SAR:III-4 การดูแลผู้ป่วย

III-4 การดูแลผู้ป่วย

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: ดูแลผู้ป่วยอย่างทันท่วงที ปลอดภัย เหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ

บริบท :

โรงพยาบาลให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ การดูแลที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ป้องกันความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ป่วย มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรและการทำงานเป็นทีม

กระบวนการ:

การกำกับการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาลมีองค์กรแพทย์และองค์กรพยาบาลเป็นทีมหลักที่คอยกำกับดูแลมาตรฐานของแพทย์และพยาบาล ร่วมกับการทำSocial round ของฝ่ายบริหาร ที่ดูความเหมาะสมในแผนการรักษาและประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการของทีมการรักษาพยาบาล มีระบบการ Orientation และจัดพยาบาลพี่เลี้ยงให้มีการทำ on the job training ส่งเสริมให้เข้าร่วมการ Conference และการนำเสนอทางวิชาการ การป้องกันความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยตามหลักของSimple (Patient Safety Goals) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้จากผู้ชำนาญกว่า ปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสม

การดูแลทั่วไป

บทเรียนเกี่ยวกับการมอบความรับผิดชอบให้ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม

· โรงพยาบาลใช้ระบบแพทย์เจ้าของไข้ และระบบแพทย์เฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วย กำหนดให้มีและมีระบบการส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลในเครือ

· ฝ่ายการพยาบาลคำนึงถึงคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานประเภทนั้นๆ เช่นผู้ที่สอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแต่ยังไม่ผ่านผดุงครรภ์ จะไม่ได้รับการพิจารณาให้อยู่แผนกห้องคลอด ส่วนผู้ที่ยังสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ผ่าน จะต้องทำงานภายใต้การกำกับดูแลของพยาบาลวิชาชีพอย่างใกล้ชิด กำหนด job description ไว้อย่างชัดเจน กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนในหน่วยงาน พบว่าผลการปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ

· กำหนดแนวทางในการรายงานอุบัติการณ์ที่ส่งเสริมให้หัวหน้าหน่วยมีส่วนร่วมในการพัฒนาและป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นซ้ำ

· คณะกรรมการHRMได้มีการจัดทำแผนฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติที่จำเป็นแก่พนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องเช่นการทำCPR กำหนดให้มีการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการทำCPR , การเตรียมความพร้อมของรถฉุกเฉินการซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่ อบรมอัคคีภัย เป็นต้น

บทเรียนเกี่ยวกับการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะดวกสบาย เป็นส่วนตัว เอื้อต่อการดูแลที่มีคุณภาพ:

· โรงพยาบาลด้านความปลอดภัยตามมาตรฐาน Patient Safety GoalsและนำSIMPLEมากำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดความลอดภัย ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและสังคมในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่นการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคกำหนดให้ผู้ป่วยต้องอยู่ห้องเดี่ยวแยก ผู้ป่วยทุกรายที่เป็นโรคติดต่อทั้งทาง Air born Droplet และ Contact จะได้รับการประเมินจะมีการอธิบายข้อมูลให้ผู้ป่วย/ญาติทราบวิธีปฏิบัติตัว กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อหรือผู้ป่วยที่Low Immune ทุกรายจะถูกคัดกรองและให้เข้ารับการรักษาในห้องแยก(จัดทำเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วย)

· มีการตรวจค่าน้ำเสียของบ่อบำบัดเพื่อให้ได้มาตรฐานก่อนลงสู่ภายนอกมีการขยายอาคารเพิ่มขึ้นให้เพียงพอรองรับการจัดบริการ มีการจัดสวนเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเพิ่มทัศนียภาพในการมองของผู้มาใช้บริการ มีการสร้างอาคารโรงเรือนพักขยะใหม่ เป็นต้น

· กรณีผู้ป่วยนอกมีแนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะจะเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคสุกใส ซึ่งจะมีห้องตรวจโรคเฉพาะ จัดให้พบแพทย์โดยด่วนและรีบกลับบ้านโดยเป็น One Stop Service มีเจ้าหน้าที่บริการชำระเงินและจ่ายยาในที่เดียวเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

· พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเมื่อมีภาวะวิกฤต ส่งโรงพยาบาลในเครือในเวลารวดเร็วและมีทีมแพทย์พยาบาลและมีการจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเทคโนโลยีใหม่เพื่อสามารถสื่อสารรายงานขณะที่ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

