1 เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสากล (IPSG)

ภาพรวม

บทนี้กล่าวถึงเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสากล (IPSG), ตามข้อกำหนดในการปฏิบัติเมื่อวันที่ 1 มกราคมปี 2011 ในทุกองค์กรได้รับการรับรองจาก Joint Commission International (JCI) ภายใต้มาตรฐานสากลสำหรับ โรงพยาบาล

วัตถุประสงค์ของเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยสากล (IPSG) คือการส่งเสริมการปรับปรุงเฉพาะ ในด้านความ ปลอดภัยของผู้ป่วย.เป้าหมายเน้นพื้นที่ที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพ และอธิบายแนวทาง ที่มีหลักฐานทางวิชาการ และได้รับฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้.การออกแบบ ระบบที่ปฏิบัติได้จริงจะส่งมอบการดูแล สุขภาพที่ปลอดภัยที่, มีคุณภาพสูง โดยทั่วไปเป้าหมายมุ่งเน้น ไปที่การแก้ปัญหาทั้งระบบ,หากเป็นไปได้ เป้าหมายมีโครงสร้างในลักษณะเดียวกับมาตรฐานอื่น ๆ ครอบคลุม มาตรฐาน (ที่ตั้งเป้าหมาย), เจตจำนง และ องค์ประกอบที่วัดได้. เป้าหมายจะมีการให้คะแนนคล้ายกับมาตรฐานอื่น ๆ ได้แก่ เป็น "พบการปฏิบัติทั้งหมด" "พบ การปฏิบัติบางส่วน" หรือ "ไม่พบการปฏิบัติ". กฎการตัดสินในการรับรอง รวมถึงการปฏิบัติตามเป้าหมายความ ปลอดภัยของผู้ป่วยสากล (IPSG) เป็นกฎการตัดสินแยกต่างหาก.

หมายเหตุ

ในบางมาตรฐานกำหนดให้โรงพยาบาลจัดทำนโยบาย, ระเบียบปฏิบัติ, แผนงาน, หรือ เอกสารอื่น ๆ สำหรับกระบวนการที่เฉพาะเจาะจงเป็นลายลักษณ์อักษร มาตรฐานเหล่านั้นจะมีการระบุสัญลักษณ์èหลังจาก ข้อความมาตรฐาน

มาตรฐาน ต่อไปนี้เป็นรายการของมาตรฐานทั้งหมดในหมวดนี้เป็นการนำเสนอเฉพาะมาตรฐานโดยไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับ เจตจำนงและองค์ประกอบที่วัดได้เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้รายละเอียดเพิ่มเติมของมาตรฐานดังกล่าวสามารถดูได้ ใน “มาตรฐาน เจตจำนง และองค์ประกอบที่วัดได้” ซึ่งอยู่ในตอนถัดไปของบทนี้

เป้าหมาย, มาตรฐาน, เจตจำนง, และองค์ประกอบที่วัดได้

เป้าหมายที่ 1: การระบุผู้ป่วยถูกต้อง

มาตรฐาน IPSG.1

โรงพยาบาลพัฒนาและจัดทำกระบวนการเพื่อปรับปรุงความถูกต้องในการระบุตัวผู้ป่วย P

เจตจำนงของ IPSG.1

ความผิดพลาดในการระบุตัวผู้ป่วยเกิดขึ้นในแทบทุกมิติของการวินิจฉัยและการรักษา.

1 ผู้ป่วยอาจ ได้รับการระงับ ประสาท, สับสน , ไม่ตื่นอย่างเต็มที่ หรือ ไม่รู้สึกตัว; อาจมีการเปลี่ยนเตียง, ห้อง หรือ สถานที่ระหว่างอยู่ใน โรงพยาบาล; อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท; อาจจำอัตลักษณ์ของ ตนเองไม่ได้; หรืออาจจะมีสถานการณ์ อื่น ๆ ที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาดในการระบุตัวตนที่ถูกต้อง.

เจตจํานงของเป้าหมายนี้มีสองชั้น :

ชั้นแรก, เพื่อระบุ ตัวบุคคลที่ตั้งใจจะให้บริการ หรือ การรักษาได้ถูกต้องน่าเชื่อถือ;

ชั้นที่สอง, เพื่อให้บริการหรือการรักษาที่ สอดคล้องกับความ ต้องการของบุคคลนั้น. (ดูMMU.4.1)

กระบวนการในการระบุตัวผู้ป่วยทั่วทั้งโรงพยาบาลต้องมีอย่างน้อยสองวิธีในการที่จะระบุผู้ป่วย เช่น ชื่อผู้ป่วย, เลขประจำตัวประชาชน, วันเกิด, สายรัดข้อมือบาร์โค้ด, หรือวิธีการอื่น ๆ. (ดูMOI.9, ME 2 และ MOI.9.1, ME 1)

หมายเลขห้องพักของผู้ป่วย หรือ สถานที่อยู่ใน โรงพยาบาลไม่สามารถใช้ในการระบุตัวผู้ป่วยได้.

กระบวนการในการใช้สองตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกันเพื่อระบุตัวผู้ป่วย ต้องเป็น รูปแบบเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล.

อย่างไรก็ตาม,ทั้งสองตัวบ่งชี้ที่ใช้ในแผนกผู้ป่วยในอาจแตกต่าง จาก สองตัวบ่งชี้ในแผนกผู้ป่วยนอก.

ตัวอย่างเช่น,

ชื่อผู้ป่วยและเลขประจำตัวประชาชน หรือ หมายเลขแฟ้มเวชระเบียน อาจจะใช้ในทุกพื้นที่ของผู้ป่วยในทั้งหมด,

และ ชื่อผู้ป่วยและวันเกิดของ ผู้ป่วยอาจจะใช้ในทุกพื้นที่ของผู้ป่วยนอก ทั้งหมด,

เช่น แผนกฉุกเฉิน แผนกดูแลผู้ป่วยนอก หรือ

สถานที่ผู้ป่วยนอกอื่น ๆ.

มีสถานการณ์พิเศษซึ่งทาง โรงพยาบาลต้องมีการพัฒนากระบวนการที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการระบุ ตัวผู้ป่วย;

ตัวอย่างเช่น,

-เมื่อไม่รู้สึกตัว หรือสับสน/ผู้ป่วยที่จดจำไม่ได้มาถึงโดยไม่สามารถระบุตัวได้,

-ในกรณีของทารกแรกเกิดที่บิดามารดายังไม่ได้ตั้ง ชื่อในทันทีและตัวอย่างอื่น.

-กระบวนการต้องคำนึงถึงความต้องการเฉพาะของผู้ป่วย, และบุคลากรใช้กระบวนการใน

การระบุตัวผู้ป่วยในสถานการณ์พิเศษ เหล่านี้เพื่อป้องกันความผิดพลาด.

2 -ใช้สองตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกันเพื่อการระบุ ตัวผู้ป่วยในทุกสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย.

