III-4 การดูแลผู้ป่วย

มี 2 ส่วน

III-4.1 การดูแลทั่วไป (General Care Delivery)

III-4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง

(Care of high-Risk Patients and Provision of High-Risk Services)

79 การดูแลทั่วไป

4.1 การดูแลทั่วไป (PCD.1)

มาตรฐาน

OR:ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลอย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ.

(1) [มอบความรับผิดชอบให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม หลักปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับ]

มีการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปลอดภัย ทันเวลา โดยมอบหมายความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม.

การดูแลในทุกจุดบริการเป็นไปตามหลักปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน.

(2) [สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ]

มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ความสะดวกสบายและความสะอาด การป้องกันอันตราย / ความเครียด / เสียง / สิ่งรบกวนต่างๆ.

(3) [ดำเนินการเพื่อความปลอดภัย (อุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การติดเชื้อ)]

ทีมผู้ให้บริการดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ.

(4) [จัดการกับภาวะแทรกซ้อน วิกฤติ ฉุกเฉิน]

ทีมผู้ให้บริการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติ หรือภาวะฉุกเฉิน อย่างเหมาะสมและปลอดภัย.

(5) [ดูแลแบบองค์รวม]

ทีมผู้ให้บริการตอบสนองต่อความต้องการหรือปัญหาของผู้ป่วยในลักษณะองค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตสังคม.

(6) [สื่อสาร/ประสาน ภายในทีม เพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง]

มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม เพื่อความต่อเนื่องในการดูแล.

เป้าหมาย ผู้ป่วยได้รับการดูแล อย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ

HA scoring

-มีการจัดทำแนวทาง ปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับได้สำหรับกระบวนการ ดูแลที่สำคัญ รวมทั้งการกำหนดความรับผิดชอบของบุคลากรระดับต่างๆ

-มีการติดตามเพื่อให้มั่นใจว่าการดูแลต่างๆ เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้, มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยที่ดี

-ผู้ป่วยได้รับการดูแลการดูแลอย่างทันท่วงทีปลอดภัย เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ และแผนการดูแลที่ จัดทำไว้

-มีความโดดเด่น เช่น ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวม, ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการกำหนดการดูแล และ แก้ไขปัญหา

-มีการประเมินและ ปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เกินความคาดหวัง

การดำเนินการ

-พัฒนาทีมการดูแลให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยการส่งอบรมเฉพาะทางด้านเช่น ICU OR LR ER หรือการดูแลผู้ป่วยคลินิกตาโดยตรง การจัดหาแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ

-พัฒนาทักษะ Nurse Aid สู่การเป็นผู้ช่วยพยาบาล

-นำเอาความเสี่ยงในกลุ่มโรคสำคัญมาจัดทำแนวทางการดูแลและจัดทำการค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก

(1) มีการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ปลอดภัย ทันเวลา โดยมอบหมายความรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยให้แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม.

-ผู้ดูแลมีคุณสมบัติเหมาะสม จัดหาแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางให้การดูแลผู้ป่วยโรคทั่วไปและเฉพาะโรค

ทั้งกลางวันและกลางคืน มีระบบเวรในโรงพยาบาลและแพทย์ที่ปรึกษา

-พยาบาลวิชาชีพและเฉพาะด้าน

ห้องฟอกไต ได้ผ่านการฝึกอบรมดูแล

ฉุกเฉิน มีเวชปฏิบัติวิกฤต พยาบาลชำนาญการมีประสบการณ์การทำงาน

ไอซียู พยาบาลชำนาญการมีประสบการณ์การทำงาน พร้อมดูแล

เป็นต้น

-จัดสรรแบ่งการดูแลอย่างเหมาะสมในแต่ละแผนก พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น

W5 ผู้ป่วยMRM SRS

ห้องคลอด เด็กอ่อน แยกแผนกเฉพาะไม่ปนกับผู้ป่วยทั่วไป โดยคำนึงความปลอดภัยเป็นหลัก

................

