผนงานเฉพาะทาง อาศัยการสอบทานหลักฐานการศึกษาและประสบการณ์ในปัจจุบัน โรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องสอบทานหลักฐาน การศึกษาอีกครั้ง การใช้กระบวนการโดยหน่วยงานภาครัฐได้รับการบันทึกโดยโรงพยาบาล ถ้าโรงพยาบาล ไม่มีความรู้โดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการที่ใช้โดยหน่วยงานในการสอบทานหลักฐานการศึกษา หรือโรงพยาบาล ไม่เคยมีโอกาสในการสอบทานว่าหน่วยงานที่ทำกระบวนการตามที่อธิบายไว้โรงพยาบาลจำเป็นต้องทำการ สอบทานด้วยตนเอง. (ดูSQE.13, MEs 3 และ SQE.15s, ME 2 ,3 ร่วมด้วย)

ข้อยกเว้นสำหรับ SQE.9.1, ME 1, สำหรับการเยี่ยมสำรวจครั้งแรกเท่านั้น การสอบทานไปยังแหล่งที่ออกหลักฐานกำหนดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพใหม่ที่เข้ามาเป็นบุคลากรสายแพทย์ภายใน 12 เดือนก่อนเยี่ยมสำรวจเพื่อการรับรอง JCI ครั้งแรก ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคนจะต้องทำการสอบทานไปยัง แหล่งที่ออกหลักฐานให้ครบถ้วนภายในระยะเวลา 12 เดือนหลังการเยี่ยมสำรวจ กระบวนการนี้จะต้องบรรลุผล ในช่วงเวลา 12 เดือนหลังจากเยี่ยมสำรวจตามแผนที่มีการกำหนดลำดับความสำคัญไว้แล้วเกี่ยวกับการสอบทาน หลักฐานคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพที่ยังให้บริการที่เสี่ยงสูงอยู่ หมายเหตุ : ข้อยกเว้นดังกล่าวหมายถึงเพียงเรื่องของ “การสอบทาน” หลักฐานคุณสมบัติเท่านั้น ต้องมีการเก็บรวบรวมและทบทวนหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ทุกคนและมีการมอบสิทธิ การรักษา จะไม่มี“การกำหนดเป็นระยะ” สำหรับกระบวนการดังกล่าว

การบรรจุแต่งตั้ง (Appointment)

การบรรจุแต่งตั้งคือ กระบวนการทบทวนหลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัครในครั้งแรกเพื่อตัดสินใจว่าบุคคลดังกล่าว มีคุณวุฒิเหมาะสมในการให้บริการดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นความต้องการผู้ป่วยของโรงพยาบาลและโรงพยาบาล สามารถสนับสนุนด้วยบุคลากรที่มีคุณสมบัติและความสามารถในเชิงเทคนิค สำหรับผู้สมัครใหม่ครั้งแรก มีการ ทบทวนสารสนเทศหลัก ๆ จากแหล่งภายนอกนโยบายของโรงพยาบาลระบุบุคคลหรือกลไกที่รับผิดชอบ ในการทบทวนดังกล่าว มีการใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจและวิธีการบันทึกการตัดสินใจ นโยบายโรงพยาบาล ระบุกระบวนการแต่งตั้งผู้ประกอบวิชาชีพอิสระสำหรับความจำเป็นฉุกเฉินหรือเป็นระยะเวลาชั่วคราว สำหรับบุคคลดังกล่าวการบรรจุ/แต่งตั้งและการระบุสิทธิในการรักษาจะไม่ทำจนกระทั่งมีการสอบทาน ใบอนุญาตฯ เป็นอย่างน้อย

การต่ออายุ (Reappointment) การต่ออายุคือ กระบวนการทบทวนแฟ้มของสมาชิกบุคลการสายแพทย์เพื่อ

• สอบทานการได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่ต่อเนื่อง

• สมาชิกบุคลากรสายแพทย์ไม่ได้ถูกประนีประนอมโดยการดำเนินการทางวินัยจากหน่วยงานที่ออก ใบอนุญาตฯและประกาศนียบัตร

• แฟ้มส่วนบุคคลมีเอกสารเพียงพอที่จะแสวงหาสิทธิการรักษา/หน้าที่ใหม่หรือขยายสิทธิการ รักษา/หน้าที่ในโรงพยาบาล

• สอบทานว่าสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีความสามารถทางร่างกายและจิตใจที่จะให้การดูแลและ รักษาผู้ป่วยโดยปราศจากการกำกับดูแล

สารสนเทศสำหรับการทบทวนดังกล่าวมาจากทั้งแหล่งภายในและภายนอกเมื่อแผนก/บริการทางคลินิก (ยกตัวอย่างเช่น, บริการอนุสาขาเฉพาะทาง) ไม่มีผู้อำนวยการ/ผู้นำมีนโยบายโรงพยาบาลที่ระบุว่าใครจะทำ การทบทวนวิชาชีพในแผนก/บริการนั้น แฟ้มหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์จะเป็นแหล่งสาร สนเทศที่เป็นพลวัตและมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสมาชิกบุคลากรสายแพทย์นำเสนอ ประกาศนียบัตรสำเร็จการศึกษาที่เกี่ยวกับระดับสูงหรือการฝึกอบรมเฉพาะทางระดับสูง หลักฐานคุณสมบัติใหม่ จะได้รับการสอบทานทันทีจากแหล่งที่ออกเอกสาร ทำนองเดียวกันนี้เมื่อหน่วยงานภายนอกสอบสวนเหตุ พึงสังวรที่เกี่ยวกับสมาชิกบุคลากรสายแพทย์และให้การคว่ำบาตรสารสนเทศดังกล่าว จะใช้ทันทีในการประเมิน ซ้ำสิทธิทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแฟ้มบุคลากรสายแพทย์ครบถ้วน สมบูรณ์และถูกต้อง แฟ้มได้รับการทบทวนอย่างน้อยทุกสามปีและ บันทึกไว้ในแฟ้มเพื่อระบุการดำเนินการใด ๆ หรือ ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ และ มีการบรรจุ/แต่งตั้งบุคลากรสายแพทย์ต่อเนื่องไป บุคลากรสายแพทย์อาจจะไม่ได้รับมอบสมาชิกภาพถ้าหากโรงพยาบาลไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์พิเศษหรือ บุคลากรที่สนับสนุนการประกอบวิชาชีพของแต่ละบุคคลยกตัวอย่างเช่นอายุรแพทย์โรคไตแสวงหาการให้บริการล้าง ไตที่โรงพยาบาลอาจจะไม่มีการมอบสมาชิกภาพให้แก่บุคลากรสายแพทย์ถ้าโรงพยาบาลไม่ได้ให้บริการ ดังกล่าว

ท้ายที่สุด, เมื่อมีการสอบทานใบอนุญาตฯ/การขึ้นทะเบียนของผู้สมัครจากแหล่งที่ออกเอกสาร, แต่เอกสารอื่น ๆเช่น หลักฐานการศึกษาและฝึกอบรม-ยังคงอยู่ระหว่างการสอบทาน อาจจะมีการมอบสมาชิกภาพบุคลากรสาย แพทย์ให้แก่บุคคลดังกล่าว และมีการระบุสิทธิการรักษาแก่ผู้สมัคร อย่างไรก็ตาม บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่ปฏิบัติ งานอย่างอิสระจนกระทั่งหลักฐานคุณสมบัติทั้งหมดได้รับการสอบทาน ไม่เกิน 90 วัน การกำกับดูแลดังกล่าวได้รับ การกำหนดไว้ชัดเจนในนโยบายโรงพยาบาลทั้งระดับ เงื่อนไข และระยะเวลาต้องไม่เกิน 90 วัน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.9

❏ 1. องค์กรมีการใช้กระบวนการในรูปแบบเดียวกันและต่อเนื่องในการจัดการหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิก บุคลากรสายแพทย์

❏ 2. มีการระบุตัวสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย, ระเบียบข้อบังคับ และ โรงพยาบาล เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยโดยปราศจากการกำกับดูแล (ดูSQE.1.1 และ GLD.2,ME5 ร่วมด้วย)

❏ 3. โรงพยาบาลเก็บสำเนาและธำรงรักษาหลักฐานการศึกษา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ/การขี้นทะเบียน และหลักฐานคุณสมบัติอื่น ๆที่กำหนดโดยกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับสำหรับสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ แต่ละคนไว้ในแฟ้มข้อมูลส่วนตัวหรือในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติแยกต่างหาก (ดูSQE.5,ME2 ร่วมด้วย)

❏ 4. โรงพยาบาลเก็บสำเนาและธำรงรักษาหลักฐานคุณสมบัติทั้งหมดที่กำหนดโดยนโยบายโรงพยาบาล สำหรับสมาชิกบุคลากรสายแพทย์แต่ละคนไว้ในแฟ้มข้อมูลส่วนตัวหรือในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติแยก ต่างหาก

