Disease Specific Certification HA

Program & Disease Specific Certification

คืออะไร

เป็นเวทีให้สถานพยาบาลนำระบบงานหรือระบบการดูแลผู้ป่วยซึ่งให้ผลดี

มาแบ่งปัน โดยใช้การยกย่องเชิดชูเฉพาะเรื่องเพื่อการคัดเลือกและสรรหา

ที่มา

จากกระบวนการเยี่ยมสำรวจได้พบแบบอย่างที่ดีในการทำงานเฉพาะเรื่อง เฉพาะระบบ เฉพาะโรค

ซึ่งน่าจะได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นที่มั่นใจของ ทีมงาน เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแบบอย่างส าหรับสถานพยาบาบอื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย

สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรอง HA หรือบันไดขั้นที่สอง สู่ HA ที่มีระบบงานหรือระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะเรื่องที่ มีความโดเด่นทั้งในส่วนกระบวนการและผลลัพธ

ลักษณะสำคัญของระบบงานหรือระบบการดูแล ผู้ป่วยที่จะได้รับกิตติกรรมประกาศ

1. แสดงให้เห็นการจัดการกระบวนการอย่างเป็นระบบ

 มีการวิเคราะห์กระบวนการที่ครอบคลุมทั้งสายธารแห่งคุณค่า

 ข้อกำหนดสำคัญของกระบวนการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง

 การออกแบบกระบวนการตามข้อก าหนด

 การนำสู่การปฏิบัติ

 การควบคุมให้เป็นไปตามข้อกำหนดและการติดตามผลลัพธ์

 มีการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

2. แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีถึงดีมาก และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีการใช้ข้อมูล เทียบเคียงที่ท้าทาย

3. แสดงให้เห็นการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ระบบงานที่มี บูรณาการ การสร้างนวตกรรม และ/หรืองานวิจัยจากงานประจำ หรือการสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญ .

4. แสดงให้เห็นกระบวนการพัฒนาที่ขจัดความสูญเปล่า ป้องกันความ เสี่ยง ใช้หลักฐานทางวิชาการ การสร้างเสริมสุขภาพ และมิติด้านจิต วิญญาณ

ขอบเขตของการรับรองและเผยแพร่ข้อมูล

1. การดูแลผู้ป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งตั้งแต่เริ่มต้นจน สิ้นสุด หรือตลอดธรรมชาติของการกำเนิดโรค

2. การผ่าตัดหรือการบำบัดรักษาซึ่งส่งผลลัพธ์ทาง คลินิกที่สำคัญ

3. ระบบงานสำคัญ

แนวทางปฏิบัติในการรับรอง

1. สถานพยาบาลเลือกสรรระบบงานหรือระบบการ ดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการรับรอง และ จัดเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ส่งให้สรพ.

a. บริบท ความท้าทาย ประเด็นสำคัญ เป้าหมาย

b. แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value stream map) หรือ process flow chart ในระดับที่เหมาะสมส าหรับการทำ ความเข้าใจ

c. การวิเคราะห์ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ (รวมทั้งความ เสี่ยงและโอกาสพัฒนา) ในแต่ละขั้นตอน บทเรียนของการ พัฒนาและแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณลักษณะดังกล่าว (เช่น แนวคิด กลยุทธ์ แบบฟอร์ม การสื่อสาร เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งประดิษฐ์) ในลักษณะที่พร้อมเผยแพร่ให้ หน่วยงานที่สนใจสามารถศึกษาและนำไปปฏิบัติได้

d. ข้อมูลผลการด าเนินการทั้งในส่วนของกระบวนการ (process indicator) และผลลัพธ์ (outcome indicator) อย่างน้อย 3 ปี พร้อมทั้งข้อมูลเทียบเคียง (benchmark) โดยนำเสนอผลการดำเนินการทั้งหมดในลักษณะของตาราง และเลือกข้อมูลบางด้านมาน าเสนอด้วยกราฟตามความ เหมาะสม และขอให้ระบุว่าข้อมูลใดยินดีเปิดเผยต่ สาธารณะ ข้อมูลใดยินดีน าเสนอเฉพาะกราฟที่เป็นแนวโน้ม โดยไม่ระบุค่าตัวเลข และข้อมูลใดที่ไม่ต้องการให้เปิดเผย

2. สรพ.จะส่งผู้แทนเข้าร่วมรับรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ทีมงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งให้ข้อแนะน าเพื่อ ประโยชน์แก่สถานพยาบาล

3. สรพ.จะพิจารณาให้กิตติกรรมประกาศรับรอง กระบวนการคุณภาพส าหรับระบบงานหรือระบบ การดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค หากสถานพยาบาลแสดง ให้เห็นคุณลักษณะส าคัญทั้ง 4 ประการข้างต้น

4. กิตติกรรมประกาศรับรองกระบวนการคุณภาพสำหรับระบบงาน หรือระบบการดูแลผู้ป่วยมีอายุ 5 ปี โดยในแต่ละปี สถานพยาบาลจะต้องปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยทั้งส่วน กระบวนการและผลการด าเนินการบน web-site ที่สรพ.จัดให้ เป็นเวทีเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5. กรณีที่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น สถานพยาบาลจะ ด าเนินการสืบสวนและวิเคราะห์หามูลเหตุ (root cause analysis) ด าเนิการแก้ไขและหามาตราการป้องกันเชิงรุก และ แจ้งให้สรพ.ทราบเป็นระยะ

ที่มา

Slide Presentation ปิ่นรัตน์ พันธุ์มณี สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) 13/12/55

http://cqihiv.com/dsc.pdf