ตัวอย่างเช่น, ผู้ป่วยได้รับการระบุตัวก่อนให้การรักษา

(เช่นการบริหารยา, การให้เลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือด; การบริการถาดอาหารที่มีการจำกัด; หรือ การให้รังสี รักษา);

-ผู้ป่วยได้รับการระบุตัวก่อน การทําหัตถการ (เช่น การใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ หรือ การฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม); และ

-ผู้ป่วยได้รับการระบุตัวก่อนการทําหัตถการเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ

(เช่นการเจาะเลือดและ เก็บสิ่งส่ง ตรวจอื่น ๆ สําหรับการตรวจทดสอบทางคลินิก หรือ การทำการตรวจสวนหัวใจ หรือ หัตถการตรวจ วินิจฉัยทางรังสีวิทยา).

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.1

❏ 1. ผู้ป่วยทุกรายได้รับการระบุตัวโดยใช้สองตัวบ่งชี้ไม่รวมถึงการใช้หมายเลขห้องพักของผู้ป่วย หรือ สถานที่อยู่ในโรงพยาบาล. (ดูMMU.5.2, ME ที่ 4 และ MOI.9, ME 2)

❏ 2. ผู้ป่วยทุกรายได้รับการระบุตัวก่อนการตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ ก่อนให้การรักษา, และก่อนการทําหัตถการ อื่น ๆ (ดูIPSG.4.1; AOP.5.7, ME 2; MMU.5.2, ME 4 และ MMU.6.1)

❏ 3. โรงพยาบาลมั่นใจว่ามีการระบุตัวผู้ป่วยที่ถูกต้องในสถานการณ์พิเศษ เช่น ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือ ทารก แรกเกิดที่บิดามารดายังไม่ได้ตั้งชื่อในทันที(ดูCOP.3)

เป้าหมายที่ 2: การพัฒนาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

มาตรฐาน IPSG.2 โรงพยาบาลพัฒนาและจัดทำกระบวนการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการสื่อสารทางวาจาและ/ หรือทาง โทรศัพท์ระหว่างผู้ดูแล. P

มาตรฐาน IPSG.2.1 โรงพยาบาลพัฒนาและจัดทำกระบวนการสำหรับการรายงานผลวิกฤติของการตรวจวินิจฉัย. P

มาตรฐาน IPSG.2.2 โรงพยาบาลพัฒนาและจัดทำกระบวนการสำหรับการส่งมอบข้อมูลในการสื่อสาร. P

เจตจำนงของ IPSG.2 ถึง IPSG.2.2

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ, ภายในเวลา, ถูกต้อง, ครบถ้วน, ชัดเจน, และเข้าใจได้โดยผู้รับสาร, ลดความผิดพลาด และมีผลในการพัฒนาความปลอดภัยผู้ป่วย. การสื่อสารสามารถทำได้ทั้ง อิเล็ก ทรอนิกส์, วาจา, หรือลายลักษณ์ อักษร. สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยนั้นที่สามารถได้รับผลกระทบ อย่างยิ่งจากการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึง การสั่งการรักษาในการดูแลผู้ป่วยทางวาจาและ ทางโทรศัพท์,

การสื่อสารทางวาจาและทางโทรศัพท์ในการรายงาน ผลวิกฤติของการตรวจวินิจฉัย และการส่งมอบข้อมูลในการสื่อสาร.

การสั่งการรักษาในการดูแลผู้ป่วยทางวาจาและ ทางโทรศัพท์, หากได้รับอนุญาตตามกฎหมายและ ระเบียบ ข้อบังคับของท้องถิ่น, คือบางส่วนของการสื่อสารผิดพลาดได้ง่ายที่สุด. สำเนียงที่แตกต่างกัน, ภาษา, และการออก เสียงทำให้ผู้รับสารยากที่จะเข้าใจในคำสั่งที่ได้รับ. ตัวอย่างเช่น, ชื่อยาและจำนวน ที่ออกเสียงเหมือนกัน, เช่น erythromycin และ azithromycin หรือ fifteen and fifty, จะมีผล ต่อความถูกต้องของคำสั่ง. เสียงรบกวนเบื้องหลัง, การขัดจังหวะ, และชื่อยาที่ไม่คุ้นเคย และศัพท์เทคนิคมักเป็นปัญหาที่พบบ่อย. เมื่อได้รับคำสั่งทางวาจาต้อง ถ่ายทอดเป็นคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร, ซึ่งจะเพิ่ม ความซับซ้อนและความเสี่ยงในกระบวนการสั่งการรักษา. (ดู COP.2.2 และ MMU.4, ME 1)

การรายงานผลวิกฤติของการตรวจวินิจฉัยยังคงเป็นปัญหาสำคัญของความปลอดภัยผู้ป่วย.การตรวจ วินิจฉัยรวมถึง, แต่ไม่จำกัดเพียง, การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ, การตรวจทางรังสีวิทยา, การตรวจทางเวชศาสตร์ นิวเคลียร์, หัตถการคลื่นเสียงความถี่สูง, การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็ก MRI, และการวินิจฉัยทางหัวใจ. ซึ่งรวมถึงผล วิกฤติจากการตรวจวินิจฉัยทุกชนิดที่ทําข้างเตียง, เช่น การตรวจ ณ จุดที่ให้การดูแล (point-of-care testing), การตรวจทางรังสีโดยเครื่องที่เคลื่อนย้ายได้, การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงข้างเตียง, การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง สะท้อนผ่านทางหลอดอาหาร (transesophageal echocardiograms). ผลตรวจที่อยู่นอกช่วงปกติอย่างมีนัยสำคัญ นั้นอาจบ่งบอก ถึงความเสี่ยงสูงหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต. กระบวนการรายงานอย่างเป็นทางการที่ชัดเจนเพื่อระบุ

ผลวิกฤติของการตรวจวินิจฉัยที่ใช้สื่อสารไปยังผู้ให้การดูแลสุขภาพและการบันทึกข้อมูลนั้นเป็นสิ่งที่ ลดความเสี่ยง ของผู้ป่วย. (ดูAOP.5.4) การสื่อสารส่งมอบ นอกจากนี้ยังสามารถเรียกว่า การส่งมอบข้อมูลในการสื่อสาร. การส่งมอบการดูแล ผู้ป่วย ภายในโรงพยาบาลเกิดขึ้น

• ระหว่างผู้ให้การดูแลสุขภาพ (ตัวอย่างเช่น, แพทย์กับแพทย์, แพทย์กับพยาบาล, พยาบาลกับพยาบาล, และอื่น ๆ);

• ระหว่างระดับของการดูแลที่แตกต่างกันในโรงพยาบาลเดียวกัน (ตัวอย่างเช่น, เมื่อผู้ป่วย เคลื่อนย้ายจาก แผนกดูแลผู้ป่วยวิกฤตไปยังแผนกอายุรกรรม หรือ จากแผนกฉุกเฉินไปยัง ห้องผ่าตัด);

• จากแผนกผู้ป่วยในไปยังแผนกตรวจวินิจฉัยหรือรักษาอื่น ๆ, เช่น รังสีวิทยาหรือกายภาพ บําบัด; และ

• ระหว่างบุคลากรและผู้ป่วย/ครอบครัว, เช่น เมื่อจำหน่าย (ดูACC.4.1)

การสื่อสารที่หลุดลอดไปสามารถเกิดขึ้นในระหว่างการส่งมอบการดูแลผู้ป่วยทุกขั้นตอนและสามารถ ส่งผลให้เกิด เหตุการณไม่พึงประสงค์ได้. การขัดจังหวะและการเบี่ยงเบนความสนใจจากกิจกรรมใน แผนกสามารถยับยั้งการ สื่อสารสารสนเทศของผู้ป่วยที่สําคัญได้. เนื้อหาสาระสําคัญที่เป็นมาตรฐาน เดียวกันในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย, ครอบครัว, ผู้ให้การดูแล และ ผู้ให้การดูแลสุขภาพ สามารถเพิ่ม ผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับการส่งมอบการดูแลผู้ป่วยอย่าง มีนัยสําคัญ. (ดูACC.3)

รูปแบบ, เครื่องมือ, หรือวิธีการ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันจะสนับสนุนให้เกิดกระบวนการส่งมอบการ ดูแลผู้ป่วยที่ สอดคล้องและสมบูรณ์. เนื้อหาของส่งมอบการดูแลผู้ป่วยและ รูปแบบ, เครื่องมือ, หรือวิธีการที่ใช้เป็นมาตรฐาน สำหรับแต่ละประเภทของการส่งมอบการดูแลผู้ป่วย. กระบวนการ ส่งมอบการดูแลผู้ป่วยอาจแตกต่างกันตาม ประเภทของการส่งมอบการดูแลผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล. ยกตัวอย่างเช่น, การส่งมอบการดูแลผู้ป่วยสำหรับแผนก ฉุกเฉินไปยังหอผู้ป่วยอายุรกรรมอาจต้องมีกระบวนการที่แตกต่างกันหรือเนื้อหาที่แตกต่างกว่าการส่งมอบการดูแล ผู้ป่วยจากห้องผ่าตัดไปยังแผนกดูแลผู้ป่วยวิกฤตฺ; อย่างไรก็ตาม, การส่งมอบการดูแลผู้ป่วยต้องมีมาตรฐานสำหรับ แต่ละประเภทของการส่งมอบการ ดูแลผู้ป่วยที่เกิดขึ้น. รูปแบบการส่งมอบหรือเครื่องมือ, ถ้าใช้โดยโรงพยาบาล, ไม่ จำเป็นต้องเป็น ส่วนหนึ่งของการบันทึกเวชระเบียน. นอกจากนี้, ข้อมูลรายละเอียดในการสื่อสารระหว่างการส่งมอบ ไม่จำเป็นต้องได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียน; อย่างไรก็ตาม, โรงพยาบาลอาจต้องการที่จะมีเอกสาร บันทึกการส่ง มอบการดูแลผู้ป่วยที่เกิดขึ้น. ตัวอย่างเช่น, ผู้ให้การดูแลสุขภาพจะบันทึกว่าได้ส่งมอบ การดูแลผู้ป่วยที่สมบูรณ์ไป ให้ใคร, และลงชื่อ, วันที่, และเวลาที่บันทึก. (ดูMOI.11.1, MEs 1, 2, และ 3)

การปฏิบัติที่ปลอดภัยสำหรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพรวมถึงต่อไปนี้ :

• การจํากัดการสื่อสารด้วยวาจาในการสั่งยาในสถานการณ์เร่งด่วนซึ่งการสื่อสารด้วย การบันทึกเป็นลาย ลักษณ์อักษรหรือลงในระบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถเป็นไปได้. ยกตัวอย่างเช่น, คําสั่งทางวาจาจะไม่ อนุญาตเมื่อผู้สั่งปรากฎตัวอยู่ในขณะนั้น และมีแฟ้ม ผู้ป่วยอยู่. คําสั่งทางวาจาจะได้รับการจํากัดใน สถานการณ์ซึ่งยากและเป็นไปไม่ได้ที่จะ ทําการถ่ายทอดคําสั่งด้วยกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์, เช่น ระหว่างหัตถการที่ปลอดเชื้อ.

• การพัฒนาแนวทางสำหรับการส่งตรวจและการรายงานผลตรวจวินิจฉัยทั้งกรณีฉุกเฉินหรือ เร่งด่วน, การ ระบุและคำจำกัดความของผลการตรวจวิกฤติและค่าวิกฤติ, มีการรายงาน ถึงใคร และ โดยใคร, และ ติดตามผลในการปฏิบัติ (ดูAOP.5.1.1, ME 3)

• การจดบันทึกลงไป, หรือการป้อนข้อมูลลงไปในคอมพิวเตอร์ของคําสั่งหรือผลตรวจทดสอบ ที่ครบถ้วน โดยผู้รับสารสนเทศ; ผู้รับสารอ่านทวนกลับคําสั่งหรือผลการตรวจทดสอบ; และ ผู้ส่งสารยืนยันว่าสิ่งที่จด บันทึกลงไปและอ่านทวนกลับนั้นถูกต้อง. อาจจะต้องมีการระบุ ทางเลือกที่อนุญาตเมื่อกระบวนการอ่านทวนกลับมักจะเป็นไปไม่ได้, เช่น ในห้องผ่าตัด และสถานการณ์ฉุกเฉินในแผนกฉุกเฉินหรือแผนกดูแล ผู้ป่วยวิกฤต. (ดูCOP.2.2; MMU.4)

• การใช้เนื้อหาสาระสำคัญที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ป่วย, ครอบครัว, ผู้ให้การ ดูแลสุขภาพ, และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยระหว่างการส่งมอบ การดูแลผู้ป่วย.

• การใช้วิธีการ, รูปแบบ, หรือ เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อสนับสนุนให้เกิดกระบวนการส่งมอบ การดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องและสมบูรณ์.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.2

❏ 1.คำสั่งทางวาจาที่สมบูรณ์ ได้รับการบันทึกและอ่านทวนกลับโดยผู้รับสารและได้รับการยืนยันโดยผู้สั่ง. (ดู MMU.4.1)

❏ 2.คำสั่งทางโทรศัพท์ที่สมบูรณ์ ได้รับการบันทึกและอ่านทวนกลับโดยผู้รับสารและได้รับการยืนยันโดยผู้สั่ง. (ดูMMU.4.1)

❏ 3.ผลการทดสอบที่สมบูรณ์ ได้รับการบันทึกและอ่านทวนกลับโดยผู้รับสารและได้รับการยืนยันโดยผู้ส่ง มอบผล.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.2.1

❏ 1.โรงพยาบาลได้กำหนดค่าวิกฤตสำหรับแต่ละประเภทของการตรวจวินิจฉัย.

❏ 2.โรงพยาบาลมีการระบุกระบวนการรายงานผลการตรวจวินิจฉัยโดยใครและถึงใคร.

