8 การให้ความรู้แก้ผู้ป่วยและครอบครัว (PFE)

ภาพรวม

องค์ความรู้ของผู้ป่วย และญาติช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าใจ และมีส่วนรวมในกิจกรรมการรักษาพยาบาล รวมถึง สามารถตัดสินใจ เพื่อรับบริการอย่างเหมาะสม มีบุคลากรมากมายในโรงพยาบาล ที่เข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ดังนั้น การถ่ายทอดความรู้จึงเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้ป่วยได้มีปฏิสัมพันธ์ กับบุคลากรผู้ให้การบำบัดรักษา หรือสหวิชาชีพ และกระบวนการ นี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามาใน โรงพยาบาล ไปจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการรักษาในโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยถูกจำหน่าย ออกจากโรงพยาบาล แพทย์และพยาบาล อาจเป็นบุคลากรที่เริ่มต้นกระบวนการให้ความรู้ในขณะที่วิชาชีพอื่น ๆ ได้ให้ความรู้ตาม แนวทาง หรือตามที่ผู้ป่วยได้ใช้บริการตามความต้องการเฉพาะทาง เช่น การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายโภช ,น บำบัดหรือการ เตรียมความพร้อม ,ก่อนการถูกจำหน่าย หรือการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีบุคลากร หลากหลายสาขาที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้ป่วย และญาติ จึงมีความสำคัญที่บุคลากรทุก ๆ สาขา ต้องเข้ามาประสาน กิจกรรมที่ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย เข้าด้วยกัน และมุ่งเน้นไปยัง สิ่งที่ผู้ป่วย และครอบครัวต้องการเรียนรู้ข้อมูล การให้ความรู้ของบุคลากร ในแต่ละสาขาวิชาชีพ ที่ได้ถ่ายทอดแก่ผู้ป่วยและญาตินั้น จำเป็นที่ต้องแลกเปลี่ยน หรือ ส่งต่อกัน ระหว่างบุคลากร เพื่อสร้างความ ตระหนักระหว่างวิชาชีพ ถึงข้อมูลที่ถ่ายทอดให้ผู้ป่วยไปแล้ว ข้อมูลใดที่ จำเป็นต้องได้รับการสอนซ้ำ หรือข้อมูลใด ที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้แต่ยังไม่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคลากรที่ร่วม ดูแลผู้ป่วย

การให้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่มจากการประเมินความต้องการการเรียนรู้ของผู้ป่วย และญาติ ไม่ เพียงแค่การประเมิน ว่าต้องการเรียนรู้อะไร แต่ต้องประเมินว่าการให้ความรู้อย่างไรจึงจะส่งผลดีที่สุด การเรียนรู้จะ ประสบความสำเร็จได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อ การเรียนรู้นั้น สอดคล้องกับค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับ การศึกษา ทักษะการอ่านเขียน รวมถึงภาษาที่ใช้สื่อสาร ของผู้ป่วย แต่ละราย และการเรียนรู้จะส่งผลดีเมื่อเกิดขึ้น ในระหว่าง และตลอดกระบวนการบำบัดรักษา

การให้ความรู้ประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ผู้ป่วยต้องการจากสหวิชาชีพ ทั้งระหว่างกระบวนการบำบัดรักษา ไป จนกระทั่งผู้ป่วย ถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เพื่อไปรักษาตัวต่อที่บ้าน หรือหน่วยงานอื่น ๆ ดังนั้น องค์ความรู้ ที่ให้แก่ผู้ป่วยนั้น อาจได้มาจาก แหล่งข้อมูลของชุมชน เพื่อเติมเต็มกระบวนการบำบัดรักษา การกลับมาเพื่อ ติดตามรับการรักษาต่อเนื่องในผู้ป่วยที่มีความต้องการ รวมถึงผู้ป่วย ต้องสามารถเข้าถึงการรักษาเร่งด่วนได้เมื่อมี ความจำเป็น การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติที่มีประสิทธิภาพนั้น อาจอยู่ ในหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความ ต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย หรือกลุ่มประชากร

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

PFE.1 โรงพยาบาลได้ให้ความรู้ที่สนับสนุนให้ผู้ป่วย และญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการดูแลรักษา

PFE.2 ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการประเมินสิ่งที่ต้องเรียนรู้และผลการประเมินถูกบันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย

PFE.2.1 ความสามารถในการเรียนรู้และความเต็มใจในการเรียนรู้ของผู้ป่วย และญาติได้รับการประเมิน

PFE.3 กระบวนการ หรือวิธีการให้ความรู้ต้องคำนึงถึงค่านิยม และความเชื่อของผู้ป่วย และญาติและต้องเปิด โอกาส ให้มีการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ป่วย ญาติและผู้ให้สุขศึกษาอย่างเพียงพอ และเหมาะสมใน กระบวนการสร้าง การเรียนรู้

PFE.4 บุคลากรผู้ให้การดูแลผู้ป่วย ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย

มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้

มาตรฐาน PFE.1 โรงพยาบาลได้จัดสรรองค์ความรู้ให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และ กระบวนการบำบัดรักษา

เจตจำนงของ PFE.1

โรงพยาบาลได้ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย และญาติเพื่อให้มีความรู้และทักษะในการมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา รวมถึงการตัดสินใจ (ดูPFR.2) โรงพยาบาลแต่ละแห่งสร้างการให้ความรู้ในกระบวนการดูแลตามภารกิจของการ ให้บริการและประชากรผู้ป่วย การให้ความรู้มีการวางแผนเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยทุกคนจะถูกนำเสนอการให้ความรู้ที่ ผู้ป่วยต้องการ โรงพยาบาลเลือกวิธีการที่จะจัดให้มีทรัพยากรทางการศึกษาของตนในลักษณะที่มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลโรงพยาบาลอาจเลือกที่จะแต่งตั้งผู้ประสานงานการให้ความรู้หรือ คณะกรรมการให้ความรู้บริการให้ ความรู้หรือ เพียงแค่ทำงานร่วมกับบุคลากรทุกคนเพื่อให้การศึกษาในลักษณะการประสานงานกัน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFE.1

❏ 1. โรงพยาบาลวางแผนให้ความรู้แก่ผู้ป่วยที่สอดคล้องกับพันธกิจ, บริการ และกลุ่มประชากร (ดูACC.4.1)

❏ 2. มีการวางรูปแบบหรือกระบวนการเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยทั่วทั้งโรงพยาบาล

❏ 3. รูปแบบการให้ความรู้หรือ ทรัพยากรถูกบริหารจัดการด้วยกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน PFE.2 ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับการประเมินสิ่งที่ต้องเรียนรู้และ ต้องถูกบันทึกในเวชระเบียนของผู้ป่วย

เจตจำนงขอ PFE.2

การให้ความรู้หรือสุขศึกษาแก่ผู้ป่วย มุ่งเน้นไปที่องค์ความรู้และทักษะของผู้ป่วยและครอบครัว เพื่อช่วยประกอบ การตัดสินใจ หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบำบัดรักษา และการรักษาอย่างต่อเนื่องที่บ้าน เป็นสิ่งที่ค่อนข้าง ขัดแย้งในทิศทางการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ป่วย และบุคลากรในเชิงสารสนเทศ แต่ไม่ใช่ธรรมชาติของการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการสิ่งที่ต้องเรียนรู้ของผู้ป่วยแต่ละราย และครอบครัว จึงต้องมีกระบวนการประเมินเพื่อ บ่งชี้ถึงชนิดของการผ่าตัด หรือหัตถการลุกล้ำใด ๆ รวมถึงแผนการบำบัดรักษา ซึ่งสัมพันธ์กับความต้องการ ของ การ ดูแลรักษาทางการพยาบาล และความต้องการในการบำบัดรักษาต่อเนื่อง หลังจากที่ผู้ป่วยถูกจำหน่าย การ ประเมินนี้สามารถกระทำโดยผู้ให้การดูแลผู้ป่วย เพื่อวางแผน และส่งมอบความรู้ตามความต้องการของผู้ป่วย การให้ความรู้หรือสุขศึกษาโดยบุคลากรในโรงพยาบาลนั้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วย และครอบครัวมีส่วนร่วมในการ ตัด สินใจ ในกิจกรรมการบำบัดรักษา (ดูPFE.2) การให้สุขศึกษาจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขอคำ ยินยอมของผู้ป่วย เพื่อดำเนินการบำบัดเช่น ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด หรือได้รับยาสลบ ซึ่งต้องถูกบันทึกในเวช ระเบียนของผู้ป่วย (ดูPFR.5.3, ME.1) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อผู้ป่วยและญาติได้เข้ามามีส่วนร่วมใน กิจกรรมการ บำบัดรักษาโดยตรง การบริหารยา ตรงการบริหารยา ,การให้อาหารผู้ป่วยทา ,ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนผ้าทำแผล ซึ่งจำเป็นที่ต้องได้รับ (หรือการรักษาอื่น ๆการให้ความรู้หรือสุขศึกษา)