-ผู้ป่วย Cardiac arrest ได้รับการช่วยชีวิตทันท่วงที โดยมีการเตรียมพร้อมวางแนวทาง CPR code blue

มีแผนกที่เกี่ยวข้อง แพทย์ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดขอบ ร่วมซ้อม ร่วมฝึก และ เรียนรู้อบรมupdateอย่างต่อเนื่อง

ทั้งที่ ER และแผนกต่างๆในโรงพยาบาล ในเด็กและผู้ใหญ่

การดูแลในทุกจุดบริการเป็นไปตามหลักปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน.

-ซ้อม CPR ในทุกจุดเสี่ยงสำคัญ

-มีแนวทางปฏฺิบัติมีผู้จัดการดูแลเจ้าหน้าที่เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานเป็นไปอย่างเรียบร้อย

-

(2) มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีและความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ความสะดวกสบายและความสะอาด การป้องกันอันตราย / ความเครียด / เสียง / สิ่งรบกวนต่างๆ.

-จัดห้องตรวจโรค ม่านห้องฉุกเฉิน ม่านปิดขณะทำหัตถการ ห้องให้นมบุตร.... จ้ดห้องพิเศษ ห้องtreatment

ห้องผ่าตัดตามมาตรฐาน ตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้น..................

-จัดห้องแยกสำหรับผุ้ป่วยติดเชื้อ วัณโรคมีที่ตรวจเฉพาะ สถานที่ตรวจAWโล่งอากาศถ่ายเทได้ดีป้องกันการติดเชื้อ

-ห้องผ่าตัดห้องคลอดจัดให้มีตามมาตรฐาน

มีการตรวจสอบห้องผ่าตัดเพิ่อป้องกันเหตุไฟไหม้ขณะผ่าตัด

-OPD มีห้องน้ำผู้พิการ แยกเป็นสัดส่วน IPD มีห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยอุปกรณ์ช่วยยึด

-

(3) ทีมผู้ให้บริการดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ.

-มีจุดให้บริการแอลกฮอร์ทำความสะอาดมือ มีการแนะนำญาติิและสร้างความตระหนักเจ้าหน้าที่เรื่องการป้องกันการติดเชื้อ

-จัด mask บริการผู้ป่วยและญาติที่มีอาการไอหรือเสียงต่อการติดต่อแพร่เชื้อ

-กรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงจัดทำ Fall assesment พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันพลัดตกหกล้ม

-ปิดล๊อคหน้าต่าง ให้สังเกตุอาการในไอซียูหากมีความเสี่ยงในการทำร้ายตนหรือมีแนวโน้มsuiside

-มีการดำเนินการด้านความปลอดภัยของโรงพยาบาล universal precaution....การไม่สอดเข็มคืนปลอก

-มาตรการดูแลหากเกิดอุบัติเหตุเข็มตำ

-ผู้ป่วย sepsis on EET ใช้หลัก Isolation precaution ,suction แบบ closed system

-มี ICWN ดูแลป้องกันการติดเชื้อ มีมาตรการการทบทวน การอนุมัติการใช้ยา

-การล้างไต มีการล้างเครื่องด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพาะเชื้อน้ำRO กำหนดการปฏิบัติตามมาตรสมาคม

(4) ทีมผู้ให้บริการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติ หรือภาวะฉุกเฉิน อย่างเหมาะสมและปลอดภัย.

-มีทีมเสี่ยง เข้ามาบริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุ มีการรายงานแพทย์ ผู้บริหาร คณะกรรมความเสี่ยง

ร่วมถึงการปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญอย่างเป็นระบบ

-มีการซ้อม CPR ในทุกหน่วย

-ซ้อม Code mass เตรียมรับอุบัติเหตุหมู่

-กรณีน้ำท่วมเตรียมรับมือ.......

(5) ทีมผู้ให้บริการตอบสนองต่อความต้องการหรือปัญหาของผู้ป่วยในลักษณะองค์รวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตสังคม.