❏ 3.โรงพยาบาลมีการระบุข้อมูลที่บันทึกไว้ในเวชระเบียน.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.2.2

❏ 1.เนื้อหาสาระสําคัญที่เป็นมาตรฐานเดียวกันได้รับการสื่อสารระหว่างผู้ให้การดูแลสุขภาพ ระหว่างการส่ง มอบการดูแลผู้ป่วย.

❏ 2.แบบฟอร์ม, เครื่องมือ และวิธีการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสนับสนุนกระบวนการส่งมอบการดูแลให้ สอดคล้องกันและครบถ้วน.

❏ 3.ข้อมูลจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการสื่อสารการส่งมอบการดูแลผู้ป่วยมีการติดตามและใช้ ระบุวิธีการปรับปรุงการส่งมอบที่ดีขึ้นและการปรับปรุงได้นำไปดำเนินการ.

เป้าหมายที่ 3: เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง

มาตรฐาน IPSG.3 โรงพยาบาลพัฒนาและจัดทำกระบวนการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูง P

มาตรฐาน IPSG.3.1 โรงพยาบาลพัฒนาและจัดทำกระบวนการในการจัดการความปลอดภัยของการใช้สารสะลายที่มีความเข้มข้นสูงè เจตจำนงของ IPSG.3 ถึง IPSG.3.1

เมื่อยาเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการรักษาผู้ป่วย, การจัดการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้าง ความมั่นใจด้าน ความปลอดภัยผู้ป่วย. ยาใด ๆที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา, ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความสูญเสีย. อย่างไรก็ตาม, ยาที่ต้องระมัดระวังสูงเป็นหนึ่งในสาเหตุของเกิดอันตราย ที่พบบ่อย, และอันตรายที่เกิดจากความ ผิดพลาดนั้นมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น. สามารถนำไปส

ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย. ยาที่ต้องระมัดระวังสูงครอบคลุมยาซึ่งเกี่ยวข้องกับความคลาดเคลื่อนและ/หรือเหตุการณ์พึงสังวรใน ร้อยละที่สูง. เช่นเดียวกับยาที่เพิ่มความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ. ตัวอย่างเช่น, ยาที่ต้องระมัดระวังสูง ครอบคลุมยาวิจัย, ยาควบคุม, ยาที่มีช่วงพิสัยการรักษาแคบ, ยาเคมีบำบัด, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ยาจิตเวช, และยาที่มีชื่อพ้องมองคล้าย(LASA).

ยาที่มีชื่อพ้องหรือมองคล้าย ชื่อที่สับสนพบบ่อยว่าเป็นสาเหตุของ ความคลาดเคลื่อนทางยาทั่วโลก. ปัจจัยร่วมให้ เกิดความสับสนนี้คือ

• ความรู้ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในชื่อยา;

• ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาใหม่;

• การบรรจุหีบห่อหรือติดฉลากที่คล้ายกัน;

• การใช้ทางคลินิกที่คล้ายกัน; และ

• การสั่งยาที่ลายมืออ่านยากหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นประเด็นจากการสั่งทางวาจา.

ตัวอย่างของรายการยาที่ต้องระมัดระวังสูงสามารถหาได้จากองค์กร ดังเช่นสถาบันเพื่อการปฏิบัติด้านยาที่ ปลอดภัย (ISMP) และ องค์การอนามัยโลก (WHO). สำหรับการจัดการที่ปลอดภัย, โรงพยาบาลต้องจัดทํา รายการยาที่ต้องระมัดระวังสูงทั้งหมดซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงที่มีนัยสําคัญ ต่อผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลเฉพาะของ โรงพยาบาลที่เกี่ยวกับการใช้ยาภายในโรงพยาบาล,เหตุการณ์เกือบ พลาด, ความคลาดเคลื่อนทางยา, และ เหตุการณ์พึงสังวร. (ดูMMU.7.1 และ QPS.7) รายการนี้ครอบคลุมยาที่ระบุว่าเสี่ยงสูงต่อการเกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึง ประสงค์. สารสนเทศจากวารสารทาง วิชาการและ/หรือ กระทรวงสาธารณสุขยัง อาจจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ ระบุยาซึ่งจะต้อง ครอบคลุมอีกด้วย. ยาเหล่านี้ได้รับการจัดเก็บในหนทางที่ช่วยลดโอกาสในการบริหารยาโดย ประมาท หรือจัดให้มีคําแนะนําตามหลักการในการใช้ยาอย่างเหมาะสม. กลยุทธ์ในการเพิ่มความปลอดภัยใน การ ใช้ยาที่ต้องระมัดระวังสูงอาจจะปรับให้เข้ากับความเสี่ยงเฉพาะของยาแต่ละตัวและควรจะ ครอบคลุมข้อพิจารณาใน กระบวนการสั่งจ่ายยา, การเตรียมยา, การบริหารยา และ การเฝ้าติดตาม, นอกเหนือจากกลยุทธ์การเก็บยาที่ ปลอดภัย.

ยาที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดความสับสนในการมองคล้ายกัน/เสียงเหมือนกัน, เช่น ชื่อยาที่คล้ายกันและ บรรจุภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน, อาจนำไปสู่ความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจเป็นอันตราย. โรงพยาบาลจำเป็นต้องมีกล ยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับยา LASA และเพิ่มความปลอดภัยผู้ป่วย. (ดู MMU.4.1)

ปัญหาความปลอดภัยด้านยาที่เกดิขึ้นบ่อยครั้งมักเป็นการบริหารยาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ตั้งใจในการใช้สารละลายที่ มีความเข้มข้นสูง (เช่น โพแทสเซียมคลอไรด์[ความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่า 2 mEq/mL] , โพแทสเซียม ฟอสเฟต [ความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่า 3 mmol/mL] , โซเดียมคลอไรด์[ความเข้มข้นมากกว่า 0.9%] , และ แมกนีเซียมซัลเฟต [ความเข้มข้นเท่ากับหรือ มากขึ้นกว่า 50%]). วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดหรือเพื่อ ขจัดอุบัติการณ์เหล่านี้คือ การพัฒนากระบวนการในการบริหารจัดการสารละลายที่มีความเข้มข้นสูง ครอบคลุมถึงการเอา สารละลายที่มีความเข้มข้นสูงออกจากหน่วยดูแลผู้ป่วยไปไว้ที่หน่วยงานเภสัชกรรม. (ดูMMU.3) โรงพยาบาลระบุพื้นที่ที่มีความจำเป็นทางคลินิกในการจัดเก็บสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงตามที่ กำหนดโดย หลักฐานทางวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพ, เช่น แผนกดูแลผู้ป่วยวิกฤต หรือ แผนกผ่าตัดหัวใจ, และระบุ กระบวนการที่ชัดเจนในการติดฉลากและการจัดเก็บไว้ในพื้นที่ที่จำกัด การเข้าถึงเพื่อป้องกันไม่ให้การบริหารยา ผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.3

❏ 1.โรงพยาบาลมีรายการยาที่ต้องระมัดระวังสูง และพัฒนาและจัดทำกระบวนการในการจัดการยาที่ต้อง ระมัดระวังสูงเหล่านั้น.