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.9.1

❏ 1. หลักฐานการศึกษา, ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ/การขี้นทะเบียน และหลักฐานคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ กำหนดโดยกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือ ออกให้โดยองค์กรการศึกษาหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นทยอมรับเพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับสิทธิทางคลินิก ได้รับการสอบทานจากแหล่งที่ออกหลักฐานคุณสมบัติ ดังกล่าว

❏ 2. หลักฐานคุณสมบัติเพิ่มเติมที่กำหนดโดยนโยบายของโรงพยาบาลได้รับการสอบทานจากแหล่งที่ ออก หลักฐานคุณสมบัติดังกล่าวเมื่อกำหนดโดยนโยบายโรงพยาบาล

❏ 3. เมื่อมีการใช้องค์กรไตรภาคี (third-party) ในการสอบทาน, โรงพยาบาลสอบทานว่าองค์กรไตรภาคี (ยกตัวอย่างเช่น หน่วยงานภาครัฐ) นำกระบวนการสอบทานที่อธิบายไว้ในนโยบายหรือระเบียบข้อบังคับ ไปปฏิบัติและกระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามความคาดหวังที่อธิบายไว้ในเจตจำนง

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.9.2

❏1. การบรรจุ/แต่งตั้งบุคลากรสายแพทย์กระทำตามนโยบายของโรงพยาบาลและเป็นไปตามกลุ่มประชากร ผู้ป่วย, พันธกิจ, และบริการของโรงพยาบาลที่จัดให้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย (ดู SQE.2,ME3 ร่วมด้วย)

❏2. จะไม่มีการบรรจุ/แต่งตั้งจนกระทั่งมีการสอบทานหลักฐานใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ/การขี้น ทะเบียน จากแหล่งที่ออกหลักฐานเป็นอย่างน้อย และสมาชิกบุคลากรสายแพทย์จัดให้มีบริการดูแล ผู้ป่วยภายใต้ การกำกับดูแลจนกระทั่งหลักฐานคุณสมบัติทั้งหมดที่กำหนดโดยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับได้รับการ สอบทานจากแหล่งที่ออกหลักฐานสูงสุดภายใน 90 วัน (ดูSQE.3 ร่วมด้วย)

❏3. วิธีการกำกับดูแล ความถี่ของการกำกับดูแล และผู้กำกับดูแลที่รับผิดชอบได้รับการบันทึกไว้ในแฟ้ม หลักฐานคุณสมบัติของแต่ละบุคคล (ดูSQE.5 ร่วมด้วย)

การมอบสิทธิทางคลินิก

มาตรฐาน SQE.10 องค์กรมีวิธีปฏิบัติที่ใช้หลักฐาน เป็นธรรม มีมาตรฐานในการมอบสิทธิแก่บุคลากรสายแพทย์ที่จะรับและรักษา ผู้ป่วย และให้บริการทางคลินิกอื่น อย่างสอดคล้องกับคุณสมบัติของบุคลากรนั้นè P

เจตจำนงของ SQE.10 การกำหนดสมรรถนะทางคลินิกที่ในปัจจุบันของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์และทำการตัดสินใจเกี่ยวกับว่า บริการทางคลินิกอะไรที่สมาชิกบุคลากรสายแพทย์จะได้รับอนุญาตให้กระทำการกำหนดที่วิกฤตที่สุดที่ โรงพยาบาลจะทำเพื่อปกป้องความปลอดภัยของผู้ป่วยและเพื่อยกระดับคุณภาพของบริการทางคลินิกของตน

ข้อควรพิจารณาสำหรับคำบรรยายสิทธิทางคลินิก ณ การบรรจุ/แต่งตั้งครั้งแรกครอบคลุมดังต่อไปนี้

• การตัดสินใจเกี่ยวกับสมรรถนะทางคลินิกของผู้ประกอบวิชาชีพและดังนั้นสิทธิทางคลินิกอะไรบ้าง ที่จะ ได้รับการมอบ อาศัยสารสนเทศและเอกสารที่ได้รับจากภายนอกโรงพยาบาลเป็นหลัก แหล่งดังกล่าว อาจจะครอบคลุมแผนงานการศึกษาเฉพาะทางจดหมายแนะนำจากการบรรจุ/แต่งตั้ง บุคลากรสายแพทย์ ก่อนหน้านี้และ/หรือจากเพื่อร่วมงานที่สนิท โดยทั่วไป แหล่งสารสนเทศเหล่านี้นอกเหนือจากสถาบันการศึกษาเช่นแผนงานการแพทย์เฉพาะทาง จะ ไม่ได้รับการสอบทานจากแหล่งที่ออกเอกสารถ้าไม่กำหนดโดยนโยบายของโรงพยาบาลแม้ว่าแหล่งภายนอกเหล่านี้อาจจะไม่ได้ให้หลักฐานสมรรถนะทางคลินิกในปัจจุบันที่ชัดเจน เป็นวัตถุวิสัย อย่างน้อยที่สุดมีการระบุพื้นที่ของสมรรถนะที่คาดหวัง(ดูSQE.2,ME2 ร่วมด้วย) และ การทบทวนการ ประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ( ดูSQE.2,ME2 ร่วมด้วย ) จะช่วยยืนยันความถูกต้องพื้นที่ของสมรรถนะ ที่คาดหวัง

• ไม่มีทางใดที่ดีที่สุดในการบรรยายกิจกรรมทางคลินิกทั้งหลายในการมอบสิทธิให้แก่สมาชิกบุคลากรสาย แพทย์ใหม่กระทำ แผนงานการฝึกอบรมเฉพาะทางอาจจะระบุและให้รายการสมรรถนะทั่วไปของสาขา เฉพาะทางดังกล่าวในพื้นที่ของการวินิจฉัยและรักษาด้วยการมอบสิทธิโดยโรงพยาบาลเพื่อวินิจฉัยและ รักษาผู้ป่วยในพื้นที่สมรรถนะเฉพาะทางดังกล่าว องค์กรอื่น ๆอาจจะเลือกที่จะแสดงรายการใน รายละเอียดของผู้ป่วยและหัตถการการรักษาแต่ละประเภท

• ภายในแต่ละพื้นที่เฉพาะทาง กระบวนการบรรยายสิทธิเป็นแบบเดียวกัน กระบวนการดังกล่าวอาจจะ ไม่ เหมือนกันในพื้นที่เฉพาะทั้งหมด สิทธิการรักษาจะแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น สำหรับศัลยแพทย์ทั่วไป กุมารแพทย์ ทันตแพทย์ หรือ รังสีแพทย์ภายในแต่ละกลุ่มดังกล่าว กระบวนการสำหรับบรรยายสิทธิจะ เป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว แพทย์เวชปฏิบัติปฐมภูมิและอื่น ๆ ที่ให้บริการ หลากหลายในด้านอายุศาสตร์ทั่วไป สูติศาสตร์กุมารเวชศาสตร์และ บริการอื่น ๆ คำบรรยายสิทธิ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวระบุว่าบริการ “เฉพาะทาง” อะไรบ้างที่สามารถให้บริการได้บ้าง

• การตัดสินใจว่าคำบรรยายสิทธิทางคลินิกในพื้นที่สาขาเฉพาะทางได้รับการเชื่อมโยงกับกระบวนการอื่น ๆ อย่างไร ได้แก่

• การคัดเลือกโดยผู้นำแผนก/บริการว่ากระบวนการไหนที่ต้องได้รับการเฝ้าติดตามด้วย การเก็บ ข้อมูล ( ดูGLD.11.1)

• การใช้ข้อมูลทั้งหลายในกระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผล บุคลากรสายแพทย์ในแผนก/ บริการอย่างต่อเนื่อง (ดูSQE.11)และ

• การใช้ข้อมูลเฝ้าติดตามในกระบวนการต่ออายุและการมอบสิทธิใหม่อีกครั้ง (ดูSQE.12)

• นอกจากที่การมอบสิทธิจะสัมพันธ์กับการศึกษาและฝึกอบรมของแต่ละบุคคล โรงพยาบาลระบุพื้นที่เสี่ยง สูง เช่น การบริหารยาเคมีบำบัด ยาในกลุ่มอื่น ๆ หรือหัตถการเสี่ยงสูงสำหรับสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ คนไหนที่ได้รับการมอบหรือปฏิเสธสิทธิดังกล่าว อย่างชัดเจน มีการระบุหัตถการ ยา หรือบริการอื่น ๆที่ เสี่ยงสูงโดยแต่ละพื้นที่สาขาเฉพาะทาง และหลักฐาน ในกระบวนการบรรยายสิทธิหัตถการบางอย่าง อาจจะเป็นหัตถการเสี่ยงสูง เนื่องจากมีการใช้เครื่องมือ เช่น ในกรณีของหุ่นยนต์ (robotic) และ การใช้คอมพิวเตอร์อื่น ๆ หรือ ศัลยกรรม/เทคโนโลยีการรักษาที่ทำทางไกล อุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้ฝังในร่างกาย ต้องการทักษะในการฝัง การสอบเทียบและการเฝ้าติดตามสำหรับสิทธิที่จะมอบให้เป็นการเฉพาะ (ดูASC.7.4 ร่วมด้วย)

• ไม่มีการมอบสิทธิถ้าหากโรงพยาบาลไม่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์พิเศษหรือบุคลากรที่สนับสนุนการ ฝึกฝนสิทธิดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น อายรุแพทย์โรคไตมีความสามารถที่จะทำการฟอกไต หรืออายุรแพทย์ โรคหัวใจมีความสามารถที่จะใส่ stent จะไม่ได้รับสิทธิสำหรับหัตถการทั้งหลายเหล่านี้ถ้าโรงพยาบาลไม่มี การให้บริการดังกล่าว.

• เมื่อมีการสอบทานใบอนุญาตฯ/การขึ้นทะเบียนของผู้สมัครไปยังแหล่งที่ออกเอกสาร แต่เอกสารอื่น ๆ เช่น หลักฐานการศึกษาและฝึกอบรม-ยังอยู่ระหว่างการสอบทาน มีการระบุสิทธิการรักษาสำหรับผู้สมัคร แต่อย่างไรก็ตามผู้สมัครเหล่านี้อาจจะไม่สามารถปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระจนกระทั่งหลักฐานทั้งหมดได้รับ การสอบทาน โดยกระบวนการที่อธิบายไว้ด้านบน มีการกำหนดระดับ เงื่อนไข และระยะเวลาในการกำกับ ดูแลไว้ในนโยบายโรงพยาบาลอย่างชัดเจน

หมายเหตุ: เมื่อสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีความรับผิดชอบด้านบริหารด้วย เช่น เป็นประธานหรือหัวหน้าแผนก ทางคลินิก ผู้บริหารโรงพยาบาล หรือตำแหน่งอื่น ๆ ความรับผิดชอบสำหรับบทบาทดังกล่าวได้รับการระบุไว้ในคำ บรรยายลักษณะงาน (ดูSQE.1.1 ร่วมด้วย) นโยบายโรงพยาบาลระบุการสอบทานหลักฐานคุณสมบัติที่ปรากฎเพื่อสนับสนุนบทบาทด้านบริหารดังกล่าวไป ยัง แหล่งที่ออกเอกสาร.

กระบวนการบรรยายสิทธิที่ใช้โดยโรงพยาบาลเป็นไปตามกระบวนการดังนี้ a) เป็นมาตรฐานเดียวกัน, เป็นวัตถุวิสัย, และอิงหลักฐาน; b) มีการบันทึกไว้ในนโยบายโรงพยาบาล; c) มีการใช้งานและต่อเนื่องเมื่อหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีการเปลี่ยนแปลง d) ได้รับการปฏิบัติตามสำหรับสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ทุกกลุ่ม และ e) สามารถแสดงให้เห็นวิธีการที่ระเบียบปฏิบัติใช้ได้ผล

สิทธิทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ทั้งหมดมีพร้อมใช้โดยเป็นสำเนาที่พิมพ์ไว้สำเนาอิเล็กทรอนิกส์หรือ วิธีการอื่น ๆ สำหรับบุคคลหรือสถานที่ (ยกตัวอย่างเช่น ห้องผ่าตัด แผนกฉุกเฉิน) ในโรงพยาบาลที่ซึ่งสมาชิก บุคลากรสายแพทย์จะให้บริการสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ได้รับมอบสำเนาสิทธิทาง คลินิกของตนหนึ่งฉบับ เมื่อ สิทธิทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีการเปลี่ยนแปลง สารสนเทศที่ได้รับการปรับใหม่ให้เป็นปัจจุบัน ได้รับการสื่อสาร (ดูGLD.6.2 ,ME1 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.10

❏ 1. กระบวนการบรรยายสิทธิที่ใช้โดยโรงพยาบาลเป็นไปตามเกณฑ์ในข้อ a) จนถึง e) ที่พบในเจตจำนง ของ มาตรฐาน

❏ 2. สิทธิทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ทั้งหมดมีพร้อมโดยเป็นสำเนาที่พิมพ์ไว้สำเนา อิเล็กทรอนิกส์หรือ วิธีการอื่น ๆ แก่บุคคลหรือสถานที่ (ยกตัวอย่างเช่น ห้องผ่าตัด แผนกฉุกเฉิน) ใน โรงพยาบาลที่สมาชิกบุคลากรสายแพทย์จะให้บริการ(ดูMMU.4.2,ME3 ร่วมด้วย)

❏ 3. สมาชิกบุคลากรสายแพทย์แต่ละคนให้บริการเฉพาะที่ได้รับการมอบสิทธิที่จำเพาะโดยโรงพยาบาล เท่านั้น (ดูAOP.1,ME3 ;AOP.3,ME1;AOP.6.2 MEs3 ;ASC.3.1,ME 1;MMU.5.1,ME 4 และ MMU.6,ME 1ร่วมด้วย)

การเฝ้าติดตามและประเมินผลบุคลากรสายแพทย์อย่างต่อเนื่อง

มาตรฐาน SQE.11 องค์กรใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานและต่อเนื่อง ในการประเมินคุณภาพและความปลอดภัยการให้บริการ ผู้ป่วยโดยบุคลากรสายแพทย์แต่ละคนè P

เจตจำนงของ SQE.11 มีการให้คำจำกัดความของคำศัพท์ที่สำคัญ และคาดหวังว่าจะพบหัวข้อเหล่านี้ในมาตรฐานได้แก

กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผล

กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลของบุคลากรสายแพทย์แต่ละคน ต้องประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลอย่างต่อเนื่อง โดยระบุพื้นที่ที่เฝ้าติดตามคือ พฤติกรรม(ฺBehavior) การพัฒนาในวิชาชีพ (Professional growth) และ ผลลัพธ์ทางคลินิก (Clinical results) ผู้อำนวยการแผนก/บริการ รับผิดชอบในการบูรณาการข้อมูลและสารสนเทศ ของบุคลากรสายแพทย์และ ดำเนินการอย่างเหมาะสมการดำเนินการในทันทีอาจจะเป็นการให้คำปรึกษาแก่ สมาชิกบุคลากร จัดให้มีการ ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแล จำกัดสิทธิในการรักษา หรือมาตรการอื่น ๆ ที่มีเจตจำนงเพื่อจำกัดความเสี่ยงต่อ ผู้ป่วยและพัฒนาคุณภาพการดูแลและความปลอดภัยผู้ป่วย

การดำเนินการระยะยาวครอบคลุมการสังเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศให้เป็นข้อเสนอแนะเพื่อต่อสมาชิกภาพ บุคลากรสายแพทย์และการมอบสิทธิทางคลินิก การดำเนินการอื่น ๆ อาจจะเป็นการแจ้งต่อสมาชิกบุคลากร สายแพทย์คนอื่น ๆ เกี่ยวกับหลักฐานข้อมูลและสารสนเทศของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์เกี่ยวกับพฤติกรรมและ ผลลัพธ์ทางคลินิกเพื่อใช้ในการเทียบเคียง

การเฝ้าติดตามและการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์เป็นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อ กระบวนการธำรงสมาชิกภาพบุคลากรสายแพทย์และต่อกระบวนการมอบสิทธิทางคลินิก (ดูSQE.9 จนถึง SQE.9.2 ร่วมด้วยแม้ว่ามีการกำหนดให้มีวงรอบสามปีสำหรับการมอบสมาชิกภาพบุคลากรสายแพทย์และสิทธิ ทางคลินิกใหม่อีกครั้ง กระบวนการมีเจตจำนงให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นพลวัต อุบัติการณ์คุณภาพและ ความปลอดภัยผู้ป่วยที่วิกฤตสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าประเด็นขีดสมรรถนะทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ ไม่ได้รับการสื่อสารและดำเนินการเมื่อเกิดขึ้น

กระบวนการเฝ้าติดตามและการประเมินผลอย่างต่อเนื่องมีเจตจำนงที่จะ • พัฒนาการประกอบวิชาชีพของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวกับคุณภาพสูง การดูแลผู้ป่วยที่ปลอดภัย • จัดให้มีรากฐานในการลดความแปรปรวนภายในแผนก/บริการผ่านการเปรียบเทียบระหว่างเพื่อนร่วม งาน และการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติและระเบียบวิธีทางคลินิก และ • จัดให้มีรากฐานในการพัฒนาผลลัพธ์ของแผนก/บริการทั้งหมดผ่านการเปรียบเทียบกับการปฏิบัติและ งานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ตลอดจนผลลัพธ์ทางคลินิกเทียบเคียงภายนอก

การเฝ้าติดตามและการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ได้รับการรวบรวมเข้าไว้ทั้ง หมด เป็นพื้นที่ทั่วไปทั้งสาม ได้แก่ พฤติกรรม ความก้าวหน้าในวิชาชีพ และผลลัพธ์ทางคลินิก

พฤติกรรม (Behavior)

