Vitamin K2

QxNote : Vit K2 ช่วยทำให้ Calcium ไปเกาะที่กระดูกและฟัน ลดการเกาะที่เส้นเลือด

ช่วยป้องกันมะเร็ง สำไส้และต่อมน้ำเหลือง

มีมากใน ถั่วเน่า หรือ นัตโต๊ะ 135mcg/15gm

พอมีบ้างใน ไข่แดง2mcg/ไข่เบอร์0, ชีส 11mcg/28.4gm ถ้วยเล็ก

คำถาม

“รู้หรือเปล่าว่า แคลเซี่ยม ที่กินเข้าไป มันไปเกาะอยู่ที่เส้นเลือด หรือเกาะอยู่ที่ กระดูก”

เมื่ออายุมากขึ้นคนเราจะมีปัญหา เรื่องแคลเซี่ยม

ไปเกาะยังเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดแข็งตัว ไปเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจแข็งขยับไม่ได้

ไปเกาะที่เนื้อเยื่อ ข้อต่อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดข้อข้อเสื่อม แต่แคลเซี่ยม กลับไม่ไปเกาะที่กระดูก

ทำให้คนเราเป็นโรคกระดูกพรุน ดูเหมือนโรคทั้งสองอย่างนี้จะไปด้วยกัน คือเกิดในคนที่ อายุมากขึ้นๆ

เวลาไปหาคุณหมอก็จะแนะนำให้กินแคลเซี่ยม เพิ่มขึ้น กินวิตามินดีเพื่อให้ร่างกายดูดซึมแคลเซี่ยม

ที่กินเข้าไปได้มากขึ้น หรือแม้แต่ออกไปสัมผัสกับ แสงแดดบ้าง

เพื่อให้ร่างกายสร้างวิตามินดีให้เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย

แต่ดูเหมือนว่ามันยังขาด อะไรไปอย่างหนึ่ง คือเส้นเลือดแข็งตัว แต่กระดูกพรุน

นักวิทยาศาสตร์มีความสงสัยอย่างหนึ่งว่า

ทำไมคนที่ มีโรคกระดูกพรุน แต่กลับมีแคลเซี่ยมไปเกาะที่เส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว

มันมีอะไรเชื่อมโยงกันหรือเปล่า?

แรกๆ ก็มีคนตั้งข้อสงสัยว่า น่าจะมีระบบการส่งแคลเซี่ยม

จากกระดูกมาที่เส้นเลือดผิดปกติทำให้เส้นเลือดแข็งตัว จากการที่มีแคลเซี่ยมมาเกาะ

แต่ตอนหลังก็มีการพิสูจน์ ว่า แต่ละอวัยวะมีระบบการควบคุมแยกจากกันเป็นอิสระ

ในประเทศญี่ปุ่น มีการสังเกตว่าคนในแถบตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นที่มีการกินอาหารบางชนิด คือ นัตโตะ

จะมีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนน้อยกว่ำคนที่อยู่ ทางตะวันตกของญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยกินนัตโตะ

ต่อมาก็มีการ พิสูจน์ด้วยการวิจัยจึงพบว่า วิตามิน เค2 (K2) ซึ่งมีอยู่ใน นัตโตะ ช่วยลดการเกิดกระดูกพรุนได้

อวัยวะที่แคลเซี่ยมควรจะไปเกาะก็คือ กระดูกและ ฟัน

ส่วนอวัยวะที่ไม่ควรไปเกาะเลยก็คือ เส้นเลือด ลิ้นหัวใจ กระดูกอ่อน เป็นต้น

ในอดีตเชื่อว่าแคลเซี่ยม ไปเกาะที่เส้นเลือดก็เพราะว่า มีการอักเสบที่เส้นเลือด

ต่อมาจึงมีแคลเซี่ยมไปเกาะตามหลัง ไม่เคยมีใครคิดว่า แคลเซี่ยมจะเป็นตัวต้นเหตุของปัญหาเสียเอง

ความเชื่อ ข้อถกเถียงเรื่องแคลเซี่ยม เป็นตัวต้นเหตุ เริ่มแรกของปัญหาที่เส้นเลือดหรือไม่นั้นมาชัดเจนเมื่อมี การวิจัยที่เรียกว่า Rotterdam Heart Study ที่เป็นการ วิจัยขนาดใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ใช้เวลาวิจัยถึง 7 ปี

