4P 4.1: Preventing Patient Falls

Definition

การป้องกันการลื่นตกหกล้มหมายถึงการวางมาตรการต่างๆ ที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี ในการป้องกัน

ไม่ให้ผู้ป่วยลื่นตกหกล้มและบาดเจ็บจากการลื่นตกหกล้ม

Goal

ลดอุบัติการณ์การลื่นตกหกล้ม และการบาดเจ็บจากการลื่นตกหกล้ม

Why

การลื่นตกหกล้มในโรงพยาบาลยังเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลอย่าง

ต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเช่นกระดูกหัก ผิวหนัง

ถลอก หรือมีเลือดออกจากอวัยวะภายใน ท าให้ผู้ป่วยถูกจ ากัดกิจกรรม มีความเจ็บปวด ต้องอยู่

โรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น และอาจเป็นสาตุท าให้โรงพยาบาลถูก

ฟ้องร้องได้

Process

1. ประเมินความเสี่ยงต่อการลื่นตกหกล้มเมื่อแรกรับเข้ารักษา(เน้นการลื่นตกหกล้มที่เกี่ยวกับ

ด้านร่างกาย)

1) ใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการลื่นตกหกล้มที่เป็นมาตรฐานในการประเมินผู้ป่วย

เมื่อแรกรับเช่น Morse Fall Risk Assessment หรือ Hendrich Fall Risk Assessment

2) ถ้าอายุมากกว่า 65 ปี ให้ถามประวัติเกี่ยวกับการลื่นตกหกล้มโดยการถามตามช่วงเวลา

ขึ้นกับเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงที่ใช้ เช่นภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาเคยลื่นตกหก

ล้มหรือไม่

2. ประเมินปัจจัยและประวัติเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการลื่นตกหกล้มเมื่อแรกรับเข้ารักษา

1) ประเมินปัจจัยที่ท าให้การลื่นตกหกล้มแล้วจะเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง (history of

osteoporosis, risk factors or fracture, presence of anticoagulation/bleeding

problems)

2) ถามประวัติเกี่ยวกับการลื่นตกหกล้มที่เกิดการบาดเจ็บรุนแรงตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยเช่น

history of fractures, history of head trauma, history of uncontrolled bleeding after

a fall, and history of hospitalizations due to a fall.

3. ประเมินความเสี่ยงต่างๆ ด้านร่างกายที่เกี่ยวกับการลื่นตกหกล้มและการบาดเจ็บรุนแรงจาก

การลื่นตกหกล้ม

1) ในผู้ป่วยที่พบว่ามีความเสี่ยง ให้ทีมการดูแลร่วมกันประเมินปัจจัยอื่นๆ อย่างครบถ้วน

เมื่อแรกรับเข้ารักษาและเมื่อภาวะสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลง

2) สื่อสารและระบุผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายรุนแรง

จากการลื่นตกหกล้มในทุกเวร

4. สื่อสารและให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงลื่นตกหกล้มและความเสี่ยงการบาดเจ็บที่จะเกิดจาก

การลื่นตกหกล้ม

1) สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยทุกคนให้ทราบว่าผู้ป่วยรายใดมีความเสี่ยง

เกี่ยวกับการลื่นตกหกล้มและการบาดเจ็บรุนแรงจากการลื่นตกหกล้ม

- สื่อสารการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บจากการลื่นตดหก

ล้ม (เข่นเริ่มให้ยา anticoagulation หรือได้รับการวินิจฉัยใหม่ว่าเป็น osteoporosis

ตลอดช่วงก่อนส่งเวรและเมื่อส่งเวร)

- ใช้ป้ายที่ระบุผู้ป่วยที่เคยลื่นตกหกล้ม(เข่นรับเข้ารักษาจากสาเหตุการลื่นตกหกล้ม

หรือลื่นตกหกล้มระหว่างเข้ารับการรักษา) ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือผู้ป่วยที่

มีประวัติได้รับการบาดเจ็บจากการลื่นตกหกล้ม

2) ให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติโดยการสอนกลับเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บจาก

การลื่นหกล้มตั้งแต่แรกรับและตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลและเกี่ยวกับสิ่งใดที่

ผู้ป่วยและญาติสามารถท าได้เพื่อช่วยป้องกันการลื่นหกล้ม

5. ก าหนดมาตรฐานส าหรับใช้ในการปฏิบัติส าหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการลื่นหกล้ม

1) น ามาตรฐานไปปรับปรุงการปฏิบัติทั้งระดับโรงพยาบาลและระดับผู้ป่วยเพื่อการดูแล

สภาพแวดล้อมในการป้องกันการลื่นตกหกล้มและลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บที่เกิด

จากการลื่นตกหกล้ม

2) ก าหนดการเยี่ยมตรวจ(ทุกชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง) เพื่อประเมินและตอบสนองความ

ต้องการของผู้ป่วยเกี่ยวกับความปวด การขับถ่าย การเปลี่ยนท่าทาง

6. ปรับแนวปฏิบัติให้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่สุดที่จะเกิดการบาดเจ็บรุนแรงหรือ

1) เพิ่มความเข้มข้นและความถี่ในการสังเกต

2) ปรับสิ่งแวดล้อมและจัดหาอุปกรณ์ให้เหมาะเหมาะสมเฉพาะบุคคลเพื่อลดการบาดเจ็บ

จากการลื่นตกหกล้ม

3) ทบทวนและปรับยาที่อาจท าให้ผู้ป่วยลื่นตกหกล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาจิตเวช

เพื่อลดผลข้างเคียงของยา

Training

 การสร้างความตระหนักในการป้องกันความเสี่ยง การใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยง การ

ประเมินความต้องการเฉพาะ การจัดสิ่งสิ่งแวดล้อม

 จัดเวทีแก้ปัญหาการลื่นตกหกล้มกับผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนาแนว

ทางการดูแลให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา

Monitoring

 จ านวนผู้ป่วยที่ลื่นตกหกล้มทั้งหมด

 จ านวนผู้ป่วยที่ลื่นตกหกล้มที่เกิดการบาดเจ็บปานกลางและบาดเจ็บรุนแรง

 อัตราการบาดเจ็บผู้ป่วยที่ลื่นตกหกล้มที่เกิดการบาดเจ็บปานกลางและบาดเจ็บรุนแรงต่อ

1000 วันนอน

Pitfall

 มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงให้ครบถ้วน ขาดการระบุของความต้องการเฉพาะ

ของผู้ป่วยแต่ละราย ท าให้การจัดการไม่สอดคล้องจึงเกิดอุบัติการณ์

 ไม่ให้ความส าคัญกับผู้ป่วยและญาติในการป้องกันความเสี่ยง สอนผู้ป่วยและญาติโดยขาดการ

ทวนสอบท าให้ผู้ป่วยและญาติไม่เข้าใจอย่างชัดเจนและสามารถช่วยป้องกันอันตรายได้

มาตรฐาน HA

การปฎิบัติตามแนวทางข้างต้น คือการปฏิบัติตามมาตรฐาน โรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ

ที่ 4 ตอนที่ III หมวดที่ 3 ข้อ 3.1 การวางแผนการดูแลผู้ป่วย (PLN.1) (2), (3) และ (7)