4P 5.3: Safe Prescribing Opioids for Patients with Chronic Non-Cancer Pain

Definition

ความปวดเรื้อรัง คือ ความปวดที่นานเกิน 3 เดือนหรือความปวดที่ยังปวดต่อเนื่องหลังจากพยาธิสภาพ

หายดีแล้ว

Goal

เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการระงับความปวดเรื้อรังที่มิใช่มะเร็งด้วย opioids และลด

ความเสี่ยงจากการใช้ opioids เป็นเวลานาน อันได้แก่ การใช้ผิดวัตถุประสงค์ การใช้เกินขนาด

และเสียชีวิต

Why

ความก้าวหน้าด้านการแพทย์ในปัจจุบันช่วยให้ประชาชนชาวไทยมีอายุยาวนานมากขึ้น แต่อายุที่

ยาวขึ้นและอัตรารอดชีวิตที่เพิ่มขึ้นท าให้อุบัติการณ์ความปวดเรื้อรังที่มิใช่มะเร็งเพิ่มขึ้น หนึ่งใน

วิธีการระงับปวดต่างๆ คือ การใช้ยาแก้ปวด ซึ่งประกอบด้วย 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ opioids และยา

แก้ปวดที่มิใช่ opioids ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงประโยชน์ในการระงับปวดด้วย opioids

ในระยะยาวเกิน 12 สัปดาห์ส าหรับการระงับความปวดเรื้อรังที่มิใช่มะเร็ง แต่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่

แสดงถึงอันตราย ได้แก่ เสียชีวิตเนื่องจากใช้ opioids เกินขนาดและการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์

Process

1. เช่นเดียวกับแนวปฏิบัติทั่วไปของการจัดการความปวด (P 5.1)

2. เมื่อพิจารณาว่าจะให้ opioids เพื่อระงับความปวดเรื้อรังที่มิใช่มะเร็ง

2.1 แพทย์อธิบายผู้ป่วยถึงประโยชน์และอันตรายจากการระงับความปวดเรื้อรังที่มิใช่มะเร็งด้วย

opioids ทั้งก่อนเริ่มให้และมีการทบทวนในระหว่างที่ให้ opioids เพื่อให้ผู้ป่วยทราบถึงความเสี่ยงและ

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ผู้ป่วยและแพทย์ต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน

2.2 ก่อนเริ่มให้ opioids แพทย์และผู้ป่วยควรร่วมกันก าหนดจุดมุ่งหมายของการรักษาที่เป็นจริง

ได้ในประเด็นของการลดความปวดและเพิ่มความสามารถในการท ากิจกรรมต่างๆ และก าหนด

ข้อตกลงหยุดการใช้ opioids เมื่อได้ประโยชน์น้อยกว่าความเสี่ยงที่เกิด

2.3 ควรเริ่มด้วยการระงับปวดด้วยยากลุ่มที่มิใช่ opioids ร่วมกับวิธีระงับปวดโดยไม่ใช้ยาก่อน

หากพิจารณาแล้วว่าถ้าใช้ opioids ร่วมด้วยแล้วจะเกิดการระงับปวดที่ดีขึ้นและผู้ป่วยท ากิจกรรม

ต่างๆได้ดีขึ้นมากกว่าที่จะเกิดอันตราย ก็ควรใช้คู่กันไปกับยากลุ่มที่มิใช่ opioids ร่วมกับวิธีระงับปวด

โดยไม่ใช้ยา

3. การเลือกชนิด opioids ปริมาณ ระยะเวลาการรักษา การนัดติดตาม และการหยุดยา

3.1 การควบคุมอาการปวดรุนแรงในเบื้องต้นเริ่มด้วย opioids ชนิด immediate-release แทนที่

จะเป็นชนิด extended-release/long-acting

3.2 เริ่ม opioids ด้วยปริมาณน้อยที่สุดที่ระงับปวดได้ หากต้องปรับเพิ่มขึ้นจนเทียบเท่ามอร์ฟีน

รับประทาน 50 มิลลิกรัมต่อวัน ต้องประเมินประโยชน์และความเสี่ยงอีกครั้ง และหลีกเลี่ยงการให้จน

เทียบเท่ามอร์ฟีนรับประทาน 90 มิลลิกรัมต่อวัน

3.3 การใช้ opioids ในระยะยาวมักเริ่มต้นจากการระงับปวดเฉียบพลัน หากจ าเป็นต้องระงับ

ปวดเฉียบพลันด้วย opioids ชนิดรับประทาน ควรเริ่มด้วย opioids ชนิด immediate-release ใน

ปริมาณน้อยที่สุดที่ระงับปวดได้ และไม่ให้นานเกินจ าเป็น การระงับปวดเฉียบพลันด้วย opioids มัก

ไม่นานเกิน 7 วัน

3.4 ควรท าการประเมินประโยชน์และอันตรายที่เกิดขึ้นภายใน 1 -4 สัปดาห์หลังเริ่มใช้ opioids

หรือหลังปรับเพิ่มยา มีการประเมินซ ้าอีกทุกๆ 3 เดือนหรือบ่อยกว่า หากพบอันตรายเกิดขึ้นมากกว่า

ประโยชน์ควรลดปริมาณยาลงหรือหยุดการให้ยา

4. การประเมินความเสี่ยงและระบุอันตรายจาก opioids

4.1 ก่อนเริ่มให้และในระหว่างที่ให้ opioids ควรประเมินปัจจัยเสี่ยงที่เอื้อให้เกิดอันตรายจาก

opioids เช่น เคยมีประวัติการใช้ยาเกินขนาด ประวัติการใช้สารเสพติด การใช้ opioids ปริมาณสูง

หรือใช้ยากลุ่ม benzodiazepine และเตรียมมาตรการป้องกันและรักษาในสถานพยาบาล เช่น มี

naloxone สา หรบั แกฤ ้ ทธิ ์opioid agonists

4.2 ก่อนเริ่มให้ opioids ควรตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจเกี่ยวกับปริมาณสารเสพติด และตรวจอย่าง

น้อยปีละครั้งในระหว่างที่ให้ opioids

4.3 หลีกเลี่ยงการใช้ benzodiazepines ร่วมกับ opioids

Training

1. เช่นเดียวกับ Training ใน P 5.1

2. ก าหนดแนวทางการใช้ opioids เพื่อระงับปวดเรื้อรังที่มิใช่มะเร็งและท าการเผยแพร่อย่างทั่วถึง

3. บรรจุในหลักสูตรการศึกษาก่อนปริญญา

4. การศึกษาต่อเนื่องหลังปริญญา

Monitoring

1. เช่นเดียวกับ monitoring ใน P 5.1

2. เอกสาร informed consent พร้อมกับ opioid agreement

3. ติดตามอุบัติการณ์อันตรายจากการใช้ opioids ในการระงับปวดเรื้อรังที่มิใช่มะเร็ง

Pitfall

1. เช่นเดียวกับ Pitfall ใน P 5.1

2. ระบบเฝ้าระวังในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันการได้รับ opioids ซ ้าซ้อนจากแพทย์หลายคนใน

ผู้ป่วยคนเดียวกัน

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ

ที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.3 การดูแลเฉพาะ จ.การจัดการความปวด (1), (2) และ (3)