2 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (PCI)

ภาพรวม เป้าหมายของแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อขององค์กร คือการค้นหาและลดความเสี่ยงของการ ได้รับและแพร่กระจายเชื้อระหว่างผู้ป่วย บุคลากร ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง อาสาสมัคร นักศึกษา ผู้มาเยือน และชุมชน นอกจากนี้มีการพัฒนาความคิดริเริ่ม ในการทำ hospitalwide ที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพและ หรือความกังวลเช่น /แผนงานการดูแลและยา ปฏิชีวนะแผนงานสำหรับการตอบสนองต่อโรคติดต่อทั่วโลกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการป้องกันการติดเชื้อ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและกิจกรรมของแผนงานในแต่ละองค์กรอาจจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับกิจกรรม และบริการทางคลินิก ประชากรผู้ป่วยที่รับผิดชอบ ที่ตั้ง ทางภูมิศาสตร์ปริมาณผู้ป่วย และจำนวนบุคลากรของ องค์กร

การจัดลำดับความสำคัญของแผนงานควรจะสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ระบุไว้ในองค์กร การพัฒนาของโลกและชุมชน และความซับซ้อนของการให้บริการในองค์กร

แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิผลมีลักษณะร่วมคือ มีผู้นำที่ได้รับการกำหนดชัดเจนบุคลากรที่ ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีวิธีการค้นหาและจัดการเชิงรุกกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นโยบายและระเบียบปฏิบัติที่ เหมาะสม การให้ความรู้แก่บุคลากร และการประสานงานทั่วทั้ง องค์กร

หมายเหตุในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน

ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

ความรับผิดชอบ

PCI.1 บุคคลอย่างน้อยหนึ่งคนควบคุมดูแลกิจกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้งหมด บุคคลนี้มี คุณสมบัติเหมาะสมในการปฏิบัติด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้งการศึกษา การฝึกอบรม, ประสบการณ์หรือประกาศนียบัตร.

PCI.2 มีการกำหนดกลไกประสานความร่วมมือสำหรับกิจกรรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้งหมด เหมาะสม กับขนาดและความซับซ้อนขององค์กร โดยแพทย์พยาบาล และบุคลากรที่เหมาะสมอื่น ๆ มีส่วนร่วม

PCI.3 แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย แนวทางปฏิบัติซึ่ง เป็นที่ยอมรับ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานสำหรับสุขาภิบาลและความสะอาด

PCI.4 ผู้นำองค์กรจัดให้มีทรัพยากรเพียงพอเพื่อสนับสนุนแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

เป้าหมายของแผนงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

PCI.5 โรงพยาบาลออกแบบแผนงานที่ครอบคลุมหัตถการและกระบวนการ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และ และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ P

PCI.6 โรงพยาบาลกำหนดจุดเน้นของแผนงานป้องกันและลดการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ (Health careassociated) โดยอิงความเสี่ยง (risk-based approach) P

PCI.6.1 โรงพยาบาลติดตาม (track) ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อัตราการติดเชื้อ และแนวโน้มของการติด เชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ เพื่อนำมาลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

PCI.7 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับเครื่องมือผ่าตัดและอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยสร้าง ความมั่น ใจในกระบวนการทำความสะอาด การทำลายเชื้อ การทำให้ปราศจากเชื้อ และการจัดเก็บที่ เหมาะสม มีกระบวนการจัดการเวชภัณฑ์หมดอายุและนำลงสู่การปฏิบัติ

PCI.7.1 โรงพยาบาลระบุกระบวนการสำหรับการนำวัสดุที่ผลิตเพื่อใช้ครั้ง เดียวมาใช้ซ้ำ ตามกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับอนุญาต P

ขยะติดเชื้อ

PCI.7.2 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยการจัดการขยะที่เหมาะสม

PCI.7.3 โรงพยาบาลดำเนินการปฏิบัติในการกำจัดเข็มและของมีคมอย่างปลอดภัย P บริการอาหาร

PCI.7.4 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้านบริการอาหาร ความเสี่ยงด้านก่อสร้าง

PCI.7.5 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอาคารสถานที่ เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องกลและวิศวกรรม และระหว่างการรื้อถอน ก่อสร้าง และปรับปรุง

การแพร่กระจายเชื้อ

PCI.8 โรงพยาบาลจัดให้มีมาตรการป้องกันทางกายภาพ (barrier precautions) และระเบียบปฏิบัติในการแยก ผู้ป่วยเพื่อปกป้องผู้ป่วย ผู้มาเยือน และบุคลากรจากโรคติดต่อ รวมถึงปกป้องผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำมิให้ เกิดการติดเชื้อที่พบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว P

PCI.8.1 โรงพยาบาลจัดทำกระบวนการจัดการกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อซึ่งแพร่กระจายทางอากาศที่มาพร้อม กันคราวละมากๆในช่วงเวลาสั้นเมื่อไม่มีห้องความดันลบ P

PCI.8.2 โรงพยาบาลจัดทำแผนงานตอบสนองต่อโรคระบาด มีการนำลงสู่การปฏิบัติและมีการซ้อม P

PCI.9 มีถุงมือ หน้ากากปิดจมูกและปาก อุปกรณ์ป้องกันดวงตา อุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อพร้อม ใช้และมีการใช้อย่างถูกต้องเมื่อมีข้อบ่งชี้è

แผนงานการพัฒนาคุณภาพและการให้ความรู้

PCI.10 มีการบูรณาการกระบวนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเข้ากับแผนงานพัฒนาคุณภาพและความ ปลอดภัยผู้ป่วยในภาพรวมของโรงพยาบาล ใช้ตัววัดเกี่ยวกับการติดเชื้อที่มีความสำคัญทางระบาด วิทยาสำหรับโรงพยาบาล

PCI.11 โรงพยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้แก่บุคลากร แพทย์ผู้ป่วย ครอบครัวและผู้บริบาลอื่น ๆ ตามข้อบ่งชี้โดยการมีส่วนร่วมในการดูแลè

มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้

ความรับผิดชอบ

มาตรฐาน PCI.1 บุคคลอย่างน้อยหนึ่งคนควบคุมดูแลกิจกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้งหมด บุคคลนี้มีคุณสมบัติ เหมาะสม ในการปฏิบัติด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้ง การศึกษา การฝึกอบรม ประสบการณ์หรือ ประกาศนียบัตร

เจตจำนงของ PCI.1 เป้าหมายของแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อขององค์กร คือการค้นหาและลดความเสี่ยงของการ ได้รับและแพร่กระจายเชื้อระหว่างผู้ป่วย บุคลากร ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานตามสัญญาจ้าง อาสาสมัคร นักศึกษาและ ผู้มาเยือน ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและแผนงานการป้องกันการติดเชื้ออาจมีความ แตกต่างกัน ขึ้นกับกิจกรรมและบริการทางคลินิก ประชากรผู้ป่วยที่รับผิดชอบ ที่ตั้ง ทางภูมิศาสตร์ปริมาณผู้ป่วย และจำนวนบุคลากรขององค์กร

ดังนั้นแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อมีการกำกับดูแลที่เหมาะสมกับขนาดขององค์กร ระดับของความเสี่ยง ความซับซ้อนของกิจกรรม และขอบเขตของแผนงาน มีบุคคลหนึ่งคนหรือมากกว่า ทำงานเต็มเวลาหรือบางเวลา ทำ หน้าที่กำกับดูแลแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อตามหน้าที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย. คุณสมบัติของผู้ทำ หน้าที่กำกับดูแลขึ้นกับกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติและอาจพิจารณาจาก

• การศึกษา

• การฝึกอบรม

• ประสบการณ์และ

• ประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.1

❏ 1. มีบุคคลหนึ่งคนหรือมากกว่าทำหน้าที่กำกับดูแลแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (ดูGLD.9,ME1 ร่วมด้วย)

❏ 2. ผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลมีคุณสมบัติเหมาะสม สำหรับขนาดขององค์กร ระดับของความเสี่ยง ขอบเขตและ ความซับซ้อนของแผนงาน