· มีระบบการเยี่ยมผู้ป่วยโดยแพทย์เจ้าของไข้ 2 ครั้งต่อวันในกรณีที่มีความเสียงพยาบาลจะมีการประเมิน รายงานและมีการจัดผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงให้เข้าไปเฝ้าระวังในแผนกหอผู้ป่วยวิกฤติ กำหนดนโยบายให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัด case major ให้ย้ายเข้าไปในแผนกหอผู้ป่วยวิกฤติ 1 คืนเพื่อความปลอดภัย

· เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมรายกลุ่มเช่นปรับปรุงอาคาร1 แผนกผู้ป่วยนอกจัดทำห้องให้นมบุตรในหญิงหลังคลอดต่างด้าวสามารถให้นมบุตรได้ในระหว่างรอคอยพบแพทย์

บทเรียนเกี่ยวกับการจัดการกับภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤติ หรือภาวะฉุกเฉิน :

· การอบรมและฝึกซ้อมปฏิบัติการกู้ชีวิตสำหรับบุคลากรทางการแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้บุคลการมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น จากการประเมินพบบุคลากรยังมีความสับสนในการปฏิบัติเป็นบางครั้งจึงจัดอบรม Basic & Advance life support เพื่อให้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอบรมในหน่วยงานของตนเองกำหนดให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

· โรงพยาบาลมีระบบ Code Blue จัดดำเนินงาน Blue Team ทำหน้าที่สนับสนุนการCPR ทั้ง Basic life support และ Advanced life support

· คณะกรรมการการบริหารความเสี่ยงกำหนดแนวทางในการจัดการความเสี่ยง โดยเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงระดับ E ถึง I ต้องนำเข้าที่ประชุมกรรมการ กรณีอุบัติการณ์ในเรื่องเกี่ยวกับสารน้ำ ยาและเลือดให้พิจารณาโดยคณะกรรมการเภสัชกรรม

· เพื่อลดความผิดพลาดในการให้เลือด จึงจัดทำแนวปฏิบัติในการให้เลือดและสารประกอบของเลือด โดยเฉพาะการสั่งเลือด การตรวจสอบและทวนสอบก่อนการให้เลือด รวมทั้งการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ให้เลือด

บทเรียนเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ ให้แก่ผู้ป่วย :

· จัดทำมาตรการการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเช่นเป็นลม พลัดตกหกล้ม โดยการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเมื่อแรกรับและภายหลังการรักษา การให้ยาSedativeกรณีเด็กเล็กสามารถให้มารดานอนบนเตียงกับผู้ป่วยได้หรือจัดฟูกปรับเปลี่ยนที่พื้นแทนและย้ายเตียงออก จะมีการสอบถามความต้องการของญาติทุกครั้งบริการผู้ป่วยเด็กที่เสี่ยงต่อการตกเตียง ป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยทั่วไปรวมทั้งผู้สูงอายุ โดยกำหนดให้ต้องมีญาติเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง หากญาติไม่อยู่ทางโรงพยาบาลจะจัดพยาบาลพิเศษเฝ้าไข้ให้และมีแบบฟอร์มให้ญาติเซ็นรับทราบข้อมูลและการยินยอมในกรณีการผูกยึดผู้ป่วย

· จัดทำแนวปฏิบัติการป้องกันความเสี่ยงต่อการถูกเข็มตำหรือของมีคมบาดสำหรับบุคลากร แต่ก็ยังพบอุบัติการณ์เข็มทิ่มตำ จากการทบทวนปัญหาพบว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการจัดเก็บอุปกรณ์หลังการใช้ตามระเบียบปฏิบัติ

บทเรียนเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์และจิตสังคม :

· ผู้ป่วยที่รอรับการผ่าตัดมักมีปัญหาวิตกกังวลจากการที่ต้องอยู่คนเดียวในระหว่างรอผ่าตัด ห้องผ่าตัดจัดทีมแพทย์และพยาบาลเยี่ยมก่อน และหลังผ่าตัดในการพูดคุยให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนเพื่อลดความวิตกกังวล รวมทั้งประเมินความพร้อมของร่างกาย ในผู้ป่วยทุกราย

· กำหนดให้แพทย์และพยาบาล รวมทั้งทีมสหสาขาวิชาชีพมีการให้ข้อมูลการรักษา การทำหัตถการ ความเสี่ยงเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย

· ในผู้ป่วยเด็กสามารถให้ญาตินอนเฝ้าบนเตียงกับผู้ป่วยได้ กรณีเด็กเล็กจัดclipให้ได้และมารดานอนโซฟาในห้องรวมได้มีการจัดเก้าอี้ให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าผู้ป่วยได้