-มีทีมส่งเสริมช่วยดูแลด้านสังคม สิ่งแวดล้อม แนะนำการดูแลปฏิบัติของผู้ป่วย

-กรณีปัญหาด้านจิตใจเช่น กรณีสูญเสีย การช่วยชีวิต

มี supervisor เข้ามาช่วยดูญาติ การให้คำแนะนำ ารดูแลจิตใจ การยอมรับ และ การให้กำลังใจ

-การดูแลวาระสุดท้าย หรือ การให้การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น กรณีไม่พร้อมรับดูแลต่อที่บ้าน

-ดูแลผู้่ป่วยให้การพักฟื้นหลังการรักษาตัวจากที่อื่นหรือมารักษาต่อ

(6) มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม เพื่อความต่อเนื่องในการดูแล.

-มีระบบ consult การบันทึกและการตอบกลับ

-มีการสื่อสารร่วมกันในการดูแลผู้ป่วย

ทั้งโดยตรง ระหว่างแพทย์กับแพทย์ การราวด์ร่วมระหว่างแพทย์กับพยาบาล

การส่งต่อเวร และ การส่งข้อมูลต่อเนื่องกันของทีม................ระบบบันทึก

และผ่านการประทุมในทีมต่างๆ

80 การดูแลและบริการที่มีความเสี่ยงสูง

4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (PCD.2)

มาตรฐาน

OR: ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและให้บริการที่มีความเสี่ยงสูงอย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ.

(1) [บ่งชี้ผู้ป่วย และบริการที่เสี่ยงสูง] [จัดทำแนวทางการดูแล]

ทีมผู้ให้บริการวิเคราะห์ผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูง และร่วมกันจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าว.

(2) [ฝึกอบรม] [ปฏิบัติ]

บุคลากรได้รับการฝึกอบรม เพื่อนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงมาสู่การปฏิบัติด้วยความเข้าใจ.

(3) [ทำหัตถการเสี่ยง ในสถานที่เครื่องมือ ผู้ช่วย ที่พร้อม]

การทำหัตถการที่มีความเสี่ยง จะต้องทำในสถานที่ที่เหมาะสม มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและผู้ช่วยที่จำเป็น.

(4) [เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง] [แก้ไข] [ปรับแผนการดูแล]

มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย

และดำเนินการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้ทันท่วงที.

(5) [ตอบสนองต่อผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงหรือเข้าสู่ภาวะวิกฤติ (ประเมิน stabilize สื่อสาร ให้ความรู้ เคลื่อนย้าย)]

เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ, มีความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญกว่ามาช่วยทีมผู้ให้บริการอย่างทันท่วงทีในการประเมินผู้ป่วย การช่วย stabilize ผู้ป่วย การสื่อสาร การให้ความรู้ และการย้ายผู้ป่วยถ้าจำเป็น

(6) [ติดตาม/วิเคราะห์ ภาวะแทรกซ้อน เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์] [ปรับปรุง]

ทีมผู้ให้บริการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยเหล่านี้ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วย.

เป้าหมาย ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้รับการดูแล อย่างปลอดภัย

HA scoring

-มีการระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงและบริการที่มีความเสี่ยงสูงของ รพ.และจัดทำแนวทางการดูแลที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยดังกล่าว

-มีการดูแลตามแนวทางที่กำหนดไว้, ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อในเวลาที่เหมาะสม, มีความพร้อมในด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรม

-การทำหัตถการที่มีความเสี่ยงกระทำในสิ่งแวดล้อมที่มีความพร้อม (สถานที่ คน เครื่องมือ), มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย

-มีความโดดเด่นเช่น มีระบบงานที่ดีและการประสานงานทีดีกับองค์กรอื่นทั้งในด้านการขอปรึกษาและการส่งต่อ, มีระบบที่ดีในการตอบสนองเมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลง (ตามแนวทางใน SIMPLE)

