RR Risk register กับ หน่วยงาน

เพื่อตอบคำถามว่าหน่วยงานต่างๆ ต้องทำ risk register หรือไม่

ผมเลยเขียนแผนภูมินี้ออกมา ชี้ให้เห็นว่า

รพ.ควรจัดทำ risk register ในภาพรวมของ รพ.ก่อน

เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน

แต่ละหน่วยงานจะพิจารณาบัญชีรายการความเสี่ยงในภาพรวม เลือกความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดกับหน่วยงานของตน นำมาปฏิบัติ กำกับดูแลให้เป็รไปตามแนวทางที่กำหนด

เมื่อเกิดอุบัติการณ์ก็รายงานและทำ RCA ตามข้อบ่งชี้

(คือทำเหมือนเดิมในส่วนการรายงานและวิเคราะห์ RCA)

ความเสี่ยงใดที่ไม่อยู่ในบัญชีรายการความเสี่ยงในภาพรวม

แต่ละหน่วยงาน/ระบบงาน/PCT สามารถกำหนดเพิ่มได้

โดยต้องทำหน้าที่เป็น risk owner ไปด้วย

หน้าที่ของ risk owner คือการทบทวน

(1) จำนวน อัตรา แนวโน้มการเกิดอุบัติการณ์

(2) compliance ของการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน

(3) ความเหมาะสมและเพียงพอของมาตรการป้องกัน

(มิใช่การทำ RCA ของแต่ละอุบัติการณ์

แต่เน้นที่การใช้ผลของ RCA เพื่อปรับปรุงมาตรการป้องกัน)

คณะกรรมการระบบต่างๆ ที่จะมาช่วยกันจัดทำ risk register อาจพิจารณาจาก

(1) คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับ patient safety goals SIMPLE เช่น PTC, IC, ห้องผ่าตัด/ศัลยกรรม/วิสัญญี, ฝ่ายการพยาบาล, การใช้เลือด, lab

(2) คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น HR, อาชีวอนามัย, สิ่งแวดล้อม, IT, การเงิน/พัสดุ

FB อ.อนุวัฒน์