6E 2.2: Acute Coronary Syndrome

Definition

การวินิจฉัย การดูแลรักษา และการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด มีประสิทธิภาพ ได้

มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับ และสามารถน าไปปฏิบัติได้จริง มีความเหมาะสมกับทรัพยากรทางการ

แพทย์ภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทย

Goal

1. ผู้ป่วยรอดชีวิตจากภาวะ Acute Coronary Syndrome (ACS) มากที่สุด

2. ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้นจากโรคและการรักษาน้อยที่สุด

Why

1. ภาวะ ACS เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อย

2. ภาวะนี้มีอัตราตายสูง มีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน และในระยะยาว ซึ่งจะมีผล

ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

3. ภาวะ ACS มีการใช้ทรัพยากรสูง

Process

1. Early diagnosis, การตรวจ EKG และ/หรือ cardiac enzymes

2. Early revascularization

3. Optimal care

Training

1. Guidelines and consultation

2. EKG interpretation

3. Thrombolysis and/or Percutaneous intervention

4. Referral networking

Monitoring

1. ผู้ป่วยรอดชีวิตจากภาวะ acute coronary syndrome, ACS มากที่สุด (อัตราตายน้อยกว่า 8%)

2. Door to needle time น้อยกว่า 30 นาที

3. Door to balloon time น้อยกว่า 90 นาที

4. เก็บข้อมูลก่อนเริ่มโครงการและหลังเริ่ม 1 ปี

Pitfall

 การวินิจฉัยล่าช้า จากการอ่านและแปรผล EKG และ/หรือ cardiac enzymes

 ขาดแนวทางการดูแลที่เหมาะสมกับบริบท สภาพแวดล้อม และแนวทางการส่งต่อที่ชัดเจน

 ขาดการดูแลแบบสหวิชาชีพ

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่

4 ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (PCD.2) ข้อย่อย

(1), (2), (4), (5) และ (6)