· มีนโยบายในการให้ผู้ป่วยมีความเป็นส่วนตัว กำหนดให้ไม่มีการบอกห้องพักผู้ป่วยทางโทรศัพท์ ผู้ป่วยที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสามารถแจ้งแก่เจ้าหน้าที่เพื่อกำหนดบุคคลเข้าเยี่ยมหรือติดต่อ

· มีการจัดพื้นที่หอผู้ป่วยทั่วไปสำหรับกลุ่มผู้ป่วยต่างด้าวเพื่อให้มีการอยู่ในกลุ่มเฉพาะที่สามารถสื่อสารกันได้ในหอผู้ป่วยและมีเจ้าหน้าที่ล่ามมาช่วยสื่อสารข้อมูลให้ การให้การดูแลรักษาไม่มีความแตกต่างในเชื้อชาติภาษามีการจัดอาหารให้สอดคล้องกับการเจ็บป่วย

บทเรียนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสานการดูแลผู้ป่วยภายในทีม:

· โรงพยาบาลกำหนดให้ หากมีการปรึกษาผู้ป่วยจะต้องมีการเขียน Consultation note

· จากประเด็นปัญหาผู้ป่วยที่มีปัญหาการแพ้ยาได้มีการประชุมในคณะกรรมการยา(PCT)พัฒนาระบบการสอบถามผู้ป่วยที่มาในแผนกผู้ป่วยนอกทุกครั้งกรณียังไม่เคยมีประวัติหากพบว่ามีการแพ้ยา ทางแผนกผู้ป่วยนอกจะแจ้งเภสัชกรและเภสัชกรจะมาประเมินผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอกอีกครั้ง เภสัชกรจะบันทึกข้อมูลผู้ป่วยแพ้ยาในระบบคอมพิวเตอร์และให้บัตรแพ้ยากับผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลที่คอยเตือนไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการแพ้ซ้ำ

· กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายในโรงพยาบาลได้มีการจัดทำแบบฟอร์มการสื่อสารระหว่างหน่วยงานเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างครบถ้วน

· กรณีผู้ป่วยที่เคยรักษาอยู่กับโรงพยาบาลในเครือและมารักษาต่อที่โรงพยาบาลจะมีการใช้ข้อมูลร่วมกัน ทั้งข้อมูลประวัติการรักษา ยาที่ได้รับ และผลการตรวจวินิจฉัยเป็นต้น ทำให้ทางโรงพยาบาล สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

การดูแลและบริการที่มีความเสี่ยงสูง

บทเรียนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง:

· หน่วยงานบริการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่แผนกฉุกเฉิน แผนกผู้ป่วยหนัก ห้องคลอด ห้องผ่าตัดมีการกำหนดนโยบาย / แนวทาง / วิธีปฏิบัติ / คู่มือการทำงานในเรื่องต่างๆ เช่นการดูแลผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และการช่วยฟื้นคืนชีพ ผู้ป่วยฉุกเฉินทุกรายจะได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอาการจากเจ้าหน้าที่และพยาบาลประจำแผนกฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ โดยมีแพทย์รับผิดชอบประจำแผนกฉุกเฉินตลอดเวลา 24 ชั่วโมงมีการอบรมและฝึกซ้อมปฏิบัติการกู้ชีวิตสำหรับบุคลากรทางการแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้บุคลากรมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น โรงพยาบาลมีระบบ Code Blue จัดดำเนินงาน Blue Team ทำหน้าที่สนับสนุน

· โรงพยาบาลใช้ระบบTriageช่วยในการประเมินความรุนแรงอาการของผู้ป่วย ลดความผิดพลาดของการประเมินเพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

· ทีมนำคลินิก (PCT) กำหนดแนวปฏิบัติ (Clinical tracer) ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงของแต่ละสาขา และมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานและความรู้ทางวิชาการที่เพิ่มขึ้น

· ในการดูแลผู้ป่วย การประเมินอาการเปลี่ยนแปลงเมื่อพบว่ามีความเสี่ยงสูงเช่นมารดาตั้งครรภ์คลอดมีภาวะความดันโลหิตสูง พบว่าไม่มีสูติแพทย์ในวันดังกล่าวทีมผู้บริหารกำหนดให้เป็นนโยบายความปลอดภัยโดยให้ย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลบางปะกอก 9ที่มีศักยภาพสูงกว่าและทางโรงพยาบาลบางปะกอก 8 จะมีการโทรติดตามสอบถามอาการความคืบหน้า และผลการรักษา

· มีระบบการคัดแยกพื้นที่จัดให้บริการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสงสัยว่าจะเป็นโรคระบบทางเดินหายใจติดเชื้อแพร่ระบาดและจัดช่องบริการทางด่วนมีการทำป้ายสื่อสารเพื่อให้เกิดความร่วมมือโดยผู้ป่วยมีส่วนร่วม มีการจัดตั้งหน้ากากอนามัยไว้ในหลายจุดบริการ มีจุดแอลกอฮอล์เจลใช้ล้างมือทำความสะอาด ผู้ป่วยและญาติสามารถสามารถใช้ได้

บทเรียนเกี่ยวกับการทำหัตถการที่มีความเสี่ยง:

· การทำหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การทำผ่าตัด การใส่Umbilical Cut downในทารกแรกเกิด เป็นต้น แพทย์ผู้รักษาและพยาบาลจะมีการให้ข้อมูลเหตุผลในการทำหัตถการ แจ้งความเสี่ยงแก่ผู้ป่วย/ญาติ ก่อนทำหัตถการทุกครั้ง และบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

· ส่งเสริมให้แพทย์จัดทำแบบบันทึกการรับทราบข้อมูลและยินยอมรับการรักษาในหัตถการที่มีความเสี่ยง เช่นแบบบันทึกการรับทราบข้อมูลและยินยอมรับการผ่าตัด การผ่าตัดตลอดทางหน้าท้อง คลอดปกติ ผ่าตัดต้อกระจก เป็นต้น ในกรณีที่ไม่มีแบบบันทึกดังกล่าวให้ใช้แบบบันทึกการรับทราบข้อมูลและยินยอมรับการรักษาและการทำหัตถการ

· ในการช่วยแพทย์ทำหัตถการต่างๆฝ่ายการพยาบาลได้มีจัดทำ Work Instructionเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีแนวทางการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง

บทเรียนเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอาการผู้ป่วย เพื่อแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนแผนการรักษา:

· ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะได้รับการเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดทุกราย หากพยาบาลพบว่าผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ทรุดลงพยาบาลจะรายงานแพทย์โดยใช้หลัก SBAR ซึ่งหลังรายงานแพทย์แต่แพทย์ไม่เห็นด้วย ให้รายงานผู้ตรวจการทั้งในและนอกเวลาสามารถขอย้ายผู้ป่วยลง ICU ได้ ซึ่งนโยบายของผู้บริหารได้ให้อำนาจหน้าที่แก่พยาบาลเจ้าของหอผู้ป่วยที่ดูแลประเมินผู้ป่วยพบว่ามีความเสี่ยง และยังกังวลใจในการดูแลให้ดำเนินการย้ายผู้ป่วยไปสังเกตอาการที่แผนกICUได้

· PCT มีการกำหนดการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงใน clinical tracer เช่นการเฝ้าระวังอาการ shock ในผู้ป่วยไข้เลือดออก, การเฝ้าระวัง shock ในผู้ป่วย SIRS ,การประเมิน Glasgow Coma Score ในผู้ป่วย head injury,แบบประเมินในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้องสงสัยเป็นไส้ติ่งอักเสบเป็นต้น พบมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอย่างครบถ้วน

· คณะกรรมการPCTร่วมกับองค์กรพยาบาลมีการจัดทำแนวปฏิบัติในการย้ายผู้ป่วยเข้า ICU และแนวทางการประเมินผู้ป่วยก่อนย้ายออกจาแผนกICU

บทเรียนเกี่ยวกับ Rapid response system เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลง :

· โรงพยาบาลจัดตั้ง Blue Team ในระบบ Rapid response system เมื่อผู้ป่วยมีอาการทรุดลงและ/หรือเมื่อบุคลากรต้องการความช่วยเหลือจะประกาศ Code Blue เพื่อเรียก Blue Team มาช่วยสนับสนุนดูแลผู้ป่วย มีการฝึกซ้อมปฏิบัติการCPRเพื่อให้ทีมปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพ มีการทบทวนคู่มือการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการทำงาน

· ผู้บริหารมีนโยบายให้ย้ายผู้ป่วยไปยังแผนก ICU ได้กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงหรือทรุดลงโดยพยาบาลสามารถแจ้งผู้ตรวจการพยาบาล ซึ่งเมื่อผู้ตรวจการพยาบาลมาดูแลผู้ป่วยแล้วหากมีความกังวลเรื่องอาการผู้ป่วยสามารถแจ้งแพทย์เพื่อย้ายผู้ป่วยลงไป ICU ได้

บทเรียนเกี่ยวกับการติดตาม วิเคราะห์แนวโน้มของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เพื่อนำมาปรับปรุง:

· การทบทวนการดูแลผู้ป่วยในการประชุมในMorning Brief,IR Feedback, คณะกรรมการแต่ละPCT ,Morbidity and mortality conference ขององค์กรแพทย์ ช่วยในการติดตามและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทางคลินิก ปรับปรุงการปฏิบัติงานและนำไปสู่การแก้ไขที่เป็นระบบ เช่นการป้องกัน birth asphyxiaผู้ป่วย PPH, PIH, ACS,Trauma ระบบการปรึกษาแพทย์นอกเวลา

· ในระบบการบริหารยามีการจ่ายยาจากแผนกเภสัชกรให้กับผู้ป่วยพบว่ามีความผิดพลาดมีแนวโน้มลดลงจากการแก้ไขปัญหามีการลาออกของบุคคลากรวิชาชีพ ทำให้การสอนกำกับดูแลพนักงานใหม่ขาดการทวนสอบหรือตรวจสอบประเมินผล อีกทั้งยังมีการปรับปรุงการจัดยาให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจนมากขึ้น

· สายงานพยาบาลได้นำเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เช่น เรื่องการพลัดตกล้มของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยทั่วไปมากำหนดแนวมาการปฏิบัติเฝ้าระวังและแก้ไขกำหนดแนวทางปฏิบัติ ในการเฝ้าระวังในระบบการบริหารยาพบว่าเกิดความเสี่ยงในระดับ A-C มีแนวโน้มลดลง

· ให้มีการบันทึกเหตุการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน นำมาทบทวนหาแนวทางป้องกันแก้ไข และบันทึกไว้เป็นแนวทางปฏิบัติในครั้งต่อๆ ไป และให้บันทึกเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

· ประเด็นปัญหาเรื่องการIdentifiedผิดพลาดในหลายแผนก เช่น แผนกเวชระเบียน แผนกผู้ป่วยนอก/ใน แผนกปฏิบัติการ แผนกงานส่งเสริมสุขภาพ จากประเด็นปัญหาการเขียนชื่อผู้ป่วยผิด การเขียนใบยาผิด การชื่อใบorderแพทย์ผิด การระบุสิ่งส่งตรวจผิด การปิดจุกสิ่งส่งตรวจผิด การใช้ใบตรวจร่างกายผู้ป่วยผิดชื่อเป็นต้น ได้มีการแก้ปัญหานำสู่การปริ้นสติ๊กเกอร์ชื่อผู้ป่วยเพื่อลดการคัดลอก มีการทวนสอบซ้ำกับผู้ป่วยทุกครั้ง มีถ่ายรูปและscanบัตรหรือตรวจPassportผู้ป่วยการขึ้นทะเบียนประวัติผู้ป่วยต่างด้าวทุกครั้ง ปัจจุบันยังพบอุบัติการณ์แต่มีแนวโน้มลดลง

· การส่งมอบบุตรผิดคนจากการบ่งชี้ที่มีชื่อคล้ายกันได้มีการปรับระบบการคัดแยกเด็กติดป้ายสีที่คลิป Chart ผู้ป่วย มีการจัดแยกพื้นที่ให้ชัดเจนมีการตรวจสอบป้ายข้อมือข้อเท้าเด็กทุกวันทุกเวรมีการเพิ่มข้อมูลวัยเดือนปีเกิดแม่ในป้ายข้อมือลูก มีการให้มารดาหรือบิดามีส่วนร่วมในการบ่งชี้จะเก็บป้ายข้อมือ/ข้อเท้าไว้เมื่อมีการส่งมอบบุตรปัจจุบันยังไม่พบอุบัติการณ์ส่งมอบทารกผิดคน

ผลการพัฒนาที่สำคัญ :

· บุคคลากรมีทักษะในการCPR 2010

· การปรับปรุงรถฉุกเฉินสำหรับหอผู้ป่วยและกล่องยาฉุกเฉิน

· มีแนวการการเฝ้าระวังและการปรับปรุงแบบฟอร์มการประเมินผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม

· การปรับปรุงแบบบันทึกการรับทราบข้อมูลและยินยอมรับการรักษา