4P 3.1 Pre-placement and Return to Work Health Examination

P 3.1: Pre-placement and Return to Work Health Examination

Definition

การประเมินความพร้อมต่อสุขภาพส าหรับการท างานที่มีความเสี่ยงสูง สามารถ การ

ประเมินความพร้อมของสุขภาพก่อนเริ่มงานและการประเมินความพร้อมของสุขภาพก่อน

กลับเข้าท างานหลังจากเจ็บป่วย

Goal

การป้องกันไมให้บุคลากรเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพหากต้องท างานที่มีความเสี่ยงสูง เช่น

การสัมผัสสารคัดหลั่ง เลือด น ้าเหลือง สารเคมี รังสี เสียงดัง

Why

1. เนื่องจากสิ่งแวดล้อมในการท างาน อาจมีผลต่อสุขภาพที่มีอยู่เดิมท าให้ร่างกายอาจ

ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น อาจเกิดโรคเรื้อรังและอาจมีผลต่อชีวิตและจิตใจได้ ท าให้

ประสิทธิภาพในการท างานลดลงได้ นอกจากนั้นงานที่เสี่ยงต่อสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ เช่น

บุคลากรสุขภาพที่มีโอกาสติดเชื้อที่ผ่านมาทางเลือดและน ้าเหลือง จ าเป็นต้องมีภูมิคุ้มกัน

การติดเชื้อ ก่อนเริมปฏิบัติงาน

2. สอดคล้องกับปฏิบัติตาม กฎกระทรวงแรงงานก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจ

สุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547

Process

1. ปฏิบัติตาม กฎกระทรวงแรงงานก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของ

ลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547

2. ปฏิบัติตาม ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ก าหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัด

ให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. 2552

3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับ 4409 (พ.ศ. 2555) ออกตามความใน

พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ก าหนดมาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แนวปฏิบัติการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงด้านสารเคมีและ

กายภาพจากการประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจก

4. บุคลากรที่ต้องท างานสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยต้องมีภูมิคุ้มกันต่อ

ไวรัสตับอักเสบชนิดบี

5. บุคลากรที่ต้องสัมผัสกับเสียงดังตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ต้องได้รับการตรวจการได้ยิน

เป็นพื้นฐาน

6. บุคลากรที่ปฏิบัติงานกับสารเคมี รังสี แสงสว่าง ต้องได้รับการตรวจสุขภาพก่อนเข้า

งานตามแนวปฏิบัติที่แนะน า ให้เหมาะสม ถูกต้องกับสิ่งคุกคามนั้นๆ

7. บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพควรได้รับภูมิคุ้มกันต่อ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี โรค

สุกใส โรคหัด คางทูม และ ไข้หวัดใหญ่

8. บุคลากรที่มีการเจ็บป่วยหรือลางานจากการเจ็บป่วยใดๆ โดยเฉพาะ หลังผ่าตัด หรือ

เป็นโรคระบบหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ โรคระบบประสาท

ตลอดจนการที่บุคลากรต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง หรือเคลื่อนย้ายนั้นต้องได้รับการ

ประเมินสุขภาพกายและจิตใจก่อนกลับไปปฏิบัติหน้าที่เดิม ทั้งนี้แพทย์ผู้ประเมิน อาจ

มีความเห็นว่า กลับเข้าท างานเดิมได้ หรือห้ามท ากิจกรรมบางอย่างชั่วคราว/ถาวร

หรือจ าเป็นต้องเปลี่ยนงาน/หน้าที่

9. โรงพยาบาลควรมีทีมงานหรือหน่วยงานในการบริหารและจัดการด้านสุขภาพ/อาชีวอ

นามัยของบุคลากร

Training

1. อบรมบุคลากรใหม่เรื่ออาชีวอนามัยพื้นฐาน และการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในที่

ท างาน

2. อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนที่จ าเป็นส าหรับบุคลากรสุขภาพ

3. บุคลากรทุกคนต้องได้รับการอบรม standard precaution

Monitoring

1. ติดตามสถิติการเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มปฏิบัติงาน โดยต้องได้รับการ

ประเมินสุขภาพภายใน 30 วันหลังจากเริ่มปฏิบัติงาน

2. ตรวจสอบความครอบคลุมของบุคลากรสุขภาพที่มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสตับ

อักเสบชนิดบี

Pitfall

1. บุคลากรมักไม่เห็นความส าคัญในการประเมินสุขภาพก่อนเริ่มงานและไม่ให้

ความส าคัญกับการมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบชนิดบี

2. สถานพยาบาลมีข้อจ ากัดในการบันทึกประวัติสุขภาพของบุคลากรตั้งแต่เริ่ม

ปฏิบัติงาน

3. สถานพยาบาลมีความเข้าใจว่าการดูแลสุขภาพบุคลากรนั้นกระท าเมื่อเจ็บป่วยเท่านั้น

แต่แท้ที่จริง การดูแลสุขภาพของบุคลากรควรด าเนินการตั้งแต่วันแรกที่เริ่มปฏิบัติงาน

4. การป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรสุขภาพ อาจมีหลายหน่วยการเกี่ยวจ้อง จ าเป็นต้อง

มีการระบุหน้าที่และผู้รับผิดชอบ ตลอดจนการไหลของงานให้ชัดเจน

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ I หมวดที่ 5 ข้อ 5.1 สภาพแวดล้อมของก าลังคน (WKF.1) ค.

สุขภาพและความปลอดภัยของก าลังคน (1), (2), (3) และ (4)