สมาชิกบุคลากรสายแพทย์เป็นแบบอย่างและต้นแบบในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมคุณภาพในโรงพยาบาล วัฒนธรรมความปลอดภัยมีลักษณะเฉพาะโดยบุคลากรทั้งหมดเข้าร่วมอย่างเต็มรูปแบบโดยปราศจากความกลัวต่อ การแก้แค้นหรือการไม่ให้ความสำคัญวัฒนธรรมความปลอดภัยรวมถึงการให้ความเคารพกันอย่างสูงระหว่าง กลุ่มวิชาชีพซึ่งไม่ควรมีพฤติกรรมที่แตกหักหรือพฤติกรรมอื่น ๆการป้อนข้อมูลกลับของบุคลากรผ่านการสำรวจ หรือกลไกอื่น ๆ ที่สามารถขัดเกลาพฤติกรรมที่พึงประสงค์และสามารถสนับสนุนความเป็นแบบอย่างของบุคลากร สายแพทย์

การประเมินผลของพฤติกรรมสามารถทำได้ดังนี้

• การประเมินว่าสมาชิกบุคลากรสายแพทย์เข้าใจและสนับสนุนจรรยาบรรณในเรื่องพฤติกรรมของ โรงพยาบาลรวมถึงการระบุพฤติกรรมที่ยอมรับและไม่ยอมรับ

• ไม่มีการรายงานโดยสมาชิกบุคลากรสายแพทย์เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ระบุว่าไม่เป็นที่ยอมรับ และ

• การรวบรวม วิเคราะห์และใช้สารสนเทศและข้อมูลจากการสำรวจบุคลากรและแหล่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ วัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล

กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องควรจะบ่งชี้การบรรลุผลสำเร็จและความท้าทายที่เกี่ยวข้องของ สมาชิกบุคลากรสายแพทย์ในความพยายามที่จะเข้าร่วมอย่างเต็มรูปแบบในวัฒนธรรมความปลอดภัยและเที่ยง ธรรมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทบทวน(ดูSQE.10 ร่วมด้วย)

ความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Professional Growth)

สมาชิกบุคลากรสายแพทย์ก้าวหน้าและมีวุฒิภาวะตามองค์กรที่ตนทำงานอยู่ค่อยๆ เจริญขึ้น มีการนำเข้าผู้ป่วยกลุ่ม ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ และ วิทยาศาสตร์การแพทย์ใหม่สมาชิกบุคลากรสายแพทย์แต่ละคน มีปริญญาแตกต่างกันจะ สะท้อนความก้าวหน้าและการพัฒนาในมิติสำคัญของการดูแลสุขภาพและการประกอบวิชาชีพดังต่อไปนี้

• การดูแลผู้ป่วย (Patient care)

ครอบคลุมการให้การดูแลผู้ป่วยด้วยความเห็นอกเห็นใจเหมาะสมและมีประสิทธิผลสำหรับการส่งเสริม สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต ตัววัดที่สามารถใช้ได้ได้แก่ ความถี่ของบริการป้องกันและรายงานจากผู้ป่วยและครอบครัว (ดูPFR .3 ร่วมด้วย)

• ความรู้ทางการแพทย์/คลินิก (Medical/clinical knowledge)

ครอบคลุมความรู้ด้านวิทยาการด้านชีวการแพทย์, ด้านคลินิก, ด้านระบาดวิทยา และ ด้านสังคม พฤติกรรมศาสตร์ที่มีบทสรุปแล้วและที่กำลังพัฒนาหาข้อสรุป รวมถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ในการดูแล ผู้ป่วยและให้การศึกษาแก่ผู้อื่น ตัววัดที่สามารถใช้ได้ได้แก่ การประยุกต์ใช้แนวทางเวชปฏิบัติการปรับใช้และการปรับปรุงแนวทางใหม่ การมีส่วนร่วมในการประชุมทางวิชาชีพ และการตีพิมพ์(ดูGLD.11.2 ร่วมด้วย) 1) การเรียนรู้และพัฒนาบนพื้นฐานการปฏิบัติ(Practice-based learning and improvement) ครอบคลุมการใช้หลักฐานและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อสืบค้น ประเมินผลและปรับปรุงการดูแล ผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยการประเมินตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีพ ตัววัดที่สามารถใช้ได้ได้แก่ การสืบค้น/การวิจัยทางคลินิกที่มาจากแรงบันดาลใจของตนเอง การได้รับ สิทธิทางคลินิกใหม่โดยอาศัยการศึกษาและการได้รับทักษะใหม่ ตลอดจนการเข้าร่วมอย่างเต็มรูปแบบใน ข้อกำหนดการประชุมที่เป็นข้อกำหนดวิชาชีพเฉพาะทางหรือ ข้อกำหนดการศึกษาต่อเนื่องของการออก ใบอนุญาตฯ

• ทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร(Interpersonal and Communication skills)

ครอบคลุมการสร้างและธำรงไว้ซึ่งการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและความร่วมมือกับผู้ป่วย ครอบครัว และ สมาชิกในทีมดูแลสุขภาพอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิผล ตัววัดที่สามารถใช้ได้ได้แก่ การเข้าร่วมในการตรวจเยี่ยมเพื่อการสอน (teaching round) การให้คำปรึกษาแก่ทีม ภาวะผู้นำของทีม และการให้ข้อมูลป้อนกลับโดยผู้ป่วยและครอบครัว

• ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)

ครอบคลุมความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ความเข้าใจและมี ความไวต่อความหลากหลาย และมีเจตคติที่รับผิดชอบต่อผู้ป่วย วิชาชีพ และสังคม ตัววัดที่สามารถใช้ได้ได้แก่ ความเห็นของผู้นำภายในบุคลากรสายแพทย์เกี่ยวกับประเด็น ทางคลินิกและวิชาชีพ บริการเกี่ยวกับคณะกรรมการจริยธรรมหรือการอภิปรายประเด็นทางจริยธรรม การยึดมั่นในตารางนัด และการเข้าร่วมกับชุมชน

• การปฏิบัติบนพื้นฐานเชิงระบบ (System-based practice)

ครอบคลุมความตระหนักและการตอบสนองต่อบริบทและระบบการดูแลสุขภาพที่ใหญ่กว่ารวมถึง ความสามารถในการเรียกใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ในระบบอย่างมีประสิทธิผลเพื่อให้การดูแลสุขภาพที่ เหมาะสม

ตัววัดที่สามารถใช้ได้ได้แก่ ความเข้าใจความหมายของระบบในระดับโรงพยาบาลที่มีการใช้เป็นประจำ เช่น ระบบยา และความตระหนักรู้นัยยะของการใช้ระบบที่เกินความจำเป็น การใช้น้อยกว่าความจำเป็น และการใช้ผิดวัตถุประสงค์

1) ภาวะผู้ให้บริการดูแลทรัพยากร (Stewardship of resources)

ครอบคลุมความเข้าใจความจำเป็นของภาวะผู้ให้บริการดูแลทรัพยากรและการปฏิบัติในการดูแลที่คำนึงถึง ค่าใช้จ่าย (cost-conscious care)ครอบคลุมการหลีกเลี่ยงการใช้ที่มากเกินความจำเป็นและ การใช้ที่ผิดวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตรวจทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคและการรักษาซึ่งไม่เป็นประโยชน์ ในการดูแลผู้ป่วยแต่เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ.

ตัววัดที่สามารถใช้ได้ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจจัดซื้อที่สำคัญภายในพื้นที่ประกอบวิชาชีพของ ตน การมีส่วนร่วมในความพยายามที่จะเข้าใจการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม และการตระหนักรู้เรื่อง ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและผู้จ่ายเงินในบริการที่ตนจัดให้(ดูGLD.7 ร่วมด้วย)

กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องถือว่าพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุผลสำเร็จและโอกาสพัฒนา ของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ในพื้นที่ความก้าวหน้าในวิชาชีพดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทบทวน

ผลลัพธ์ทางคลินิก (Clinical results)

กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องสำหรับสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีการทบทวน สารสนเทศร่วมของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ทุกคนรวมทั้งสารสนเทศเฉพาะที่สัมพันธ์กับสิทธิทางคลินิกของ สมาชิกและบริการที่จัดให้โดยความเชี่ยวชาญของตน

แหล่งข้อมูลในระดับโรงพยาบาล (Hospitalwide Data Sources)

โรงพยาบาลเก็บข้อมูลต่าง ๆสำหรับใช้ในการบริหารจัดการ เช่น การรายงานต่อหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อ สนับสนุนการจัดสรรทรัพยากรหรือการจ่ายค่าบริการเพื่อเป็นประโยชน์ในการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของ สมาชิกบุคลากรสายแพทย์รายบุคคล ข้อมูลระดับโรงพยาบาลดังกล่าว

• จำเป็นต้องมีการเก็บในลักษณะที่สามารถระบุผู้ประกอบวิชาชีพเป็นรายบุคคลได้โดยง่าย

• จะต้องสัมพันธ์กับการปฏิบัติทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์รายบุคคล; และ

• สามารถเทียบเคียงได้ทั้งภายในและ/หรือภายนอกเพื่อทำความเข้าใจแบบแผนของผู้ประกอบ วิชาชีพ รายบุคคล.

