III-4.3ก. การระงับความรู้สึก

มาตรฐานการดูแลเฉพาะ

ทีมผู้ให้บริการสร้างความมั่นใจว่าจะให้การดูแลในบริการเฉพาะที่สำคัญ อย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ.

81 การระงับความรู้สึก

ก. การระงับความรู้สึก

(1)

-มีการประเมินผู้ป่วยเพื่อค้นหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการระงับความรู้สึก,

-นำข้อมูลจากการประเมินมาวางแผนการระงับความรู้สึกที่เหมาะสม รวมทั้งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง.

(2)

-ผู้ป่วย/ครอบครัวได้รับข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับการระงับความรู้สึก และมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการระงับความรู้สึกถ้าเป็นไปได้.

-ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจก่อนการระงับความรู้สึก.

(3)

-กระบวนการระงับความรู้สึกเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ

ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าดีที่สุดภายใต้สถานการณ์ของโรงพยาบาล โดยบุคคลที่เหมาะสม

(4)

-มีการติดตามและบันทึกข้อมูลผู้ป่วยระหว่างระงับความรู้สึกและในช่วงรอฟื้นอย่างครบถ้วน.

-มีการเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินระหว่างการระงับความรู้สึกและระหว่างรอฟื้น.

-ผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายจากบริเวณรอพักฟื้นโดยผู้มีคุณวุฒิ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

(5) มีการใช้เครื่องมือ วัสดุ และยาตามที่องค์กรวิชาชีพด้านวิสัญญีแนะนำ

HA scoring

ตัวอย่าง

Post op pain assessment

Anes pre-pot op round

-มีเครื่องมือพื้นฐานที่ สามารถให้บริการระงับ ความรู้สึกได้, บุคลากร ได้รับการฝึกอบรม/ ฟื้นฟูทักษะเพียงพอ

-ผู้ป่วยได้รับการเตรียมความพร้อม, มีการ ประเมินและวางแผน เพื่อให้การระงับ ความรู้สึกอย่าง ปลอดภัยโดยผู้ป่วยมี ส่วนร่วมในการเลือกวิธี ให้ยาระงับความรู้สึก การทบทวน

-กระบวนการระงับความรู้สึกเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยบุคคลที่เหมาะสมมีการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินอย่างทันท่วงที

-มีความโดดเด่น เช่น ระบบติดตามภาวะไม่พึงประสงค์, ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยซับซ้อนหรือรุนแรงได้อย่างปลอดภัย, ระบบการดูแล deep sedation ทั่วทั้งองค์กรนวตกรรม

-มีการประเมินและปรับปรุงบริการระงับความรู้สึกอย่างเป็นระบบส่งผลให้ ASA mortality rate ดีกว่าค่าเฉลี่ย

การดำเนินงาน

  • พัฒนาระบบการเยี่ยมและประเมินผู้ป่วยที่นัดผ่าตัดล่วงหน้าให้คลอบคลุมผู้ป่วยทุกรายและมีประสิทธิภาพโดย สามารถเยี่ยมผู้ป่วยได้ 100%

  • พัฒนาระบบการประสานงานทีมงานที่เกี่ยวข้องกรณการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อเตรียมการผู้ป่วยปลอดภัย

  • มีระบบตรวจสอบเครื่องดมยาสลบให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งความพร้อมของยา/เวชภัณฑ์

  • จัดหาเครื่องดมยาสลบให้เพียงพอต่อการจัดให้บริการและต่อจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการมากขึ้น

  • พัฒนาระบบสิ่อสาร ส่งต่อข้อมูลทีมงานและทำระบบการส่งต่อผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงการปรับปรุงมาตรฐานการบันทึกให้ครบถ้านตามมาตรฐาน

  • ส่งเสริมให้มีการเก็บข้อมูล เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เพิ่อนำมาวิเพคราะห์หา แนวทางการแก้ไขและพัฒนาต่อไป

การดำเนินงาน

- มีการประเมินผู้ป่วยเพื่อค้นหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการระงับความรู้สึกโดยมีระบบการให้ข้อมูลในการ

ให้ญาติและผู้ป่วยมีสิทธิในการตัดสินใจเลือกวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกตามความเหมาะสม รวมทั้งการเยี่ยมประเมินผู้ป่วย

ที่นัดผ่าตัดล่วงให้คลอบคลุมผู้ป่วยทุกรายและมีประสิทธิภาพโดย สามารถเยี่ยมผู้ป่วยได้ 100%และมีการจัดระบบการปรึกษา

ผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ครอบคลุม เช่น ผ่าตัดข้อเข่า

- มีระบบการเยี่ยมติดตามอาการผู้ป่วยหลังผ่าตัดทุกราย โดยวิสัญญีแพทย์และพยาบาลห้องผ่าตัดทุกวันเพื่อประเมิน

ความเสี่ยงและติดตามอาการรวมทั้งให้คำแนะนำภาวะสุขภาพการฟื้นฟูร่างกายต่อไป

- พัฒนาระบบการดุแลระงับความเจ็บปวด(Pain management)หลังผ่าตัด ใน24ชม.แรกและการให้คำปรึกษาแต่ละราย

-พัฒนาระบบการประสานงานทีมงานที่เกี่ยวข้องกรณีการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลผู้ป่วย

ให้ปลอดภัย

-จัดให้มีอุปกรณ์สำหรับให้การระงับความรู้สึกครบถ้วนทุกห้องผ่าตัดเพียงพอต่อการจัดให้บริการและต่อจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารฅบริการมากขึ้น และมีระบบการตรวจสอบเครื่องดมยาสลบให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งความพร้อมของยา/เวชภัณฑ์

- รพ.ยังไม่มีวิสัญญีพยาบาลFull timeแต่จัดระบบให้มีวิสัญญีพยาบาลPart timeขึ้นเวรทุกวันและมีพยาบาลประจำห้องพักฟื้น 1ท่านที่ได้รับการฝึกอบรมมาเฉพาะทำงานภายใต้การกำกับของวิสัญญีแพทย์ ผู้ป่วยได้รับการจำหน่าย จากบริเวณรอพักฟื้นโดยผู้มีคุณวุฒิ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

-พัฒนาระบบการสื่อสาร ส่งต่อข้อมูลที่สำคัญต่อผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงการปรับปรุง

มาตรฐานการบันทึกให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามมาตรฐาน

-ส่งเสริมให้มีการเก็บข้อมูล เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เพื่อนำมาวิเคราะห์หา แนวทางการแก้ไขและพัฒนาต่อไป