Junctional rhythm

Junctional rhythm

คือ จังหวะการเต้นของหัวใจที่เกิดจาก AV node

เต้นช้า มีหรือไม่มี P Wave ก็ได้

สาเหตุ

เป็นกลไกชดเชย การเกิด bradycardia หรือ asystole

สาเหตุ bradycardia

1.ไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ complete AV block, high-grade AV block, syntomatic sick sinus syndrome(sinus node dysfunction)

2.การให้ยาที่มีผลต่อการทำงานไฟฟ้าหัวใจ : digoxin, quinidine, Ca chan. Blocker, Beta-blocker etc.

3.โรคหัวใจต่างๆ : CAD, AMI, degenerative change ของ conduction system, hypoxia etc.

4.กรณี post CPR จะพบ Junctional rhythm เป็นตัวๆ โผล่ขึ้นมานานๆครั้ง

การเดินทางไฟฟ้าหัวใจ

กรณี ปกติ SA node(P wave) ไป AV node แล้วผ่านลง bundle of his ไป perkinje system ทำให้เกิด QRS complex เกิดขึ้น

กรณี ที่เริ่มจาก AV node จะพบ QRS complex อาจจะเกิด retrograde P wave ย้อนทางขึ้นไป atrium ได้ ทำให้เห็น retrograde P wave ขึ้น (หรือในบางกรณีก็อาจไม่มี retrograde P wave ย้อนขึ้นไป) ซึ่งมีทั้งหมด 3 ลักษณะด้วยกันคือ มี retro P wave ก่อนหรือหลัง QRS หรือ ไม่มี P wave

การอ่าน EKG

Heart Rate = 40-60 bpm

Rhythm = Regular

P wave = Inveted, Absent, After QRS

PR interval = <0.12

QRS = <0.12

มี QRS เต้นเป็นจังหวะห่างๆกัน , P wave มีหรือไม่มีก็ได้

Rhythm สม่ำเสมอ แต่ช้า เนื่องจากเป็น rate ของ AV node

QRS complex QRS interval น้อยกว่า 0.12 sec, rate 40-60/min ยกเว้นกรณีที่มี conductive disturbances

P-QRS relationship เกิดแบบ 1:1 มี PR interval สั้นและคงที่

P wave มีได้ 3 แบบ คือ

1. Retrograde P wave post QRS complex : retro-P หลัง QRS [Retrograde P]

ตำแหน่งจุดกำเนิดไฟฟ้า ด้านล่าง AV node ไฟฟ้าขึ้นไป SA node ได้ช้า

ทำให้เกิด Retrograde P wave หลัง QRS

ลักษณะ P wave เกิดตามใกล้ชิดกับ QRS รูปร่าง P จะแปลกๆ เนื่องจากไฟฟ้าย้อนทาง

2. QRS complex with No P wave : ไม่เห็น retro P wave [Absent P]

ตำแหน่งจุดกำเนิดไฟฟ้า ตรงกลาง AV node

ทำให้เกิด Retrograde P wave พร้อมกับ QRS complex

3. Retrograde P wave pre QRS complex : retro-P ก่อน QRS [Inverted P]

ตำแหน่งจุดกำเนิดไฟฟ้า ด้านบน AV node ไฟฟ้าขึ้นไป SA node ได้เร็ว

ลักษณะ P wave มักกลับหัวใน Lead I,II,aVF และ หัวตั้งใน lead aVR

จะมี PR interval สั้นมากๆ จึงไม่อ่านเป็น P wave

PR interval ปกติต้องกว้างกว่า 120 msec

Ref.

http://cardiotrue.blogspot.com/2016/11/junctional-rhythm-ekg-17.html

http://www.phimaimedicine.org/2010/01/306-78.html