Muscle cramps

คือการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง และไม่สามารถควบคุมได้

กลไกการเกิดจาก motorneuron ทำงานมากผิดปกติ

สาเหตุ

1. Ordinary cramp พบบ่อยที่สุด เกิดขึ้นเอง มักเป็นกลางคืนขณะพัก หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป 6.3 เท่า ผู้สูงอายุเป็นมากกว่าวัยอื่น นอกจากนี้อาจสัมพันธุกับกรรมพันธุ์และตับแข็งได้ มักพบที่น่องและกล้ามเนื้อมัดเล็กๆในเท้า ต้นเหตุมาจากระบบประสาท ปัจจัยที่มีผลคือการใช้กล้ามเนื้อซ้ำ เช่น ว่ายน้ำ เล่นเปียโน เป็นต้น

2. Cramp association with lower motor neuron disease เช่น nerve root compression, amyotrophic lateral sclerosis(ALS), polyneuropathy เป็นต้น ตรวจพบกล้ามเนื้อลีบหรืออ่อนแรง เป็นลักษณะของ muscle denervation

3. Hemodialysis cramp พบหลังทำ hemodialysis มีรายงานว่า 1/3 ผู้ที่ทำ dialysis จะเป็นตะคริว 1 ครั้งใน 6 สัปดาห์ และพบว่าการฉีด hypertronic saline หรือ hypertronic glucose ช่วยลดการเกิดตะคริวได้ คิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดจาก extracellular volume contraction หรือ hyperosmolarity

4. Heat cramp พบในคนที่ทำงานหนัก ในที่ร้อน เหงื่อออกมากและกินน้ำทดแทนการเสียเหงื่อ จะเกิดตะคริวที่มือและกล้ามเนื้อแขนขามัดใหญ่ การเกิดตะคริวอาจเป็น 1-2 ชั่วโมง หรือ 18 ชั่วโมงหลังเลิกงานก็ได้ สาเหตุน่าเกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่ และ โซเดียมต่ำ

5. Fluid and electrolyte disorders เช่น น้ำตาลต่ำ, โซเดียมต่ำ

6. Drug induced cramp ได้แก่ยา nifedipine, B-agonists, clofibrate และ penicillamine เป็นต้น

พยาธิสรีรวิทยา

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานที่มากไปของ PNS หรือ CNS มากกว่าที่ตัวกล้ามเนื้อเอง

ตะคริวทำให้ปวดได้เนื่องจากแรงตึงตัวที่สูงทำให้ mechanical receptor และ typeIII free nerve ending ถูกกระตุ้น

การวินิจฉัย

การซักประวัติ

- การเกิดตะคริว ขณะพัก ออกกำลังกายหรือทำงานในที่ร้อน

- อาการร่วม เสียงแหบ เหนื่อยง่าย ทนความเย็นไม่ได้ นึกถึง hypothyroidism , เหงื่อออกใจสั่น เบาหวาน นึกถึง hypoglycemia เป็นต้น

- ประวัติการใช้ยาต่างๆ

การตรวจร่างกาย ดูดังนี้ตามการวินิจฉัย

- Lower motor neuron disease กล้ามเนื้อลีบอ่อนแรง

- Hypothyroidism มี streth reflex ที่ช้า

- Orthostatic hypotension บ่งว่าขาดเกลือ

Lab Na K BS Mg Ca TSH EMG

การรักษา

การรักษาที่ดีที่สุด คือการเหยียดกล้ามเนื้อมัดนั้นอย่างนุ่มนวล มีผลทำให้ไปกระตุ้น golgi tendon organ และยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาทสั่งการในไขสันหลัง

การป้องกัน มี 2 วิธี

1. Stretching exercise เหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นบ่อยด้วยความแรงปานกลาง เหมือนถูกดึง ไม่ต้องเหยียดจนปวด ทำ 3 รอบต่อวัน หลังทำ 50% หายภายใน 1-3 วัน และหายหมดใน 1 สัปดาห์ และไม่เป็นอีกใน 1 ปี

2. การใช้ยา

2.1 ป้องกัน nocturnal cramps ได้แก่ quinine 200-300 mg/day ก่อนนอนจะช่วย ออกฤทธิ์โดยลดการตื่นตัวของ motor end plate และช่วยเพิ่ม refactory period ระวัง พิษของยาตามระดับยา ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน หูอื้อ หูหนวก ตาบอด น้ำตาลต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ ควรเริ่มยาด้วยขนาดน้อยๆ ระวังในผู้สูงอายุ ไตวาย โรคตับ

2.2 ป้องกัน daytime cramps แนะนำให้ใช้ยา phenyltoin และ cabamazipine