6E 4.3: Effective Teamwork and Communication

Definition

ทีม (Team) หมายถึงบุคคล 2 คน หรือมากกว่า ที่มีความรู้และทักษะปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุ

เป้าหมายที่วางแผนไว้ร่วมกัน1,2

Goal

เพิ่มประสิทธิภาพของการท างานเป็นทีม (Teamwork) และการสื่อสารในห้องฉุกเฉิน (Communication)

Why

การท างานเป็นทีม (Teamwork) และการสื่อสารเป็นปัจจัยส าคัญ (Critical Factors) ที่เกี่ยวข้องกับ

เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จากการศึกษาในช่วงปีค .ศ.1995-2003 โดย Joint Commission พบว่า

การสื่อสารเป็นสาเหตุหลักของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 70% ของเหตุการณ์ไม่ประสงค์ จากการ

วิจัยพบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพการ ท างานเป็นทีมและการสื่อสารในห้องฉุกเฉินสามารถลด

อุบัติการณ์การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยและเพิ่มทัศนคติของ

บุคลากรที่มีต่อการท างานเป็นทีม 2

Process

1. Team Strategies to Enhance Performance and Patient Safety (TeamSTEPPS) เป็น

เครื่องมือที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based set of tools) มีเป้าประสงค์ในการเพิ่ม

ความปลอดภัยผู้ป่วย ลดความผิดพลาดทางคลินิก (Clinical error) เพิ่มความพึงพอใจของ

ผู้รับบริการและบุคลากร โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการท างานเป็นทีมและการสื่อสาร

ระหว่างบุคลากรการแพทย์3

2. ใช้หลักการพื้นฐาน 5 ข้อคือ 1) โครงสร้างและสมาชิกในทีม(Team structure) 2) การสื่อสาร

(Communication) 3) ภาวะผู้น า(Leadership) 4) การติดตามสถานการณ์(Situation

Monitoring) 5) การช่วยเหลือกันภายในทีม(Mutual Support)3

3. โครงสร้างและสมาชิกต้องประกอบไปด้วยทีมในห้องฉุกเฉินและทีมอื่นที่เกี่ยวข้องในการสร้าง

ความปลอดภัยของผู้ป่วย1) ทีมให้การรักษา (Core Team) คือทีมแพทย์และพยาบาลห้อง

ฉุกเฉิน และทีมจากแผนอื่น เช่น อายุรกรรม ศัลยกรรม เป็นต้น 2) ทีมประสานงาน เช่น

Nurse Coordinator 3) ทีมสนับสนุนบริการ เช่น ทีม X-ray/Lab เป็นต้น 4) ทีมธุรการ3,4

4. ใช้การสื่อสารที่เป็นรูปแบบและมีหลักฐานเชิงประจักษ์3,4

 SBAR (Situation, Background, Assessment, Recommendation) ใช้ในกรณีสื่อสาร

ข้อมูลผู้ป่วยที่ส าคัญและเร่งด่วน จ าเป็นต้องได้รับการดูแลทันที

 Call-Out ใช้กรณีจะสื่อสารข้อมูลที่ส าคัญและวิกฤต (Critical Information) ท าให้

สมาชิกในทีมรับทราบสถานการณ์พร้อมกัน และสมาชิกในทีม

 Check-Back ใช้กรณีที่ต้องการตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

 I PASS the BATON (Introduction, Patient, Assessment, Situation, Safety

Concern the Background, Actions, Timing, Ownership, Next) ใช้ในการส่งเวรหรือ

การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย

5. หัวหน้าทีมควรมีการ Brief สมาชิกในทีมเกี่ยวกับแผนและวิธีการรักษา ใช้ Huddle เมื่อต้องการ

เปลี่ยนแผนและเป้าหมายการรักษา ใช้ Debrief เมื่อต้องการทบทวนผลการปฏิบัติงาน3

6. มีกระบวนการติดตามสถานการณ์(Situation monitoring) โดยติดตามการท างานและ

ประสิทธิภาพของสมาชิกแต่ละคนในทีม และ ประสิทธิภาพการรักษา สนับสนุนให้ใช้ Tools

and Strategies ดังนี้3

 STEP (Status of Patient, Team members, Environment, Progress Toward Goal)

 Cross Monitoring คือการตรวจสอบการท างานซึ่งกันและกัน ซึ่งจะท าให้ลด error ที่

อาจจะเกิดขึ้นได้

 I’M SAFE checklist เป็นการประเมินตนเองของสมาชิกในทีม เพื่อประเมินความพร้อม

ในการปฏิบัติงาน (Illness, Medication, Stress, Alcohol and Drug use, Eating and

Elimination)

7. การช่วยเหลือกันภายในทีม (Mutual Support) สนับสนุนให้ใช้ Tools and Strategies ดังนี้3

 Task Assistance คือ การช่วยเหลือกันในการปฏิบัติงาน

 Feedback มีการให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการท างานของทีม

 Advocacy and Assertion คือเสนอแนะเมื่อความเห็นและแผนการรักษาไม่ตรงกัน

 The two-challenge rule ใช้ในกรณีที่ต้องการเตือนให้สมาชิกในทีมหยุดกิจกรรมที่รู้สึก

ว่าไม่ปลอดภัย

 CUS (Concern, Uncomfortable, Safety) ใช้กรณีที่ต้องการเตือนและสร้างความ

ตระหนักให้สมาชิกหยุดท ากิจกรรมที่อาจจะไม่ปลอดภัย เช่น “ฉันรู้สึกกังวลใจ (I’m

Concern)”, “ฉันรู้สึกไม่สบายใจ …. (I’m Uncomfortable)”, “ฉันรู้สึกว่าเรื่องนี้เกี่ยวข้อง

กับความปลอดภัย …. Safety Issue)”

 DESC script ใช้ในกรณีที่แก้ปัญหาความเห็นไม่ตรงกันของสมาชิกในทีม (Describe,

Express, Suggest, Consequence)

8. มีการพัฒนา Resuscitation Team หรือ FastTrack Team เช่น Trauma team, CPR team

เป็นต้น โดยใช้แนวคิดและเครื่องมือ TeamSTEPPS

9. มีการฝึกซ้อม(Drill)การดูแลผู้ป่วยเป็นทีม

Training

1. อบรมการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ TeamSTEPPS

2. อบรมเทคนิคการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

Monitoring

1. Team Assessment Questionnaire

2. Team Performance Observation Tool

Pitfall

- การสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพ

- การมอบหมายงานไม่ชัดเจน

- มีความขัดแย้งกันภายในทีม

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4

ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.1 การดูแลทั่วไป (PCD.1) (5)