ตัวอย่างของแหล่งข้อมูลที่สามารถใช้ได้ได้แก่ ระยะเวลาวันนอนโรงพยาบาล ความถี่ของการส่งตรวจทดสอบ เพื่อวินิจฉัยโรค การใช้เลือด และการใช้ยาบางตัว ฯลฯ

แหล่งข้อมูลที่จำเพาะต่อแผนก (Department-Specific Data Sources)

ยังมีการเก็บข้อมูลได้ในระดับแต่ละแผนก/บริการอีกด้วยผู้นำแผนก/บริการกำหนดลำดับความสำคัญสำหรับการ วัดในแผนกเพื่อเป้าหมายของการเฝ้าติดตามรวมทั้งการพัฒนา ตัววัดจำเพาะต่อบริการที่จัดให้และสิทธิทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์รายบุคคลภายในแผนก เช่นเดียวกับข้อมูลในระดับโรงพยาบาลเพื่อเป็นประโยชน์ในการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของสมาชิกบุคลากร สายแพทย์รายบุคคลข้อมูลดังกล่าว

• จำเป็นต้องมีการเก็บในลักษณะที่สามารถระบุผู้ประกอบวิชาชีพเป็นรายบุคคลได้โดยง่าย

• จะต้องสัมพันธ์กับการปฏิบัติทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์รายบุคคล; และ

• สามารถเทียบเคียงได้ทั้งภายในและ/หรือภายนอกเพื่อทำความเข้าใจแบบแผนของผู้ประกอบวิชาชีพ รายบุคคล

ตัวอย่างของข้อมูลระดับแผนก/บริการที่สามารถใช้ได้ได้แก่ ความถี่ของหัตถการทางคลินิกที่ทำ ภาวะแทรกซ้อน ผลลัพธ์และการใช้ทรัพยากรเช่น ที่ปรึกษา ฯลฯ

ยังมีความสำคัญที่พึงระวังไว้ว่าไม่ได้คาดหวังว่าทุกแผนก/บริการจะมีความสามารถหรือความจำเป็นที่จะเฝ้าติด ตามสิทธิที่มีตามรายการทั้งหมดของผู้ประกอบวิชาชีพทุกคนจะเป็นไปได้มากกว่าที่จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่ สำคัญหรือบางมุมมองของบริการสำคัญในระดับแผนกซึ่งสมาชิกบุคลากรในแผนก/บริการทั้งหมดหรือส่วน ใหญ่มีสิทธิการรักษา ดังนั้นจึงไม่มีชุดข้อมูลเพียงหนึ่งเดียวที่จะเพียงพอในการเฝ้าติดตามและประเมินผลสมาชิก บุคลากรสายแพทย์ทั้งหมด

ตัวเลือกของข้อมูล ความถี่ในการเฝ้าติดตามและวิเคราะห์รวมทั้งการใช้ข้อมูลจริงและเอกสารในบันทึกของ สมาชิกบุคลากรสายแพทย์ต้องจำเพาะมากต่อแผนก/บริการ ต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และต่อสิทธิการรักษา ของผู้ประกอบวิชาชีพการเฝ้าติดตามและประเมินผลสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ได้รับการสนับสนุนโดยแหล่ง ข้อมูลที่หลากหลาย ได้แก่ บันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์และกระดาษ การสังเกตการณ์และปฏิกิริยาของเพื่อนร่วม วิชาชีพ

ขั้นตอนที่สำคัญขั้นสุดท้ายคือการถามคำถามว่า“ผู้ประกอบวิชาชีพทำอย่างไรในการเปรียบเทียบกับเพื่อร่วมงานอื่น ๆ ภายในแผนกและในการเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมวิชาชีพในโรงพยาบาล, ภูมิภาค, หรือประเทศอื่น ๆ?” การเปรียบเทียบภายในหลักๆเพื่อลดความแปรปรวนในการปฏิบัติและผลลัพธ์ภายในแผนกและเรียนรู้จากการ ปฏิบัติที่ทำได้ดีที่สุดภายในแผนกการเปรียบเทียบภายนอกเพื่อสร้างความมั่นใจว่าโรงพยาบาลบรรลุการปฏิบัติ ที่ดีที่สุดภายในวิชาชีพตามลำดับ แต่ละแผนกจะมีความรู้ในฐานข้อมูลเชิงวิชาชีพแนวทางเวชปฏิบัติและแหล่ง วารสารทางวิชาการดังกล่าวซึ่งอธิบายการเทียบเคียงการปฏิบัติที่พึงประสงค์ยกตัวอย่างเช่น สำนักทะเบียน มะเร็งวิทยาสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้หรือ ข้อมูลจากผู้ประกอบวิชาชีพที่ใช้วิชาการเดียวกัน (แนวทางเวช ปฏิบัติ) คล้ายกันนี้ชมรมศัลยกรรมระดับชาติหรือนานาชาติอาจจะมีการเก็บข้อมูลผลลัพธ์หรือ ภาวะแทรกซ้อน

โดยสรุป กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลสมาชิกบุคลากรสายแพทย์อย่างต่อเนื่อง

• เป็นมาตรฐานเดียวกันตามประเภทของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์และ/หรือแผนกหรือหน่วยบริการทาง คลินิก

• ใช้ข้อมูลและสารสนเทศการเฝ้าติดตามสำหรับการเปรียบเทียบภายในเพื่อลดความแปรปรวนใน เรื่อง พฤติกรรม ความก้าวหน้าในวิชาชีพ และผลลัพธ์ทางคลินิก

• ใช้ข้อมูลและสารสนเทศการเฝ้าติดตามสำหรับการเปรียบเทียบภายนอกกับการปฏิบัติหรือแหล่ง เทียบเคียงข้อมูลและสารสนเทศผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีที่สุดที่หาได้เป็นวัตถุวิสัย อิงหลักฐานทางวิชาการ

• กระทำโดยหัวหน้าแผนกหรือบริการของแต่ละบุคคล ผู้จัดการแพทย์อาวุโส หรือ คณะกรรมการทบทวน บุคลากรสายแพทย์

• ครอบคลุมการเฝ้าติดตามและประเมินผลบุคลากรสายแพทย์อาวุโสและหัวหน้าแผนกโดยวิชาชีพที่ เหมาะสม และ • การให้สารสนเทศซึ่งจะมีการบันทึกในแฟ้มสมาชิกบุคลากรสายแพทย์, ได้แก่ ผลการทบทวน, การ ดำเนินการ, และผลกระทบของการดำเนินการดังกล่าวต่อสิทธิการรักษา (ถ้ามี).

สุดท้ายขณะที่กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีเจตจำนงที่จะเป็นการเก็บ สะสมข้อมูลและสารสนเทศอย่างต่อเนื่องนโยบายโรงพยาบาลกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยหนึ่งครั้งใน ระหว่างระยะเวลา 12 เดือน การทบทวนกระทำโดยหัวหน้าแผนกหรือบริการของแต่ละบุคคล ผู้จัดการแพทย์ อาวุโส หรือ คณะกรรมการทบทวนบุคลากรสายแพทย์สิ่งตรวจพบ ข้อสรุป และการดำเนินการหรือข้อเสนอแนะ ใด ๆ ได้รับการบันทึกไว้ในแฟ้มของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ เมื่อสิ่งตรวจพบมีผลกระทบต่อการต่ออายุหรือสิทธิการรักษาของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีกระบวนการเพื่อ ดำเนินการต่อสิ่งตรวจพบ การดำเนินการ “เพื่อสอบเหตุ” ในทันทีได้รับการบันทึกไว้ในแฟ้มของผู้ประกอบ วิชาชีพและสะท้อนไว้ในรายการสิทธิทางคลินิก มีการส่งคำประกาศไปยังสถานที่ที่ผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านั้น ให้บริการอยู่. (ดูSQE.3 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.11

❏ 1. สมาชิกบุคลากรสายแพทย์ทุกคนถูกนำเข้ามาร่วมในกระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลการ ประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่องตามที่กำหนดไว้ในนโยบายโรงพยาบาลและเป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับ แผนก/บริการ. (ดูSQE.3, ME 5 ร่วมด้วย)

❏ 2. กระบวนการเฝ้าติดตามและประเมินผลระบุพื้นที่ในการบรรลุผลสำเร็จและโอกาสพัฒนาที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมความก้าวหน้าในวิชาชีพและผลลัพธ์ทางคลินิกของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์เทียบกับสมาชิก บุคลากรสายแพทย์ในแผนก/บริการอื่น ๆ

❏ 3. ข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางคลินิกที่หามาได้ของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ได้รับการ ทบทวนกับสารสนเทศที่เป็นวัตถุวิสัยและอิงหลักฐานทางวิชาการ ถ้ามีเพื่อการเทียบเคียงกับภายนอก (external benchmarking)

❏ 4. ข้อมูลและสารสนเทศจากการเฝ้าติดตามได้รับการทบทวนอย่างน้อยทุก 12 เดือน โดยหัวหน้าแผนก หรือบริการของแต่ละบุคคล ผู้จัดการฝ่ายการแพทย์อาวุโส หรือองค์กรแพทย์และผลการทบทวน ข้อสรุป ตลอดจนการดำเนินการใด ๆ ได้รับการบันทึกไว้ในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติและแฟ้มที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ของ สมาชิกบุคลากรสายแพทย์(ดูGLD.11,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 5. เมื่อสิ่งตรวจพบมีผลกระทบต่อการบรรจุ/แต่งตั้งหรือการมอบสิทธิของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มี กระบวนการในการดำเนินการต่อสิ่งตรวจพบ และ การดำเนินการ “เพื่อสอบเหตุ (for cause)” ดังกล่าว ได้รับการบันทึกไว้ในแฟ้มของผู้ประกอบวิชาชีพและสะท้อนให้เห็นในรายการสิทธิทางคลินิก. มีการส่ง ประกาศไปยังสถานที่ทั้งหลายที่ผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการอยู

การต่ออายุแลการมอบสิทธิทางคลินิกใหม่อีกครั้งแก่สมาชิกบุคลากรสายแพทย์

มาตรฐาน SQE.12 โรงพยาบาลกำหนดสมาชิกภาพบุคลากรสายแพทย์และสิทธิทางคลินิกว่าจะให้ต่อไปโดยมีหรือไม่มีการ ปรับเปลี่ยน เกิดขึ้นอย่างน้อยทุกสามปีโดยอาศัยการเฝ้าติดตามและการประเมินผลสมาชิกบุคลากรสาย แพทย์อย่างต่อเนื่อง

เจตจำนงของ SQE.12 มีการอธิบายความหมายและรายละเอียดความคาดหวังตามมาตรฐานดังนี้ การต่ออายุการทำงาน (Reappointment) การต่ออายุการทำงานคือกระบวนการทบทวนแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์อย่างน้อยทุก สามปีเพื่อสอบทาน

• การได้รับใบอนุญาตฯ อย่างต่อเนื่อง

• ว่าสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ไม่ได้รับการประนีประนอมจากการดำเนินการทางวินัยของหน่วย งานที่ให้ ใบอนุญาตฯและประกาศนียบัตร

• ว่าแฟ้มมีการบันทึกที่เพียงพอในการแสวงหาสิทธิการรักษา/หน้าที่ใหม่หรือขยายสิทธิการรักษา/หน้าที่ ในโรงพยาบาล และ

• ว่าสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีร่างกายและจิตใจพร้อมที่จะสามารถให้การดูแลและรักษาผู้ป่วย ได้โดย ปราศจากการกำกับดูแล

สารสนเทศสำหรับการทบทวนถูกรวบรวมจากภายในการเฝ้าติดตามและการประเมินผลสมาชิกบุคลากรสาย แพทย์อย่างต่อเนื่องรวมทั้งจากแหล่งภายนอกเช่นองค์กรหรือหน่วยงานซึ่งมีอำนาจควบคุมกำกับหรือวิชาชีพ นโยบายโรงพยาบาลระบุบุคคล เช่น ผู้นำของบริการเฉพาะทาง หรือกลไก เช่น สำนักงานบุคลากรสายแพทย์ เมื่อไม่มีผู้นำแผนก/บริการ หรือ มีแต่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการทบทวน เกณฑ์ใด ๆที่ใช้ในการตัดสินใจ และ วิธีการบันทึกการตัดสินใจ

แฟ้มหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์ควรจะเป็นแหล่งสารสนเทศที่เป็นพลวัตและได้รับการ ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อสมาชิกบุคลากรสายแพทย์มีประกาศนียบัตรการสำเร็จการศึกษาที่เกี่ยว กับปริญญาขั้นสูงหรือการฝึกอบรมเฉพาะทางขั้นสูง หลักฐานคุณสมบัติควรตรวจสอบทานทันทีจากแหล่งที่ออก เอกสาร ทำนองเดียวกันนี้เมื่อหน่วยงานภายนอกสอบสวนเหตุการณ์พุงสังวรที่เกี่ยวกับสมาชิกบุคลากรสาย แพทย์และประเด็นคว่ำบาตร สารสนเทศดังกล่าวจะใช้ทันทีเพื่อประเมินซ้ำสิทธิทางคลินิกของสมาชิกบุคลากร สาย แพทย์เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแฟ้มบุคลากรสายแพทย์ครบถ้วนและถูกต้อง มีการทบทวนแฟ้มอย่างน้อย ทุกสามปี, และบันทึกในแฟ้มเพื่อบ่งชี้การดำเนินการหรือไม่ดำเนินการที่จำเป็นและทำการบรรจุ/แต่งตั้งบุคลากร สายแพทย์อย่างต่อเนื่อง

ข้อควรพิจารณาสำหรับคำบรรยายสิทธิทางคลินิก ณ เวลาการต่ออายุการทำงาน ครอบคลุมดังต่อไปนี้:

• สมาชิกบุคลากรสายแพทย์อาจจะได้รับมอบสิทธิการรักษาเพิ่มเติม (additional privileges) ขึ้นอยู่กับ การศึกษาและฝึกอบรมขั้นสูง การศึกษาและฝึกอบรมขั้นสูงได้รับการสอบทานจากแหล่งที่ให้การศึกษาหรือ ฝึกอบรมหรือที่เป็นผู้ออกหลักฐานคุณสมบัติการทำการรักษาตามสิทธิที่เพิ่มเข้ามาอย่างเต็มรูปแบบ อาจจะชะลอ ออกไปจนกระทั่งกระบวนการสอบทานครบถ้วนหรือเมื่อมีระยะเวลาการกำกับดูแลการปฏิบัตตามที่กำหนดก่อนที่จะมอบสิทธิการรักษาใหม่โดยไม่จำกัด ยกตัวอย่างเช่น จำนวนของผู้ป่วยที่ทำผ่าตัด โดยใช้หุ่นยนต์ภายใต้การกำกับดูแลที่กำหนด

• สมาชิกบุคลากรสายแพทย์อาจจะมีสิทธิการรักษาของตน ต่อเนื่อง, จำกัด, ลด, หรือยุติขึ้นอยู่กับ

o ผลของกระบวนการทบทวนการประกอบวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (ดูSQE.11);

o การจำกัดที่เกิดขึ้นกับสิทธิการรักษารายบุคคลโดยหน่วยงานวิชาชีพ, ภาครัฐ หรือ ที่มีหน้าที่ก ควบคุมกำกับ ภายนอก;

o สิ่งตรวจพบของโรงพยาบาลจากการประเมินผลเหตุการณ์พึงสังวรหรือเหตุการณ์อื่น ๆ;

o สุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ; หรือ

o การร้องขอของผู้ประกอบวิชาชีพ (ดูSQE.3 และ SQE.10 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.12

❏ 1. โรงพยาบาลกำหนดสมาชิกภาพบุคลากรสายแพทย์และสิทธิทางคลินิกว่าจะให้ต่อไปโดยมีหรือไม่มีการ ปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นอย่างน้อยทุกสามปีโดยอาศัยการเฝ้าติดตามและการประเมินผลสมาชิกบุคลากรสาย แพทย์อย่างต่อเนื่อง.

❏ 2. มีหลักฐานอยู่ในแฟ้มของสมาชิกบุคลากรสายแพทย์แต่ละคนว่าหลักฐานคุณสมบัติทั้งหมดที่กำหนดให้มี การต่อใหม่เป็นระยะ, การจ่ายค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียน, หรือการดำเนินการอื่น ๆ โดยสมาชิกบุคลากร สายแพทย์เป็นปัจจุบัน

❏ 3. หลักฐานคุณสมบัติที่ได้รับภายหลังการบรรจุ/แต่งตั้งครั้งแรกมีหลักฐานอยู่ในแฟ้มของสมาชิกบุคลากร สายแพทย์และได้รับการสอบทานจากแหล่งที่ออกหลักฐานก่อนที่จะใช้ในการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มสิทธิ ทางคลินิก

❏ 4. การตัดสินใจต่ออายุใหม่อีกครั้งได้รับการบันทึกในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสาย แพทย์และรวมไปถึงการระบุตัวผู้ทบทวนตลอดจนเงื่อนไขพิเศษที่ระบุได้ในระหว่างการทบทวน

บุคคลการสายพยาบาล

มาตรฐาน SQE.13 องค์กรมีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันและต่อเนื่องสำหรับรวบรวม สอบทาน และประเมิน หลักฐานคุณสมบัติของบุคลากรสายพยาบาล(ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การศึกษา การฝึกอบรม และ ประสบการณ์)

เจตจำนงของ SQE.13 องค์กรต้องสร้างความั่นใจว่ามีบุคลากรสายพยาบาลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับพันธกิจขององค์กร ทรัพยากร และ ความต้องการของผู้ป่วย บุคลากรสายพยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการให้การดูแลผู้ป่วยโดยตรง นอกจากนั้น การ ดูแลทางการพยาบาลยังมีส่วนต่อผลลัพธ์ของผู้ป่วยโดยรวม องค์กรต้องสร้างความมั่นใจว่า พยาบาลมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะให้การดูแลทางการพยาบาล และต้องระบุประเภทของการดูแลที่พยาบาล ได้รับอนุญาตให้ทำ ถ้ามิได้กำหนดไว้ในกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ องค์กรสร้างความั่นใจว่าพยาบาล แต่ละคนมีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะให้การดูแลรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผลแก่ผู้ป่วยโดย

• ทำความเข้าใจกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องที่ประยุกต์ใช้กับพยาบาลและการปฏิบัติทางการ พยาบาล

• รวบรวมหลักฐานคุณสมบัติทั้งหมดของพยาบาลแต่ละคน, ครอบคลุมอย่างน้อย

o หลักฐานการศึกษา/ฝึกอบรม

o หลักฐานใบอนุญาตฯ ที่เป็นปัจจุบัน

o หลักฐานความสามารถในปัจจุบันผ่านทางสารสนเทศจากแหล่งอื่น ๆ ที่พยาบาลได้รับการจ้างงาน

o จดหมายแนะนำและ/หรือสารสนเทศอื่น ๆ ที่อาจจะกำหนดโดยองค์กร เช่น ประวัติสุขภาพ ภาพถ่าย ฯลฯ

• การสอบทานสารสนเทศที่สำคัญ, เช่น การขึ้นทะเบียนหรือใบอนุญาตฯ ที่เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเอกสารดังกล่าวได้รับการต่ออายุใหม่เป็นระยะ และประกาศนียบัตรและหลักฐานสำเร็จการศึกษา เฉพาะทางหรือขั้นสูง

โรงพยาบาลจำเป็นต้องพยายามทุกอย่างที่จะสอบทานสารสนเทศที่สำคัญแม้แต่เมื่อการศึกษาเกิดขึ้นในประเทศอื่น และนานมาแล้ว เว็บไซต์ที่มีสวัสดิภาพ บันทึกการโทรศัพท์ยืนยันจากแหล่งที่ออกใบ การยืนยันเป็นลายลักษณ์ อักษร และไตรภาคีเช่น หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ได้รับมอบมหายอย่างเป็นทาง การ สถานการณ์ดังกล่าวได้อธิบายสำหรับบุคลากรสายแพทย์ในเจตจำนงของ SQE.9 ได้รับการพิจารณา ทดแทนด้วยวิธีที่ยอมรับได้สำหรับองค์กรที่ทำการสอบทานหลักฐานคุณสมบัติของพยาบาลไปยังแหล่งที่ออก เอกสาร

การปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดว่าการสอบทานไปยังแหล่งที่ออกเอกสารได้รับการทำสำหรับ

• ผู้สมัครใหม่ที่เป็นพยาบาลเริ่มงานภายใน 12 เดือนก่อนการเยี่ยมสำรวจเพื่อการรับรองครั้งแรก และ

• พยาบาลที่ได้รับการจ้างงานในปัจจุบันระหว่างระยะเวลา 12 เดือนหลังจากเยี่ยมสำรวจครั้งแรก.

ประเด็นดังกล่าวจะบรรลุได้ตามแผนซึ่งเรียงลำดับการสอบทางหลักฐานคุณสมบัติของพยาบาลที่ให้บริการเสี่ยง สูง, เช่น ในห้องผ่าตัด แผนกฉุกเฉิน หรือหน่วยเวชบำบัดวิกฤต

เมื่อการสอบทานเป็นไปไม่ได้เช่น บันทึกสูญหายในระหว่างภัยพิบัติมีการบันทึกไว้โรงพยาบาลมีกระบวนการ ซึ่งสร้างความมั่นใจว่าหลักฐานคุณสมบัติของพยาบาลสัญญาจ้างเหมาแต่ละคนได้รับการรวบรวม สอบทาน และ ทบทวนเพื่อสร้างความมั่นใจในความสมรรถนะทางคลินิกก่อนมอบหมายงาน โรงพยาบาลรวบรวมและ ธำรงแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติของพยาบาลแต่ละคน แฟ้มมีใบอนุญาตฯ เมื่อระเบียบข้อบังคับกำหนดให้มีการ ต่ออายุใหม่เป็นระยะ. มีเอกสารการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะเพิ่มเติม. (ดูSQE.5 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ SQE.13

❏ 1. โรงพยาบาลมีระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อเก็บรวบรวมหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิก บุคลากรสายพยาบาลแต่ละคน.

❏ 2. ใบอนุญาตฯ, การศึกษา/การฝึกอบรม, และ ประสบการณ์ (ถ้ามี) ในเจตจำนงของ SQE.9 ได้รับการ บันทึก

❏ 3. ใบอนุญาตฯ,การศึกษา/การฝึกอบรมได้รับการสอบทานจากแหล่งที่ออกเอกสารตามพารามิเตอร์ที่พบ ในเจตจำนงของ SQE.9

❏ 4. มีบันทึกการธำรงรักษาหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายการพยาบาลทุกคน (ดูSQE.5,ME2 ร่วมด้วย)

❏ 5. โรงพยาบาลมีกระบวนการเพื่อสร้างความมั่นใจว่าหลักฐานคุณสมบัติของพยาบาลที่เป็นสัญญาจ้างเหมา สมบูรณ์และครบถ้วนก่อนที่จะมอบหมายงาน.

❏ 6. โรงพยาบาลมีกระบวนการเพื่อสร้างความมั่นใจว่าพยาบาลที่ไม่ใช่ลูกจ้างของโรงพยาบาล, แต่มากับ แพทย์ส่วนตัวและให้บริการแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลมีหลักฐานคุณสมบัติสมบูรณ์. (ดูGLD.6 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน SQE.14 องค์กรมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบและจัดมอบงานทางคลินิกบนพื้นฐานของ เอกสารคุณสมบัติของพยาบาลและระเบียบบังคับที่มี

มาตรฐาน SQE.14.1 องค์กรต้องมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการกำหนดให้บุคลากรสายพยาบาลมีส่วนร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเมื่อมีข้อบ่งชี้

เจตจำนงของ SQE.14 และ SQE.14.1

การทบทวนคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายพยาบาลเป็นพื้นฐานในการมอบหมายความรับผิดชอบงานและการ มอบหมายงานทางคลินิก การมอบหมายงานอาจจะได้รับการอธิบายลงรายละเอียดมากขึ้นในคำบรรยาย ลักษณะ งาน (ดูSQE.1.1,ME1) หรือได้รับการอธิบายในวิธีหรือเอกสารอื่น ๆ ซึ่งสนับสนุนวิธีการมอบหมายงาน ของบุคลากรสายพยาบาล (ดูSQE.6) เช่น การมอบหมายงานแก่หน่วยงานดูแลผู้สูงอายุหรือเด็กหรือหน่วยงาน ที่มีความแม่นยำสูงการมอบหมายงานที่ทำโดยโรงพยาบาลมีความสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความรับผิดชอบและการดูแลทางคลินิกของพยาบาล บทบาททางคลินิกที่จำเป็นของบุคลากรสายพยาบาลกำหนดให้พยาบาลมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในแผนงานพัฒนา คุณภาพทางคลินิกขององค์กร ถ้าพบว่าผลการปฏิบัติงานขิงพยาบาลมีข้อสงสัยในระหว่างการเฝ้าติดตาม การ ประเมินผล และการพัฒนาคุณภาพทางคลินิก องค์กรมีกระบวนการที่จะประเมินผลการปฏิบัติงานของ พยาบาลรายนั้น ผลของการทบทวน การดำเนินการที่เกิดขึ้น และผลกระทบต่อหน้าที่รับผิดชอบได้รับการ บันทึกไว้ในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติของพยาบาลหรือแฟ้มอื่น ๆ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.14

❏ 1. มีการใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การศึกษา/การฝึกอบรม และประสบการณ์ของสมาชิกบุคลากรสาย พยาบาลในการมอบหมายงานทางคลินิก (ดูMMU.5.1,ME4;MMU.6,ME2;SQE.2,ME2 และ SQE.3,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 2. กระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

❏ 3. กระบวนการดังกล่าวสนับสนุนแผนอัตรากำลังของพยาบาล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.14.1

❏ 1. บุคลากรสายพยาบาลเข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล. (ดูQPS.1, ME 4 ร่วม ด้วย)

❏ 2. ขีดสมรรถนะของสมาชิกบุคลากรสายพยาบาลแต่ละคนได้รับการทบทวนเมื่อมีข้อบ่งชี้โดยสิ่งตรวจพบ ของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ. (ดูMMU.6,ME3 และ GLD.11.1, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 3. สารสนเทศที่เหมาะสมจากกระบวนการทบทวนได้รับการบันทึกไว้ในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติหรือ แฟ้ม อื่น ๆ ของพยาบาล

ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ๆ

มาตรฐาน SQE.15 องค์กรมีกระบวนการที่เป็นรูปแบบเดียวกันและต่อเนื่องสำหรับรวบรวม สอบทาน และประเมิน หลักฐานคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่น ๆ (ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การศึกษา การ ฝึกอบรมและประสบการณ์) è P

เจตจำนงของ SQE.15 โรงพยาบาลจ้างหรืออาจจะอนุญาตให้วิชาชีพสายสุขภาพอื่น ๆ ที่หลากหลายให้การดูแลและบริการแก่ผู้ป่วย ของตนหรือร่วมในกระบวนการดูแลผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น วิชาชีพดังกล่าว เช่น พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้ช่วย ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการดูแลเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เภสัชกร และนักเทคนิคเภสัชกรรม ในบางประเทศ หรือวัฒนธรรม มีกลุ่มผู้บำบัดแผนโบราณหรือบริการทางเลือกหรือบริการที่เป็นส่วนหนึ่งของเวชปฏิบัติแผน โบราณ (ยกตัวอย่างเช่น, ฝังเข็ม, การแพทย์ที่ใช้สมุนไพร) บ่อยครั้ง จริงๆแล้วบุคคลดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาล แต่มีการส่งต่อมาโรงพยาบาลหรือให้การดูแลต่อเนื่องหรือติดตามการดูแลผู้ป่วยในชุมชน วิชาชีพ ทั้งหลายเหล่านี้มีการสำเร็จแผนงานการศึกษาอย่างเป็นทางการและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือ ประกาศนียบัตรหรือได้รับการขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานที่มีอำนาจในท้องถิ่นหรือระดับชาติ บุคคลอืนๆ อาจจะสำเร็จแผนงานฝึกหัดหรือการกำกับดูแลประสบการณ์ที่เป็นทางการน้อยกว่า

สำหรับวิชาชีพสายสุขภาพอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานหรือให้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล โรงพยาบาลรับผิด ชอบในการเก็บรวบรวมและสอบทานหลักฐานคุณสมบัติโรงพยาบาลจะต้องสร้างความมั่นใจว่าบุคลากรสาน สุขภาพอื่นมีคุณสมบัติในการให้การดูแลและรักษาและจะต้องชี้ชัดประเภทการดูแลและรักษาที่ได้รับอนุญาตให้ทำ ถ้าไม่ระบุโดยกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ โรงพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ มีคุณสมบัติ เพื่อให้การดูแลและรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยโดย

• ทำความเข้าใจกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องที่ประยุกต์ใช้กับผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว

• รวบรวมหลักฐานคุณสมบัติทั้งหมดของแต่ละคน ครอบคลุมอย่างน้อย หลักฐานการศึกษา/ฝึกอบรม หลักฐานใบอนุญาตฯหรือ ประกาศนียบัตร ที่เป็นปัจจุบัน

• การสอบทานสารสนเทศที่สำคัญ เช่น การขึ้นทะเบียน ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หรือประกาศนียบัตรที่ เป็นปัจจุบัน

โรงพยาบาลจำเป็นต้องพยายามทุกอย่างที่จะสอบทานสารสนเทศที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบที่เจตนาที่ จะมอบหมายของแต่ละบุคคล,แม้แต่เมื่อการศึกษาเกิดขึ้นในประเทศอื่นและนานมาแล้ว เวบไซต์ที่มีสวัสดิภาพ บันทึกการโทรศัพท์ยืนยันจากแหล่งที่ออกใบ การยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร และไตรภาคีเช่น หน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชนที่ได้รับการมอบหมายอย่างเป็นทางการ

สถานการณ์ดังกล่าวได้อธิบายสำหรับบุคลากรสายแพทย์ในเจตจำนงของ SQE.9 ได้รับการพิจารณาทดแทนด้วย วิธีที่ยอมรับได้สำหรับองค์กรที่ทำการสอบทานหลักฐานคุณสมบัติของบุคลากร

สายวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ ไปยังแหล่งที่ออกเอกสาร

การปฏิบัติตามมาตรฐานกำหนดว่าการสอบทานไปยังแหล่งที่ออกเอกสารได้รับการทำสำหรับ

• ผู้สมัครใหมที่เริ่มงานภายใน 4 เดือนก่อนการเยี่ยมสำรวจเพื่อการรับรองครั้งแรก และ

• วิชาชีพสุขภาพที่ได้รับการจ้างงานในปัจจุบันระหว่างระยะเวลา 3 ปีหลังจากเยี่ยมสำรวจ

เมื่อไม่มีการกำหนดกระบวนการศึกษากระบวนการได้รับใบอนุญาตฯ/กระบวนการขึ้นทะเบียนหรือหลักฐาน คุณสมบัติ/หลักฐานสมรรถนะอื่น ๆ อย่างเป็นทางการ ประเด็นดังกล่าวได้รับการบันทึกไว้ในบันทึกของแต่ละ แต่ละบุคคล เมื่อการสอบทานเป็นไปไม่ได้เช่น บันทึกสูญหายในระหว่างภัยพิบัติมีการบันทึกไว้ โรงพยาบาลรวบรวมและธำรงแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติของวิชาชีพสุขภาพแต่ละคน แฟ้มมีใบอนุญาตฯ หรือ ขึ้น ทะเบียนเมื่อระเบียบข้อบังคับกำหนดให้มีการต่ออายุใหม่เป็นระยะ (ดูSQE.5 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.15

❏ 1. โรงพยาบาลมีระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อเก็บรวบรวมหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิก บุคลากรสายวิชาชีพแต่ละคน.

❏ 2. ใบอนุญาตฯ, การศึกษา/การฝึกอบรม, และ ประสบการณ์ (ถ้ามี) ได้รับการบันทึก.

❏ 3. ใบอนุญาตฯการศึกษา/การฝึกอบรมได้รับการสอบทานจากแหล่งที่ออกเอกสารตามพารามิเตอร์ที่พบ ในเจตจำนงของ SQE.9

❏ 4. มีบันทึกการธำรงรักษาหลักฐานคุณสมบัติของสมาชิกบุคลากรสายวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งมีสำเนาของ ใบอนุญาตฯ ประกาศนียบัตร หรือการขึ้นทะเบียนใด ๆ

❏ 5. โรงพยาบาลมีกระบวนการเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบุคลากรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ลูกจ้างของโรงพยาบาล, แต่มา กับแพทย์ส่วนตัวและให้บริการแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลมีหลักฐานคุณสมบัติสมบูรณ์เมื่อเทียบกับ ข้อกำหนดของหลักฐานคุณสมบัติของโรงพยาบาล (ดูSQE.5,ME2 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน SQE.16 องค์กรมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบและจัดมอบงานทางคลินิกบนพื้นฐานของ เอกสารคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพอื่น ๆและระเบียบบังคับที่มี

มาตรฐาน SQE.16.1 องค์กรต้องมีวิธีปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการ สุขภาพอื่น ๆ มีส่วนร่วมใน กิจกรรมพัฒนาคุณภาพรวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลเมื่อมีข้อบ่งชี้

เจตจำนงของ SQE.16 และ SQE.16.1

โรงพยาบาลรับผิดชอบในการระบุประเภทของกิจกรรมหรือขอบเขตของบริการที่บุคคลดังกล่าวจะให้ใน โรงพยาบาล ประเด็นนี้สามารถบรรลุได้ผ่านข้อตกลง การมอบหมายงาน คำบรรยายลักษณะงาน (ดู SQE.1.1,ME1 ร่วมด้วย), หรือวิธีอื่น ๆ นอกจากนี้โรงพยาบาลกำหนดระดับการกำกับดูแล (เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่) ถ้ามี สำหรับวิชาชีพดังกล่าว

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.16

❏ 1. มีการใช้ใบอนุญาตฯ การศึกษา การฝึกอบรม และประสบการณ์ของสมาชิกบุคลากรสายวิชาชีพสุขภาพ อื่น ๆ ในการมอบหมายงานทางคลินิก MMU.5,MEs3 ดู)และ MMU.6,ME2; 4และ SQE.2,ME2ร่วม ด้วย(

❏ 2. กระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (ดูGLD.2,ME.5 ร่วมด้วย)

❏ 3. กระบวนการดังกล่าวสนับสนุนแผนอัตรากำลังของวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ SQE.16.1

❏ 1. บุคลากรสายวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆ เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล. (ดูQPS.1, ME 4 ร่วมด้วย)

❏ 2. ขีดสมรรถนะของสมาชิกบุคลากรสายวิชาชีพสุขภาพอื่น ๆแต่ละคนได้รับการทบทวนเมื่อมีข้อบ่งชี้โดยสิ่ง ตรวจพบของกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ. (ดูMMU.6,ME3 และ GLD.11.1, ME 2 ร่วมด้วย)

❏ 3. สารสนเทศที่เหมาะสมจากกระบวนการทบทวนได้รับการบันทึกไว้ในแฟ้มหลักฐานคุณสมบัติหรือแฟ้ม อื่น ๆ ของวิชาชีพสุขภาพ