T2 CoP ชุมชนนักปฏิบัติ จาก KKU

Community of Practice (COP)

 “ชุมชนนักปฏิบัติ” (COP: Community of Practice) คือ

การรวมตัวของคนหรือกลุ่มคนที่มีความชอบ มีความสนใจเหมือนกัน

สมาชิกในกลุ่มพร้อมและเต็มใจที่จะเรียนรู้และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

มีความเชียวชาญ ที่คล้ายๆ กัน หรือ มีปัญหา ร่วมกัน สร้างและพัฒนาความสัมพันธ์

ในระหว่างการดำเนินกิจกรรมร่วมกันซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมกัน

ลักษณะสำคัญ ซึ่งบางแนวคิดกล่าวว่ามันคือเก้าอี้ 3 ขา 

1.DOMAIN : head เป็นเรื่องของความรู้ ประสบการณ์ ความสนใจ หรือปัญหาร่วมกัน (domain)

2.COMMUNITY : heart คือ ความรู้สึกมีส่วนร่วมในชุมชน (community) และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 

มีการสร้างปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์กัน ในกลุ่มหรือชุมชนมีการช่วยเหลือกัน

3.PRACTICE : hand คือ เป็นกิจกรรม หรือการกระทำ (practice) มีการแลกเปลี่ยนและพัฒนาการเรียนรู้ไปร่วมกัน ด้วยแนวปฏิบัติเดียวกัน

developed by Etienne Wenger in his book 

Communities of Practice. Learning, Meaning, and Identity (1998)

https://www.cdc.gov/phcommunities/resourcekit/intro/cop_approach.html

กรอบแนวทางการวิเคราะห์ค้นหาชุมชนแนวปฏิบัติที่สำคัญ

1. พัฒนาการหรือการก่อเกิดของกลุ่ม

2. Core Business, Core Value และ Key Success

3. ระบบความสัมพันธ์ของสมาชิก

4. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภายนอก

5. ความยั่งยืนของกลุ่ม

6. ระบบการจัดการความรู้

องค์ประกอบของชุมชนแนวปฏิบัติ

1. โดเมน (domain) หรือ หัวข้อความรู้ เป็นหัวข้อที่กลุ่มหรือชุมชน

2. ชุมชน (community) ได้แก่ พันธะทางสังคมที่จะรวบรวมและยึดเหนี่ยวสมาชิกผู้ปฏิบัติงานเข้าไว้ด้วยกันภายใต้โดเมนและแรงปรารถนาเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

3 แนวปฏิบัติ (practice) คือ ผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนที่สมาชิกสามารถนำไปปฏิบัติในงานของตนได้จริง

คุณลักษณะของชุมชนนักปฏิบัติ

>> มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน และต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกันและกัน

>> มีเป้าหมายและความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น

>> มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน

>> วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน

>> ประสบกับปัญหาในลักษณะเดียวกัน

>> มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้

>> มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี

>> มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย

>> มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนา และเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง

>> มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ทำให้มีความรู้ที่ลึกซึ้งเพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ธรรมชาติของชุมชนนักปฏิบัติ

>> การปฏิบัติมิใช่สิ่งตายตัว ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง หรือกฎระเบียบ

>> ชุมชนนักปฏิบัติเป็นกลไกของการไขว่คว้าหาความรู้เข้าหาตัว มากกว่าการรวบรวมความรู้ เพื่อส่งมอบให้ผู้อื่น

>> สิ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติ และเป็นผลจากการเรียนรู้ ได้แก่

▫ สิ่งที่ปรากฏชัดแจ้ง ได้แก่ เครื่องมือ เอกสาร ภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ บทบาที่ชัดเจน

เกณฑ์ที่กำหนดไว้ กฎข้อบังคับ สัญญา

▫ สิ่งที่ไม่ปรากฏชัดแจ้ง ได้แก่ ความสัมพันธ์ กฎเกณฑ์ในใจ ความหยั่งรู้ การรับรู้

ความอ่อนไหว ความเข้าใจ สมมติฐาน มุมมองซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป

รูปแบบของชุมชนนักปฏิบัติ

1. แบบกลุ่มเล็ก มี 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้อย่างทั่วถึง

2. แบบเป็นทางการที่เปิดเผย มีการจัดทำเป็นโครงการ KM ของ สคบศ.

