Congenital varicella syndrome

Congenital varicella syndrome

อุบัติการณ์ 2% ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นอีสุกอีใส

ความเสี่ยงมากสุด การติดเชื้อช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

ความผิดปกติที่พบ

Varicella embryopathy

-ผิวหนัง อวัยวะ แขนขา ตา ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท

-การพัฒนาการ

-การติดเชื่อในอายุครรภ์ 6-12 สัปดาห์ โอกาสผิดปกติของแขนขามากที่สุด

-การติดเชื่อในอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ จะมีผลต่อการพัฒนาการทางสมองและตามากกว่า

การวินิจฉัย

1.ประวัติมารดาติดเชื้อ

2.การตรวจร่างกายเด็ก

*ผิวหนัง แผลหนาตัว คล้ายแผลเป็น เนื่อเยื่อรอบๆแข็ง หนา แดง อักเสบ พบบ่อยที่แขนขา

*แขนขา มีแผล อาจมีกระดูกผิดรูปด้วย หรือนิ้วมือเท้าพัฒนาการไม่เต็มที่ แขนขาลีบ

*ตา เลนซ์ตาอาจเป็นต้อกระจก ขนาดลูกตาเล็ก ข้างเดียวหรือพบสองข้าง อาจมีตาเข หรือ เยื่อตาด้านในผิดปกติ

*ปัญญาอ่อน ศีรษะเล็ก อาจมีปัญหาในการเรียนรู้

*เนื้อสมองลีบเหี่ยว เนื้อสมองอาจเล็กกว่าปกติ หรือเกิด hydrocephalus ได้

3.การตรวจทางห้องปฏฺบัติการ

*VZV-IgM จาก cord blood ซึ่งหลังคลอด titer จะลดลวเร็ว

*chorionic villus sampling เพื่อ ดู viral DNA หรือ antibody อาจทำให้แยก

Fetal infection/embryopathy ได้ แต่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นเพียงติดเชื้อ หรือ เป็นโรคได้

การป้องกันสำคัญสุด

เพื่อไม่ให้หญิงตั้งครรภ์เป็นสุกใส

การรักษา

หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยสุกใส

มีการใช้ VZIG แต่ข้อมูลยังไม่ชัดเจน

หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นสุกใส

การรักษาใช้ Acyclovir แต่ยังไม่มีรายงานความปลอดภัยและผลดีต่อทารก

ทารกสุกใสแต่กำเนิด

ไม่มีข้อบ่งชี้การให้ยา เนื่องจาก ติดเชื้อแล้วไม่มีมีผลกระทบมากขึ้นหลังคลอด รักษาแต่ประคับประคอง