3M 5: Blood Transfusion Safety

Goal

ลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยที่จ าเป็นต้องได้รับโลหิตและ

ส่วนประกอบโลหิต

Why

การรก ั ษาด้วยโลหิ ตและส่วนประกอบโลหิ ตเป็ นสิ่ งจา เป็ น ในผู้ป่วยบางกลุ่ม เนื่องจากยังไม่

มีวิธีรักษาอื่นที่ทดแทนโลหิตได้

การรก ั ษาด้วยโลหิ ตอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งประเภทที่อาจป้องกันได้

หรืออาจป้องกันไม่ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง จนถึงรุนแรงมากและเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมี

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์อื่นๆ เช่นการได้รับโลหิตไม่เพียงพอกับความต้องการ และการได้รับ

โลหิตล่าช้ากว่าความต้องการ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนรน ุ แรงที่พบได้บ่อย ได้แก่การรับโลหิตผิดหมู่ เกิดการแตกท าลายของเม็ด

โลหิตที่ให้ ซึ่งเข้ากันไม่ได้กับโลหิตผู้ป่วยอย่างเฉียบพลัน (Acute hemolytic transfusion

reaction, AHTR) หากตรวจจับอาการและอาการแสดงไม่ได้ ก็จะท าให้ไตวาย การท างานของ

อวัยวะล้มเหลว และเสียชีวิต

ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจพบได้ และควรตระหนัก ได้แก่ภาวะได้รับโลหิตและ

ส่วนประกอบโลหิตจ านวนมากเกินไปจนร่างกายผู้ป่วยเกิดภาวะน ้าเกิน (Transfusion

associated volume overload, TACO) และภาวะแทรกซ้อนรุนแรงชนิดปอดอักเสบเฉียบพลัน

จากการรับโลหิต ซึ่งอาจเกิดจากแอนติบอดีในส่วนประกอบโลหิตที่ให้ผู้ป่วยท าปฏิกิริยากับเม็ด

โลหิตขาวชนิดนิวโทรฟิลในเนื้อเยื่อปอด (Transfusion related acute lung injury, TRALI)

ภาวะแทรกซ้อนทั้ง 2 ที่กล่าวนี้ หากไม่ตระหนักว่าเกิดขึ้นได้ ก็จะไม่สามารถตรวจจับและให้การ

รักษาได้ทันท่วงที ปัจจุบันในประเทศไทยเพิ่งเริ่มสนใจและรายงานภาวะแทรกซ้อน TACO และ

TRALI เพิ่มขึ้น จึงเกิดความระมัดระวังการให้โลหิตให้มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

Process

กระบวนการจด ั หาโลหิ ตที่ปลอดภย ั เป็นส่วนส าคัญมากที่ต้องเริ่มต้นจากการรับบริจาคโลหิต

จากผู้บริจาคแบบสมัครใจ มีสุขภาพดี ไม่มีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทาง กระแสโลหิตมีการ

คัดเลือกและรับบริจาคโลหิต ตามคู่มือการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิต มีกระบวนการตรวจคัดกรอง

โลหิตที่ได้รับบริจาค การแยกส่วนประกอบโลหิต การควบคุมคุณภาพ การจัดเก็บและการน าส่ง

ที่รักษาอุณภูมิอย่างถูกต้อง ตามนโยบายบริการโลหิตแห่งชาติ และตามมาตรฐานบริการโลหิต

และธนาคารเลือด รวมทั้งมาตรฐานสากลด้านเวชศาสตร์บริการโลหิตที่เป็นที่ยอมรับ ในที่นี้จะ

เน้นกระบวนการให้โลหิตที่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย (Blood transfusion safety)

กระบวนการให้โลหิ ตที่ปลอดภย ั แก่ผ้ป ู ่ วย จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานบริการโลหิตและ

ธนาคารเลือด พ.ศ.2558 รวมทั้งมาตรฐานสากลด้านเวชศาสตร์บริการโลหิตที่เป็นที่ยอมรับ

ประกอบด้วยขั้นตอน

. การเตรียมการก่อนให้โลหิ ต

1.1 ด้านหอผู้ป่วย

1.1.1 มีกระบวนการชี้บ่งตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้อง (Positive patient identification) ซึ่ง

ข้อมูลในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการชี้บ่งต้องถูกต้องตรงกันได้แก่ ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ

หมายเลขประจ าตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล (Hospital number, HN) หมายเลขประจ าตัวผู้ป่วยใน

(Admission number, AN) เอกสารที่เกี่ยวข้องได้แก่ แฟ้มผู้ป่วยนอก แฟ้มผู้ป่วยใน สายรัด

ข้อมือผู้ป่วยในที่ต้องมีอย่างถูกต้องและใช้งานได้ตลอดเวลา ฉลากติดสิ่งส่งตรวจ ใบน าส่งสิ่งส่ง

ตรวจ ใบขอจองเลือด ใบขอรับเลือด ทั้งนี้รวมถึงข้อมูลที่อยู่ในระบบอิเลคโทรนิคสารสนเทศ

1.1.2 มีกระบวนการเจาะเก็บตัวอย่างผู้ป่วย เพื่อขอจองเลือดที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

บริการโลหิตและธนาคารเลือด พ.ศ.2558

1.1.3 มีกระบวนการตรวจโลหิตเพื่อยืนยันหมู่โลหิต ABO ของผู้ป่วยอย่างน้อย 2 ครั้ง

ในผู้ป่วยที่ได้รับโลหิตครั้งแรก เพื่อช่วยป้องกันการเจาะเก็บตัวอย่างโลหิตผู้ป่วยสลับคน และ

ให้ปกิบัติเช่นนี้ทุกกรณีที่ไม่มีผลการตรวจหมู่โลหิตอยู่ในบันทึกของธนาคารเลือดมายืนยันความ

ถูกต้อง

1.2 ด้านธนาคารเลือด

1.2.1 มีกระบวนการชี้บ่งตัวอย่างโลหิตผู้ป่วยอย่างถูกต้อง บนฉลากตัวอย่างโลหิตส่ง

ตรวจ ใบขอจองโลหิต ใบขอรับโลหิต รวมทั้งตรวจสอบประวัติการรับโลหิตครั้งก่อนถ้ามี

1.2.3 มีกระบวนปฏิเสธตัวอย่างโลหิตส่งตรวจ หากไม่เป็นไปตามข้อก าหนด และ

ทบทวนการเจาะเก็บตัวอย่างโลหิตใหม่หากพบว่ามีข้อสงสัย โดยประสานงานกับหอผู้ป่วยอย่าง

มีประสิทธิภาพ

1.2.4 ท าการตรวจโลหิตผู้ป่วย ได้แก่การตรวจหมู่โลหิต ตรวจคัดกรองแอนติบอดี และ

ตรวจความเข้ากันได้ของโลหิต ตามมาตรฐานบริการโลหิตและธนาคารเลือด พ.ศ.2558 หรือ

มาตรฐานสากล

1.2.5 ติดฉลากชี้บ่งโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่ได้รับการตรวจความเข้ากันได้กับผู้ป่วย

อย่างถูกต้อง และประสานงานการรับโลหิตกับหอผู้ป่วยตามความจ าเป็นเร่งด่วนที่แพทย์

ต้องการ หากพบปัญหาในการจัดเตรียมโลหิตให้ผู้ป่วยต้องรีบประสานงานกับหอผู้ป่วย

ทันท่วงที

1.2.6 การจ่ายโลหิต ต้องมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของโลหิตและ

ส่วนประกอบโลหิตก่อนการจ่ายให้หอผู้ป่วย จ่ายโลหิตและส่วนประกอบโลหิตตามความจ าเป็น

ในการน าไปให้แก่ผู้ป่วยทันที ส่วนประกอบโลหิตประเภทพลาสมาและไคโอปรีซิปิเตทซึ่งเก็บ

รักษาในสภาพแช่แข็ง ควรละลายที่ธนาคารเลือดด้วยเครื่องมือที่ควบคุมอุณหภูมิและวิธีการ

อย่างถูกต้อง และต้องให้ผู้ป่วยทันทีเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับแฟกเตอร์ต่างๆที่จ าเป็นและไม่

เสื่อมสภาพ

2. การให้โลหิ ตแก่ผ้ป ู ่ วย

2.1 นโยบายทั ่วไป

2.1.1 โรงพยาบาล หอผู้ป่วย และธนาคารเลือด ควรก าหนดเป็นนโยบายไม่ให้น าโลหิต

ไปเก็บส ารองไว้ที่หอผู้ป่วย ห้องผ่าตัดและห้องสังเกตอาการ เพราะจะเกิดความสับสนในการ

น ามาให้ผู้ป่วยและมีโอกาสให้ผู้ป่วยผิดคน ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้บ่อย

2.1.2 หอผู้ป่วย ห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน ห้องสังเกตอาการหลังผ่าตัด และวิสัญญี ควร

ก าหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการรับโลหิตมาเพื่อให้ผู้ป่วย การเก็บรักษาในอุณหภูมิที่

เหมาะสม การอุ่นโลหิตเฉพาะรายที่จ าเป็นต้องให้โลหิตปริมาณมากๆ ในเวลารวดเร็ว ตลอดจน

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายโลหิตไปยังจุดต่างๆที่ส่งต่อผู้ป่วย มีกระบวนการบันทึกและชี้บ่งโลหิตแต่

ละยูนิตของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างถูกต้องโดยมีเจ้าหน้าที่รับทราบการเคลื่อนย้ายส่งต่อโลหิตนั้นๆ

2.2 การให้โลหิตทั ่วไป

2.2.1 ปฏิบัติตามมาตรฐานบริการโลหิตและธนาคารเลือด พ.ศ.2558 และ

มาตรฐานสากล ตลอดจนมาตรฐานการรักษาพยาบาลตามวิชาชีพ ทั้งนี้ต้องปรับปรุงให้ทันสมัย

และสอดคล้องกับมาตรฐานบริการโลหิตและธนาคารเลือด

2.2.2 ชี้บ่งผู้ป่วยอย่างถูกต้องก่อนการให้เลือดโดยควรมีบุคลากรอย่างน้อย 2 คน

ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่จะให้แก่ผู้ป่วย

2.2.3 ไม่ให้โลหิตทางหลอดเลือดที่ให้น ้าเกลือ สารน ้า หรือยาชนิดอื่นๆ

2.3.4 ตรวจวัดสัญญาณชีพก่อนให้โลหิต เมื่อให้โลหิตผู้ป่วยในระยะแรก ประมาณ 5-10

นาที ให้ปรับอัตราการไหลช้าๆและเฝ้าสังเกตอาการและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจาก AHTR

ได้แก่ผู้ป่วยที่รู้ตัวอาจมีอาการแสดงแน่นหน้าอก ปวดหลัง ผู้ป่วยที่ไม่รู้ตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลง

ของสัญญาณชีพ นอกจากนี้อาจมีอาการแพ้ ผื่นคัน มีไข้หนาวสั่น ต้องหยุดการให้โลหิต แล้ว

รายงานแพทย์และธนาคารเลือดทราบ

2.3 การให้ในภาวะโลหิตฉุกเฉิน

2.3.1 ผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียโลหิตฉุกเฉิน ควรให้สารน ้าทดแทนเพื่อคงระดับการ

ไหลเวียนโลหิตและความดันโลหิตก่อน แล้วเจาะเก็บตัวอย่างโลหิตผู้ป่วยเพื่อจองโลหิตมาให้

ต่อไปโดย แพทย์ต้องระบุความจ าเป็นเร่งด่วนและสื่อสารให้ธนาคารเลือดทราบ

2.3.2 ในกรณีฉุกเฉินไม่สามารถรอได้ ธนาคารเลือดอาจจ่ายโลหิตที่มีหมู่ตรงกับผู้ป่วย

และได้รับการตรวจความเข้ากันได้เบื้องต้น (Immediate cross match) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงกรณี

ที่ผู้ป่วยมีแอนติบอดีในหมู่เลือดรอง จึงต้องให้โลหิตด้วยความระมัดระวังและติดตามผลการตรวจ

คัดกรองแอนติบอดีและการตรวจความเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์ (Complete cross match)

2.3.3 กรณีที่โรงพยาบาลมีนโยบายให้ส ารองส่วนประกอบโลหิตหมู่โอ ไว้ที่ห้องฉุกเฉิน

ส าหรับกรณีผู้ป่วยเสียโลหิตเร่งด่วนจนไม่สามารถรอการตรวจหมู่โลหิตและการตรวจความเข้า

กันได้ ธนาคารเลือดและห้องฉุกเฉินต้องก าหนดผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมโลหิตที่ถูกต้อง น า

โลหิตมาเปลี่ยนก่อนหมดอายุ และตรวจอุณภูมิตู้เย็นเก็บโลหิตทุกวัน

2.4 การให้โลหิตที่ห้องผ่าตัด

2.4.1 วิสัญญีต้องรับผิดชอบดูแลกระบวนการก่อนการให้โลหิต ระหว่างการให้โลหิต

และหลังการให้โลหิตอย่างใกล้ชิด

2.4.2 หลีกเลี่ยงการอุ่นโลหิต แต่หากจ าเป็นต้องใช้เครื่องมือมาตรฐานที่มีระบบควบคุม

อุณหภูมิไม่เกิน 37 องศาเซลเซียส การใช้อ่างผสมน ้าอุ่นมักมีอุณภูมิสูงและท าให้เม็ดเลือดแดง

แตกท าลาย เมื่อให้ผู้ป่วยจะเกิดภาวะ AHTR แบบ non immune ซึ่งพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

นี้ได้บ่อย การอุ่นโลหิตรวมกันส าหรับผู้ป่วยหลายคนเครื่องอุ่นเดียวกัน อาจท าให้เกิดความ

สับสนและให้โลหิตผิดคนได้ จึงควรจัดมีเครื่องอุ่นโลหิตถ้าจ าเป็น แยกแต่ละห้องผ่าตัด

2.4.3 การใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม และการใช้เครื่องเก็บโลหิตที่สูญเสียระหว่างการ

ผ่าตัด (Autologous blood cell saver) อาจพบการแตกท าลายของเม็ดโลหิตแดงที่ผ่านเครื่องได้

ผู้ป่วยที่ได้รับโลหิตอาจเกิดภาวะ AHTR แบบ non immune ซึ่งพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์นี้ได้

เช่นกัน

2.4.5 ผู้ป่วยที่ได้รับการวางยาสลบ หากได้รับโลหิตผิดหมู่แล้วเกิด AHTR ผู้ป่วยจะไม่

สามารถบอกอาการแน่นหน้าอก ปวดหลังได้ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้แต่เนิ่นๆ ดังนั้นกว่าจะพบว่า

มีภาวะแทรกซ้อนก็อาจถึงขั้นมีอาการแสดงของ hemoglobinuria ปัสสาวะด า ช็อก ซี่งอาจจะ

แก้ไขได้ยาก ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบความถูกต้องก่อนการให้โลหิตและส่วนประกอบโลหิต และ

ติดตามอาการและสัญญาณชีพตลอดเวลา

3.การติ ดตามเฝ้าระวง ั ภาวะแทรกซ้อนหลง ั ผป ู้ ่ วยรบ ั โลหิ ต (Hemovigilance)

ที่มาของระบบ hemovigilance:

Hemovigilance เป็นกระบวนการส าคัญที่ทุกประเทศที่มีการบริการโลหิตจะต้องมี

ระบบการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของการใช้โลหิต ทั้งในด้านผู้บริจาคโลหิต (Donor vigilance)

และด้านผู้ป่วยที่รับโลหิต (Recipient hemovigilance) องค์การอนามัยโลกได้จัดการประชุม

นานาชาติและได้ผลสรุปแนวทางปฏิบัติให้แต่ละประเทศควรพัฒนาให้มีระบบ hemovigilance1

ประเทศไทยได้พัฒนาให้มีระบบ hemovigilance โดยได้ก าหนดไว้ในนโยบาย

บริการโลหิตแห่งชาติ พ.ศ.2553 และฉบับปรับปรุงใหม่ (พ.ศ.2560) สภากาชาดไทยแต่งตั้ง

คณะกรรมการระดับชาติด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต และคณะท างานที่เกี่ยวข้อง

พ.ศ.2558 และ ปรับปรุง พ.ศ.25602 ประกอบด้วยศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และผู้เชี่ยวชาญ

ด้านเวชศาสตร์บริการโลหิต ได้จัดท าคู่มือแนวทางการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต พ.ศ.

25583 ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากการบริจาคโลหิต และจากการรับโลหิต โดย

ได้ก าหนดค าจ ากัดความของภาวะแทรกซ้อนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ก าหนดแนวทางการ

จัดท ารายงานตามแบบรายงาน และก าหนดแนวทางปฏิบัติในการด าเนินงานให้เกิดระบบ

hemovigilance ในระดับโรงพยาบาลและระดับประเทศ เพื่อน าผลจากการเฝ้าระวังนี้มาวิเคราะห์

และสังเคราะห์ให้เกิดการพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ป่วย ทั้งนี้ศูนย์บริการ

โลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย รับหน้าที่เป็นศูนย์กลางการรายงาน hemovigilance ระดับประเทศ

กระบวนการสร้างระบบ hemovigilance ประกอบด้วย

1. ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้ป่วย

ต้องตระหนักว่าต้องมีระบบ hemovigilance ของประเทศ มีกระบวนการให้ความตกลงยินยอม

ร่วมกันเพื่อสร้างระบบ ความร่วมมือ และเครือข่าย โดยมีสภากาชาดไทยเป็นศูนย์กลาง และ

มอบนโยบายให้ทุกโรงพยาบาลปฏิบัติ

2. ใช้คู่มือแนวทางการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต พ.ศ. 2558 ในการให้ค าจ ากัด

ความและค าวินิจฉัย เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นมาตรฐานในการเก็บข้อมูล

3. โรงพยาบาลสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกรายงาน hemovigilance ตามที่ศูนย์บริการโลหิต

แห่งชาติได้เชิญตามระยะเวลาเป้าหมาย (Phasing recruitment member) ทั้งนี้ปัจจุบันเป็นไป

แบบสมัครใจ แต่อาจพัฒนาเป็นแบบก าหนด (mandatory) ซึ่งใช้ในหลายประเทศที่พัฒนา

ระบบ hemovigilance อย่างเข้มแข็งแล้ว สมาชิกจะได้รับรหัสผ่านในการรายงานผ่าน website

และถือเป็นความลับ ไม่เปิดเผยชื่ออย่างเด็ดขาด

4. โรงพยาบาลมีระบบคุณภาพ จัดการประเด็นภาวะแทรกซ้อน การสืบค้น การรักษา และ

อื่นๆ เป็นการภายใน การรายงานภาวะแทรกซ้อนที่ได้รับการวินิจฉัยตามค าจ ากัดความในคู่มือฯ

เข้าสู่ระบบ hemovigilance จะต้องผ่านหน่วยงานคุณภาพและผู้บริหารของโรงพยาบาล โดย

รายงานมาที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ทุก 6 เดือน

5. กระทรวงสาธารณสุขและศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จัดให้มีการอบรม

ระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต แก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับในโรงพยาบาลอย่าง

สม ่าเสมอ รวมถึงจัดให้มีหลักสูตรระยะสั้นส าหรับพยาบาล Hemovigilance nurse เมื่อ

เหมาะสม

6. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เป็น Hemovigilance centre มีหน้าที่เป็น

ศูนย์กลางรวบรวมรายงาน ท าการวิเคราะห์และสังเคราะห์ โดยมีคณะกรรมการที่มาจาก

องค์กรต่างๆ ร่วมให้ค าแนะน า เพื่อหาสาเหตุ แนวทางแก้ปัญหา ก าหนดแนวทางปฏิบัติ

และพัฒนาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการรับโลหิตและความปลอดภัย

ของผู้บริจาคโลหิตต่อไป

Training

1. บุคลากรทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ในงานเวชศาสตร์บริการโลหิตและธนาคารเลือด ต้องได้รับการ

อบรมก่อนการปฏิบัติงาน

2. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการอบรมและประชุมทางวิชาการ

ด้านเวชศาสตร์บริการโลหิตและธนาคารเลือด อย่างสม ่าเสมอ

3. จัดให้มีหลักสูตรระยะสั้น และปานกลางเฉพาะทางที่เกี่ยวกับเวชศาสตร์บริการโลหิต แก่

บุคลากรตามสายวิชาชีพ เช่นหลักสูตรส าหรับแพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นัก

เทคนิคการแพทย์และเจ้าหน้าที่

4. สร้างกลไกเพื่อเร่งรัดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์บริการโลหิต

(Transfusion medicine) สามารถผลิตแพทย์เฉพาะทางรองรับงานบริการโลหิตทั้งใน

โรงพยาบาล ศูนย์บริการโลหิตฯ ภาคบริการโลหิต ทั่วประเทศ โดยขยายจ านวนสถาบัน

ฝึกอบรม จ านวนผู้เข้าอบรม และสร้างสิ่งจูงใจในสาขาวิชาชีพเฉพาะทางที่มีความขาดแคลนและ

จ าเป็นอย่างมาก

Monitoring

1. ผ่านระบบ hemovigilance

1.1 จ านวนโรงพยาบาลที่สมัครเป็นสมาชิกรายงาน hemovigilance ตามเป้าหมาย

1.2 จ านวนโรงพยาบาลสมาชิกเพิ่มขึ้นในภาพรวมอย่างน้อย ร้อยละ 2

1.3 ความสม ่าเสมอในการรายงาน ร้อยละ 60

1.4 การรวบรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์ ท าได้ส าเร็จ ร้อยละ 90

2. ผ่านระบบการตรวจติดตามและประเมินคุณภาพโรงพยาบาล Hospital accreditation

3. ผ่านตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาล

4. รายงานอุบัติการณ์เกี่ยวกับ Blood Safety

Pitfall

1. อุปสรรคส าคัญของการพัฒนาด้านเวชศาสตร์บริการโลหิตและธนาคารเลือด คือมีแพทย์

เฉพาะทางด้านพยาธิวิทยาคลินิก และ Transfusion medicine น้อยมาก

2. ระดับนโยบายขาดความเข้าใจว่าสาขาธนาคารเลือด เป็นสาขามีบริบทด้านการให้บริการการ

รักษา มิใช่บริบทด้านการให้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Providing therapy, not providing

laboratory results) จึงขาดการสนับสนุนในทิศทางที่ตรงต่อเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย

3. ภาวะแทรกซ้อนจากการรับโลหิตและส่วนประกอบโลหิต อาจมีอาการและอาการแสดง

คล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ หากไม่ตระหนักและให้ความส าคัญกับการให้โลหิตผู้ป่วย ก็จะละเลย

ความปลอดภัยของผู้ป่วยที่บางครั้งอาจท าให้เสียชีวิตได้

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ

ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 7 ข้อ 7.4 ธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต (DIN.4)