II-2 การกำกับดูแลวิชาชีพ (PFG)

II-2.1 การกำกับดูแลวิชาชีพด้านการพยาบาล (PFG.1)

มีระบบบริหารการพยาบาล

ที่รับผิดชอบต่อการจัดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง

เพื่อบรรลุพันธกิจขององค์กร.

ก. การบริหารการพยาบาล

(1) ผู้นำการพยาบาลทุกระดับเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เพียงพอ ทั้งใน

ด้านปฏิบัติการพยาบาลและด้านบริหารการพยาบาล16.

(2) ระบบบริหารการพยาบาลสร้างความมั่นใจว่าจะมีกำลังคนด้านการพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถ17 และ

ปริมำณเพียงพอ18 เหมาะสมกับบริการที่องค์กรจัดให้มี โดยครอบคลุมทั้งบุคลำกรขององค์กรและผู้ปฏิบัติ

งานที่มำจำกภายนอก.

--------------------------

16 เช่น การนำด้วยวิสัยทัศน์ การเป็นโค้ช การมีทักษะการสื่อสารที่ดี การมีทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

17 การสร้างความมั่นใจด้านความรู้ความสามารถ ได้แก่ การตรวจสอบและประเมินผลคุณสมบัติและสมรรถนะของบุคลำกรพยาบาลให้

เหมาะสมกับลักษณะงาน การกำหนดขอบเขตการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ และการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องของบุคลำกร

ทางการพยาบาลและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

18 การสร้างความมั่นใจด้านความเพียงพอ ได้แก่ การกำหนดอัตรำกำลังอย่างเหมาะสม และจัดให้มีบุคลำกรทางการพยาบาลปฏิบัติงานเพียงพอกับความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วย

(3) ระบบบริหารการพยาบาลมีโครงสร้างและกลไกที่ทำหน้าที่สำคัญต่อไปนี้อย่างได้ผล:

  • การกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ;

  • การนิเทศ กำกับดูแล และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย

  • การส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม;

  • การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลที่อยู่ระหว่างการเรียนการสอน และพาบาลที่อยู่

  • ระหว่างการฝึกอบรมในโรงพยาบาล;

  • การจัดการความรู้และการวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพ.

(4) ระบบบริหารการพยาบาลประสานความร่วมมือกับคณะกรรมการระดับองค์กรที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลทาง

คลินิก การดูแลผู้ป่วย การใช้ยาการควบคุมการติดเชื้อการสร้างเสริมสุขภาพงานคุณภาพและความ

ปลอดภัย.

(5) การจัดการความเสี่ยง ความปลอดภัย และคุณภาพของปฏิบัติการพยาบาล สอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมาย/

วัตถุประสงค์ขององค์กร และมาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพ.

(6) มีการประเมินการบรรลุเป้าหมายของปฏิบัติการพยาบาลในองค์ประกอบด้านวามปลอดภัยของผู้ป่วย

การบรรเทาจากความทุกข์ทรมาน การได้รับข้อมูลและการเรียนรู้ของผู้รับบริการ ความสามารถในการดูแล

ตนเอง การเสริมพลัง ความพึงพอใจ และนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงปฏิบัติการพยาบาล.

ข. ปฏิบัติการพยาบาล

(1) พยาบาลให้การพยาบาลด้วยความเคารพในสิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมวิชาชีพ โดยมีการประสำนความร่วมมือ

กับวิชาชีพอื่น.

(2) พยาบาลให้การพยาบาลบนพื้นฐำนของการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และมาตรฐานวิชาชีพการพยาบาลที่

ทันสมัย.

(3) พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่สอดคล้องกับภำวะสุขภำพ

วิถีชีวิต และบริบททางสังคม ของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแผนการดูแลต่อเนื่องตั้งแต่

แรกรับจนหลังจำหน่าย ร่วมกับทีมสุขภาพและผู้รับบริการ/ครอบครัว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการ

ที่มีคุณภาพสูง เบ็ดเสร็จผสมผสำน และเป็นองค์รวม.

(4) บันทึกทางการพยาบาลและรายงานทางการพยาบาลแสดงถึงการพยาบาลผู้รับบริการแบบองค์รวม ต่อเนื่อง

และเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร การดูแลต่อเนื่อง การประเมินคุณภาพการพยาบาล การวิจัย และการใช้

เป็นหลักฐำนทางกฎหมำย.

(5) มีการติดตามประเมินผลปฏิบัติการพยาบาล อย่างเป็นระบบ และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง.

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

II-2.2 การกำกับดูแลวิชาชีพแพทย์ (PFG.2)

มีการจัดตั้งองค์กรแพทย์

ทำหน้าที่ส่งเสริมและกำกับดูแลมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์

เพื่อบรรลุพันธกิจขององค์กร.

(1) มีการจัดตั้งองค์กรแพทย์ในระดับโรงพยาบาลเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงและด้วยความรับผิดชอบแห่งวิชาชีพ.

(2) องค์กรแพทย์ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และ ร่วมวางแผนกับผู้บริหารเกี่ยวกับการกำกับดูแลทางคลินิก และ

การจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพสูง.

(3) องค์กรแพทย์สร้างความมั่นใจว่าการให้บริการทางการแพทย์อยู่บนพื้นฐานของการใช้หลักฐานทาง

วิทยำศาสตร์และมาตรฐานวิชาชีพ เคารพในสิทธิผู้ป่วยและเป็นไปตามจริยธรรมวิชาชีพ.

(4) มีโครงสร้างและกลไกเพื่อส่งเสริมการติดต่อสื่อสารและการแก้ปัญหาภายในวิชาชีพแพทย์

ระหว่างแพทย์กับผู้ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานอื่น และ ระหว่างแพทย์กับผู้รับบริการ.

(5) องค์กรแพทย์ทำหน้าที่สำคัญต่อไปนี้อย่างได้ผล:

  • การตรวจสอบและประเมินคุณสมบัติของแพทย์;

  • การกำหนดสิทธิการดูแลรักษาผู้ป่วยของแพทย์แต่ละคน เพื่อเป็นหลักประกันว่าแพทย์ปฏิบัติงานที่ตนเอง

  • มีความชำนำญ;

  • การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้;

  • การควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์ แพทย์ที่อยู่ระหว่างการฝึกอบรม และแพทย์เวรที่ไม่ใช่

  • แพทย์ประจำ;

  • การส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ;

  • การส่งเสริมการทบทวนและพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย;

  • การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพเวชระเบียน;

  • การส่งเสริมการตัดสินใจทางคลินิกและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม;

  • การกำหนดหรือรับรองนโยบำยที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย.

(6) มีข้อตกลงและแนวปฏิบัติในการทางานของแพทย์ที่ทุกคนยึดถือและนำไปปฏิบัติ ครอบคลุมเรื่องของการ

ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ประเด็นทางจริยธรรม/กฎหมำย/สังคม คุณภาพและความปลอดภัย การพัฒนา

ความรู้ความสามารถในการบันทึกและการจัดทำเอกสาร.

(7) องค์กรแพทย์ประสำนความร่วมมือกับคณะกรรมการระดับองค์กรที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลทางคลินิก การ

ใช้ยำ การควบคุมการติดเชื้อการสร้างเสริมสุขภาพคุณภาพและความปลอดภัย.

(8) องค์กรแพทย์มีการกำกับติดตามและประเมินผลงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง.