2.3 ระบบกำกับดูแลทางคลินิก

2.3 ระบบกำกับดูแลทางคลินิก (Clinical Governance)

อยู่ใน I-1.2 ก3

ข้อกำหนด

I-1.2 ก.(3) องค์กรวางระบบกำกับดูแลทางคลินิก เพื่อกำกับดูแล

องค์ประกอบสำคัญได้แก่ การศึกษาและฝึกอบรมต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพ

การผลิต/ร่วมผลิตบุคลากร การทบทวนการดูแลผู้ป่วยหรือการตรวจสอบทาง

คลินิก ผลสัมฤทธิ์ดูแลผู้ป่วย การวิจัยและพัฒนา การเปิดเผยข้อมูล การบริหาร

ความเสี่ยง การจัดการสารสนเทศ และประสบการณ์ของผู้ป่วย. คณะผู้กำกับ

ดูแลทางคลินิกได้รับรายงานอย่างสม่ำเสมอและแสดงความรับผิดชอบในการ

สร้างหลักประกันผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพสูง.

คำอธิบายประกอบมาตรฐาน

การกำกับดูแลทางคลินิก(clinicalgovernance)เป็นกรอบที่สถานพยาบาล

ใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการธำรงคุณภาพและมาตรฐานในงานบริการ

ตลอดจนยกระดับคุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การจัดการงานคลินิก

บริการอย่างเหมาะสมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยเสริมสร้างงานบริการ

ที่เป็นเลิศ

การเปิดเผยข้อมูล (openness) เช่น การเปิดเผยหรือแสดงข้อมูลด้าน

การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วม

ในกระบวนการดูแลรักษา ตลอดจนการจัดให้มีช่องทางที่จะรับฟังความคิดเห็น

หรือเรื่องร้องเรียน

การกำกับดูแลทางคลินิกคืออะไร

เป็นแนวทางที่เป็นระบบในการสร้างหลักประกันคุณภาพและการพัฒนา

คุณภาพในองค์กรเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีผลลัพธ์ดี และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ซึมซับเข้าในทุกส่วนของ

องค์กร ในทุกงานที่ปฏิบัต

ทำไมต้องมีข้อกำหนดเรื่องการกำกับดูแลทางคลินิก

ที่ผ่านมาระบบกำกับดูแลกิจการรับผิดชอบเฉพาะด้านที่ไม่เกี่ยวข้องกับ

การดูแลผู้ป่วย ทำให้ความพยายามในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยยังได้

ผลไม่เต็มที่

แนวทางปฏิบัติ

สิ่งที่ควรปฏิบัติในขั้นต้นมีดังนี้

(1) ทบทวนองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ที่มีอยู่ในข้อกำหนด พัฒนาให้มี

การดำเนินการในทิศทางต่อไปนี้

  • พัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง

    • สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพโดยไม่สร้างความรู้สึกถูกคุกคาม

  • เสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และวัฒนธรรมความปลอดภัย

  • วางแผนดำเนินการในส่วนที่ยังเป็นจุดอ่อน

(2) ประสานกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ให้สอดคล้องและเกื้อหนุนกัน

(3) กำหนดระบบรายงานขององค์ประกอบต่างๆ ทั้งในด้านความสำเร็จ

และสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อ จัดระบบให้มีการรายงานและตอบสนองสู่ระดับที่สูงขึ้น

อย่างเหมาะสม (มีความกระชับ กรองข้อมูลเฉพาะที่สำคัญเมื่อนำเสนอในระดับ

ที่สูงขึ้นเป็นลำดับชั้น)

(4) กำหนดโครงสร้างกำกับดูแล มีคณะกรรมการระดับสูงรับผิดชอบ

ในการกำหนดทิศทางนโยบาย ติดตามประเด็นคุณภาพและความปลอดภัยใน

การดูแลผู้ป่วยของทั้งองค์กร และตอบสนองอย่างเหมาะสม

โครงสร้างกำกับดูแล ที่เป็นไปได้

(1) คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการขององค์กรดูทั้ง

ด้าน corporate &clinical

(2) คณะกรรมการกำกับดูแลทางคลินิก

  • คณะกรรมการบริหารร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

  • คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารขององค์กรที่สามารถ

    • กำกับดูแลได้ทั้งองค์กร (สำหรับองค์กรขนาดใหญ่)

(3) ต้นสังกัดขององค์กรที่กำกับดูแล เช่น นายแพทย์ สสจ. คณะ

กรรมการระดับจังหวัด ผู้ตรวจราชการที่กำกับดูแล

บทบาทของคณะกรรมการกำกับดูแลทางคลินิกที่ทำหน้าที่เต็มรูปแบบ

(1) Strategy Formulation:ให้ความเห็นชอบต่อกลยุทธ์คุณภาพและ

ความปลอดภัยทางคลินิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร

(2) Policy Making:

  • สนับสนุนวัฒนธรรมความปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพ การมุ่ง

  • สู่ความเป็นเลิศ และสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

  • ให้ความเห็นชอบต่อนโยบายคุณภาพและความปลอดภัยทาง

  • คลินิกขององค์กร

  • ให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาคุณภาพและแผนบริหารความ

  • เสี่ยงขององค์กร

(3) Monitoring & Supervising: รับทราบรายงานความก้าวหน้าใน

เรื่องคุณภาพและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ

(4) Provide Accountability:

  • ตอบสนองต่อรายงานความก้าวหน้าในเรื่องคุณภาพและความ

  • ปลอดภัยทางคลินิกอย่างเหมาะสม

  • ทำงานร่วมกันผู้บริหารสูงสุดขององค์กรเพื่อแสดงความรับผิดชอบ

  • ต่อสังคมในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยทางคลินิก

  • คณะกรรมการกำกับดูแลทางคลินิกซึ่งเป็นตัวแทนของ สสจ.

  • และ รพ.ชุมชน ที่กำกับดูแล รพ.ชุมชนในจังหวัดทั้งหมด