II-4 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IC)

II-4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (IC.1)

องค์กรจัดให้มีระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ รวมถึงระบบเฝ้าระวังและติดตาม ที่เหมาะสมกับบริบท

ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ และมีการประสานงานที่ดี.

ก. ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

(1) มีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสหวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ออกแบบ/กำกับดูแลระบบป้องกัน

และควบคุมการติดเชื้อ. คณะกรรมการกำหนดเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ มาตรการ พร้อมทั้ง

วางแผน ประสานงาน ติดตามประเมินผลการปฏิบัติและสรุปผลการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุง.

(2) มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง/โอกาสเกิดการติดเชื้อที่ครอบคลุมทุกบริการและทุกพื้นที่ ที่มีผลต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่

และผู้มาเยือน โดยคำนึงถึงลักษณะของงาน ลักษณะของกลุ่มผู้ป่วยและหัตถการ. การวิเคราะห์ควร

ครอบคลุมถึงหน่วยงานจ้างเหมาภายนอก และการติดเชื้อที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยา.

(3) องค์กรออกแบบระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อบนพื้นฐานของความรู้ทางวิชาการ และการปฏิบัติซึ่ง

เป็นที่ยอมรับ ตลอดจนสอดคล้องกับปัญหาการติดเชื้อสำคัญขององค์กร.

(4) องค์กรกำหนดนโยบายและเกณฑ์ปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นลายลักษณ์อักษร ครอบคลุม

ประเด็นต่อไปนี้:

  • การติดเชื้อที่ตำแหน่งจำเพาะ/เกี่ยวกับอุปกรณ์จำเพาะ เช่น การติดเชื้อแผลผ่าตัด การติดเชื้อระบบทาง

  • เดินหายใจ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อจากการให้สารน้ำ และการติดเชื้อในกระแสเลือด;

  • มาตรการเพื่อจัดการและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา26;

  • มาตรการรับมือกับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ;

  • การดูแลและป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ;

  • การป้องกันการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งในระหว่างปฏิบัติงาน การดูแลบุคลากรที่สัมผัสเลือด สารคัด

    • หลั่ง หรือโรคติดต่อ และมีมาตรการที่ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้ำง (ในกรณีเป็น

    • โรคที่ระบาดได้ง่าย);

  • การให้บุคลากรได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามมาตรฐานที่แนะนำโดยองค์กรวิชาชีพ.

(5) องค์กรมีความร่วมมือและการประสานงานที่ดีในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อภายในองค์กรทั่วทั้งองค์กร

ร่วมกับพันธมิตร ผู้ป่วย และครอบครัว. ระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อประสานกลมกลืนและเป็นส่วน

หนึ่งของโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยโดยรวมขององค์กร.

26 การควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา เช่น การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา การสื่อสารข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่และผู้ป่วย/ญำติ การปฏิบัติตามหลัก

contact precautions อย่างเคร่งครัด การดูแลสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย ข้อพึงระวังในขณะเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อผู้ป่วย

(6) การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อครอบคลุมทุกพื้นที่บริการสำหรับผู้ป่วย บุคลากร และผู้มาเยือน รวมไป

ถึงการจัดการสิ่งแวดล้อม.

(7) ผู้นำสนับสนุนระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโดยจัดให้มีบุคลากรที่มีความสามารถ มีทรัพยากรเพียงพอ

และมีระบบสารสนเทศที่รองรับการทำงาน.

(8) องค์กรให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อแก่บุคลากร แพทย์ ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล

ผู้ป่วย.

(9) องค์กรจัดให้มีกลไกดำเนินงานและประสานงานกิจกรรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้งหมด โดยมีแพทย์

พยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และนักจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เข้ามามีส่วนร่วม.

(10) มีพยาบาลควบคุมการติดเชื้อ (ICN) อย่างน้อยหนึ่งคน โดย ICN ควรมีจำนวนที่เหมาะสมกับจำนวนเตียง

ของโรงพยาบาล ทำหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานระบบป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ. ผู้ทำหน้าที่นี้มี

คุณสมบัติที่เหมาะสม ผ่านการศึกษา ฝึกอบรม ประสบการณ์ และมีการกำหนดบทบำทที่ชัดเจน โดยมี

อำนำจที่จะใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อหรือดำเนินการศึกษาเมื่อรับรู้ว่าจะมีอันตรายเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือ

บุคลากรของโรงพยาบาล.27

27 นอกจาก ICN แล้ว องค์กรควรพิจารณาให้มี infection control practitioner ซึ่งเป็นแพทย์/นักเทคนิคการแพทย์ ที่เข้าใจเรื่องการป้องกัน

และควบคุมการติดเชื้อ เพื่อเข้ามาร่วมทำงานเป็นทีมกับ ICN

ข. การเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อ

(1) องค์กรเฝ้าระวังการติดเชื้อจากบริการสุขภาพในเชิงรุกจากลำดับความสำคัญที่ระบุไว้โดยใช้คำจำกัดความที่

เป็นมาตรฐาน วิธีการเฝ้าระวังและการวิเคราะห์ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางวิชาการและสอดคล้องกับบริบทของ

องค์กร ครอบคลุมตลอดภาวะต่อเนื่องของการดูแล รวมทั้งติดตามแบบแผนการดื้อยาของเชื้อจุลชีพ และ

ประสานกับระบบรายงานโรคตามที่กฎหมายกำหนด.

(2) องค์กรมีกระบวนการในการวินิจฉัยและยืนยันเมื่อสงสัยการติดเชื้อจากบริการสุขภาพอย่างรวดเร็ว สำหรับ

ผู้ป่วยซึ่งไม่ได้มีระบบการเฝ้าระวังไปข้างหน้าในข้อ (1).

