Human Centered Design

มี 5 ขั้นตอน

1.Empathize เข้าใจเป้าหมาย

รับรู้อารมณ์ร่วมกับผู้ใช้

ผ่านการสังเกต มีปฏิสัมพันธ์และร่วมรับประสบการณ์

ค้นหา insight เพื่อนำไปสู่ Innovative solution

เพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริง

ตัวอย่าง สิ่งที่อยากได้ กับ สิ่งที่เราจะทำให้

มีผู้มาปรึกษาต้องการให้เราสร้างสะพาน
หากเราถามว่าต้องการสะพานอะไรแบบไหน ก็จะได้เป็น สะพานไม้ เหล็ก หรือ ปูน สีอะไร รูปแบบไหน
สิ่งที่ได้ ก็จะจำกัดแค่สะพานและรูปแบบของสะพาน เช่น สะพานไม้สีแดง เป็นต้น
การถามต่อว่า ทำไมต้องการสะพาน คำตอบ อาจเป็นต้องการข้ามแม่น้ำ
สิ่งที่ได้ อาจเป็น เรือ เครื่องบิน หรือ ห่วงยาง
การถามต่อว่า ทำไมต้องการข้ามแม่น้ำ คำตอบ อาจเป็นต้องการเห็นหน้าแฟน
สิ่งที่ได้ อาจเป็น application บางตัว

2.Define ปัญหาต้องชัดเชน

ระบุให้ขัดเจนว่า

ปัญหาที่พยายามหาคำตอบคืออะไร

ตัวอย่าง ปัญหาจะเสริมเกราะป้องกัน เครื่องบินรบตรงไหน เพิ่อกันกระสุนไม่เครืองบินถูกยิงตก
เครื่องบินไม่สามารถหุ้มเกราะได้ทั้งลำ เพราะจะทำให้น้ำหนักเพิ่มจนสูญเสียความเร็วของเครื่องบินรบ กองทัพอากาศเรียกประชุมวิศวกร และ นักคณิตศาสตร์หัวกระทิมาขอคำปรึกษาเพื่อตอบปัญหานี้ให้ได้


​มีการตรวจสอบเครื่องบินที่ออกไปในภารกิจโจมตีข้าศึก แล้วถูกยิงแต่รอดกลับมาได้
พวกเขาวิเคราะห์โดยนับรอยกระสุนปืนที่ลำตัวเครื่องบินต่อพื้นที่ 1 ตารางฟุต พบว่ารอยกระสุนบริเวณใกล้หางเครื่องบินมีอัตรา 1.93 รูต่อตารางฟุต ในขณะที่บริเวณอื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณใกล้เครื่องยนต์มีอัตราเพียง 1.1 รูต่อตารางฟุต

ผลการวิเคราะห์
ทำให้กองทัพลงความเห็นว่า
ควรเสริมเกราะบริเวณใกล้หางเครื่องบิน ซึ่งพบความถี่ของรอยกระสุนปืนมากกว่า

​ที่ปรึกษานักคณิตศาสตร์กลับมีความเห็นตรงกันข้าม เขาคิดว่าควรเสริมเกราะบริเวณใกล้เครื่องยนต์ที่พบรอยกระสุนปืนน้อยกว่า

​ทุกคนประหลาดใจในตรรกะของเขา ทำไมจึงคิดเช่นนั้น?

​“ง่ายนิดเดียว” เขาตอบ “พวกคุณนับรอยกระสุนปืนจากเครื่องบินที่ถูกยิงแต่รอดกลับมาได้ ส่วนเครื่องบินที่โดนยิงบริเวณเครื่องยนต์อย่างหนัก ไม่มีลำไหนรอดกลับมาเลย”

​เขาพูดถูก

​“ใช่ว่าสิ่งที่สำคัญจะนับจำนวนได้ทั้งหมด ส่วนทั้งหมดที่นับได้ก็อาจไม่สำคัญจริงๆ” ไอน์สไตน์

โจทย์ที่ผิด ต่อให้แก้ถูกอย่างไร คำตอบ ก็ไม่ใช่อยู่ดี

3. Ideate จินตนาการ

จากปัญหานำสู่การหาคำตอบ สร้างคลังความคิดทั้งปริมาณและความหลากหลาย

เพื่อเป็นฐานไปสู่การสร้างต้นแบบ

ไอเดียที่ดีเพียงหนึ่งควาามคิด มักเกิดจากไอเดียปริมาณมหาศาล เกิดจากการต่อจุดประสบการณ์ในอดีด

เกิดจากการโฟกัส(Focus) การมีโฟวล์(Flow) และ ทำอย่างต่อเนื่อง(Maintain)

ความคิดไม่ได้เกิด จากความคิดใครถูก หรือ ผิด ไม่ได้เกิดจากความใครเป็นผู้คิด แต่เกิดจากความหลากหลายทางความคิด มาต่อยอดความคิดกัน ของผํู้คิดที่หลากหลาย ที่มาช่วยกันคิด และได้ข้อสรุปร่วมกัน

The best idea win. ไม่ใช่ The boss idea win.

4.Prototype ต้นแบบ

นำความคิดออกจากหัว มาสู่โลกภายนอก อะไรก็ได้ที่อยู่ในรูปแบบกายภาพ

เช่น การติดกระดาษ post-it ที่ฝาผนัง กิจกรรมบทบสทสมมุติ storyboard เป็นต้น

ซอยปัญหาให้ย่อยลงมาแล้วนำมาทดสอบ

ทุกสิ่งจะเกิดได้ ก็ต้องเริ่มลงมือทำ

5.Test. ทดสอบ

เป็นการทดสอบ ทำไว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

ทำให้การเรียนรู้ เกี่ยวกับผู้ใช้ และ เกิด unexpected insight

เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุง สู่วงล้อ PDCA

Mindset สำคัญสำหรับเรื่องนี้ คือ Fail Fast- Fail Cheap-Fail Forward

เพื่อ ให้เกิดการเรียนรู้ ต้องทำเร็ว ไม่แพง และ เรียนรู้ข้อผิดพลาดให้ได้ ไวมากที่สุด

เพิ่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อยอด

สรุปได้ 3 ข้อ

1.หาปัญหา : ทำความเข้าใจก่อน ค่อยระบุปัญหาที่ชัดจริง

2.แก้ปัญหา : เปิดจินตนาการ รับฟังทุกความเห็น เป็นปลายเปิด

3.ทดสอบ : สร้างต้นแบบ ลองทดสอบ ต้องลงมือเร็ว ยิ่งเร็วยิ่งรู้ข้อผิดพลาด