❏ 2.โรงพยาบาลมีรายการยาที่มีชื่อพ้อง/มองคล้าย และพัฒนาและจัดทำกระบวนการในการ จัดการยาที่มี ชื่อพ้อง/มองคล้ายเหล่านั้น.

❏ 3.กระบวนการในการจัดการยาที่ต้องระมัดระวังสูง และ กระบวนการในการจัดการยาที่มีชื่อพ้อง/มอง คล้าย เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วทั้งโรงพยาบาล.

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.3.1

❏ 1.โรงพยาบาลมีกระบวนการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการบริหารสารสะลายที่มีความเข้มข้นสูงโดยไม่ได้ตั้งใจ.

❏ 2.สารสะลายที่มีความเข้มข้นสูงในรูปแบบที่เข้มข้นจะมีอยู่เฉพาะในหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ระบุว่ามีความจำเป็น ทางคลินิก.(ดูMMU.5.2, ME 2)

❏ 3.สารสะลายที่มีความเข้มข้นสูงที่จัดเก็บไว้ในหน่วยดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการติดฉลากที่ชัดเจนและเก็บไว้ใน พื้นที่ที่จำกัดการเข้าถึงและการส่งเสริมการใช้อย่างปลอดภัย.

เป้าหมายที่ 4: การสร้างความมั่นใจในการผ่าตัดอย่างปลอดภัย

มาตรฐาน IPSG.4 โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการในการตรวจสอบก่อนการผ่าตัดและการทำเครื่องหมายก่อนการผ่าตัด/ หัตถการที่มีการรุกล้ำ P

มาตรฐาน IPSG.4.1 โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการขอเวลานอกที่จะดำเนินการทันทีก่อนที่จะเริ่มการผ่าตัด/หัตถการที่มี การรุกล้ำและการขานออกซึ่งจะดำเนินการหลังจากการทำหัตถการ P .

เจตจำนงของ IPSG.4 และ IPSG.4.1

การบาดเจ็บของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเหตุการณ์พึงสังวรที่เกิดจากการศัลยกรรม ผิดตำแหน่ง ผิดหัตถการ และผิดบุคคลเป็นความกังวลอย่างต่อเนื่องสำหรับโรงพยาบาล เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผล มาจากการสื่อสารที่ไม่ได้ผลหรือไม่เพียงพอระหว่างสมาชิกของทีมงานที่ดำเนินการผ่าตัด/การทำหัตถการที่มีการ รุก ล้ำโดยขาดกระบวนการสำหรับการทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่จะทำหัตถการและการขาดการมีส่วนร่วมของ ผู้ป่วย ในการทำเครื่องหมายระบุตำแหน่ง นอกจากนี้การประเมินผู้ป่วยไม่เพียงพอ การทบทวนเวชระเบียนที่ไม่ เพียงพอ วัฒนธรรมที่ไม่สนับสนุนการสื่อสารที่เปิดกว้างในหมู่สมาชิกทีม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเขียนด้วย ลายมือที่อ่านไม่ ออกและการใช้ตัวย่อเป็นปัจจัยที่พบบ่อย

การผ่าตัดและการทำหัตถการรุกล้ำครอบคลุมหัตถการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการกรีดหรือเจาะ หัตถการการผ่าตัด เปิด การดูดผ่านผิวหนัง การฉีดบางชนิด การตัดชิ้นเนื้อ หัตถการตรวจวินิจฉัยหรือรักษาทางหัวใจและหลอดเลือด การผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscope) และ การส่องกล้องตรวจภายใน (endoscope)

องค์กรต้องระบุทุกพื้นที่ภายในโรงพยาบาลที่มีการผ่าตัดและการทำหัตถการที่มีการรุกล้ำเกิดขึ้น เช่น ห้องปฏิบัติ การสวนหัวใจ แผนกรังสีวิทยาร่วมรักษา ห้องปฏิบัติการระบบทางเดินอาหารและที่มีลักษณะเดียวกันนี้วิธีการที่ โรงพยาบาลใช้เวลาในการสร้างความมั่นใจในการศัลยกรรมที่ปลอดภัยนำไปใช้กับทุกพื้นที่ของโรงพยาบาลซึ่งมีการ ผ่าตัดและและการทำหัตถการที่รุกล้ำเกิดขึ้น

หลักปฏิบัติที่เป็นสากลสำหรับการป้องกันการศัลยกรรมผิดตำแหน่ง ผิดหัตถการ ผิดบุคคลของ The Joint Commission (สหรัฐอเมริกา)™ จะขึ้นอยู่กับหลักการของการใช้กลยุทธ์หลายอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการ ระบุผู้ป่วยที่ถูกต้อง ถูกหัตถการ และถูกตำแหน่งเสมอ25 องค์ประกอบที่สำคัญของหลักปฏิบัติที่เป็นสากล คือ

• กระบวนการตรวจสอบก่อนการผ่าตัด

• การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่จะทำศัลยกรรม และ

• การขอเวลานอกที่จะจัดขึ้นในทันทีก่อนที่จะเริ่มหัตถการ

กระบวนการตรวจสอบก่อนการผ่าตัด

การตรวจสอบก่อนการผ่าตัดเป็นกระบวนการต่อเนื่องของการรวบรวมข้อมูลและการยืนยัน วัตถุประสงค์ของ กระบวนการตรวจสอบก่อนการผ่าตัดคือ

a) ตรวจสอบว่าผู้ป่วยถูกคน ถูกหัตถการและถูกตำแหน่ง

b) สร้างความมั่นใจว่าเอกสาร ภาพวินิจฉัย และการตรวจมีการติดป้ายถูกต้องและแสดงให้เห็นได้และ

c) ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์จากเลือด เทคโนโลยีทางการแพทย์พิเศษและ/หรือสิ่งที่ใช้ฝังในร่างกายที่ต้องการมี แสดงให้เห็น (ดูASC.7.4 ร่วมด้วย)

มีองค์ประกอบต่าง ๆ ของกระบวนการตรวจสอบก่อนการผ่าตัดที่สามารถจะแล้วเสร็จก่อนที่ผู้ป่วยมาถึงพื้นที่ก่อน การ ผ่าตัด เช่น การสร้างความมั่นใจว่าเอกสาร ภาพวินิจฉัย ผลการทดสอบและเอกสารได้รับการติดป้ายอย่าง เหมาะสม และตรงกับตัวระบุตัวผู้ป่วย การรอจนกว่าจะทำการขอเวลานอกเพื่อที่จะให้กระบวนการตรวจสอบก่อน การผ่าตัด ครบถ้วนอาจทำให้การผ่าตัดล่าช้า ถ้าเอกสารหรือภาพวินิจฉัยไม่ได้ติดป้ายระบุหรือไม่มีเมื่อการผ่าตัดจะ เริ่มต้นมี โอกาสมากขึ้นที่การตรวจสอบก่อนการผ่าตัดบางส่วนอาจเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งและในสถานที่มากกว่า หนึ่งแห่ง ยกตัวอย่างเช่น การขอความยินยอมผ่าตัดอาจจะทำในสำนักงานของศัลยแพทย์และจากนั้นการตรวจสอบ ที่สมบูรณ์อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่เตรียมก่อนการผ่าตัด

การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่ง

การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งผ่าตัดและการทำหัตถการที่รุกล้ำมีการนำผู้ป่วยมามีส่วนร่วมและจะทำด้วยเครื่อง หมายที่รับรู้ได้ทันทีและชัดเจน ดีที่สุดไม่ควรใช้'X' เป็นเครื่องหมายเพราะอาจตีความได้ว่า "ไม่ใช่ ตำแหน่งนี้" หรือ "ผิดข้าง" และมีโอกาสนำไปสู่ความคลาดเคลื่อนในการดูแลผู้ป่วยได้26,27 เครื่องหมายจะต้องสอดคล้องกันทั่วทั้ง โรงพยาบาลมีการทำเครื่องหมาย ระบุตำแหน่งในทุกกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้าง หลายโครงสร้าง (นิ้วมือ, นิ้วเท้า, รอย โรค) หรือ หลายระดับ (กระดูกสันหลัง)

การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งการผ่าตัด/หัตถการที่รุกล้ำกระทำโดยบุคคลที่จะทำหัตถการ บุคคลนี้จะกระทำการ ผ่าตัด/หัตถการที่รุกล้ำทั้งหมดและยังคงอยู่กับผู้ป่วยตลอดขั้นตอนทั้งหมด โดยปกติแล้วในกรณีที่มีหัตถการผ่าตัด ศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบมักจะดำเนินการผ่าตัดและดังนั้นจึงควรจะเป็นผู้ทำเครื่องหมายระบุตำแหน่ง มีชื่อที่แตกต่าง กันที่ใช้สำหรับศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบ เช่น ศัลยแพทย์ที่เข้าร่วม หรือศัลยแพทย์ที่ปรึกษา สำหรับหัตถการที่รุกล้ำ ที่ ไม่ใช่ศัลยกรรมอาจจะเป็นแพทย์ที่จะทำหัตถการและอาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ของโรงพยาบาลนอกห้องผ่าตัด

มีบางสถานการณ์บุคลากรที่อยู่ระหว่างฝึกงานอาจจะทำเครื่องหมายระบุตำแหน่ง เมื่อบุคลากรที่อยู่ระหว่างฝึกงาน กระทำหัตถการทั้งหมดจะถูกกำหนดให้มีการกำกับดูแลจากศัลยแพทย์หรือแพทย์ผู้รับผิดชอบน้อยที่สุดหรือไม่มี เลย ในสถานการณ์เช่นนี้ให้บุคลากรที่อยู่ระหว่างฝึกงานทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งผ่าตัด เมื่อบุคลากรฝึกงานอยู่ ในบท บาทของการช่วยเหลือศัลยแพทย์หรือแพทย์ผู้รับผิดชอบ ศัลยแพทย์ผู้รับผิดชอบเท่านั้นที่อาจจะทำ เครื่องหมายระบุ ตำแหน่ง

การทำเครื่องหมายที่ระบุตำแหน่งนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาก่อนที่จะมีการผ่าตัด/การทำหัตถการที่รุกล้ำเริ่มต้น ตราบใดที่ผู้ป่วยมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้และเครื่องหมาย จะมองเห็นได้หลังจากที่เตรียมผู้ป่วยและปูผ้าคลุมผ่าตัดแล้ว ตัวอย่างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยไม่สามารถอาจจะเป็น ไปไม่ได้ได้แก่ ผู้ป่วยที่ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพ เด็กและผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดฉุกเฉิน

การขอเวลานอก

การขอเวลานอกที่จะจัดขึ้นในทันทีก่อนที่จะเริ่มหัตถการกับสมาชิกทุกคนในทีมที่ปรากฎอยู่ขณะนั้น ในช่วงขอเวลา นอกทีมตกลงในองค์ประกอบต่อไปนี้

a) ตัวตนของผู้ป่วยที่ถูกต้อง

b) หัตถการที่จะทำถูกต้อง

c) ตำแหน่งผ่าตัด/หัตถการรุกล้ำที่ถูกต้อง

การขอเวลานอกเปิดโอกาสให้ถามคำถามใด ๆ ที่ยังไม่มีคำตอบหรือความสับสนได้รับการแก้ไข การขอเวลานอก ดำเนินการในสถานที่ซึ่งทำหัตถการและทีมงานทั้งหมดมีส่วนร่วมในเชิงรุก ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการ ขอ เวลานอก เมื่อการขอเวลานอกเสร็จสมบูรณ์ไม่มีใครจากทีมออกจากห้องไป การขอเวลานอกที่สมบูรณ์ได้รับ การ บันทึกครอบคลุมวันที่และเวลาที่ทำการขอเวลานอกสมบูรณ์โรงพยาบาลกำหนดจำนวนและชนิดของเอกสาร เพิ่มเติมใด ๆ

การขานออก

รายการตรวจสอบศัลยกรรมที่ปลอดภัยขององค์การอนามัยโลกครอบคลุมขั้นตอนการขานออกซึ่งจะดำเนินการใน พื้นที่ที่กระทำหัตถการก่อนที่ผู้ป่วยจะออกจากห้องผ่าตัด28 ส่วนประกอบของการขานออกต่อไปนี้ได้รับการยืนยัน ด้วย วาจาโดยสมาชิกของทีมโดยปกติแล้วมักจะเป็นพยาบาล

d) ชื่อของการผ่าตัด/หัตถการที่รุกล้ำที่ได้รับการบันทึก/เขียน

e) ความครบถ้วนของจำนวนเครื่องมือ ผ้าซับเลือดและเข็ม (แล้วแต่กรณี)

f) การติดฉลากของสิ่งส่งตรวจ (เมื่อสิ่งส่งตรวจปรากฎระหว่างกระบวนการขานออกมีการอ่านฉลากของสิ่ง ส่ง ตรวจรวมถึงชื่อของผู้ป่วย ออกเสียงดัง) (ดูIPSG.1, ME 2 และ AOP.5.7, ME 2 ร่วมด้วย)

g) ปัญหาของอุปกรณ์ใด ๆ ที่ได้รับการแก้ไข (แล้วแต่กรณี)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.4

❏ 1. โรงพยาบาลดำเนินการกระบวนการตรวจสอบก่อนการผ่าตัดผ่านการใช้รายการตรวจสอบหรือกลไกอื่น ๆ เพื่อจัดทำเอกสารก่อนที่จะผ่าตัด/ทำหัตถการรุกล้ำ ว่ามีการขอความยินยอมที่เหมาะสมกับหัตถการ การ ตรวจสอบว่าผู้ป่วยถูกบุคคล หัตถการถูกต้อง และ ถูกตำแหน่ง และเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ของ เลือด เทคโนโลยีทางการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้ฝังอยู่ในมือถูกต้องและทำงานได้

❏ 2. โรงพยาบาลใช้เครื่องหมายที่รับทราบได้ทันทีและชัดเจนสำหรับระบุตำแหน่งที่ผ่าตัด/หัตถการที่รุกล้ำ สอดคล้องกันทั่วทั้งโรงพยาบาล