(3) องค์กรใช้ผลของการเฝ้าระวังเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ให้การดูแลผู้ป่วย เพื่อบ่งชี้การระบาด ปรับปรุงระบบการ

ป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติและป้องกันการติดเชื้อในลักษณะเดียวกัน และเพื่อให้

ความรู้แก่บุคลากร.

(4) องค์กรจัดทำแนวทางการบ่งชี้การระบาดและนำไปปฏิบัติ มีการระบุการระบาดในลักษณะของบุคคล สถานที่

เวลา และสื่อสารข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง.

(5) องค์กรมอบหมายผู้รับผิดชอบพร้อมด้วยทรัพยากรและอำนำจตัดสินใจที่เพียงพอ เพื่อจัดการและควบคุมการ

ระบาด โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่มีอำนำจหน้าที่เกี่ยวข้อง.

II-4.2 การปฏิบัติเพื่อการป้องกันการติดเชื้อ (IC.2)

องค์กรสร้างความมั่นใจว่ามีการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อการป้องกันการติดเชื้อจากบริการสุขภาพ.

ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป

(1) มีการจัดทำระเบียบปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและนำไปปฏิบัติ ดังต่อไปนี้:

  • การใช้ standard precautions28 และ isolation precautions;

  • การทำความสะอาด ทำลายเชื้อ และทำให้ปราศจากเชื้อ;

  • การ reprocess กล้องส่องอวัยวะต่างๆ ที่ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่;

  • การจัดการกับวัสดุที่หมดอำยุ และการนำอุปกรณ์การแพทย์ที่ออกแบบเพื่อใช้ครั้งเดียวกลับมาใช้ใหม่

  • (ถ้าสามารถนำมาใช้ได้)29.

28 Standard precautions คือชุดของการปฏิบัติพื้นฐานเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยทุกราย ไม่ว่าผู้ป่วยนั้น

จะมีการติดเชื้อหรือมีอาการหรือไม่ อาทิ การทำความสะอาดมือ (hand hygiene) การใช้เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล การป้องกัน

การถูกเข็มหรือวัสดุมีคมอื่นทิ่มตำ สุขอนำมัยเกี่ยวกับการไอจาม การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม การจัดการเสื้อผ้าและเครื่องนอนผู้ป่วย

การจัดการขยะ การจัดการเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย

29 การใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ซ้ำจะเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขที่สอดคล้องกับคำแนะนำการใช้งานจากผู้ผลิตและมาตรฐานการ

ปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับ การจัดการครอบคลุมถึง: การกำหนดชนิดของวัสดุอุปกรณ์ที่อนุญาติให้ใช้งานซ้ำได้ จำนวนครั้งสูงสุดที่จะใช้ซ้ำได้

ลักษณะทางกายภาพที่บ่งชี้ว่าวัสดุอุปกรณ์นั้นไม่ควรนำมาใช้ซ้ำแล้ว กระบวนการทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์นั้น ระบบเฝ้าระวังความปลอดภัย

ในการใช้งานวัสดุอุปกรณ์นั้น

(2) มีการควบคุมสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคและการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม:

    • จัดโครงสร้างอาคารสถานที่ วางระบบการควบคุมสภาพแวดล้อมโดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่เหมาะสม30และบำรุงรักษาอาคารสถานที่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายสิ่งปนเปื้อนและเชื้อโรค;

  • ประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อและผลกระทบอื่นที่เกิดจากงานก่อสร้าง ตกแต่งปรับปรุง และรื้อทำลายสิ่งก่อสร้าง แล้ววางมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น;

  • แยกบริเวณใช้งานที่สะอาดจากบริเวณปนเปื้อน.

(3) มีการระบุพื้นที่ทำงานที่ต้องใส่ใจในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และมีการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยง

ต่อการติดเชื้อตามมาตรการที่กำหนด โดยพื้นที่ที่ควรให้ความสำคัญ ได้แก่:

  • ห้องผ่าตัด;

  • ห้องคลอด;

  • หอผู้ป่วยวิกฤติ;

  • หอผู้ป่วยอำยุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความแออัด;

  • หน่วยบริการฉุกเฉิน;

  • หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยความต้านทานต่ำ ผู้ป่วยวัณโรคที่ยังไม่ได้รับการรักษาเพียงพอ และผู้ป่วยเด็ก;

30 การควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น positive pressure ventilation system, negative pressure ventilation system, biological hoods in

laboratories, การจัดการการไหลของอากาศ

  • หน่วยซักฟอก;

  • หน่วยจ่ายกลำง;

  • โรงครัว;

  • หน่วยกายภาพบำบัด;

  • ห้องเก็บศพ.

ข. การป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มเฉพาะ

(1) มีการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่สำคัญขององค์กร เช่น การติดเชื้อแผลผ่าตัด การ

ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสำวะ การติดเชื้อจากการให้สารน้ำ และการติด

เชื้อในกระแสเลือด.

(2) มีระเบียบปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อซึ่งติดต่อได้ทางโลหิตและผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำการจัดการกับ

การติดเชื้อที่ดื้อยาและการติดเชื้อที่อุบัติขึ้นใหม่.

(3) มีการกำหนดขั้นตอนในการดูแลเจ้าหน้าที่ที่สัมผัสเลือด/สารคัดหลั่งจากผู้ป่วย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคจากการ

ทำงาน. มีมาตรการป้องกันไมให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อต่อจากเจ้าหน้าที่ผู้ติดเชื้อ.