E 3.1: Post-Partum Hemorrhage (PPH)

Definition

การเสียเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 500 มิลลิลิตร ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการคลอดปกติ (WHO 2012)

Goal

1. อัตราการตกเลือดหลังคลอด น้อยกว่าร้อยละ 5

2. อัตราการตกเลือดหลังคลอดรุนแรง (มากกว่า 1,000 มิลลิลิตร) น้อยกว่าร้อยละ 1

3. อัตราการเสียชีวิตของมารดาจากภาวะตกเลือดหลังคลอด เท่ากับร้อยละ 0

Why

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของมารดาทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

การป้องกันและดูแลรักษาอย่างมีระบบจะช่วยลดอัตราทุพพลภาพและอัตราตายของมารดาจาก

ภาวะตกเลือดหลังคลอดได้

Process

แนวทางปฏิบัติที่ส าคัญ

1. การป้องกันภาวะซีดในระยะฝากครรภ์

1.1. เพื่อให้มารดาทนต่อการเสียเลือดได้มากขึ้น

2. การวินิจฉัยปริมาตรการเสียเลือดภายหลังคลอดอย่างแม่นย า ด้วยการใช้ถุงวัดปริมาตรการเสีย

เลือดภายหลังคลอด

2.1. เพื่อให้สามารถวินิจฉัยและได้รับการดูแลรักษาได้อย่างรวดเร็ว

3. การดูแลรักษาที่เป็นมาตรฐานในประเด็นต่อไปนี้

3.1. การจัดกระบวนการดูแลรักษาของทีมที่มีประสิทธิภาพ

3.2. การดูแลเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่

3.2.1. การนวดมดลูก

3.2.2. การเปิดหลอดเลือดเพื่อให้สารน ้า ยา หรือเลือด และ

องค์ประกอบ ของเลือด

3.2.3. การให้ออกซิเจน และ

3.2.4. การเฝ้าระวังสัญญาณชีพ

3.3. การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐาน

3.4. การท าหัตถการหยุดเลือด เช่น การใส่บอลลูน หรือ การผ่าตัดเพื่อหยุด

เลือด (ถ้าท าได้)

4. มีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ จัดให้มีการส่งต่ออย่างรวดเร็วเมื่อเกิดความล้มเหลวจากการให้

ยาและมีการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลต้นทางและปลายทางอย่างเป็นระบบ

Training

การฝึกอบรมที่จ าเป็น

1) Basic theory in prevention and management of PPH

2) Non-technical skills for effective team management

3) Simulation based training for immediate PPH

Monitoring

ตัวชี้วัดส าคัญ

1) อัตราการตกเลือดหลังคลอด (≥500 ml)

2) อัตราการตกเลือดหลังคลอดรุนแรง (>1,000 ml)

3) อัตราการเสียชีวิตจากภาวะตกเลือดหลังคลอด

4) อัตราการให้เลือด

5) อัตราการเข้ารับการรักษาใน ICU

Pitfall

1) การประมาณปริมาณเลือดที่เสียได้ไม่แม่นย า หรือการใช้ถุงวัดปริมาตรเลือดอย่างไม่ถูกวิธีและผิด

วัตถุประสงค์

2) การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

3) การใช้ balloon tamponade ไม่ถูกวิธีและไม่เป็นไปตามข้อบ่งชี้

4) ระบบการส่งต่อที่ไม่ประสานข้อมูลและการบริหารจัดการร่วมกัน

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4

ตอนที่ III หมวดที่ 4 ข้อ 4.2 การดูแลผู้ป่วยและการให้บริการที่มีความเสี่ยงสูง (PCD.2) ข้อย่อย (1),

(2), (3), (4), (5) และ (6)