เมื่อการประเมินสิ่งที่ผู้ป่วยและครอบครัวต้องการเรียนรู้ได้ถูกระบุแล้ว จะต้องถูกบันทึกลงในเวชระเบียนของผู้ป่วย ซึ่งการบันทึกนี้จะมีส่วนช่วยให้กับบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา โรงพยาบาลจะต้องระบุ ตำแหน่ง หรือรูปแบบของเอกสารที่ใช้เพื่อบันทึกผลการประเมินผู้ป่วย แผนการรักษา และข้อมูลสุขศึกษาที่ได้ส่ง มอบให้กับ ผู้ป่วยในเอกสารเวชระเบียนของผู้ป่วย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFE.2

❏ 1. ความต้องการการเรียนรู้สุขศึกษาของผู้ป่วยและญาติได้รับการประเมิน

❏ 2. ผลการประเมินความต้องการการเรียนรู้สุขศึกษาของผู้ป่วยและญาติได้รับการบันทึกในเวชระเบียน

❏ 3. มีการบันทึกการให้ความรู้หรือสุขศึกษาแก่ผู้ป่วยที่เป็นรูปแบบเดียวกันโดยบุคลากรทุกคน (ดูMOI.9, ME.3)

มาตรฐาน PFE.2.1

ความสามารถในการเรียนรู้และความเต็มใจที่จะเรียนรู้ของผู้ป่วยและญาติได้รับการประเมิน

เจตจำนงของ PFE.2.1

องค์ความรู้และทักษะความสามารถในการเรียนรู้รวมถึงอุปสรรคต่าง ๆ ต้องได้รับการระบุและใช้เพื่อวางแผนการ ให้ความรู้ซึ่งมีหลายตัวแปรที่นำมาใช้กำหนดความความสามารถในการเรียนรู้รวมถึงความเต็มใจ สมรรถภาพ ของการ เรียนรู้ของผู้ป่วย และครอบครัว

• การรู้หนังสือ องค์ความรู้ทางด้านสุขภาพ ระดับการศึกษา และภาษาที่ใช้สื่อสารของผู้ป่วย และครอครัว ต้องได้รับการประเมิน

• อุปสรรคทางด้านอารมณ์และแรงจูงใจ

• ข้อจำกัดทางด้านร่างกาย และการรับรู้หรือความเข้าใจ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFE.2.1

❏ 1. การรู้หนังสือซึ่งรวมถึงระดับความรู้ทางด้านสุขภาพ ระดับการศึกษา และภาษาที่ใช้สื่อสารของผู้ป่วย ได้รับการประเมิน

❏ 2. อุปสรรคทางด้านอารมณ์และแรงจูงใจของผู้ป่วยได้รับการประเมิน

❏ 3. ข้อจำกัดทางด้านร่างกาย และข้อจำกัดด้านการรับรู้และความเข้าใจของผู้ป่วยได้รับการประเมิน

❏ 4. ผลการประเมินถูกนำมาใช้กำหนด หรือวางแผนการให้ความรู้หรือสุขศึกษาแก่ผู้ป่วย

มาตรฐาน PFE.3 วิธีการให้ความรู้ต้องพิจารณารวมถึงค่านิยม ความเชื่อของผู้ป่วย และครอบครัว รวมถึงเปิดโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์ กันอย่างเพียงพอระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้

เจตจำนงขอ PFE.3

การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยและครอบครัว ได้ให้ความสนใจต่อวิธีการให้ความรู้หรือสุขศึกษา การเข้าใจ ในตัวผู้ป่วยและครอบครัว ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถกำหนดบุคลากรที่จะเป็นผู้ให้ความรู้และวิธีการให้ความรู้ที่ ประกอบไปด้วยค่านิยม ความเชื่อของผู้ป่วย และครอบครัว ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของครอบครัว และวิธีการ ให้คำแนะนำ ผู้ป่วยและครอบครัวควรได้รับการผลักดันให้มีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา โดยการกระตุ้น

ให้แสดงความคิดเห็น หรือตั้งคำถามแก่บุคลากรผู้ให้ความรู้หรือสุขศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้ป่วยและ ครอบครัว เข้าใจองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปตามที่ผู้ให้ความรู้มุ่งหวังไว้บุคลากรต้องเข้าใจถึงบทบาทำ คัญของผู้ป่วยที่ แสดงถึงความปลอดภัย และเกิดคุณภาพสูงสุดของการให้การรักษา การเปิดโอกาสให้มี ปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากร ก่อให้เกิดผลตอบรับที่สร้างความมั่นใจว่าข้อมูลที่ถ่ายทอด ไปถึงผู้ป่วยนั้น สร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์และนำไปปฏิบัติได้จริง โรงพยาบาลต้องกำหนดว่าการให้ สุขศึกษาทางวาจา นั้นจะต้องถูก กระตุ้นซ้ำโดยสื่อการให้สุขศึกษาที่เป็นเอกสาร เมื่อไร และอย่างไร เพื่อเพิ่มความ เข้าใจแก่ ผู้ป่วยและญาติหรือนำไป ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในอนาคต

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFE.3

❏ 1. กระบวนการให้ความรู้ต้องพิจารณาถึง ค่านิยม ความเชื่อ ของผู้ป่วยและครอบครัว (ดูPFR.1.2, ME.2)

❏ 2. มีกระบวนการที่ใช้ทวนสอบความเข้าใจถึงองค์ความรู้ที่ผู้ป่วย และครอบครัว ได้รับจากบุคลากร

❏ 3. ผู้ให้ความรู้หรือสุขศึกษาแก่ผู้ป่วย และครอบครัว กระตุ้นให้มีการแสดงความคิดเห็น และซักถามจาก บุคลากร

❏ 4. การให้ความรู้หรือสุขศึกษาทางวาจา จะต้องถูกกระตุ้นซ้ำด้วยสื่อ หรือเอกสารการสอน ซึ่งสัมพันธ์กับ ความ ต้องการของผู้ป่วย และสอดคล้องกับความพึงพอใจของผู้ป่วยและครอบครัว

มาตรฐาน PFE.4 บุคลากรผู้มีส่วนในการบำบัดรักษาผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้หรือสุขศึกษา

เจตจำนงของ PFE. 4

เมื่อบุคลากรวิชาชีพที่มีส่วนในการบำบัดรักษาผู้ป่วย สามารถเข้าใจถึงองค์ความรู้หรือสุขศึกษาที่บุคลากร วิชาชีพ อื่น ได้ให้แก่ผู้ป่วยซึ่งกันและกัน จะส่งผลให้การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ความ ร่วมมือ ระหว่างวิชาชีพ ยังช่วยให้ข้อมูลองค์ความรู้ที่ผู้ป่วยได้รับนั้นครอบคลุม ถูกต้อง และมีประสิทธิผล โดย ความร่วมมือนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของการเรียนรู้ของผู้ป่วย ซึ่งอาจไม่จำเป็นเสมอไป ความรู้ใน เนื้อหาที่จะให้ระยะเวลาที่เพียงพอ และความสามารถในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ของบุคลากร เป็นสิ่ง สำคัญในการที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PFE.4

❏ 1. ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับความรู้ที่เกิดจากความร่วมมือกันเมื่อมีข้อบ่งชี้

❏ 2. บุคลากรที่ให้ความรู้มีความรู้ในเนื้อหาที่จะให้

❏ 3. บุคลากรที่ให้ความรู้มีเวลาเพียงพอที่จะให้ความรู้

❏ 4. บุคลากรที่ให้ความรู้มีทักษะในการสื่อสารที่จะให้ความรู้