❏ 3. ผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลตามที่ได้รับมอบหมายหรือตามที่ระบุไว้ในคำอธิบาย ลักษณะงาน (ดูSQE.3,ME2 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน PCI.2 มีการกำหนดกลไกประสานความร่วมมือสำหรับกิจกรรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อทั้งหมด เหมาะสมกับขนาด และความซับซ้อนขององค์กร โดยแพทย์พยาบาล และบุคลากรที่เหมาะสมอื่น ๆ มีส่วนร่วม

เจตจำนงของ PCI.2

กิจกรรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเกี่ยวข้องกับทุกส่วนของสถานพยาบาลและเกี่ยวข้องกับบุคลากรใน แผนกและงานบริการต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น แผนกทางคลินิก บำรุงรักษา บริการอาหาร(จัดเลี้ยง) แม่บ้าน ห้องปฏิบัติการ เภสัชกรรม หน่วยทำให้ปราศจากเชื้อ โรงพยาบาลมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องมาจากการเข้า มาของผู้ป่วยและญาติบุคลากร อาสาสมัคร ผู้มาเยือน ผู้แทนการขาย และอื่น ๆ ดังนั้น ทุกพื้นที่ของโรงพยาบาล ต้องรวมไว้ในแผนงานการเฝ้าระวังฯ การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีการกลไกเพื่อประสานความร่วมมือ สำหรับแผนงาน อาจจะเป็นกลุ่มทำงานเล็ก ๆ คณะกรรมการประสานงาน คณะทำงานเฉพาะกิจ หรือกลไกอื่น ๆ. หน้าที่รับผิดชอบของกลไกดังกล่าว เช่น การกำหนดเกณฑ์ตัดสินการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ กำหนด วิธีการเก็บข้อมูลเฝ้าระวังฯ ออกแบบกลยุทธ์เพื่อจัดการกับความเสี่ยงในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และ กระบวนการรายงาน การประสานความร่วมมือต้องมีการสื่อสารกับทุกส่วนขององค์กรเพื่อให้มั่น ใจในความ ต่อเนื่องและบทบาทเชิงรุกของแผนงานไม่ว่าองค์กรจะเลือกกลไกประสานความร่วมมือสำหรับแผนงานป้องกันและ ควบคุมการติดเชื้ออย่างไร จะมีตัวแทนของแพทย์และพยาบาลเข้าร่วมในกิจกรรมกับผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมการ ติดเชื้อ (infection control professionals) เสมอ บุคลากรอื่น ๆ อาจถูกเลือกเข้ามาโดยคำนึงถึงขนาดขององค์กร ความซับซ้อนของบริการ (เช่นนักระบาดวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านเก็บข้อมูล นักสถิติหัวหน้าหน่วยจ่ายกลาง นักจุล ชีววิทยา เภสัชกร แม่บ้าน บริการสิ่งแวดล้อมหรืออาคารสถานที่ หัวหน้าห้องผ่าตัด)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.2

❏ 1. มีการกำหนดกลไกประสานความร่วมมือสำหรับแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีผู้ประกอบ วิชาชีพควบคุมการติดเชื้อร่วม(ดูMMU.1.1 ร่วมด้วย)

❏ 2. การประสานความร่วมมือของกิจกรรมควบคุมการติดเชื้อมีแพทย์และพยาบาล และบุคลากรอื่นเข้าร่วม ตามขนาดและความซับซ้อนของโรงพยาบาล (ดูMMU.1.1 ร่วมด้วย)

❏ 3. ทุกพื้นที่ของโรงพยาบาล รวมไว้ในแผนงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (ดูPCI.5.1, ME.1 และ 2 ร่วมด้วย)

❏ 4. บุคลากรทุกคนในโรงพยาบาล รวมไว้ในแผนงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (ดูPCI.5, ME.1 และ 2 และ SQE.8.2.1,ME.3 ร่วมด้วย)

แหล่งข้อมูล

มาตรฐาน PCI.3 แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย แนวทางปฏิบัติซึ่งเป็นที่ ยอมรับ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานสำหรับสุขาภิบาลและความสะอาด

เจตจำนงของ PCI.3 สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศทางวิชาการที่เป็น ปัจจุบันเพื่อทำความเข้าใจและนำกิจกรรมเฝ้าระวังและควบคุมไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล, สารสนเทศนี้อาจจะมา จากแหล่งในประเทศหรือแหล่งสากล เช่น ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา )US CDCองค์การอนามัยโลก สถาบันพัฒาคุณภาพร.พ.IHI หน่วยงานระดับภูมิภาค และองค์กรอื่น ๆ ที่คล้ายกันสามารถเป็น ( แหล่งของการปฏิบัติตามหลักฐานและแนวทางการปฏิบัติ มีแนวทางการทำความสะอาดและการทำลายเชื้อใน สิ่งแวดล้อมและการซักรีดไว้ในแผนงาน การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ แนวทางปฏิบัติและcare bundles ซึ่ง) พัฒนามาจากIHIการให้สารสนเทศเกี่ยวกับปฏิบัติการป้องกัน ( การติดเชื้อที่สัมพันธ์กับบริการทางคลินิกและ บริการสนับสนุน กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกำหนดองค์ประกอบของแผนงานพื้นฐาน การ ตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดเชื้อ และรายงาน

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.3

❏ 1. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย แนวทาง ปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับ และ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (ดูQPS.3 และ GLD.2, ME 5 ร่วมด้วย)

❏ 2. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานเกี่ยวกับสุขาภิบาลและการทำความ สะอาด

❏ 3. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานเกี่ยวกับซักฟอกและบริการผ้า

❏ 4. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อรายงานสารสนเทศเกี่ยวกับการติดเชื้อไปยังหน่วยงาน สาธารณสุขตามที่กำหนด (ดูACC.4.5, ME 6; AOP.5.3.1, ME 2; และ GLD.2, ME 6 ร่วมด้วย)

❏ 5. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อรายงานสารสนเทศเกี่ยวกับการติดเชื้อไปยังหน่วยงาน สาธารณสุขภายนอกที่เหมาะสม (ดู GLD.2, ME 6ร่วมด้วย)

มาตรฐาน PCI.4 ผู้นำโรงพยาบาลจัดให้มีทรัพยากรเพียงพอเพื่อสนับสนุนแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

เจตจำนงของ PCI.4

แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อต้องการบุคลากรที่เพียงพอเพื่อตอบสนองเป้าประสงค์ของแผนงาน และความต้องการของโรงพยาบาล จำนวนบุคลากรขึ้นอยู่กับขนาดของโรงพยาบาล ความซับซ้อนของกิจกรรม และ ระดับความเสี่ยงของบริบท ระดับบุคลากรได้รับความเห็นชอบจากผู้นำโรงพยาบาล นอกจากนั้น แผนงานป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อยังต้องการทรัพยากรเพื่อให้การศึกษาแก่บุคลากรทุกคน วัสดุ เช่น แอลกอฮอล์สำหรับล้าง มือ ผู้นำโรงพยาบาลสร้างความมั่น ใจว่าแผนงานมีทรัพยากรเพียงพอสำหรับการดำเนินงานของแผนงานอย่างมี ประสิทธิผล

การจัดการสารสนเทศเป็นทรัพยากรสำคัญที่สนับสนุนการติดตามความเสี่ยง อัตราและแนวโน้มของการติด เชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ (HAI) การจัดการสารสนเทศสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล และการ นำเสนอผล นอกจากนั้น ข้อมูลและสารสนเทศของแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อยังได้รับการจัดการ พร้อมกับข้อมูลและสารสนเทศของแผนงานบริหารและพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.4

❏ 1. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อมีบุคลากรขึ้นอยู่กับขนาดของโรงพยาบาล ความซับซ้อนของ กิจกรรม และระดับความเสี่ยงของบริบท( ดูSQE.6, MEs 1 และ 2ร่วมด้วย) มาตรฐานการรับรอง JCI สำหรับโรงพยาบาล ฉบับที่ ๖ มีผลบังคับใช้ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ 209

❏ 2. ผู้นำโรงพยาบาลอนุมัติจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรที่เพียงพอสำหรับแผนงานป้องกันและควบคุมการ ติดเชื้อ(ดูGLD.1.1, ME 3ร่วมด้วย)

❏ 3. แผนงานการจัดการสารสนเทศสนับสนุนแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (ดูMOI.1ร่วมด้วย)

เป้าหมายของแผนงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

มาตรฐาน PCI.5 โรงพยาบาลออกแบบแผนงานที่ครอบคลุม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ (HAI) ใน ผู้ป่วยและบุคลากร และนำไปปฏิบัติè P

เจตจำนงของ PCI.5 โรงพยาบาลประเมินและดูแลผู้ป่วยโดยใช้กระบวนการที่เรียบง่ายและซับซ้อนมากมาย แต่ละกระบวนการมี ความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อต่อผู้ป่วยและบุคลากร จึงมีความสำคัญที่โรงพยาบาลจะวัดและ ทบทวนกระบวนการเหล่านี้และดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามความเหมาะสมด้วยการนำนโยบาย ระเบียบปฏิบัติการศึกษา และกิจกรรมตามหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ได้รับการออกแบบ ไปสู่การปฏิบัติ(ดูACC.6 ร่วมด้วย) แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อจะต้องมีความครอบคลุมสมบูรณ์รวมเอาทั้ง การดูแลผู้ป่วยและ สุขภาพของบุคลากรเข้าไว้ทั้ง หมด แผนงานถูกระบุประเด็นการติดเชื้อที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยาต่อ โรงพยาบาล นอกจากนั้นแผนงานยังต้องการแผนกลยุทธ์มีความเหมาะสมกับทุกระดับของโรงพยาบาล ซึ่งขึ้นอยู่ กับขนาดของโรงพยาบาล ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์บริการ และผู้ป่วย แผนงานดังกล่าวหมายรวมถึงสุขอนามัยของมือ ระบบที่จะบ่งชี้การติดเชื้อและสืบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อ แผนงานการให้วัคซีนในบุคลากรและผู้ป่วย กำกับ ดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะ การประเมินความเสี่ยงเป็นระยะและการกำหนดเป้าประสงค์ในการลดความเสี่ยงชี้นำการ ทำงานของแผนงาน. (ดูAOP.5.3 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.5

❏ 1. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อครอบคลุมทุกพื้นที่ของโรงพยาบาล เพื่อลดการติดเชื้อเนื่องจาก บริการสุขภาพ (HAI) ในผู้ป่วย(ดูPCI.2, MEs 3 และ 4ร่วมด้วย)

❏ 2. แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อครอบคลุมทุกพื้นที่ของของโรงพยาบาลเพื่อลดการติดเชื้อเนื่อง จากบริการสุขภาพ (HAI) ในบุคลากรสุขภาพ (ดูAOP.5.3.1, MEs 1 และ 3; PCI.2, MEs 3 และ 4;SQE.8.2; และ SQE.8.2.1ร่วมด้วย)

❏ 3. โรงพยาบาลมีการระบุกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงการติดเชื้อ ( ดูAOP.5.3, ME 2;AOP.5.3.1, MEs 1 และ 3; MMU.5, MEs 1 และ 3 ร่วมด้วย)

❏ 4. โรงพยาบาลมีกิจกรรม การนำแผนกลยุทธ์การศึกษา และหลักฐานเชิงประจักษ์ลงสู่การปฏิบัติเพื่อลด ความเสี่ยงการติดเชื้อในกระบวนการดังกล่าว (ดูAOP.5.3, ME 2; AOP.5.3.1, MEs 1 และ 3; MMU.5, MEs 1 และ 3; และ PCI.7, ME1 ร่วมด้วย)

❏ 5. โรงพยาบาลมีการระบุความเสี่ยง ที่จำเป็นต้องมีนโยบายและ/หรือ ระเบียบปฏิบัติการอบรม การ เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติและกิจกรรมสนับสนุนลดการติดเชื้อ

มาตรฐาน PCI.6 โรงพยาบาลกำหนดจุดเน้นของแผนงานป้องกันและลดการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ (HAI) โดยอิงความเสี่ยง (risk-based approach)è P

มาตรฐาน PCI.6.1 โรงพยาบาลติดตาม (track) ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อัตราการติดเชื้อและแนวโน้มของการติดเชื้อเนื่องจากบริการ สุขภาพ )HAI (เพื่อนำมาลดความเสี่ยงการติดเชื้อ

เจตจำนงของ PCI.6 และ PCI.6.1

แต่ละโรงพยาบาลต้องกำหนดการติดเชื้อที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยา ตำแหน่งที่ติดเชื้อ อุปกรณ์ที่สอดใส่ หัตถการ และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นจุดเน้นของความพยายามในการป้องกันและลดความเสี่ยงและ อุบัติการณ์ของการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ (HAI) วิธีการที่อิงความเสี่ยง (risk-based approach) ช่วยให้ โรงพยาบาลบ่งชี้การปฏิบัติและการติดเชื้อที่ควรเป็นจุดมุ่งเน้นของแผนงาน วิธีการที่อิงความเสี่ยงใช้การเฝ้าระวัง เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งจะชี้นำการประเมินความเสี่ยง โรงพยาบาลเก็บและประเมินข้อมูลการติดเชื้อและตำแหน่งการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้: a) ทางเดินหายใจ เช่น หัตถการและเครื่องมือที่เกี่ยวกับการใส่ท่อช่วยหายใจ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การ เจาะคอ และอื่น ๆ b) ทางเดินปัสสาวะ เช่น การทำหัตถการที่มีการใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์เข้าสู่ร่างกายและเครื่องมือที่ เกี่ยวข้องกับการใส่สายสวนปัสสาวะ ระบบระบายปัสสาวะการดูแล และอื่น ๆ c) อุปกรณ์ที่สอดใส่เข้าหลอดเลือด เช่น การสอดใส่และการดูแลสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง สายให้ สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย และอื่น ๆ d) ตำแหน่งที่ผ่าตัด เช่น การดูแลแผล ประเภทของผ้าปิดแผล วิธีการปราศจากเชื้อที่เกี่ยวข้อง e) โรคและเชื้อโรคที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยา เช่น เชื้อโรคที่ดื้อยาหลายตัว การติดเชื้อที่รุนแรง(ดู PCI.10, ME 2 และSQE.8.2.1, ME 1ร่วมด้วย) f) โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำจากชุมชน(ดูSQE.8.2.1, ME 1ร่วมด้วย)

นอกจากนั้นมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการควบคุมการติดเชื้อ เช่น แนวทางเวชปฏิบัติ(ดู GLD.11.2ร่วมด้วย) แผนงานการบริหารการใช้ยาปฏิชีวนะ (ดูMMU.1.1ร่วมด้วย)แผนงานเพื่อลดการติดเชื้อจาก ชุมชนและโรงพยาบาลและความคิดริเริ่มในการลดการใช้อุปกรณ์ที่รุกล้ำเข้าร่างกายที่ไม่จำเป็นสามารถลดอัตราการ ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญได้

กระบวนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ถูกออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อในผู้ป่วย บุคลากรและอื่น ๆ ให้ลดลงต่ำสุด เพื่อให้ถึงเป้าหมายนี้ โรงพยาบาลต้องระบุเชิงรุกและติดตาม (track) ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อัตราการติดเชื้อ และแนวโน้มของการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ )HAIโรงพยาบาลใช้สารสนเทศตัวชี้วัดเพื่อ ( ฒนากิจกรรมลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อให้มีระดับอัตราที่ต่ำสุดเท่าที่เป็นได้โรงพยาบาลสามารถใช้ข้อมูลพั ตัวชี้วัดที่ดีที่สุดและทำความเข้าใจข้อมูลอัตราและแนวโน้มในโรงพยาบาลอื่นที่คล้ายคลึงกันและเอื้อต่อข้อมูลไปยัง ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ(ดูQPS.4, ME 4 and GLD.5 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.6

❏ 1. องค์กรกำหนดจุดเน้นของแผนงานผ่านการเก็บข้อมูลตามข้อ a) ถึง f) ในเจตจำนงของมาตรฐาน

❏ 2. มีการเก็บข้อมูล ข้อ a) ถึง f) นำมาวิเคราะห์ข้อมูล จัดลำดับความสำคัญเพื่ออัตราการติดเชื้อ (ดู QPS.4.1, ME 1ร่วมด้วย)

❏ 3. มีการลงมือปฏิบัติจุดมุ่งเน้นเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.6.1

❏ 1. ติดตาม (track) ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อัตราการติดเชื้อ และแนวโน้มของการติดเชื้อเนื่องจากบริการ สุขภาพ (HAI)

❏ 2. กระบวนการมีการออกแบบใหม่ อยู่บนพื้นฐาน ข้อมูล สารสนเทศ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อัตราการ ติดเชื้อ และแนวโน้มของการติดเชื้อ (ดูQPS.4.1, ME 6 ร่วมด้วย)

❏ 3. โรงพยาบาลประเมินความเสี่ยงเหล่านี้อย่างน้อยปีละครั้งและดำเนินการที่จะมุ่งเน้น หรือปรับจุดเน้น แผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

เครื่องมือ อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์

มาตรฐาน PCI.7 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ เครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์/ผ่าตัด โดย ทำให้มั่นใจว่าทำความสะอาด ขจัดเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้ออย่างเพียงพอ และการเก็บรักษา รวมทั้งดำเนิน กระบวนการสำหรับการจัดการเวชภัณฑ์ที่หมดอายุ

เจตจำนงของ PCI.7

หัตถการที่เกี่ยวข้องกับการสมผัสกับอุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์/ผ่าตัดสามารถเป็นแหล่งที่ สำคัญสำหรับการแพร่เชื้อโรคที่นำไปสู่การติดเชื้อ ความล้มเหลวในการทำความสะอาด ขจัดเชื้อหรือทำให้ ปราศจาก เชื้อที่เหมาะสมและการใช้งานหรือการจัดเก็บ อุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมไม่เพียง ก่อให้เกิดความ เสี่ยงกับผู้ป่วย แต่ยังมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายการติดเชื้อจากบุคคลสู่บุคคล มันเป็นสิ่งสำคัญ ที่บุคลากรที่ดูแล สุขภาพต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติในการทำความสะอาด ขจัดเชื้อและทำให้ปราศจาก เชื้อ ความเสี่ยงต่อ การติดเชื้อจะลดลงด้วยกระบวนการทำความสะอาด ขจัดเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อที่เหมาะสม

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) นิยามการทำความสะอาดว่า “… การกำจัดสิ่งแปลกปลอม (เช่น สิ่งสกปรก และสารอินทรีย์) ออกจากวัตถุ…” CDC กล่าวต่อไปว่า [การทำความสะอาด] “สามารถทำได้ตามปกติโดยใช้น้ำ ด้วยผงซักฟอกหรือผลิตภัณฑ์เอนไซม์การทำความสะอาดอย่างละเอียดก่อนที่จะต้องขจัดเชื้อระดับสูงและทำให้ ปราศจากเชื้อเพราะอนินทรีย์และอินทรีย์ที่ยังคงอยู่บนพื้นผิวของเครื่องมือขัดขวางต่อประสิทธิผลของกระบวนการ ดังกล่าว” การขจัดเชื้อของอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์เกี่ยวข้องกับทั้งการใช้เทคนิคระดับต่ำและสูง การขจัดเชื้อ ระดับ ต่ำใช้สำหรับรายการ เช่น stethoscope เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด และอุปกรณ์ที่ไม่รุกล้ำอื่น ๆ นอกจากนี้การ ขจัดเชื้อระดับต่ำยังเป็นที่เหมาะสมสำหรับรายการ เช่น คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และ รีโมทโทรทัศน์(ดูPCI.9, ME 3 ร่วมด้วย) การขจัดเชื้อระดับสูงถูกนำมาใช้ถ้าหากการทำให้ปราศจากเชื้อไม่สามารถจะ ทำได้เช่นใน กรณีกล้องส่องตรวจภายในแบบ flexible endoscope และ laryngoscope

การทำให้ปราศจากเชื้อของวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่รุกล้ำทางการแพทย์/ผ่าตัดอื่น ๆ ครอบคลุมวิธีการหลาย อย่างที่แตกต่างกันและมีข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธีประเภทของทำให้ปราศจากเชื้อที่ใช้จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ การทำให้ปราศจากเชื้อเกิดขึ้นและสิ่งที่จะถูกทำให้ปราศจากเชื้อ ตัวอย่างเช่น ความร้อนชื้นในรูปแบบของไอน้ำ อิ่มตัว ภายใต้แรงดันมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดและเชื่อถือได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามการนึ่งทำให้ ปราศจากเชื้อ สามารถใช้ในรายการที่ทนความร้อนและทนความชื้นได้เท่านั้น การทำให้ปราศจากเชื้อที่อุณหภูมิต่ำ เป็นที่นิยมมาก ที่สุดที่ใช้สำหรับการทำให้ปราศจากเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ที่มีความอ่อนไหวต่อ อุณหภูมิและความชื้น การทำให้ปราศจากเชื้อโดยวิธีแฟลช (หรือเรียกว่า IUSS-การนึ่งทำให้ปราศจากเชื้อที่ต้อง ใช้ในทันที) ถูกนำมา ใช้ในสถานการณ์ที่มีเวลาไม่เพียงพอที่จะฆ่าเชื้อ ในรายการที่ใช้วิธีการบรรจุด้วยไอน้ำอิ่มตัว ภายใต้แรงดัน

โรงพยาบาลปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพสำหรับเทคนิคการทำให้ปราศจากเชื้อที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับ ประเภทของสถานการณ์ในการทำให้ปราศจากเชื้อตลอดจนเหมาะสมกับอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่มีการทำให้ ปราศจากเชื้อ (ดูPCI.8, ME 5 ร่วมด้วย)

การทำความสะอาด การขจัดเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อสามารถทำในพื้นที่ทำให้ปราศจากเชื้อส่วนกลางหรือ ใน พื้นที่อื่น ๆ ของโรงพยาบาลที่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม เช่น คลินิกโรคระบบทางเดินอาหารหรือส่องกล้อง 6,9–11 มีการธำรงรักษาวิธีการทำความสะอาด การขจัดเชื้อและการทำให้ปราศจากเชื้อด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะดำเนินการที่ไหนในโรงพยาบาล (ดูACC.6 ร่วมด้วย)

มันเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ บุคลากรที่ทำหน้าที่ ทำความสะอาด ขจัดเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ อุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์/การผ่าตัด ได้รับ การปฐมนิเทศ การฝึกอบรมและมีความสามารถในการปฏิบัติการทำความสะอาด ขจัดเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ และได้รับการกำกับดูแลที่เหมาะสม

เพื่อป้องกันการปนเปื้อน เวชภัณฑ์ที่ผ่านการทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อแล้วถูกเก็บไว้อย่างเหมาะสมใน พื้นที่จัดเก็บที่กำหนดที่สะอาดและแห้งรวมทั้งปกป้องจากฝุ่นละออง ความชื้นและอุณหภูมิที่สุดขั้ว จะเป็นการดีที่ เวชภัณฑ์ที่ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อจะถูกเก็บแยกต่างหากจากเวชภัณฑ์สะอาด มีการจำกัดการเข้าถึงพื้นที่ จัดเก็บ บางรายการต้องที่มีการขจัดเชื้อต้องกำหนดโดยใช้หลักการของการอบแห้งและการเก็บรักษาที่จำเพาะ เจาะจงเพื่อให้แน่ใจว่าการขจัดเชื้อสมบูรณ์และทั่วถึง ยกตัวอย่างเช่น การขจัดเชื้อต่อไปนี้กล้องส่องตรวจภายใน (endoscope) จะต้องสามารถที่จะแขวนได้อย่างอิสระโดยไม่สัมผัสกับพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเก็บสะสม ของเหลวในด้านล่างของกล้อง

วัสดุทางการแพทย์ส่วนใหญ่ (สายน้ำเกลือ สายสวน ไหมเย็บและวัสดุทางการแพทย์อื่น ๆ ) จะต้องประทับวันหมด อายุ เมื่อวันหมดอายุบนวัสดุเหล่านี้ได้ผ่านไป ผู้ผลิตที่ไม่ได้รับประกันความปราศจากเชื้อ ความปลอดภัยหรือ เสถียรภาพของรายการดังกล่าว วัสดุบางชนิดมีคำประกาศที่ระบุว่าสิ่งที่บรรจุภายในจะปราศจากเชื้อตราบเท่าที่ บรรจุภัณฑ์เป็นเหมือนเดิม นโยบายการระบุกระบวนการในการสร้างความมั่นใจในการจัดการวัสดุที่หมดอายุอย่าง เหมาะสม

หมายเหตุ: ทำความสะอาดและขจัดเชื้อเพิ่มเติมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ อุปกรณ์เครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการ แพทย์/การผ่าตัดที่ใช้กับผู้ป่วยที่ต้องแยกโรค ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.7

❏1. โรงพยาบาลปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพสำหรับเทคนิคการทำให้ปราศจากเชื้อที่ดีที่สุดเหมาะ สมกับประเภทของสถานการณ์การทำให้ปราศจากเชื้อและเครื่องมือรวมทั้งเวชภัณฑ์ที่ได้รับการทำให้ ปราศจากเชื้อ (ดูPCI.5, ME 3 และ 4 ร่วมด้วย) ❏2. โรงพยาบาลปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติในวิชาชีพสำหรับการขจัดเชื้อในระดับต่ำและสูงที่ดีที่สุดเหมาะ สมกับประเภทของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีการขจัดเชื้อ (ดูGLD.7, ME 3 ร่วมด้วย)

❏3. บุคลากรที่ทำหน้าที่ทำความสะอาด ขจัดเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อ อุปกรณ์ เครื่องมือ และเวชภัณฑ์ ทางการแพทย์/การผ่าตัดได้รับการปฐมนิเทศ ฝึกอบรมและมีความสามารถในการทำความสะอาด การขจัด เชื้อ และทำให้ปราศจากเชื้อและได้รับการกำกับดูแลที่เหมาะสม . (ดูGLD.4, ME 1 ร่วมด้วย)

❏4. วิธีการทำความสะอาด การขจัดเชื้อ และทำให้ปราศจากเชื้อทางการแพทย์/ผ่าตัด มีการนำไปใช้เป็น มาตรฐานเดียวกันทั่วโรงพยาบาล

❏5. เวชภัณฑ์ที่ผ่านการทำความสะอาดและทำให้ปราศจากเชื้อแล้วถูกเก็บไว้อย่างเหมาะสมในพื้นที่จัดเก็บที่ กำหนดที่สะอาดและแห้งรวมทั้งปกป้องจากฝุ่นละออง ความชื้นและอุณหภูมิที่สุดขั้ว (ดูACC.6 ร่วมด้วย)

❏6. โรงพยาบาลดำเนินกระบวนการที่สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบท้องถิ่นรวมถึงมาตรฐานใน วิชาชีพที่ระบุกระบวนการสำหรับการจัดการเวชภัณฑ์หมดอายุ(ดูACC.6; GLD.2, ME 5 และ GLD.7, ME 3 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน PCI.7.1 โรงพยาบาลระบุและดำเนินการกระบวนการในการจัดการ สำหรับการนำวัสดุที่ผลิตเพื่อใช้ครั้งเดียวมาใช้ซ้ำเมื่อ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับอนุญาตè P

เจตจำนงของ PCI.7.1

อุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้ครั้งเดียว (single-use device) บางชิ้นอาจนำมาใช้ซ้ำได้ภายใต้สถานการณ์เฉพาะ. มีความเสี่ยงสองประการในการนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้ซ้ำ คือเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และเสี่ยงที่อุปกรณ์ ดังกล่าวอาจจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์หรือไม่เป็นที่ยอมรับหลังจากนำไปทำให้ปราศจากเชื้อซ้ำ เมื่อมีการนำ อุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้ครั้งเดียวมาใช้ซ้ำ โรงพยาบาลต้องมีนโยบายแนะนำการนำมาใช้ซ้ำ (ดูดูACC.6ร่วมด้วย) นโยบายสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วยการระบุสิ่งต่อไปนี้ กระบวนการในการระบุเมื่ออุปกรณ์แบบใช้ครั้งเดียวจะไม่ปลอดภัยหรือความเหมาะสมสำหรับการใช้ซ้ำ

a) อุปกรณ์และวัสดุที่ห้ามนำมาใช้ซ้ำ

b) มีกระบวนการในการระบุเมื่ออุปกรณ์แบบใช้ครั้งเดียวจะไม่ปลอดภัยหรือเหมาะสมสำหรับการใช้ซ้ำ

c) กระบวนการทำความสะอาดอุปกรณ์ซึ่งเริ่มทันทีหลังการใช้และปฏิบัติตามระเบียบวิธีที่ชัดเจน

d) การระบุผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่นำมาใช้ซ้ำ

e) การประเมินเชิงรุกในด้านความปลอดภัยของการนำรายการที่ใช้ครั้งเดียวมาใช้ซ้ำ

โรงพยาบาลละวัสดุที่นำมาใช้ซ้ำเพื่อค้นหาความเก็บข้อมูลการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับอุปกรณ์แ. เสี่ยงและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงและพัฒนา

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.7.1

❒ 1. โรงพยาบาลระบุวัสดุอุปกรณ์แบบใช้ครั้งเดียวที่อาจนำมาใช้ซ้ำ

❒ 2. มีกระบวนการในการระบุเมื่ออุปกรณ์แบบใช้ครั้งเดียวจะไม่ปลอดภัยหรือเหมาะสมสำหรับการใช้ซ้ำ

❒ 3. โรงพยาบาลมีระเบียบการที่ชัดเจนสำหรับการทำความสะอาด ทำลายเชื้อและทำให้ปราศจากเชื้อตาม ความเหมาะสมสำหรับอุปกรณ์แบบใช้ครั้งเดียวแต่ละชนิดที่นำมาใช้ซ้ำใช้

❒ 4. กระบวนการทำความสะอาดสำหรับอุปกรณ์แต่ละชนิดให้ปฏิบัติตามระเบียบการแต่ละชนิด

❒ 5.โรงพยาบาลระบุผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์การแพทย์ที่นำมาใช้ซ้ำ

❒ 6.เมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้อุปกรณ์แบบใช้ครั้งเดียวนำมาใช้ซ้ำ ผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์ เหล่านี้มีการ

ขยะติดเชื้อ

มาตรฐาน PCI.7.2 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยการจัดการขยะที่เหมาะสม

เจตจำนงของ PCI.7.2

โรงพยาบาลพยาบาลเป็นแหล่งกำเนิดขยะจำนวนไม่น้อยในแต่ละวัน บ่อยครั้งที่ขยะดังกล่าวเป็น หรือสามารถเป็น ขยะติดเชื้อ ดังนั้นการกำจัดขยะที่เหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้(ดูACC.6ร่วม ด้วย) เช่นเดียวกันกับความเหมาะสมในการกำจัดสารคัดหลั่งและวัสดุที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง การกำจัดเลือดและ ส่วนประกอบของเลือด และการกำจัดของเสียจากศพและบริเวณที่ชันสูตรศพ (ถ้ามี) (ดูAOP.5.3.1 ร่วมด้วย) องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.7.2

❏ 1. มีการบริหารจัดการการกำจัดขยะติดเชื้อและสารคัดหลั่งเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ. (ดู FMS.5.1, ME 4ร่วมด้วย)

❏ 2. มีการบริหารจัดการการหยิบสัมผัสและกำจัดเลือดและส่วนประกอบของเลือดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการ แพร่กระจายเชื้อ

❏ 3. มีการบริหารจัดการปฏิบัติการของห้องเก็บศพและบริเวณที่ชันสูตรศพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการ แพร่กระจายเชื้อ

มาตรฐาน PCI.7.3 โรงพยาบาลดำเนินการปฏิบัติสำหรับการจัดการความปลอดภัยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและติดเชื้อจากการ หยิบจับสัมผัสตลอดจนถึงการบริหารจัดการของมีคมและเข็มè P

