2I 2.1: Catheter-associated Urinary Tract Infection (CAUTI) Prevention

Definition

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีการคาสายสวนปัสสาวะมาแล้วไม่น้อย

กว่าสองวัน โดยในวันที่เริ่มมีอาการหรือการตรวจพบที่น าไปสู่การวินิจฉัยการติดเชื้อ ผู้ป่วย

ยังคงคาสายสวนอยู่หรือถอดสายสวนออกไปแล้วไม่เกิน 1 วัน

Goal

ป้องกันการติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะ

Why

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นการติดเชื้อที่พบบ่อย แต่จ านวนไม่น้อยเป็นการ

ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ จึงเป็นที่มาของการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่มากเกินความจ าเป็น ท าให้

สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เป็นต้นตอของเชื้อดื้อยา และเป็นแหล่งเก็บเชื้อดื้อยา ผู้ป่วยจ านวนหนึ่งจะมี

อาการของการติดเชื้อ (Symptomatic urinary tract infection) ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด

ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างตามมา

Process

1. โรงพยาบาลจัดให้มีระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีการ

คาสายสวน

2. ก าหนดแนวทางปฏิบัติที่ส าคัญคือ คาสายสวนปัสสาวะเมื่อมีความจ าเป็นตามข้อบ่งชี้ต่อไปนี้

เท่านั้น

o มีปัสสาวะค้างอย่างเฉียบพลันหรือมีการอุดตันในทางเดินปัสสาวะ

o ได้รับการผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ

o การผ่าตัดที่ใช้เวลานาน

o ขณะผ่าตัดได้รับสารน ้าปริมาณมาก หรือได้รับยาขับปัสสาวะ

o ต้องประเมินปริมาณปัสสาวะระหว่างผ่าตัด

o ต้องประเมินปริมาณปัสสาวะอย่างถูกต้องในผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ

o ส่งเสริมการหายของแผลเปิดหรือแผลผ่าตัดตกแต่งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ในกรณีผู้ป่วย

กลั้นปัสสาวะไม่ได้

o ถูกยึดตรึงให้อยู่กับที่ เช่น กระดูกสะโพกหัก multiple traumatic injuries

3. ส าหรับผู้ป่วยที่ต้องช่วยระบายปัสสาวะในระยะสั้นควรหลีกเลี่ยงการสวนคาสายสวนปัสสาวะ

โดยใช้การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (intermittent catheterization) ส าหรับผู้ป่วยเพศชาย

พิจารณาใช้ condom แทน

4. ผู้ใส่สายสวนปัสสาวะต้องได้รับการฝึกอบรมและมีทักษะเพียงพอ ล้างมือให้สะอาดก่อน

ใส่สายสวนใช้ aseptic technique ที่ถูกต้อง ท าความสะอาด urethral meatus ด้วย sterile

normal saline ใช้สารหล่อลื่นที่เหมาะสมแบบใช้ครั้งเดียว เมื่อคาสายสวนปัสสาวะแล้ว

จะต้องระมัดระวังในเรื่องการอุดกั้นสายสวน และการปนเปื้อนเชื้อจากภายนอก โดย

พยายามให้เป็นระบบปิดและผู้ดูแลต้องท าความสะอาดมืออย่างถูกต้องก่อนและหลัง

ปฏิบัติการใดๆ กับระบบระบายปัสสาวะทางสายสวน ตลอดจนประเมินความจ าเป็นที่จะต้อง

ใส่สายสวนปัสสาวะต่อไปเป็นระยะๆ และถอดสายสวนปัสสาวะออกเร็วที่สุด

5. หากต้องการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ ให้เก็บตัวอย่างปัสสาวะจากช่องที่ออกแบบไว้เฉพาะ

(sampling port)

Training

โรงพยาบาลควรฝึกอบรมบุคลากรเรื่องวิธีการสวนปัสสาวะ การคาสายสวนปัสสาวะ

การท าความสะอาดมือ และการดูแลระบบระบายปัสสาวะที่ใช้สายสวนปัสสาวะและถุงเก็บ

ปัสสาวะ

Monitoring

 การปฏิบัติตามแนวทางที่ก าหนดขึ้น

 อุบัติการณ์การเกิด CAUTI

Pitfall

1. มีการคาสายสวนโดยไม่จ าเป็น หรือคาไว้นานเกินความจ าเป็น

2. การดูแลสายสวนอาจไม่ทั่วถึง ปัสสาวะอาจระบายไม่ดีโดยไม่ได้รับการแก้ไข

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 ก. การป้องกันการติดเชื้อทั่วไป (4)