-มีการประเมินและปรับปรุงการดูแลที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเป็นระบบทำให้ผลลัพธ์การ เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และ ภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก

การดำเนินการ

-การทำ d/c plan และ d/c summary สำหรับผู้ป่วยที่มีความสมบูรณ์

-เพิ่มให้มีการพัฒนาการฝึกอบรม training for the trainer for CPR และเป็นพี่เลี้ยงในระบบของโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล

-ส่งเสริมให้บุคลากรมีการใหช้ Triage Scale ในทุกพื้นที่ให้บริการมีประสิทธิภาพ

-การจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มรายโรคที่มีความซับซ้อนที่พบในโรงพยาบาล

-มีการประสานงานที่ดีกับร.พ.เครือข่ายทั้งการรับและการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างกัน

ทั้ง BPK1-8 , BPK9-8 และ ฺBPK3-8

ทั้งการดูแลคนไข้ของกันและกัน สามารถมารักษาได้เลย การขอประวัติการรักษาโดยผู้ป่วยยินยอม

การอยู่เพื่อรักษาต่อ หรือ ส่งต่อต้นสังกัดตามความจำเป็นของผู้ป่วย

-กรณีเสี่ยงสูงทางนิติเวชได้มีการประสานงานกับทางนิติเวชศิริราช บางปะกอก 9 และทางร.พ.จุฬาลงกรณ์เพื่อขอความแนะนำ

-การเข้าร่วมของ แพทย์ พยาบาล นักปฏิบัติการ หรือ ผู้ที่เกียวข้อง กับทาง BPK9 ผู้เกี่ยวข้องเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ

เช่น เมื่อโรคอุบัติใหม่ การระบาดของไขหวัดใหญ่ เป็นต้น

-มีแบบเฝ้าระวังการดูแลผู้ป่วยเช่น กลุ่มไข้เลือดออก ผู้ป่วยอาการปวดท้อง เป็นต้น

-การทำหัตถการมีความพร้อม จัดให้ที่ER ห้องผ่าตัด

(1) ทีมผู้ให้บริการวิเคราะห์ผู้ป่วยและบริการที่มีความเสี่ยงสูง และร่วมกันจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าว.

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กอายุน้อย, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยฉุกเฉินที่สับสนหรือไม่รู้สึกตัว, ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายอวัยวะ, ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

บริการที่มีความเสี่ยงสูง อาจจะเป็นบริการที่ต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนเพื่อรักษาภาวะที่คุกคามต่อชีวิต, ธรรมชาติของการรักษาที่มีความเสี่ยง,หรือบริการที่มีโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น การฟอกเลือด, การช่วยฟื้นคืนชีพ, การใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือด, การใช้เครื่องผูกยึด,การให้ยาเพื่อให้หลับลึก (moderate and deep sedation)

-PCT ร่วมกับ RiskTEAM วิเคราะห์และจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยเสี่ยงสูง

การดูแลภาวะน้ำตาลต่ำ..................

-จัดทำแนวทางดูแลผู้ป่วย sepsis/septic shock

-แนวทางการดูแล ค้นหา และ ลดความเสี่ยง ในผู้ป่วยก่อนผ่าตัด

-แนวทางดูแลผู้ป่วยทำร้ายหรือSuiside

-แนวทางดูแลผู้ป่วยชัก.......preeclampsia....

(2) บุคลากรได้รับการฝึกอบรม เพื่อนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงมาสู่การปฏิบัติด้วยความเข้าใจ.

-มีการอบรมในส่วนของวิชาการและอบรมเฉพาะด้าน เช่น

ICU, ส่งอบรมเฉพาะด้านและพนักงานใหม่ผ่านที่ร.พ.บางปะกอก1..................

ห้องไตเทียม, อบรมการดูแลบำบัดทดแทนไต มีอายุรแพทย์โรคไตให้การดูแล ..........

ห้องผ่าตัด, อบรมเฉพาะด้านภายในและภายนอก....................