เจตจำนงของ PCI.7.3

หนึ่งในอันตรายของการบาดเจ็บจากเข็มทิ่มคือมีโอกาสติดเชื้อจากเลือด การกำจัดเข็มและของมีคมที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดความท้าทายด้านความปลอดภัยต่อบุคลากรที่สำคัญ การปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงของการ บาดเจ็บและความเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อ การระบุและการดำเนินการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อลด ความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากของมีคมและเข็ม เพื่อให้แน่ใจว่าการได้รับการบาดเจ็บดังกล่าวมีน้อย โรงพยาบาล จำเป็นต้องให้บุคลากรที่มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยและการจัดการของมีคมและเข็ม การ กำจัดของมีคมและเข็มอย่างเหมาะสม ยังช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บและการสัมผัส การกำจัดที่เหมาะสม รวมถึงการใช้ภาชนะบรรจุที่สามารถปิดได้, ป้องกันการทิ่มทะลุ, ป้องกันการรั่วทั้งด้านข้างและด้านล่าง ภาชนะ บรรจุบุคลากรควรจะสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายและไม่ควรทิ้งเข็มจนล้น การทิ้งเข็ม มีดผ่าตัดและ ของมีคม อื่น ๆ เมื่อทิ้งไม่เหมาะสมสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพกับประชาชนทั่วไปและผู้ที่ทำงานในการจัดการขยะได้ การทิ้งถังเข็มลงมหาสมุทร ตัวอย่าง สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสาธารณะได้ถ้าภาชนะเปิดออก โรงพยาบาล กำจัดเข็มและของมีคมอย่างปลอดภัย หรือทำสัญญากับแหล่งที่มั่น ใจว่าสามารถกำจัดภาชนะบรรจุของมีคมใน บริเวณที่จัดไว้สำหรับขยะอันตรายโดยเฉพาะ หรือตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของประเทศ โรงพยาบาลดำเนินการตามนโยบายทุกขั้นตอนอย่างเหมาะสมในกระบวนการตั้งแต่ ระบุประเภทอย่างเหมาะสม และการใช้ภาชนะจัดเก็บ การกำจัดภาชนะ และการเฝ้าระวังกระบวนการกำจัด(ดูACC.6ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.7.3

❒ 1. โรงพยาบาลระบุและนำไปปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและติดเชื้อจากการหยิบจับสัมผัส ตลอดจนถึงการบริหารจัดการของมีคมและเข็ม

❒ 2. ของมีคมและเข็มถูกจัดเก็บในภาชนะที่จัดไว้เฉพาะ, สามารถปิดได้, ป้องกันการทิ่มทะลุ, ป้องกันการรั่ว และไม่นำมาใช้ซ้ำ

❒ 3. โรงพยาบาลกำจัดเข็มและของมีคมอย่างปลอดภัย หรือทำสัญญากับแหล่งที่มั่น ใจว่าสามารถกำจัด ภาชนะบรรจุของมีคมในบริเวณที่จัดไว้สำหรับขยะอันตรายโดยเฉพาะ หรือตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายและ ระเบียบข้อบังคับของประเทศ.

บริการอาหาร

มาตรฐาน PCI.7.4 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้านบริการอาหาร

เจตจำนงของ PCI.7.4

การควบคุมด้านวิศวกรรม เช่น ระบบหมุนเวียนอากาศความดันบวก (positive ventilation system), ตู้ดูด อากาศปราศจากเชื้อในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าของหน่วยทำความเย็น และเครื่องทำน้ำร้อนในการ ทำให้จานและอุปกรณ์ในครัวปราศจากเชื้อ เป็นตัวอย่างของบทบาทสำคัญที่มาตรฐานและการควบคุมด้าน สิ่งแวดล้อมมีส่วนต่อสุขาภิบาลที่ดีและการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในองค์กร

. องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.7.4

❒ 1. โรงพยาบาลจัดเก็บอาหารและ ผลิตภัณฑ์ทางโภชนาการ โดยใช้หลักสุขาภิบาลอาหาร อุณหภูมิแสง ความชื้น การระบายอากาศและปลอดภัยในลักษณะที่ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

❒ 2. โรงพยาบาลเตรียมอาหารและผลิตภัณฑ์ทางโภชนาการ โดยใช้สุขาภิบาลอาหารและอุณหภูมิที่เหมาะสม

❒ 3. มาตรการสุขาภิบาลห้องครัวได้รับการนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน

ความเสี่ยงจากการก่อสร้าง

มาตรฐาน PCI.7.5 โรงพยาบาลลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอาคารสถานที่ เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องกลและวิศวกรรม และ ระหว่างการรื้อถอน ก่อสร้าง และปรับปรุง

เจตจำนงของ PCI.7.5

การควบคุมวิศวกรรม เช่น ระบบหมุนเวียนอากาศความดันบวก ตู้ดูดอากาศปราศจากเชื้อในห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าของหน่วยทำความเย็น และ เครื่องทำน้ำร้อนในการทำให้จานและอุปกรณ์ในครัวปราศจาก เชื้อ เป็นตัวอย่างที่สำคัญ ด้านมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมเพื่อสุขาภิบาลที่ดีและลดความเสี่ยงของ การติดเชื้อในโรงพยาบาล

การรื้อถอน การก่อสร้างหรือปรับปรุงที่ใดก็ได้ภายในโรงพยาบาล อาจจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญด้านการควบคุม การติดเชื้อ การสัมผัสกับฝุ่นละอองและเศษก่อสร้าง เสียง การสั่นสะเทือนและ อันตรายอื่น ๆ สามารถที่อาจเป็น อันตรายการทำงานของปอด และความปลอดภัยของบุคลากรและผู้มาเยี่ยมเยือน โรงพยาบาล ใช้เกณฑ์ความเสี่ยง พิจารณาผลกระทบของการปรับปรุงหรือการก่อสร้างต่อความต้องการคุณภาพอากาศ การควบคุมการติดเชื้อ ความต้องการสาธารณูปโภค เสียง การสั่น สะเทือน และหัตถการฉุกเฉิน(ดูFMS.4, ME 3 and FMS.4.2.1ร่วม ด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.7.5

❒ 1. การควบคุมทางวิศวกรรมนำลงสู่การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล

❒ 2. โรงพยาบาลมีการพัฒนาแผนงาน ที่ใช้เกณฑ์ความเสี่ยงที่จะประเมินผลกระทบของการปรับปรุงหรือการ ก่อสร้างใหม่และมีการนำแผนงานลงสู่การปฏิบัติเมื่อการรื้อถอนการก่อสร้างหรือปรับปรุงใช้สถานที่

❒ 3. มีการประเมินและจัดการความเสี่ยงและผลกระทบจากการรื้อถอน ปรับปรุงหรือก่อสร้าง ในเรื่องคุณภาพ ของอากาศและกิจกรรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ (ดูFMS.4.2.1ร่วมด้วย)

การแพร่กระจายเชื้อ

มาตรฐาน PCI.8 โรงพยาบาลจัดให้มีมาตรการป้องกันทางกายภาพ (barrier precautions) และระเบียบปฏิบัติในการแยกผู้ป่วยเพื่อ ปกป้องผู้ป่วย ผู้มาเยือน และบุคลากรจากโรคติดต่อ รวมถึงปกป้องผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำมิให้เกิดการติดเชื้อที่ พบบ่อยในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวè P

มาตรฐาน PCI.8.1 โรงพยาบาลจัดทำกระบวนการจัดการกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อซึ่งแพร่กระจายทางอากาศที่มาพร้อมกันคราวละมาก ๆ ในช่วงเวลาสั้นเมื่อไม่มีห้องความดันลบè P

เจตจำนงของ PCI.8 และ PCI.8.1 โรงพยาบาลจัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติสำหรับการแยกผู้ป่วยและมาตรการป้องกันทางกายภาพใน โรงพยาบาล มาตรการเหล่านี้กำหนดบนพื้นฐานของวิธีการแพร่กระจายของเชื้อโรค พิจารณาผู้ป่วยแต่ละรายซึ่ง อาจจะแพร่เชื้อสู่สิ่งแวดล้อม (ดูCOP.3ร่วมด้วย)

ห้องแยกโรคการป้องกันการติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศ (AIIR) มีความจำเป็นในการป้องกันการแพร่กระจาย เชื้อโรคที่สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน สถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อทางอากาศคือ ห้องความดันลบ เมื่อโครงสร้างของอาคารไม่สามารถจัดสร้างห้องความดันลบได้โรงพยาบาลอาจจัดห้องแยกโรค แรงดันลบชั่วคราว (TNPI) เมื่อผู้ป่วยที่แพร่กระจายทางอากาศต้องการใช้และห้องAIIRไม่พร้อมใช้หรือมีไม่ เพียงพอ อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีการระบาดของโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายทางอากาศในผู้ป่วยโรคติดต่อจำนวนมาก ทั้ง สองระบบมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการสร้างห้องแยกโรคแรงดันลบชั่วคราว (TNPI) ระบบหมุนเวียนอากาศ ผ่านระบบกรองอนุภาคที่มีประสิทธิภาพสูง (HEPA high-efficiency particulate air) ที่ทั้งปล่อยอากาศออกไป ข้างนอกหรือปล่อยอากาศจะกลับเข้ามาในระบบ การใช้ห้องแยกโรคแรงดันลบชั่วคราว (TNPI) ให้ปฏิบัติตาม แนวทางที่ยอมรับได้และต้องเป็นไปตามอาคารและโค้ดอัคคีภัย

โรงพยาบาลมีแผนงานระบุแผนที่จะจัดการกับผู้ป่วยซึ่งมีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในช่วงเวลาสั้น เมื่อห้อง ความดันลบไม่พร้อมใช้ตลอดจนเมื่อมีผู้ป่วยโรคติดต่อเข้ามาจำนวนมากพร้อม ๆ กัน

การทำความสะอาดห้องระหว่างที่ผู้ป่วยพักอยู่และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายตามแนวทางการป้องกันการ ติดเชื้อ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.8

❒ 1. มีการแยกผู้ป่วยที่ทราบหรือสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ ตามแนวทางที่แนะนำไว้(ดูACC.6 ร่วมด้วย)

❒ 2. แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อจากผู้ป่วยและบุคลากรซึ่งมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำหรือเหตุอื่น ๆ (ดูACC.1.1ร่วมด้วย)

❒ 3. ห้องแรงดันลบมีการตรวจสอบเป็นประจำและ สามารถใช้ได้สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ต้องการแยกสำหรับ การติดเชื้อในอากาศ

❒ 4. เมื่อห้องแรงดันลบไม่พร้อมใช้ทันทีห้องแรงดันลบชั่วคราวต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ยอมรับและเป็นไป ตามอาคารและควรมีโค้ดอัคคีภัย (ดูPCI.8.2ร่วมด้วย)

❒ 5. การทำความสะอาดห้องระหว่างที่ผู้ป่วยพักอยู่และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายตามแนวทางการ ป้องกันการติดเชื้อ.(ดูPCI.3, ME 2 and PCI.7ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.8.1

❒ 1. โรงพยาบาลกระบวนการจัดการกับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อซึ่งแพร่กระจายทางอากาศในช่วงเวลาสั้นเมื่อห้อง ความดันลบไม่พร้อมใช้และมีการนำลงสู่การปฏิบัติ(ดูPCI.8.2ร่วมด้วย)

❒ 2. โรงพยาบาลกระบวนการการจัดการเมื่อมีผู้ป่วยโรคติดต่อมาพร้อมกันคราวละมาก ๆ และมีการนำลงสู่ การปฏิบัติ(ดูPCI.8.2ร่วมด้วย)

❒ 3. บุคลากรได้รับความรู้ในการจัดการผู้ป่วยติดเชื้อมาพร้อมกันคราวละมาก ๆ หรือ เมื่อห้องความดันลบไม่ พร้อมใช้

มาตรฐาน PCI.8.2 โรงพยาบาลพัฒนา ดำเนินการและทดสอบแผนงานการเตรียมความพร้อมฉุกเฉินเพื่อตอบสนองต่อโรคติดต่อ ระดับ โลก

เจตจำนงของ PCI.8.2

โลกาภิวัฒน์ของสังคมได้เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นของการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของโรคติดต่อจากประเทศหนึ่งไปยัง ประเทศอื่น ๆ โรคติดเชื้อที่ก่อนหน้านี้เป็นโรคประจำถิ่นเฉพาะพื้นที่เท่านั้นแต่ในขณะนี้จะพบได้ทั่วทุกมุมโลก มี การ ระบุโดยองค์การอนามัยโลกถึงความสำคัญของการตรวจพบการระบาดของโรคติดต่อในช่วงต้นสามารถหยุด การ เสียชีวิต การแพร่กระจายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น องค์ประกอบสำคัญในการตรวจพบและจำกัดการ แพร่กระจาย ของเชื้อ ครอบคลุมการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานของรัฐในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคหรือ ศูนย์ ความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยที่เข้าส่วนร่วมในกิจกรรมการเฝ้าระวังทั่วโลกที่มีการระบุและติดตามการติดเชื้อที่ เกิดขึ้นใหม่ทั่วโลก ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเฝ้าระวังครอบคลุมบริการห้องปฏิบัติการสาธารณสุข แห่งสหราชอาณาจักร สถาบันปาสเตอร์ของฝรั่งเศสและเครือข่ายปฏิบัติการฝึกอบรมระบาดวิทยาและสาธารณสุข (TEPHINET) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ นอกจากนี้องค์กรต้องติดต่อกับกรมระบาดวิทยาของ หน่วยงานสาธารณสุขใน ท้องถิ่นของตนเมื่อเป็นไปได้

มันเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความรู้แก่บุคลากรในการรับรู้ในช่วงต้นรวมทั้งผู้ที่บุคลากรอื่น ๆ ที่ไม่ได้ดูแล ผู้ป่วยแต่มีการติดต่อครั้งแรกกับผู้ป่วย เช่น เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนเพียงแค่รู้ว่าโรคติดต่ออาจจะมีการแพร่กระจายไม่ เพียงพอ หากบุคลากรยังไม่ได้รับการฝึกฝนให้รู้จักอาการและอาการแสดงและการดำเนิน การในช่วงต้น ขอบเขต ของ การสัมผัสและความเสี่ยงของการแพร่กระจายการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ การรับรู้ในช่วงต้นเป็นสิ่ง สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จุดแรกของผู้ป่วยเข้าสู่โรงพยาบาลเช่นแผนกฉุกเฉินหรือคลินิกผู้ป่วยนอก (ดู SQE.8.2.1 ร่วมด้วย)

เพื่อตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อโรคติดต่อระดับโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โรงพยาบาลมีการพัฒนาแผนงาน การจัดการเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้แผนงานมีกระบวนการในการ

❏ สื่อสารกับองค์กรที่เข้าร่วมในกิจกรรมการเฝ้าระวังทั่วโลก18

❏ การพัฒนาและการดำเนินการกลยุทธ์คัดแยกและการแยกโรค (ดูPCI.8, ME 4 และ PCI.8.1, ME 1 ร่วม ด้วย)

❏ การฝึกอบรมรวมทั้งการสาธิตการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสมต่อโรคติดเชื้อ

❏ การพัฒนาและการดำเนินกลยุทธ์การสื่อสาร และ

❏ การระบุและการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของบุคลากร (ดูAOP.5.3.1 ร่วมด้วย)

แผนงานได้รับการทดสอบเป็นประจำทุกปีเพื่อให้แน่ใจว่าการตอบสนองที่เหมาะสมเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง หาก โรงพยาบาลประสบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง มีการกระตุ้นแผนงานและสรุปอภิปรายผลที่เหมาะสมหลังจากนั้น การ แสดงให้เห็นดังกล่าวเทียบเท่ากับการทดสอบประจำปีการสรุปอภิปรายผลตามหลังการทดสอบประจำปีหรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงสามารถระบุกระบวนการที่ล่อแหลมที่อาจจะต้องมีการประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.8.2

❏ 1. ผู้นำโรงพยาบาลร่วมกับผู้รับผิดชอบแผนงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในการพัฒนาและดำเนิน แผนงานเตรียมความพร้อมฉุกเฉินเพื่อตอบสนองต่อโรคติดต่อระดับโลกที่ครอบคลุมอย่างน้อย a) ถึง e) ในเจตจำนง (ดูFMS.6, ME 3 ร่วมด้วย)

❏ 2. โรงพยาบาลระบุจุดแรกที่ผู้ป่วยจะมาติดต่อ/เข้าสู่ระบบของโรงพยาบาลและมุ่งให้การศึกษาเกี่ยวกับการ รับรู้ตั้งแต่ต้นและดำเนินการอย่างรวดเร็ว .(ดูACC.1.1, ME 1 ร่วมด้วย)

❏ 3. แผนงานทั้งหมดได้รับการทดสอบเป็นประจำทุกปี

❏ 4. ในบทสรุปของการทดสอบทุกครั้งมีการสรุปอภิปรายผลการทดสอบโดยละเอียด (ดูFMS.6, ME 5 ร่วม ด้วย)

❏ 5. การดำเนินการติดตามที่ระบุได้จากการทดสอบและการสรุปอภิปรายผลได้รับการนำไปพัฒนาและ ดำเนิน การ (ดูFMS.6, ME 6 ร่วมด้วย)

มาตรฐาน PCI.9 มีถุงมือ หน้ากากปิดจมูกและปาก อุปกรณ์ป้องกันดวงตา อุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อพร้อมใช้และ มีการใช้อย่างถูกต้องเมื่อมีข้อบ่งชี้è P

เจตจำนงของ PCI.9 การทำความสะอาดมือ(เช่น ใช้เจลทำความสะอาดมือ เทคนิคป้องกันทางกายภาพ (เช่น การใช้เครื่องป้องกัน) และ การใช้น้ำยาทำลายเชื้อ เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่เหมาะสม โรงพยาบาล ระบุสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องป้องกัน เช่น หน้ากากปิดจมูกและปาก อุปกรณ์ป้องกันดวงตา เสื้อกาวนด์ หรือถุงมือ และจัดอบรมให้มีการใช้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใส่ถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันใบหน้าเมื่อมีการดูด เสมหะผู้ป่วย หรือการใช้ถุงมือ เสื้อกาวนด์อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า และหน้ากากปิดจมูกและปากที่เหมาะสม สำหรับแยกโรคในผู้ป่วยโรคติดต่อ มีสบู่เหลว น้ำยาทำลายเชื้อ และผ้าเช็ดมือหรือวิธีอื่นที่ทำให้มือแห้ง จัดไว้ใน บริเวณที่จำเป็นต้องมีการล้างมือและทำลายเชื้อ มันเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติตามแนวทาง ในการสร้างความ มั่นใจว่าอุปกรณ์ใส่สบู่เหลว ได้ทำความสะอาดอย่างดีก่อนเติมน้ำสบู่เหลว บุคลากรได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการ ปฏิบัติในการล้างมือ การทำลายเชื้อที่มือ หรือการทำลายเชื้อที่พื้นผิว รวมถึงการใช้เครื่องป้องกันร่างกาย อย่าง ถูกต้อง(ดูIPSG.5 and ACC.6 ร่วมด้วย)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.9

❒ 1. โรงพยาบาลระบุสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องป้องกันร่างกายและมั่นใจว่าอุปกรณ์พร้อมใช้ที่หน่วย งานที่มีความจำเป็น. (ดูFMS.5.1, ME 2 ร่วมด้วย)

❒ 2. บุคลากรได้รับความรู้ในการใช้เครื่องป้องกันร่างกาย อย่างถูกต้องในสถานการณ์เหล่านั้น(ดูFMS.5.1, ME 2 ร่วมด้วย)

❒ 3. โรงพยาบาลระบุสถานการณ์การทำลายเชื้อทีพื้นผิวมา นำลงสู่การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการ แพร่กระจายเชื้อ. (ดูPCI.7 ร่วมด้วย)

❒ 4. มีสบู่เหลว น้ำยาทำลายเชื้อ และผ้าเช็ดมือหรือวิธีอื่นที่ทำให้มือแห้ง จัดไว้ในบริเวณที่จำเป็นต้องมีการ ล้างมือและทำลายเชื้อ (ดูIPSG.5, ME 3 ร่วมด้วย)

แผนงานการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย

มาตรฐาน PCI.10 มีการบูรณาการกระบวนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเข้ากับแผนงานพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย ในภาพรวมของโรงพยาบาล ใช้ตัววัดเกี่ยวกับการติดเชื้อที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยาสำหรับโรงพยาบาล

เจตจำนงของ PCI.10 โรงพยาบาลใช้สารสนเทศจากการเฝ้าวัด มาปรับปรุงกิจกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และลดอัตราการ ติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โรงพยาบาลสามารถใช้ข้อมูลและ สารสนเทศจากการวัดได้ดีที่สุดด้วยการทำความเข้าใจอัตราและแนวโน้มดังกล่าวในโรงพยาบาลที่มีลักษณะ คล้ายกัน และส่งข้อมูลเข้าในฐานข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อ กระบวนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อได้รับการ ออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในผู้ป่วย

ทุกหน่วยงาน บริการจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดลำดับตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาล / และนอกจากนี้ยังเลือกจัดลำดับ ตัววัดที่เฉพาะเจาะจงระดับแผนก การบริการ สำหรับการติดเชื้อ /แผนงานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.10

❒ 1. กิจกรรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อได้รับการบูรณาการเข้ากับแผนงานพัฒนาคุณภาพและความ ปลอดภัยผู้ป่วยของโรงพยาบาล(ดูGLD.4 และ GLD.11, ME 1ร่วมด้วย)

❒ 2. ข้อมูลการเฝ้าติดตามได้รับการเก็บและวิเคราะห์สำหรับกิจกรรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและ ครอบคลุมการติดเชื้อที่มีความสำคัญทางระบาดวิทยา (ดูPCI.6ร่วมด้วย)

❒ 3. ข้อมูลการเฝ้าติดตามได้รับการใช้เพื่อประเมินผลและสนับสนุนการพัฒนาแก่แผนงานการป้องกันและ ควบคุมการติดเชื้อ. (ดูQPS.8, ME 4ร่วมด้วย)

❒ 4. ข้อมูลการเฝ้าติดตามได้รับได้รับการบันทึกและรายงานผลการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะแก่คณะผู้นำไตร มาสละครั้ง (ดูGLD.4.1, ME 1ร่วมด้วย)

มาตรฐาน PCI.11 โรงพยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้แก่บุคลากร แพทย์ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้บริบาลอื่น ๆ ตามข้อบ่งชี้โดยการมีส่วนร่วมในการดูแลè P

เจตจำนงของ PCI.11

โรงพยาบาลที่มีแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อที่มีประสิทธิผล จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับแผนงานแก่ บุคลากร เมื่อเริ่มปฏิบัติงานและต่อจากนั้นอย่างสม่ำเสมอ แผนงานให้ความรู้ครอบคลุมบุคลากรวิชาชีพ บุคลากร สนับสนุนทั้ง ด้านคลินิกและมิใช่คลินิก รวมถึงผู้ป่วยและครอบครัว ผู้แทนการค้า และผู้มาเยือนอื่น ผู้ป่วยและ ครอบครัวได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล การให้ความรู้ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฐมนิเทศแก่บุคลากรใหม่ และมีการฟื้นความรู้เป็นระยะ หรือ อย่างน้อยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ระเบียบปฏิบัติที่ชี้นำแผนงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของ โรงพยาบาล

องค์ประกอบที่วัดได้ของ PCI.11

❒ 1. โรงพยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อแก่บุคลากรและผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน ที่เริ่มเข้าทำงานในโรงพยาบาล(ดูSQE.7 ร่วมด้วย)

❒ 2. บุคลากรทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องและการฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในการป้องกันการ และควบคุมติดเชื้อ (ดูSQE.8 ,ME3 ร่วมด้วย)

❒ 3. โรงพยาบาลให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

❒ 4. การคนพบและแนวโน้มจากกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพมีการสื่อสารให้บุคลากรทุกคนรับทราบ และรวม เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้บุคลากร