จึงพิสูจน์ถึงความเชื่อมโยงว่า

คนที่กินวิตามิน K2 ในปริมาณมาก จะเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่กินวิตามิน K2 ในปริมาณที่น้อย

คนที่ทานวิตามิน K2 มากกว่า จะมีแคลเซี่ยมเกาะที่ เส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจน้อยกว่า

นอกจากนี้ ยังมีการพบว่า วิตามิน K2 มีส่วนช่วยในการยับยั้งมะเร็ง บางชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น

ทุกคนที่ได้เรียนหนังสือคงผ่านการเรียนเรื่องวิตามิน ตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก

น่าจะยังจำกันได้อยู่ว่า วิตามิน เป็นสารที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้เพื่อให้ร่างกายในระดับเซลล์ทำงานได้ตามปกติ

วิตามินเป็นสารที่ร่างกายไม่ สามารถสร้างเองได้แต่วิตามินบางตัวก็ได้จากจุลินทรีย์ ที่อยู่ในลำไส้ของตัวเราเอง

วิตามิน แบ่งง่ายๆ ได้ตามลักษณะของการละลายน้ำ

-วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบีวิตามินซีเป็นต้น

วิตามินที่ละลายในน้ำ เราจะได้จากการกินอาหาร พวกผักใบเขียว

-ส่วนวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอีและวิตามินเค

วิตามินที่ละลายในไขมันบางส่วนก็ได้ จากผักใบเขียว เพราะผักใบเขียวก็มีไขมันอยู่ในตัว ของมัน

อย่างไรก็ตาม วิตามินบางอย่างก็ได้จากการกิน อาหารที่มีไขมันจากสัตว์

วิตามินที่เราควรจะรู้จักกันก็คือ วิตามินเค ซึ่งเป็น วิตามินที่ละลายในไขมัน

วิตามินเคมีส่วนสำคัญในการ ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกายของมนุษย์

ที่ไปทำหน้าที่ในการควบคุมการแข็งตัวของเลือด

การเคลื่อนย้ายเกลือแร่บางอย่างในกระดูก

ควบคุมระดับเกลือแร่ที่อยู่ในหลอดเลือดและกระดูกอ่อน เกลือ

แร่ที่เราพูดถึง ก็คือแคลเซี่ยม

ถ้าร่างกายของเรามีวิตามินเคในระดับที่เพียงพอ ต่อความต้องการ

ร่างกายก็จะนำแคลเซี่ยมไปวางไว้ที่ที่ ควรจะอยู่ ที่สำคัญก็คือกระดูก

แต่ในกรณีที่ร่างกายของ เรามีวิตามินเคน้อย หรือไม่เพียงพอ

ร่างกายก็จะวาง แคลเซี่ยมเอาไว้ผิดที่ผิดทางได้ไม่ว่าจะเป็นที่เส้นเลือด ลิ้นหัวใจ กระดูกอ่อน

หรือแม้แต่ในเซลล์ของร่างกาย เป็นเหตุให้เกิดการแก่ก่อนวัยได้

วิตามินเคมาจากไหน? ในร่างกายของเรามีโรงงาน สร้างวิตามินเคอยู่

แต่โดยส่วนมากเรามักไม่เคยได้ยิน หรือนึกถึงมัน

แบคทีเรียในลำไส้ของคนเราทำหน้าที่

สร้างวิตามินเคให้กับร่างกาย

โดยวิตามินเคส่วนใหญ่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายได้รับจากวิตามินเค ได้จาก อาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ

ที่ผลิตขึ้นในลำไส้อีกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

ถ้าเราไม่กินอาหารที่มี ไขมันเลย ร่างกายก็อาจจะขาดวิตามินเค

ปัญหาอย่างหนึ่งของวิตามินเคที่ไม่เหมือนวิตามินที่ ละลายในไขมันชนิดอื่น เช่น วิตามินเอ วิตามินดีวิตามิน อี

ก็คือวิตามินเคไม่สะสมในร่างกายเหมือนวิตามินที่ ละลายในไขมันอื่นๆ ดังนั้น ร่างกายจึงต้องได้รับวิตามิน เคทุกวัน

วิตามินเคมีหลายชนิด วิตามินเคจากธรรมชาติแยก

ย่อยออกเป็นชนิด K1 และชนิด K2

-วิตามินเคชนิด K1 หรือ Phylloquinone เป็นวิตามินเคที่ได้จากผัก เช่น ผักใบเขียว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

วิตามินเคชนิด K1 จะเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด

-วิตามินเคชนิด K2 หรือ Menaquinone เป็นวิตามินเคที่ได้จาก เนื้อสัตว์ ไข่แดง

ที่สำคัญคืออาหารหมักดอง ที่มีคนพูด ถึงบ่อยๆ ก็คือ ถั่วเน่าหรือนัตโตะ

ที่เป็นอาหารที่ได้จากั่วเหลืองหมักกับเชื้อแบคทีเรีย และเป็นอาหารพื้นเมือง ของประเทศญี่ปุ่น

วิตามินเคชนิด K2 เป็นวิตามินที่สำคัญ และเกี่ยวข้อง กับการควบคุมการวางแคลเซี่ยมในร่างกายให้ถูกที่ถูกทาง

ถ้าร่างกายได้รับวิตามินเคชนิด K2 ไม่เพียงพอ

ก็อาจจะเกิดปัญหาทำให้แคลเซี่ยมเกาะผิดที่ คือแทนที่ จะไปเกาะที่กระดูก

กลับจะไปเกาะที่ที่มันไม่ควรจะไป อยู่เช่น ไปเกาะที่เส้นเลือด ลิ้นหัวใจ กระดูกอ่อน เป็นต้น

การที่วิตามินเคชนิด K2 ช่วยจัดการเรื่องแคลเซี่ยม เกาะในร่างกายผิดที่ได้

จึงมีการนำเอาวิตามินเคชนิดนี้ มาใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดแข็งตัวและมีแคลเซี่ยม ไปเกาะ

นอกจากนี้ก็ยังช่วยผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกพรุน ได้อีกด้วย

สิ่งที่ใช้ร่วมกันในการรักษาโรคเหล่านี้ก็คือ

การปรับ การรับประทานให้เหมาะสม ร่างกายได้รับโปรตีน วิตามินดีวิตามินเค แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม ที่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย วิตามิน K2 ตอนนี้มี จำหน่ายในรูปของยาเป็นเม็ดแคปซูลแล้ว

ในอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินเคชนิด K2

ก็มีการผลิตจำหน่ายในเมืองไทยหลายปีแล้วเช่นเดียวกัน และ คนไทยเองก็มีการผลิตเพื่อจำหน่ายแข่งขันกับสินค้า นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น นั่นก็คือนัตโตะหรือถั่วเน่า ญี่ปุ่น ที่เราสามารถทำเองที่บ้าน สำหรับรับประทานใน ครอบครัว

ถั่วเน่าก็มีการทำเพื่อรับประทานกันในภาคเหนือ ของประเทศไทย โดยวิธีการ ขั้นตอนการผลิตก็แตกต่าง ไปจากของประเทศญี่ปุ่น แต่ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ถั่วเน่าของไทยจะมีวิตามิน K2 เหมือนนัตโตะที่เป็นถั่ว เน่าญี่ปุ่นหรือเปล่า นัตโตะแบบผงแห้ง บรรจุแคปซูล แต่เนื่องจากถั่วเน่าจะมีกลิ่นและลักษณะที่ไม่เป็นที่ คุ้นเคยกับวิถีชีวิตของคนไทยทั่วไปนัก ดังนั้นการ สนับสนุนให้คนทั่วไปหันมาสนใจอาหารบำรุงสุขภาพ ชนิดนี้คงต้องใช้เวลาสักระยะ เพื่อให้คนไทยได้มีความรู้ และความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับประโยชน์ของ อาหารชนิดนี้

ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะเลิกให้มีการโฆษณา ว่า แคลเซี่ยมช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน เพราะข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ชี้ชัดเจนแล้วว่า มันเป็น ความเชื่อผิดๆ มาหลายสิบป

อาหารทีมี vitKสูงมาก

ผักเคล ถั่วเหลืองหมัก ต้นหอม น้ำมันมะกอก

กระหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง พริกเครื่องเทศร้อน พรุนแห้ง ถั่วเหลือง

กระหล่ำดาว บลอคโคลี้ แตงกวา ใบโหระภา นม...

ที่มา

เอกสารกรมการแพทย์

http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/dmsweb_v2_2/content/org/webpageJDMS_30/demo/data/2558/2558-03/no.3_07.pdf