1S 1.2: Surgical Site Infection (SSI) Prevention

Definition

คือการติดเชื้อที่เกิดหลังการผ่าตัด โดยแบ่งชนิดของการติดเชื้อเป็น

(1) Superficial incisional ในกรณีที่ติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังของแผลผ่าตัด

ภายใน 30 วันหลังผ่าตัด

(2) Deep incisionsl การติดเชื้อชั้นที่ลึกลงมาถึงพังพืด (Fascia) กล้ามเนื้อ (Muscle) ภายใน

30 หรือ 90 วันตามชนิดการผ่าตัด และ

(3) Organ/Space การติดเชื้อในอวัยวะหรือช่องต่างๆของร่างกายบริเวณเปิดแผลผ่าตัดหรือได้

มีการ manipulated ระหว่างผ่าตัด ภายใน 30 หรือ 90 วันตามชนิดการผ่าตัด และวินิจฉัยตาม

เกณฑ์ (Criteria)อ้างอิงจาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Center for Disease Control and

Prevention; CDC)

Goal

ป้องกันและลดอัตราการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัด

Why

การติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัดเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ส าคัญ ก่อให้เกิดผลกระทบ

รุนแรงต่อผู้ป่วย ท าให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนาน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น หากการ

ติดเชื้อเกิดจากเชื้อดื้อยาหรือเชื้อที่มีความรุนแรง อาจส่งผลให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะ เกิด

ความพิการอย่างถาวร จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

Process

กิจกรรมที่โรงพยาบาลควรด าเนินการเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัด

ประกอบด้วย

 การก าหนดนโยบายในการป้องกันและการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัด

 การจัดท าแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัดตามหลักฐานเชิงประจักษ์

และเผยแพร่ให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

 การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัดทั้งขณะผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลและการ

เฝ้าระวังหลังจ าหน่ายให้มีประสิทธิภาพ เฝ้าระวังการเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อชั้น

ตื้นหลังผ่าตัดที่ไม่ได้ใส่อวัยวะเทียมเป็นเวลา 30 วัน การติดเชื้อลึกถึงชั้นเนื้อเยือพังผืดหรือ

กล้ามเนื้อ จะติดตาม 30 หรือ 90 วัน แล้วแต่ชนิดของการผ่าตัด (อ้างอิง CDC) ในกรณีที่ใส อวัยวะเทียมติดตามนาน 90 วัน และรายงานข้อมูลอุบัติการณ์การติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัด

แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

 การก าหนดแนวทางการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัดตามหลักฐาน

เชิงประจักษ์

 การก าหนดแนวปฏิบัติในการท าให้เครื่องมือผ่าตัดปราศจากเชื้อ ประเมินประสิทธิภาพ

กระบวนการท าให้ปราศจากเชื้อ

 การก าหนดแนวปฏิบัติการท าความสะอาดและการท าลายเชื้อในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเมิน

ระบบการไหลเวียนอากาศในห้องผ่าตัด

 การประเมินการปฏิบัติของบุคลากรตามแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และให้ข้อมูล

เกี่ยวกับผลการปฏิบัติแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

 การประเมินประสิทธิภาพการด าเนินงานป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัดโดยใช้ข้อมูลจาก

การเฝ้าระวังการติดเชื้อตามปัญหาหรือความเสี่ยงของการติดเชื้อของโรงพยาบาล

 การให้ความรู้แก่บุคลากรเกี่ยวกับการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัดและความส าคัญในการป้องกัน

การติดเชื้อ ตั้งแต่แรกรับเข้าปฏิบัติงานและฟื้นฟูความรู้ทุกปี

 การให้ความรู้ผู้ป่วยที่จะได้รับการผ่าตัดและญาติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่ง

ผ่าตัดตามความจ าเป็น

Training

ให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัด

ครอบคลุมตลอดกระบวนการของการผ่าตัด

Monitoring

 การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่ง

ผ่าตัดของบุคลากรตลอดกระบวนการของการผ่าตัด

 อุบัติการณ์การติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัด

Pitfall

 โรงพยาบาลยังไม่มีแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อที่ต าแหน่งผ่าตัดตามหลักฐานเชิง

ประจักษ์

 เครื่องมือผ่าตัดมีไม่เพียงพอ ท าให้ต้องเร่งรีบในการท าให้เครื่องมือผ่าตัดปราศจากเชื้อ

หรือไม่ท าตามมาตรฐาน

 ห้องผ่าตัดไม่ได้มาตรฐาน ไม่เป็น Positive pressure มีความชื้น มีเชื้อรา ไม่มีการประเมิน

ระบบการถ่ายเทอากาศ (Air change per hour) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบสัตว์พาหะน าโรคและ

แมลงในห้องผ่าตัด สถานที่เก็บเครื่องมือปราศจากเชื้อไม่เหมาะสม

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการ

สุขภาพ ฉบับที่ 4 ตอนที่ II หมวดที่ 4 หัวข้อ 4.1 ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

(IC.1) ก. ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (4) องค์กรก าหนดนโยบายและเกณฑ์

ปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นลายลักษณ์อักษรครอบคลุม, ตอนที่ III หมวด

ที่ 4 หัวข้อที่ 4.3 การดูแลเฉพาะ (PCD.3) ข. การผ่าตัด (3) และ (5)