Ticks เห็บแข็ง

เห็บแข็ง หรือ เห็บกวาง

สาเหตุ

เห็บกัดหลังเที่ยวป่า เห็บในป่า มี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ

1.เห็บกวาง ไม่ได้เป็นพาหะของ scrub typhus ที่พูดถึงในที่นี้

2.เห็บลม เป็นแมงแดงตัวเล็ก แพทย์เรียกไรอ่อน (Chiggger) ซึ่งเป็นพาหะ ของ scrub typhus

อาการ

คนที่โดนเห็บกัดมักจะไม่เจ็บ ไม่มีอาการ เนื่องจากเห็บปล่อยสารที่ทำให้ชา และทำให้เลือดไม่แข็งตัว

ส่วนใหญ่คนที่ถูกเห็บกัดจะสังเกตเห็นเห็บติดอยู่ที่ผิวหนัง ขณะอาบน้ำหรือเกา หลังเห็บหลุด

(ทั้งหลุดเองเมื่อดูดเลือดอิ่มหรือจากการดึงออก)

อาจเกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนังเป็นตุ่มแดงคันบริเวณที่ถูกกัด

ต่อมาตุ่มอาจใหญ่เป็นปื้น หรือก้อนนูน คันมากเหลือเกิน และ เป็นตุ่มอยู่นานหลายเดือนหรือเป็นปี

การรักษา

-ถ้าตุ่มอักเสบไม่มาก ใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ลดการอักเสบ ทาสม่ำเสมอ เช้าและ

เย็นผื่นก็จะดีขึ้น

-ถ้าอักเสบมาก เรื้อรัง ตุ่มใหญ่เป็นก้อนต้องใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์ เฉพาะที่

บางรายอาจต้องตัดตุ่มที่อักเสบออก เพราะมีการอักเสบเรื้อรังไม่หาย

จากปฏิกิริยาของร่างกายต่อส่วนปากของเห็บที่ติดอยู่ในผิวหนัง

ข้อระวัง

ในประเทศไทยไม่พบโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ แต่ไรซึ่งมีลักษณะที่มองด้วยตาเปล่า อาจคล้ายเห็บ สามารถเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่หรือ สครับไทฟัส ไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคหลังไรกัด ดังนั้นผู้ที่ถูกไรกัด ควรสังเกต ตัวเองว่าเป็นไข้หลังจากถูกไรกัดหรือไม่ โดยทั่วไประยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ไรกัดจน ถึงไข้ขึ้น) ประมาณ 10-12 วัน

การป้องกัน

อย่าไปเดินในบริเวณที่รกๆ ถ้าจำเป็นต้องไป อาจใช้ยาทาป้อง กันแมลงทาบริเวณแขนขาก่อน เห็บก็จะไม่กล้ำกลายมาใกล้

ที่มา

http://www.thongteaw.com/content/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94.html

http://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-knowledge/new/Tick.html