Neurally syncope

Neurally mediated syncope

เป็นลม เนืองจาก การทำงานที่ผิดปกติของ ระบบประสาทอัติโนมัติ {parasympathetic system}

ถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้หัวใจเต้นช้าหรือหลอดเลือดขยายตัว ความดันต่ำจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอและหมดสติ

แบ่ง 4 กลุ่ม

1.Vagovagal syncope [common faint]

Classical : เกิดจากการกระตุ้นทางด้านจิตใจ หรือ การอยู่ในท่านั้นหรือยืนนานๆ ทำให้เป็นลมได้

Nonclassical : ไม่ทราบสิ่งกระตุ้นชัดเจน

วินิจฉัยเมื่อมีสิ่งกระตุ้นชัดเจน : ความกลัว เจ็บปวดรุนแรง ยินนิ่งนานๆ ร่วมกับอาการ ใจสั่น หน้ามืด คลื่นไส้ ซีดเหงื่อออก ...

2.Carotid sinus syncope

เกิดจากการกระตุ้น Carotid Sinus ด้วยการกดหรือการนวด การทำ carotid massage สามารถทำให้เกิดอาการซ้ำได้

การวินิจฉัย

มีประวัตินวดคอแล้วเป็นลม และอายุมากกว่า 40 ปี

การตรวจ ต้องทำ carotid sinus massage แต่ต้องตรวจว่ามี carotid bruits ก่อนที่จะทดสอบ

3. Situational Syncope

เกิดจากกระตุ้นโดยเหตุการณ์บางอย่าง เช่น การไอ การจาม การกลืน การ ปัสสาวะหรืออุจจาระ เป็นต้น

วินิจฉัยเมื่อ เกิดเป็นลมระหว่างทำหรือไม่นานหลังจากการกระทำนั้นๆ

4. Glossopharyngeal Neuralgia (Weisenburg’s Syndrome)

กลุ่มอาการนี้ภาวะเป็นลม จะเกิดเมื่อมีอาการปวดที่รุนแรง บริเวณต่อมทอนซิล (tonsil) คอหอย(pharynx) โคนลิ้น และปวดร้าวไปที่หู มักจะเกิดในขณะพูดหรือเคี้ยว

การซักประวัติ

มีอาการหมดสติ จริงหรือไม่ ช่วงเวลาที่ไม่รู้ตัวหรือไม่ เป็นเอง หายเองอย่างรวดเร็ว ไม่มีอาการหลงเหลือ เคยเป็นกี่ครั้งแล้ว

ก่อนเกิด

อาการนำ ก่อนเป็นลม ใจสั่นคลื่นไส้อาเจียน ปวด

สิ่งกระตุ้น เหตุการณ์ที่เป็นที่ทำในเวลานั้น ไอ จาม กินกลืน ปัสสาวะ ยืนนานนั่งนานไปหรือเปล่า

หาสาเหตุอื่น

โรคประจำตัว เบาหวาน หัวใจ ความดัน โรคสมอง

ประวัติครอบครัว: MI, ไหลตาย

ยาที่ใช้ ความเจ็บป่วยอื่นๆ

สงสัยจากหัวใจ : ครอบครัวเสียชีวิตกะทันหัน(WPW) เจ็บหน้าอก(MI) เป็นขณะออกกำลังกาย(LQTs) ประวัติโรคหัวใจ EKG มี arrhythmia

การรักษา

1.ระวังให้เลี่ยง สิ่งกระตุ้น

2.สังเกตอาการนำ หากจะมีอาการให้ปฏิบัติดังนี้

-นอนราบลงกับพื้น

-ทำ isometric counterpressure maneuver : กำมือเกร็งแขนและไขว้ขา จะช่วยให้เพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ลดการหมดสติได้

Ref.

http://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Approach_to_Syncope_on_Electrophysiologist_perspective.pdf