PDCA

PDCA วงจร ในการบริหารงาน คุณภาพ

Plan การวางแผน ตามเป้าหมาย/วัตถุประสงค์

Do การปฏิบัติ งานตามขั้นตอนนั้น

Check การตรวจสอบการทำงาน KPI

Action การปรับปรุงแก้ไข วนไปเรื่อยๆ

การวางแผน

ขั้นศึกษารายละเอียด

ขั้นเตรียมงาน

ขั้นดำเนินการ วางแนวทางปฏิบ้ัติ

ขั้นประเมินผล วางแผนประเมินผลอย่างเป็นระบบ

การปฏิบัติตามแผน

รู้ขั้นตอน วิธีการ เตรียมงานล่วงหน้า

การรับรู้อุปสรรคล่วงหน้า

การตรวจสอบ

ดูเป้าหมาย เครื่องมือที่เชื่อถือได้

มีเกณฑ์ทีชัดเจน กำหนดเวลาตรวจที่แน่นอน

บุคลากรต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงาน

การปรับปรุง

ปรับข้อบกพร่อง จัดทำมาตรฐาน

Cycle of learing and Improvement

Ccntext + Criteria --> Purpose

Purpose---> design--- DALI

D การออกแบบระบบ ต้องมีการฝึกฝน หรือ Training ได้ดีก่อน

A การลงมือปฏิบัติ ต้องดู compliance ด้วยและต้องมีการ Monitor มีการ Tracer ตามรอยหน้างานว่าเข้าใจการใช้และทำได้จริงหรือไม่ ทำให้เห็นปัญหาในการทำงาน และค้นพบปัญหาใหม่ๆในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป

ดู GAB เทียบกับ มาตรฐานด้วย

การ trace คนต้องดูว่าทำได้หรือไม่

การนิเทศ ต้องบอกได้ว่า เรื่องอะไรที่เป็นปัญหา และได้นิเทศหรือไม่

L การเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ ดูระดับและแนวโน้ม จำแนกกลุ่มย่อย

มีสองส่วน

1.การเก็บข้อมูล ต้องออบแบบแนวทางการเก็บที่ชัดเจน ใครเก็บ มีเป้าหมายอยางไร

2.การนำข้อมูลมาเวิคราะหฺ์

กระบวนการต่างๆต้องดูว่าทำไปเพื่ออะไร

ทำอย่างไรให้มี innovation เพิ่มเติมขึ้นมา

PDCA ใน CQI

ขั้นตอนของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

คือ การใช้แนวคิด Plan-Do-Check-Act (PDCA)

คล้ายกับการออกแบบทดลองหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช่ร่วมกับความคิดสร้างสรรค์

Plan คือการวางแผนทำเพื่อแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อมูลที่มี

Do คือการนำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติ

Check คือการวัดผลการปฏิบัติดังกล่าว

Act คือการนำผลไมปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ

ในขั้น Plan นั้นอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเพื่อให้กำหนดความคิดที่แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ได้แก่

1.การวิเคราะห์สภาพปัญหา ว่าปัญหาเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร กับใคร อย่างไร มีกระบวนการอะไรที่เกี่ยวข้อง

2.การวิเคราะห์ระดับของปัญหา สามารถวัดข้อมูลที่สะท้อนระดับของปัญหาได้ด้วยวิธีใด

3.การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา อะไรคือสาเหตุหลักของการเกิดปัญหา สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุรากเหง้าได้หรือไม่ มีข้อมูลประกอบหรือไม่ว่าสาเหตุใดเป็นสาเหตุสำคัญ

4.การวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา เป็นการนำสาเหตุ รากเหง้าที่สำคัญมาวิเคราะห์ว่าจะลดหรือขจัดออกไปได้อย่างไร โดยอาศัยแนวคิดเชิงกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ประกอบกัน ทางเลือกในการแก้ปัญหาอาจมีหลายทางเลือก อาจจะใช้ร่วมกัน หรืออาจจะต้องวิเคราะห์เปรียบเทียนเพื่อเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้ทางเลือกแล้ว ยังต้องวิเคราะห์ที่แรงหนุนและแรงต้านของผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนลดแรงต้านและใช้แรงหนุนให้เป็นประโยชน์

ขั้นตอน

ข้างต้นนี้เป็นกระบวนการสากลซึ่งปรากฏอยู่ในการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาทุกเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วยการประเมินปัญหาของผู้ป่วย การวิเคราะห์สาเหตุ การสั่งการรักษา การติดตามประเมินผล รูปแบบนี้มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ

1.คำถามพื้นฐาน 3 ข้อ ซึ่งอาจจะสลับคำถามข้อใดก่อนก็ได้ ได้แก่

ตั้งเป้า (Set aim) อะไรคือสิ่งที่เราพยายามจะทำให้เสร็จ

เฝ้าดู(establish measure) ใช้ตัวชี้วัดใดบอกว่าผลดีขึ้น

ปรับเปลี่ยน(develop changes) การเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่จะทำให้คุณภาพดีขึ้น

2.การนำวงล้อมาศึกษาทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง

PDCA หรือ PDSA โดย S หมายถึง study

Plan กำหนดวัตถุประสงค์ของการทดสอบ,คาการณว่าจะเกิดอะไรขึ้น พร้อมทั้งเหตุผล,จัดทำแผนการทดสอบ

Do ดำเนินการทดสอบ,บันทึกปัญหาและสิ่งที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น

Study

Act สรุปผลว่าควรมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร,เตรียมแผนสำหรบการทดสอบรอบต่อไป

ref.

http://therama.info/?p=148