❏ 3. การทำเครื่องหมายระบุตำแหน่งการผ่าตัด/หัตถการที่รุกล้ำกระทำโดยบุคคลที่กระทำหัตถการและนำ ผู้ป่วยมามีส่วนร่วมในขั้นตอนการทำเครื่องหมาย

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.4.1

❏ 1. ทีมทั้งหมดมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการขอเวลานอก ซึ่งรวม a) ถึง c) ในเจตจำนง ในพื้นที่ทำ การผ่าตัด/หัตถการที่รุกล้ำทันทีก่อนที่จะเริ่มหัตถการ การขอเวลานอกที่ครบถ้วนสมบูรณ์ได้รับการบันทึก (ดูMOI.11.1 ร่วมด้วย)

❏ 2. ก่อนที่ผู้ป่วยจะออกจากพื้นที่ที่ทำการผ่าตัด/หัตถการที่รุกล้ำ มีการดำเนินการขานออกซึ่งรวมอย่างน้อย d) ถึง g) ในเจตจำนง

❏ 3. เมื่อกระทำการผ่าตัด/หัตถการรุกล้ำรวมทั้งหัตถการทางการแพทย์และทันตกรรมในสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ นอก เหนือจากห้องผ่าตัด โรงพยาบาลใช้กระบวนการแบบเดียวกันเพื่อ ให้แน่ใจว่าการผ่าตัดปลอดภัย

เป้าหมายที่ 5: ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ

มาตรฐาน IPSG.5 โรงพยาบาลน้อมรับและนำไปปฏิบัติซึ่งแนวทางการทำความสะอาดมือที่อิงหลักฐานทางวิชาการเพื่อ ลดความเสี่ยง ต่อการติดเชื้อเนื่องจากบริการสุขภาพ P

เจตจำนงของ IPSG.5 การป้องกันและการควบคุมการติดเชื้อเป็นความท้าทายในสถานบริการสุขภาพส่วนใหญ่, อัตราการ ติดเชื้อ เนื่องจากบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเป็นประเด็นที่น่าวิตกสำหรับผู้ป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพด้านบริการสุขภาพ. การ ติดเชื้อที่พบบ่อยในสถานบริการสุขภาพทุกแห่งครอบคลุมการติดเชื้อในระบบ ทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวน ปัสสาวะ, การติดเชื้อในกระแสเลือด, และปอดอักเสบ (ซึ่งมัก สัมพันธ์กับการใส่เครื่องช่วยหายใจ).

จุดร่วมของการขจัดการติดเชื้อเหล่านี้และการติดเชื้ออื่น ๆ คือความสะอาดของมือที่เหมาะสม. แนวทางการทำ ความสะอาดมือซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลสามารถหาได้จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ศูนย์ควบคุมและ ป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (US CDC), และองค์กรภายในประเทศและ ระหว่างประเทศต่าง ๆ. (ดูGLD.11.2) โรงพยาบาลน้อมรับและนำไปปฏิบัติซึ่งแนวทางการทำความสะอาดมือที่อิงหลักฐานวิชาการและตีพิมพ์ล่าสุด. แนว ทางการทำความสะอาดมือได้รับการประกาศไวในบริเวณที่เหมาะสม, และบุคลากร ได้รับการฝึกอบรมในระเบียบ ปฏิบัติในการล้างมือและขจัดเชื้อที่มืออย่างเหมาะสม. สบู่, น้ำยาฆ่าเชื้อ, และผ้าเช็ดมือหรือวิธีการทำให้มือแห้งอื่น ๆได้รับการติดตั้งในบริเวณเหล่านั้นที่มีการกำหนดให้มีระเบียบปฏิบัติในการล้างมือและการขจัดเชื้อ. (ดูPCI.9)

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.5

❏ 1.โรงพยาบาลน้อมรับแนวทางการทำความสะอาดมือที่อิงหลักฐานวิชาการและตีพิมพ์ล่าสุด.

❏ 2.โรงพยาบาลนำแผนงานทำความสะอาดมือที่มีประสิทธิผลไปปฏิบัติทั่วทั้งโรงพยาบาล

❏ 3.ระเบียบปฏิบัติในการล้างมือและการขจัดเชื้อที่มือที่ใช้อยู่สอดคล้องกับแนวทางการทำความ สะอาดมือ ทั่วทั้งโรงพยาบาล.(ดูIPSG.9, ME 4)

เป้าหมายที่ 6 : ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของผู้ป่วยเกิดจากการพลัดตกหกล้ม

มาตรฐาน IPSG.6 โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของผู้ป่วยอันเนื่องมาจากการพลัด ตกหกล้มสำหรับประชากรผู้ป่วยใน P

มาตรฐาน IPSG.6.1 โรงพยาบาลพัฒนาและดำเนินกระบวนการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายของผู้ป่วยอันเนื่องมาจากการพลัด ตกหกล้มสำหรับประชากรผู้ป่วยนอก P

เจตจำนงของ IPSG.6 และ IPSG.6.1 การได้รับบาดเจ็บหลายครั้งในโรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกเป็นผลมาจากการพลัดตกหกล้ม. ความเสี่ยง ใน การพลัดตกหกล้มเกี่ยวข้องกับผู้ป่วย สถานการณ์และ/หรือสถานที่. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยอาจจะ ครอบ คลุมประวัติผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม การใช้ยา บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การเดินหรือสมดุลผิดปกติความ บกพร่อง ทางสายตา การเปลี่ยนแปลงจิตสถานะ และคล้ายคลึงกันนี้. ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินในขั้นต้นว่ามีความ เสี่ยงต่ำ สำหรับการพลัดตกหกล้มจู่ ๆ ก็อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงสูง. เหตุผลดังกล่าวได้แก่ การผ่าตัดและ/หรือ ระงับความ รู้สึก การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในสภาพของผู้ป่วย และ การปรับยา เป็นต้น. ผู้ป่วยจำนวนมากจึง ต้องมีการ ประเมินซ้ำในระหว่างการรักษาในโรงพยาบาล (ดูAOP.1.4 ร่วมด้วย)