-การป้องกันการติดเชื้อ วัณโรคปอด มีการส่งพนักงานอบรมร่วมกับสมาคม......

-จัดอบรมเชิงวิชาการ ในหัวข้อต่างๆ ป้องกันtraumaจากการใส่สายสวนปัสสาวะ.การตรวจร่างกายติดตามความเสี่ยงเรื่องไส้ติ่งอักเสบ......

(3) การทำหัตถการที่มีความเสี่ยง จะต้องทำในสถานที่ที่เหมาะสม มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและผู้ช่วยที่จำเป็น.

-ห้องไต แพทย์เจ้าหน้าที่

-ห้องผ่าตัด ห้อง เครื่องมือ อุปกรณ์

-การใส่ICD เครื่องมือ แพทย์ ผู้ช่วย portableCXR

-การดมยา แพทย์วิสัญญีเป็นผู้ให้บริการ เครื่องมือ ยา อุปกรณ์ ท่อแก็ซ

-sedation มีการประเมิน การใช้ยา

-exercise stress test เครื่องมือ อายุรแพทย์หัวใจ รถCPRและการซ้อม

-การฉีดสีห้องเอ็กซเรย์ โดยแพทย์ ยา อุปกรณ์ เตรียมพร้อมเมื่อมีการแพ้ยา

-biopsy, cut down, central vein พร้อมทำ etc.

(4) มีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมกับความรุนแรงของการเจ็บป่วย และดำเนินการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษาได้ทันท่วงที.

-postop-room สังเกตุอาการหลังการผ่าตัดทุกราย วัดปริมาณ drain, vital sign

-สังเกตุเฉพาะโรค

ข้อเข่า หลังผ่าตัดเข่าไอซียู วัด vital sign, I/O เฝ้าการเปลี่ยนแปลงตามแนวทาง

Head injury ประเมิน GCS ให้ปรับการรักษาตามอาการผู้ป่วยตามแนวทางที่กำหนด

DHF ประเมิน VS CBC ให้การรักษาต่อเนื่อง

-กรณีเข้า ICU มีmonitor ประจำตัวแต่ละรายตลอดเวลาใช้ Notepad ติดตั้งไวไฟ สามารถเคลื่อนย้ายและดูที่ counter หรือจุดที่ต้องการได้

-เฝ้าระวัง bed sore มีการพลิกตะแคงตัว ติดตามผิวหนัง ตามเกณฑ์ที่กำหนด

-การติดตามเฝ้าระวังก่อนและหลังคลอด การก้าวหน้าการคลอดตามแนวทาง

-

(5) เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงหรือเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะวิกฤติ, มีความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญกว่า มาช่วยทีมผู้ให้บริการอย่างทันท่วงทีในการประเมินผู้ป่วย การช่วย stabilize ผู้ป่วย การสื่อสาร การให้ความรู้ และการย้ายผู้ป่วยถ้าจำเป็น

-มีการกำหนดทีม CPR การช่วยฟื้นคืนชีพที่ชัดเจน เข้าสู่สถานที่ต้องการช่วยเหลือได้ทันท่วงที

-การดูแลทางเดินหายใจ มีทีมชำนาญการ ทีมวิสัญญีช่วยเรื่องการใส่ EET การmaintain airway

การแทงIV การใส่central line และ cut down(ศัลยแพทย์)

-มีระบบปรึกษา ทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งภายในโรงพยาบาล และ subspecialty ของโรงพยาบาลเครือข่ายได้

ร่วมถึงระบบส่งต่อเพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยสำหรับการรักษาที่ดีขึ้น

stroke fasttract ส่งปรึกษา Neuro

septic shock ส่งปรึกษา หรือ สามารถย้ายผู้ป่วยได้

(6) ทีมผู้ให้บริการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยเหล่านี้ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วย.

-

4.3 การดูแลเฉพาะ (PCD.3)

ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลในบริการเฉพาะที่สำคัญ อย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ.

ต่อ การดูแลผู้ป่วยเฉพาะด้าน