4P 2.3 Radiation Hazards

P 2.3: Radiation Hazards (สิ่ งคุกคามรังสี ชนิดก่อไอออน)

Definition

รังสีทางการแพทย์ชนิดก่อไอออนหมายถึง กัมมันตภาพรังสี ซึ่งหมายถึงรังสีที่ธาตุ

กัมมันตรังสีปลดปล่อยออกมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียร์

กัมมันตภาพรังสี มี 3 ชนิด คือ

1. รังสีแอลฟา ( ) ถ้าเป็นอนุภาคจะเรียก อนุภาคแอลฟา เป็นอนุภาคที่มีประจุบวก

เป็น 2 เท่าของอิเล็กตรอน แต่มีมวลเป็น 4 เท่าของอะตอมไฮโดรเจน สามารถ

เบี่ยงเบนทั้งในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า เมื่อเคลื่อนที่ผ่านอากาศจะท าให้อากาศ

แตกตัวเป็นไอออน จึงสูญเสียพลังงานท าให้อ านาจการทะลุทะลวงผ่านต ่า ผู้ตั้งชื่อรังสี

แอลฟา คือ รัทเธอร์ฟอร์ด

2. รังสีเบตา ( ) ถ้าเป็นอนุภาค เรียก อิเล็กตรอน เป็นอนุภาคที่มีประจุลบ ไม่มีมวล

สามารถเบี่ยงเบนได้ทั้งในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า มีอ านาจทะลุทะลวงปานกลาง

ผู้ตั้งชื่อรังสีเบตา คือ รัทเธอร์ฟอร์ด

3. รังสีแกมมา ( γ ) เป็นโฟตอนหรือควอนตัมของแสง ไม่มีมวล ไม่มีประจุ จึงไม่

สามารถเบี่ยงเบนได้ทั้งในสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า แต่เป็นรังสีที่มีอ านาจทะลุ

ทะลวงมากที่สุด ผู้ตั้งชื่อรังสีแกมมา คือ วิลาด

4.รังสีเอกซ์ (X-ray หรือ Röntgen ray) เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีความยาวคลื่นในช่วง

10 ถึง 0.01 นาโนเมตร ตรงกับความถี่ในช่วง 30 ถึง 30,000 เพตะเฮิรตซ์ (1015 เฮิรตซ์)

ในเบื้องต้นมีการใช้รังสีเอกซ์ส าหรับถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค รังสีเอกซ์เป็นการแผ่รังสี

แบบแตกตัวเป็นไอออน และมีอันตรายต่อมนุษย์ รังสีเอกซ์ค้นพบโดยวิลเฮล์ม คอนราด

เรินต์เกน เมื่อ ค.ศ. 1895

Goal

ควบคุมสิ่งคุกคามด้านรังสีไอออนแตกตัวให้อยู่ในระดับความเสี่ยงต ่า โดยใช้หลักการ ให้

การด าเนินการใดๆ ในทางปฏิบัติที่ท าให้งาน ส าเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยได้รับรังสีชนิด

ก่อไอออนน้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ (as low as reasonably achievable, ALARA)

Why

 หน่วยบริการ มีการใช้รังสีชนิดก่อไอออนในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น รังสีเอกซ์ และ

รังสีแกมมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากร ดังนี้

1. แบบเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วไหลออกจากตัวกั้น หรือจากผู้ป่วยที่มีการฝังแร่

ทั้งนี้อาจท าให้มีอาการ ผิวหนังบวมแดง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อ่อนเพลีย หมดสติ ต่อมาจะ

มีเป็นไข้ วิงเวียน และแผลผิวหนังมีเลือดออก การเกิดแผลพุพองทั้งภายนอกและภายในร่างกาย

ท้องเดิน อุจจาระมีเลือดปน อาจตายได้

2. แบบเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการรับรังสีชนิดก่อไอออน (ท าให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนการ

เปลี่ยนแปลงของโครโมโซม การแบ่งตัวของเซลล์ล่าช้าและเซลล์ถูกท าลาย นอกจากนี้ยังเกิดผัง

พืดที่ปอด มีผลต่อไต ตาเป็นต้อกระจก โรคโลหิตจางชนิด Aplastic ท าให้เป็นหมัน โรคผิวหนัง

และอายุสั้น)

 บุคลากรขาดความตระหนักหรือความรู้หรือไม่ค านึงถึงอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

จากรังสีชนิดก่อไอออน

Process

แนวทางการป้องกันผลกระทบแก่บุคลากร

1. การพิจารณา/การน ามาใช้แนวปฏิบัติ ความปลอดภัยทางรังสีในงานทางการแพทย์ ของ

ส านักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2. ให้มีการบริหาร จัดการตามมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และด าเนินการด้านความ

ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างานเกี่ยวกับรังสีก่อไอออน พ.ศ. 2557

3. จัดให้มี radiation safety officer (RSO) ซึ่งควรจะเป็นนักฟิสิกส์รังสี

4. แนวปฏิบัติที่ท าให้ผู้ปฏิบัติงานกับรังสีได้รับรังสีน้อยที่สุด

4.1 ตรวจวัดรังสีของสถานที่ปฏิบัติการ โดยตรวจวัดระดับรังสีอย่างน้อย3 เดือนต่อครั้ง

เช่นบริเวณต้นก าเนิดรังสี และตรงที่ปฏิบัติงาน นอกจากนั้นตรวจสอบการรั่ว การ

เปรอะเปื้อน และการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสีอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง

4.2 จัดแบ่งพื้นที่รังสีเป็นพื้นที่ควบคุมได้แก่พื้นที่จัดเก็บวัสดุกัมมันตรังสี ซึ่งมีโอกาสได้รับ

รังสีสูงกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณที่กฎกระทรวงก าหนด (20 msv/year) หรือเป็นพื้นที่

ตรวจตราได้แก่พื้นที่ทีมีโอกาสได้รับรังสีต ่ากว่า 1 ใน 3 ของปริมาณที่กฎกระทรวง

ก าหนด

4.3 ต้องจัดท ากฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษร และประกาศให้ทราบโดย

ทั่วกัน

4.4 ต้องจัดหาอุปกรณ์เพื่อระงับหรือป้องกันอันตรายจากรังสีที่เหมาะสมให้กับ

ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งต้องเป็นไปตามาตรฐาน

4.5 ต้องจัดให้มีการประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับด้วยวิธที่เหมาะสม อาจท าโดย

ติดอุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจ าตัวบุคคล หากไม่มีอุปกรณ์ สามารถประเมินการ

รับรังสีของผู้ปฏิบัติงานโดยการค านวณและควรประเมินอย่างน้อยทุก 3 เดือน

4.6 ต้องจัดให้มีการเก็บบันทึกผลการประเมินการรับรังสีของบุคลากรทุกคน และมีการ

แจ้งผลแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องให้ทราบ และต้องเก็บผลการประเมินจน

บุคลากรอายุ 75 ปี หรืออย่างน้อย 30 ปี

4.7 จัดให้มีการตรวจสุขภาพแรกเข้าก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และเป็นประจ าทุกปี หรือกรณีมี

การสัมผัสรังสีแบบอุบัติเหตุ

Training

1. จัดให้มีการอบรมด้านความปลอดภัยในการท างานกับรังสีทางการแพทย์

กับแก่บุคลากรใหม่ทุกคน และบุคลากรทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานกับรังสีทางการแพทย์

2. จัดอบรมแผนรองรับภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากรังสีปนเปื้อนและรั่วไหล

Monitoring

1. ต้องมีการทบทวนมาตรฐานการท างานกับรังสีทางการแพทย์เป็นประจ าอย่างน้อยทุก

1 เดือน

2. ตรวจวัดรังสีของสถานที่ปฏิบัติการ โดยตรวจวัดระดับรังสีอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง

3. ประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง

Pitfall

1. นอกจากการตรวจวัดรังสีที่ได้รับเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายแล้ว ในสถานที่ท างานต้องได้รับ

การประเมิน คุณภาพและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ปิดกั้นการแผ่รังสี ตลอดจน

ประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศเฉพาะที่ด้วยตามมาตรฐาน

2. ค่าปริมาณรังสีผู้ปฏิบัติงานได้รับ ที่มีการวิเคราะห์จากอุปกรณ์ที่ติดตัวจะมีการรายงาน

กลับมายังเจ้าตัวช้า

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค. สุขภาพและ

ความปลอดภัยของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4), ตอนที่ II หมวดที่ 7 ข้อ 7.1 บริการรังสี

วิทยา/ภาพทางการแพทย์ ก. การวางแผน ทรัพยากร และการจัดการ (4) ค.การบริหาร

คุณภาพและความปลอดภัย (2) และ (3)