เกณฑ์ความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มช่วยระบุประเภทของผู้ป่วยที่ได้รับการพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงสำหรับการ พลัดตกหกล้ม. เกณฑ์เหล่านี้และการดำเนินการใด ๆ ที่นำไปใช้ได้รับการบันทึกไว้ในเวชระเบียนของผู้ป่วยตามที่ บุคลากรให้หลักฐานไว้เพื่อสนับสนุนประเภทความเสี่ยงของผู้ป่วยเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม. โรงพยาบาลมีความ รับ ผิดชอบในการระบุประเภทของผู้ป่วยภายในประชากรผู้ป่วยของตนที่อาจมีความเสี่ยงสูงสำหรับการพลัดตกหก ล้ม. เกณฑ์ที่มีการบันทึกไว้ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่องในหมู่ผู้ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพที่ กำลังดูแลผู้ป่วยอยู่. (ดูACC.3 ร่วมด้วย) ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบวิชาชีพที่กำลังดูแลผู้ป่วยหลังจากผู้ป่วยออกจาก ห้องผ่าตัด อาจไม่ทราบว่าผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการพลัดตกหกล้มได้รับการประเมินอย่างถูกต้องและมีการทำ ตามมาตรการ เว้นแต่เอกสารที่เหมาะสมได้รับการบันทึกครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในบริบทของประชากรที่รับผิดชอบ การให้บริการที่จัดให้และสิ่งอำนวยความสะดวก โรงพยาบาลประเมินการพลัด ตกหกล้มของผู้ป่วยและดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บที่จะ เกิดขึ้นจากการพลัดตกหกล้ม. โรงพยาบาลกำหนดแผนงานการลดความเสี่ยงต่อการเกิดพลัดตกหกล้มโดยอาศัย นโยบาย และ/หรือวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม. แผนงานลดการพลัดตกหกล้มรวมถึงการประเมินความเสี่ยงและการ

ประเมินซ้ำเป็นระยะของประชากรผู้ป่วยกลุ่มเฉพาะและ/หรือของสภาพแวดล้อมที่ให้การดูแลและบริการ (เช่น การ ประเมินทั้งหลายที่ดำเนินการในช่วงตรวจเยี่ยมด้านความปลอดภัยเป็นระยะ) มาตรการและการแก้ไขจะ ดำเนินการ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยสถานการณ์และสถานที่ทั้งหลายที่ระบุไว้อัน ได้รับการประ เมินว่าเสี่ยง31–33

สถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม. ตัวอย่างของความเสี่ยงใน สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมาถึงแผนกผู้ป่วยนอกจากสถานดูแล ระยะยาวโดยรถพยาบาลสำหรับการตรวจ ทางรังสี. ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงสำหรับพลัดตกหกล้มในสถานการณ์เมื่อโอนย้ายจากรถเข็นของรถพยาบาลไปที่โต๊ะ ตรวจหรือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในขณะที่กำลังนอนอยู่บนโต๊ะตรวจที่แคบ

สถานที่เฉพาะอาจมีความเสี่ยงที่สูงขึ้นเนื่องจากการให้บริการ ยกตัวอย่างเช่นแผนกกายภาพบำบัด (ผู้ป่วยในหรือ ผู้ป่วยนอก) มีอุปกรณ์เฉพาะหลายประเภทที่ใช้โดยผู้ป่วยซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเช่น บาร์ คู่ขนาน ขั้นบันไดอิสระ และอุปกรณ์การออกกำลังกาย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มโดยใช้เครื่องมือในการประเมินและ/หรือวิธีการที่ เหมาะสมสำหรับประชากรผู้ป่วยของโรงพยาบาล34,35 ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเด็กที่ต้องมีเครื่องมือการประเมิน ความเสี่ยง ต่อการพลัดตกหกล้มในเด็กโดยเครื่องมือที่จัดทำสำหรับผู้ใหญ่จะไม่สามารถใช้ประเมินความเสี่ยงต่อ การพลัดตกหก ล้มของเด็กได้อย่างถูกต้อง

ในแผนกผู้ป่วยนอกผู้ป่วยได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มตั้งแต่แรกแต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มี สภาพ การวินิจฉัย สถานการณ์และ/หรือสถานที่ระบุว่าเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเท่านั้นที่ได้รับการคัดกรอง. 36,37 หากความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มถูกระบุได้จากการตรวจคัดกรองเบื้องต้น มาตรการและ/หรือการ ดำเนินการ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยถูกนำไปปฏิบัต

การตรวจคัดกรองโดยทั่วไปจะดำเนินการอย่างเรียบง่ายเป็นการประเมินผลผู้ป่วยเพื่อกำหนดว่าผู้ป่วยที่มีความ เสี่ยง ต่อการพลัดตกหกล้ม เครื่องมือการตรวจคัดกรองที่ใช้ทั่วไปและรวมถึงคำถามหรือรายการที่จะใช้ในการระบุ ผู้ป่วย มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ยกตัวอย่างเช่น คำถามอาจต้องการคำตอบง่ายๆ ใช่/ไม่ใช่ หรือเครื่องมือ อาจจะ เกี่ยวข้องกับการกำหนดคะแนนแต่ละรายการที่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย

โรงพยาบาลกำหนดว่าผู้ป่วยนอกแบบใดที่ต้องได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม สถานที่ตั้งและ สถานการณ์ที่เสี่ยงเช่นเดียวกับสภาพของผู้ป่วยและลักษณะที่อาจ ช่วยระบุผู้ที่ควรได้รับการคัดกรองการพลัดตก หก ล้ม. ตัวอย่างอาจรวมถึง ผู้ป่วยทั้งหมดในแผนกกายภาพบำบัดผู้ป่วยนอกผู้ป่วยทุกรายที่มาจากสถานดูแลระยะ ยาวขึ้น รถพยาบาลมาสำหรับทำหัตถการแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยที่กำหนดไว้สำหรับการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอกที่ เกี่ยวข้องกับ ยาระงับประสาทเพื่อทำหัตถการหรือยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยที่มีปัญหาการเดินหรือสมดุล ผู้ป่วยที่มี ความบกพร่อง ทางสายตา ผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีและอื่น ๆ

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.6

❏ 1. โรงพยาบาลดำเนินกระบวนการในการประเมินผู้ป่วยในทั้งหมดที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และการใช้เครื่องมือ/วิธีการในการประเมินที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ให้การดูแล

❏ 2. โรงพยาบาลดำเนินกระบวนการในการประเมินซ้ำผู้ป่วยในที่อาจจะกลายเป็นความเสี่ยงต่อการพลัด ตกหกล้มเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มอยู่แล้วตามการ ประเมินผลที่บันทึกไว้

❏ 3. มาตรการและ/หรือการดูแลรักษาจะดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มที่ระบุได้ สำหรับผู้ป่วยในสถานการณ์และสถานที่ภายในโรงพยาบาลที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยง การดูแล รักษาผู้ป่วยได้รับการบันทึกไว้

องค์ประกอบที่วัดได้ของ IPSG.6.1

❏ 1. โรงพยาบาลดำเนินกระบวนการในการคัดกรองผู้ป่วยนอกที่มีสภาพ การวินิจฉัย สถานการณ์หรือ สถานที่ที่อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและใช้เครื่องมือ/วิธีการในการคัดกรองที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยที่ให้การดูแล

❏ 2. เมื่อความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มถูกระบุจากการคัดกรองเบื้องต้น กระบวนการ มาตรการและ/หรือ การดูแลรักษามีการดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยนอกที่ระบุว่ามีความ เสี่ยงและการตรวจคัดกรองรวมทั้งการดูแลรักษาได้รับการบันทึก

❏ 3. มาตรการและ/หรือการดูแลรักษาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้รับการดำเนินการใน สถานการณ์และสถานที่ในแผนกผู้ป่วยนอกที่ได้รับการประเมินว่าเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม