CTHL19Hyperbilirubinemia

1. บริบท

โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิขนาด 120 เตียง ให้การดูแลผู้ป่วยคนไทย ( สิทธิทั่วไป , ประกันสังคม และผู้ป่วยต่างด้าวที่ประกันสุขภาพมีกุมารแพทย์ประจำ 2 ท่าน มีเครื่อง Photo 3 เครื่อง ในปี 2556 – 2559 (ม.ค.-มิ.ย.)มีทารกแรกเกิดคลอด จำนวน 860 , 867, 556, 222 รายตามลำดับ โดยมีสัดส่วนของทารกชาวไทย: ชาวพม่า 1:3 จากสถิติพบทารกแรกเกิดมีภาวะตัวเหลือง 91 ราย ( 10.58 % ) , 101 ราย (11.65%) , 85 ราย (15.29% ) , 6 ราย ( 2.70 % ) มีทารกที่ตรวจพบภาวะตัวเหลืองตั้งแต่อยู่ในโรงพยาบาล 18 , 57, 50 , 6 รายคิดเป็น 19.79 % , 56.44 % , 58.82% , 100% ของทารกแรกเกิดตัวเหลืองทั้งหมดตามลำดับ มีทารกที่ต้อง Readmit เพื่อรับการรักษาด้วยการส่องไฟในปี 2556 – 2559 จำนวน 73 , 44 , 35 , 0 รายตามลำดับ ระยะเวลาที่รับการส่องไฟเฉลี่ย 2 วัน ไม่มีทารกที่ต้องรับการรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายเลือด ไม่พบภาวะ Kernicterus

จากการทบทวนพบประเด็นการวินิจฉัยล่าช้า ทำให้ทารกได้รับการส่องไฟนานและมี Readmit สาเหตุบริบทของโรงพยาบาลที่จำหน่ายทารกเร็วและไม่มีการวางแผนนัดติดตามทารกตามความเสี่ยงของการเกิดภาวะตัวเหลือง

2. ประเด็นคุณภาพ/ความเสี่ยงที่สำคัญ

1. อัตราการ Readmit เพื่อส่องไฟสูง

2. ระยะเวลานอนโรงพยาบาล เพื่อส่องไฟนาน เนื่องจากการวินิจฉัยล่าช้า

3. เป้าหมายการพัฒนา

1. ลดอัตราการ Readmit เพื่อส่องไฟ

2. ลดจำนวนระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลเพื่อการส่องไฟ

4. กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

การประเมิน/วินิจฉัย

1.จัดทำแบบฟอร์มคัดกรองภาวะตัวเหลือง โดยประเมินจากความเสี่ยง โดยทารกที่มีความเสี่ยงทุกราย จะได้รับการประเมิน TB ที่อายุ 48 ชั่วโมงก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล นำค่าที่วัดได้เทียบกับ nomogram เพื่อวางแผนการจำหน่ายและนัดติดตามอาการในเวลาที่เหมาะสม ทำให้สามารถวินิจฉัยและส่องไฟได้เร็วขึ้น ลดอัตราการ Admit และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล

2.

การดูแลรักษา

1.ปรับปรุง CPG Neonatal jaundice กำหนดเกณฑ์การส่องไฟที่ชัดเจน

การวางแผนการจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่อง

1.วางแผนจำหน่ายและนัดติดตาม อิงตามค่า TB ที่อายุ 48 ชม.

2.การให้ข้อมูลและการเสริมพลัง พยาบาล NSY ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับภาวะตัวเหลือง ความสำคัญของการมาติดตามตามนัด การให้ความรู้การประเมินภาวะตัวเหลืองตาม dermal zone กรณีที่มารดาชาวพม่า ไม่เข้าใจภาษาไทย จะใช้ล่ามช่วยแปลภาษา

5. ผลการพัฒนา

จากการวิเคราะห์ผลลัพธ์ พบว่า KPI ทำได้ตามเป้าหมาย กระบวนการพัฒนาที่มำสามารถลดอัตราการ Readmit และลดจำนวนวันนอนที่ส่องไฟได้ตามเป้าหมาย การคัดกรองดีขึ้น ทำให้เด็กได้รับการส่องไฟเร็วขึ้น

6. แผนการพัฒนา

1. พัฒนาสื่อการสอนและระบบที่ทำให้การให้สุขศึกษาสามารถครอบคลุมจำนวนมารดาชาวต่างชาติได้มากขึ้น