ดำเนินการโดย KM Teamขององค์กร เนื่องจากเป็น โครงการนำร่องจัดเป็นครั้งแรก จึงต้องทำแบบเป็นทางการ

3. แบบไม่เป็นทางการ เป็นลักษณะที่ต้องการพบปะ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเมื่อไรก็ได้ ตามความเหมาะสม

และต้องการของสมาชิก เช่น สภากาแฟ หรือพบปะพูดคุยกันในโต๊ะอาหาร เป็นต้น

4. แบบบนลงล่าง (Top Down) เพราะเป็นนโยบายขององค์กร 

ซึ่งต่อไปในอนาคตเมื่อทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง KM ดีแล้ว 

แต่ละฝ่ายงานจะมีการทำ COP แบบรากหญ้า (Grass Root) ที่เริ่มต้นรวมตัวกันจากสมาชิกภายในฝ่าย

5. แบบคละฝ่าย เนื่องจากหัวข้อเรื่องการทำ COP เป็นหัวข้อใหญ่ มีลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกันหลายฝ่าย

คือ งานบริการด้านฝึกอบรม จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานฝึกอบรม

6. แบบเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างคนกับคน แบบซึ่งหน้า (Face to Face) 

ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนความรู้โดยผ่านสื่อ Intranet หรือ Internet

7. แบบที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างคนในองค์กร และคนนอกองค์กร

เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมจากสำนักงานที่ดินมาร่วมกิจกรรมด้วย

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของชุมชนนักปฏิบัติ

1. ผู้บริหาร

ผู้นำองค์กรนับว่ามีส่วนสำคัญ ที่จะทำให้ชุมชนนักปฏิบัติประสบความสำเร็จได้

2. สมาชิก

สิ่งที่มีคุณค่ามากของชุมชนนักปฏิบัติ คือ การร่วมกันแก้ปัญหา แต่การอภิปรายปัญหาอย่างเปิดอกในขณะที่ความคิดยังไม่สุกงอมดี หรือการคิดดังๆ ในที่ประชุมเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติของคน

3. วิธีการ

- การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มขนาดเล็ก 2-3 คน อาจเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างชุมชนนักปฏิบัติได้

- ดำเนินการอย่างสอดคล้องกับเป้าหมาย วัฒนธรรม

4. เทคโนโลยี

- เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กร โดยอาจจะเริ่มจากเทคโนโลยีที่ง่าย ๆ ก่อน เช่น การใช้Software computer ที่ใช้ง่าย และคุ้นเคย

ประโยชน์ของชุมชนนักปฏิบัติ

 สำหรับองค์กร

- ช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

- ทำให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และทันเหตุการณ์

- เป็นหนทางในการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่ดีเยี่ยม (Best Practices)

- เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร

- พัฒนาองค์ความรู้ที่มีพลวัตขององค์กร

- ทำให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

- เป็นหนทางที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้

สำหรับพนักงาน- ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิกในชุมชน

- ได้ร่วมมือกับเพื่อนสมาชิกในชุมชน ในการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

- ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวมทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหา

- ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ตัวอย่างการทำ CoP  ของหน่วยจัดเย็บ งานแม่บ้าน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ได้นำเสนอการจัดความร่วมมือกับหอผู้ป่วย แบบทางทางการและไม่เป็นทางการ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการตัดเย็บเสื้อผ้าสำหรับผู้ป่วย ระหว่างการอยู่รักษาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวก สบาย เช่น

- การพิจารณาถึงชนิดของผ้า ที่นำมาใช้กับผู้ป่วยฉายรังสี ผู้ป่วยประเภทนี้ เมื่อฉายรังสีจะมีผลทำผิวหนังแห้ง ผิวหนังจะบาง หากสวมใส่ผ้าที่เนื้อแข็ง ผ้าหยาบจะเสียดสีกับผิวหนังบ่อยๆ จะกระตุ้นก่อให้เกิดความระคายเคือง เกิดความไม่สบายแก่ผู้ป่วย

- การออกแบบเสื้อเปิดไหล่ สวมใส่สำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บที่ไหล่ แขนหัก

ขอบคุณที่มา

http://kunyarat-chi.blogspot.com/2013/02/community-of-practice-cop.html