CTHL14ดูแลมารดาLBW

1.บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 120 เตียง ให้การดูแลผู้ป่วยคนไทย (สิทธิ์ทั่วไป , ประกันสังคม และผู้ป่วยต่างด้าวที่ประกันสุขภาพ(สิทธิ์ AW) โดยปี 2556-2558 โรงพยาบาลมีนโยบายมุ่งเน้นฐานลูกค้าต่างด้าว( AEC Well Fair) แต่ปี 2558 เป็นต้นมา ยกเลิก นโยบายดังกล่าว มีสูติแพทย์ Full Time 1ท่าน กุมารแพทย์ประจำ 2ท่าน ในปี 2556-2559(มิ.ย.-มิ.ย. 2559) มีทารกแรกเกิดคลอดจำนวน 860,867, 556, 222 รายตามลำดับโดยมีสัดส่วนทารกชาวไทย: ชาวพม่า (1 : 3 ) จากสถิติทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 gms. จำนวน 9 ราย (3.14%), 27(3.14%), 55 ราย(6.34%), 24 ราย(4.32%), 8 ราย(3.60%) ตามลำดับตามลำดับโดยมีสัดส่วนทารกชาวไทย: ชาวพม่า (1 : 3 )

จากการทบทวน 3 ปีพบว่าปัจจัยด้านมารดาที่ส่งผลต่อการเกิด Low Birth Weight เกิดจาก 1) ปัญหาโภชนาการในครรภ์มารดาต่ำโดยเฉพาะกลุ่มมารดาต่างด้าว มารดาต่างด้าวมักจะทานอาหารได้น้อยเพราะอาหารไทยไม่ถูกปาก และวิถีชีวิตที่ต้องขึ้นทำงานต่อเนื่องทำให้ทานอาหารไม่เป็นเวลาและไม่เพียงพอ ด้านคุณภาพอาหาร และส่วนใหญ่ทานอาหารที่ได้สารอาหารไม่สมดุล คือทานอาหาร คาร์โบไฮเดรตสูง แต่โปรตีนต่ำ และทานกาแฟผงชูรส 2) การฝากครรภ์ล่าช้าทำให้ไม่ได้รับความรู้ด้านโภชนาการตั้งแต่ระยะแรกของการตั้งครรภ์

2. ประเด็นสำคัญ /ความเสี่ยงที่สำคัญ

1. หญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงต่อการคลอดบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามอย่างต่อเนื่อง

2. ฝากครรภ์ช้า, ไม่ฝากครรภ์

3. หญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะเรื่องโภชนาการ

3. เป้าหมายการพัฒนา

1. อัตราการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500กรัม ลดลง

2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง

4. กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

การประเมินและการวางแผนการรักษา

1. รณรงค์ฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ < 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพ

2. คัดกรองหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกประเมินความเสี่ยงต่อทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เช่น หญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี, มารดาต่างด้าวที่ทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ในรายที่มีความเสี่ยงจะมีการจัดทำกลุ่มให้ความรู้ด้านโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ โดยความร่วมมือระหว่างพยาบาลแผนกส่งเสริมสุขภาพและล่ามแปลภาษา

5. ผลการพัฒนา

6. แผนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

1. จัดโครงการครรภ์คุณภาพอย่างต่อเนื่อง

2. จัดทำ CPG ทารก LBW เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้