Anti-dsDNA คือ

Anti-dsDNA

ชื่ออื่น: Antibody to ds-DNA, Native double-stranded DNA antibody, Anti-DNA, Double stranded DNA antibody

ชื่อทางการ: Anti-double-stranded DNA, IgG

Anti-dsDNA (Anti-double stranded DNA antibody)

เป็นหนึ่งในกลุ่มของออโตแอนติบอดีที่เรียกว่า Antinuclear antibodies (ANA)

ร่างกายจะผลิตออโตแอนติบอดีขึ้นมาเมื่อระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถแยกระหว่างเนื้อเยื่อตัวเอง

หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย

ทำให้เซลล์ที่ดีของร่างกายถูกทำลาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อและอวัยวะเสียหาย

แม้จะมีหลายโรคที่ทำให้ร่างกายมี Anti-dsDNA ในระดับสูง

แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะสัมพันธ์กับโรคลูปัส

ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการแพ้ภูมิตัวเอง

ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

เช่น ไต ข้อต่อ เส้นเลือด ผิว หัวใจ ปอด และสมอง

อย่างไรก็ตาม การตรวจ Anti-dsDNA ควบคู่กับการตรวจออโตแอนติบอดีอื่นๆ

อาจช่วยวินิจฉัยโรคลูปัส และแยกความแตกต่างของโรคลูปัสออกจากโรคแพ้ภูมิตัวเองชนิดอื่นๆ

หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงของโรคลูปัส คือ โรคไตอักเสบลูปัส (Lupus nephritis) ซึ่งเป็นภาวะไตอักเสบที่ส่งผลให้มีโปรตีนในปัสสาวะ มีความดันโลหิตสูง และไตวาย

ข้อบ่งชี้

การตรวจ Anti-dsDNA ทำเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคลูปัสในผู้ที่มีผลตรวจ Antinuclear antibody (ANA) เป็นบวก และมีสัญญาณหรืออาการป่วยที่บ่งชี้ถึงโรคลูปัส

โดยทั่วไปแล้วการตรวจ ANA เป็นการตรวจแรกที่ใช้ประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเอง

แม้แพทย์จะสามารถพบผลตรวจ ANA ที่เป็นบวกในผู้ที่เป็นโรคลูปัสได้ประมาณ 95% แต่ก็สามารถพบผลตรวจ ANA เป็นบวกได้ในภาวะอื่นๆ เช่นกัน

การตรวจ Anti-dsDNA อาจช่วยประเมินความรุนแรงของโรคลูปัส

เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคลูปัสที่มีอาการกลับมากำเริบอีกครั้งมักจะมีอาการแย่ลง

ซึ่งแพทย์อาจพบ Anti-dsDNA เพิ่มขึ้นก่อนและระหว่างที่โรคกำเริบ

นอกจากนี้แพทย์อาจใช้ผลตรวจ Anti-dsDNA สำหรับติดตามโรคไตอักเสบลูปัส (Lupus nephritis) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของโรคลูปัสที่ทำให้ตับเสียหายและอักเสบ ส่งผลให้มีโปรตีนในปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง และไตวาย โดยจะเกิดขึ้นเมื่อออโตแอนติบอดีจับกับแอนติเจนที่สะสมอยู่ในไต

ผลตรวจ Anti-dsDNA การตีความ

แพทย์มักนำผลตรวจ Anti-dsDNA มาพิจารณาร่วมกับประวัติการเจ็บป่วย สัญญาณและอาการของโรคลูปัส และผลตรวจออโตแอนติบอดีอื่นๆ การมี Anti-dsDNA ในเลือดสูงสัมพันธ์กับโรคลูปัสเป็นอย่างมาก และมักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในระหว่างหรือก่อนที่โรคจะกำเริบ

เป็น 1 ใน 11 criteria สำหรับวินิจฉัยโรค SLE

เมื่อผล Anti-dsDNA เป็นบวก และ ผู้ที่เข้ารับการตรวจมีสัญญาณและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัส ก็หมายความว่ามีโอกาสที่จะเป็นโรคลูปัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผลตรวจ Anti-Sm เป็นบวก

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Anti-dsDNA

อาจเกิดผลบวกลวงได้ พบแต่ไม่ได้เป็น SLE

บางครั้งแพทย์อาจพบ Anti-dsDNA ในผู้ป่วยบางโรค และผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น

ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง

ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งทางเดินน้ำดี (Primary Biliary Cirrhosis: PBC)

ผู้ที่เป็นโรคโมโนนิวคลิโอสิส (Infectious mononucleosis)

ผู้ที่รับประทานยา Procainamide และ Hydralazine