Tics and Tourette

Tics and Tourette's syndrome

Tics คือ อาการกระตุกซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อโดยไม่ได้ตั้งใจ มักเป็นที่ใบหน้า คอ ไหล่ ทำให้เกิดอาการขยิบตา กระตุกมุมปาก หน้าผากย่น ยักไหล่ ส่ายหัวไปมา สะบัดคอหรือมีการเปล่งเสียงแปลกๆ เรียกว่า vocal tics เช่น ทำเสียงกระแอม เสียงจมูกฟุดฟิด เสียงคล้ายสะอึก

โรคนี้มักพบในวัยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ หรือมีอาการต่อเนื่องมาตั้งแต่เด็ก

การแบ่งชนิดเพื่อสะดวกในการเข้าใจ แบ่ง 2 แบบ ตามอาการที่เป็นและระยะเวลาที่เป็น

แบ่งตามอาการที่เป็น

1.Simple motor tics คือ การกระตุกของกล้ามเนื้อเป็นนิสัย เช่น กระพริบตา ยักไหล่ สะบัดหัว กำหมัด เป็นตน พบบ่อยในเด็กหรือวัยรุ่น พบเพศชายมากกว่าหญิง 3-5 เท่า บางคนเป็นอยู่นานโดยไม่รู้ตัวเลยว่าเป็น ไม่สามารถควบคุมได้ อาการจะเป็นมากขึ้นขณะมีความเครียด วิตกกังวล หรือประหม่า และอาการจะน้อยลงหรือหายไปขณะนอนหลับหรือมีสมาธิกับกิจกรรมบางอย่าง ซึ่ง tics ในกลุ่มนี้มักไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการดำรงชีวิต

2.Tourette's syndrome หรือ Gilles de la Tourette’s syndrome (GTS) คือ tics ชนิดรุนแรง มีอาการสำคัญคือ มีการกระตุกกล้ามเนื้อใบหน้าและลำตัวกระตุกอย่างมาก ร่วมกับเปล่งเสียงประหลาดออกมาเช่น เสียงจาม กระแอม คำราม หรือขากไอ ด่าพูดคำหยาบโดยไม่ตั้งใจ(Coprolalia) บางรายตามคำพูดคนที่คุยด้วย บางรายอาจพูดติดอ่าง หรือพูดซ้ำๆ ซึ่ง tics ชนิดนี้มักก่อให้เกิดปัญหาในการดำรงชีวิต เป็นอย่างมาก

อัตราการเกิดโรค Tourette’s disorder

พบร้อยละ 26.7 ของผู้ป่วยใหม่ที่วินิจฉัยว่าเป็น tic disorders พบอัตราการเกิดโรคในเพศชายมากกว่าหญิง 5 เท่า

ประวัติครอบครัว พบการเกิดโรค tic disorders ในครอบครัวร้อยละ 24.4

การดำเนินโรค

มักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 5-6 ปี ส่วนใหญ่มาพบแพทย์ในช่วงอายุ 8–9 ปี หรือขณะเรียนอยู่ในชั้นประถมปีที่ 2–3 อาการมักรุนแรงที่สุดเมื่ออายุ 11-12 ปี แล้วค่อยๆลดลงเมื่อผู้ป่วยโตขึ้น ผู้่ป่วยครึ่งหนึ่งจะหายเมื่ออายุประมาณ 18 ปี แม้อาการยังมีอยู่แต่จะส่งผลต่อการดำรงชีวิตลดลง

แบ่งตามระยะเวลาที่เป็น

1.Transient Tic disorder คือ ผู้ป่วยที่มีอาการ Tics ชั่วคราว มักเป็นเด็กชายอายุ 3-10 ปี เป็นได้ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1ปีแล้วมักจะหายไปเอง โดยตำแหน่งที่เป็นอาจเปลี่ยนที่ได้เรื่อยๆ เช่น ที่หน้า ที่ไหล่ ที่แขน ที่ขา

ลักษณะอาการ เป็นการกระตุกซ้ำๆกันของกล้ามเนื้อ พบได้บ่อยในเด็ก เป็นได้ทั้งชั่วคราวและเรื้อรัง มักพบร่วมกับการผิดปกติอื่น พบร่วมกับโรคสมาธิสั้นมากที่สุด รองลงไปคือ anxiety disorder, learning disorder และ mood disorder ส่วน obsessive compulsive disorder พบร่วมได้น้อย

2.Chronic motor or vocals tic disorder คือ ผู้ป่วยที่มีอาการ Tics ติดต่อเป็๋นประจำนานกว่า 1 ปี

สาเหตุ

มักไม่มีสาเหตุ แต่มีบางปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุได้ดังนี้

ทางพันธุ์กรรม เชื่อว่า น่าจะมาจาก Polygenic transmission โดยอาจต้องมีการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น การคลอดลำบาก, head injury หรือ การได้รับสารต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์

จากยา ยาที่อาจกระตุ้นทำให้เกิด Tics ได้แก่ ยากันชัก (carbamazepine,phenyltoin, lamotrigine, phenobarbital) ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้น(amphetamine, dextroamphetamine), cocain, heroin, dopamine-blocking agents และ levodopa สารพษบางประเภท เช่น carbon monoxide, wasp venom และสารปรอท

การวินิจฉัย

จากอาการประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ โดยแยกโรคออกจากการเคลื่อนไหวผิดปกติต่างๆเช่น dystonia, Sydenham's chorea, myoclonic seizure เป็นต้น

ส่วนการตรวจเลือด, EEG หรือ scan สมอง มักต้องการรู้ว่าเป็นโรคอย่างอื่นหรือสาเหตุที่สงสัยรอยโรคในสมองเป็นติดต่อเป็๋นประจำมากกว่า 1 ปี มากกว่า

การวินิจฉัย ตาม DSM-IV-TR

Tourette syndrome

1.พบ motor และ vocal tics พร้อมกันระหว่างที่เป็น

2.เป็นติดต่อกัน หรือไม่เป็นห่างกันไม่เกิน 3 เดือนติดต่อกันเกิน 1 ปี

3.เริ่มเป็นก่อนอายุ 18 ปี

4.ไม่มีสาเหตุ เช่น จากยาหรือโรคบางชนิด ได้แก่ Huntington's disease, postviral encephaliitis

Chronic motor or vocals tic disorder

1.เป็น motor หรือ vocal tics อย่างไดอย่างหนึ่ง

2.เป็นติดต่อเป็๋นประจำมากกว่า 1 ปี ระหว่างนี้ไม่เคยหายมากกว่า 3 เดือน

3.เริ่มเป็นก่อนอายุ 18 ปี

4.ไม่มีสาเหตุ เช่น จากยาหรือโรคบางชนิด ได้แก่ Huntington's disease, postviral encephaliitis

Transient tic disorder

1.เป็น motor หรือ vocal tics

2.เป็นติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 1 ปี

3.เริ่มเป็นก่อนอายุ 18 ปี

4.ไม่มีสาเหตุ เช่น จากยาหรือโรคบางชนิด ได้แก่ Huntington's disease, postviral encephaliitis

Tics ที่พบในผู้ใหญ่

ส่วนใหญ่มักเป็นอาการที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ในวัยเด็ก แต่มีบางส่วนที่อาการ Tics เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในวัยผู้ใหญ่ ต้องได้รับการวินิจฉัยถึงสาเหตุของการเกิดโรค เช่น การติดเชื้อ เส้นเลือดสมองตีบ โรคความเสื่อมทางระบบประสาท การได้ยาหรือสารเสพติดต่างๆ Tics ในผู้ใหญ่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1. Tics ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ในวัยเด็ก

สาเหตุมักไม่ทราบ การวินิจฉัยที่สำคัญคือ Tourette's syndrome

อาการที่ต่อเนื่องมาในวัยเด็กมักจะค่อยๆลดลง ประมาณ 1/3 อาการ TIcs จะหายได้เอง แต่มีบางรายที่รุนแรงขึ้น ปัจจัยที่สำคัญคือ รายที่มีอาการรุนแรงในช่วงวัยรุ้น (ปกติแล้วจะรุนแรงสูงสุด 10-12ปี)

2. Tics ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในวัยผู้ใหญ่

พบเพียง 5.4% บางรายไม่มีสาเหตุอาจมีอาการตั้งแต่เด็กแต่ไม่ได้สังเกต บางส่วนมีสาเหตุเช่น เกิดตามมาหลังจากติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย การได้รับบาดเจ็บ หรือการได้ดมยาสลบมาก่อน เป็นต้น อาการคล้ายในวัยเด็กแต่มักรุนแรงกว่า และมีปัญหาทางสังคมมากกว่า ร่วมถึงการตอบสนองต่อยาน้อยกว่าในเด็ก

การรักษา

ยา benzodiazepine ซึ่งเป็นยากล่อมประสาทในระยะสั้น เช่น diazepam ซึ่งไม่ใช่ยารักษา Tics โดยตรง แต่จะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวล ในระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยจิตบำบัด

Haloperidol (Haldol) 0.25-0.5mg dose1-5mg/day

เป็นยารักษาโรคทางจิตที่ใช้กับกลุ่มผู้ป่วยที่มี Tourette's syndrome ได้ผล 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ข้อเสียคือจะกลับมาเป็นใหม่เมื่อหยุดยา และมีผู้ป่วยเพียง 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ ที่รับประทานยาต่อ เนื่องจากผลข้างเคียงของยา ได้แก่ ง่วงนอน มึนงง ควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อไม่ได้ ยาที่ปลอดภัยกว่าได้แก่ โคลนิดีน (คาตาเพรส) [colnidine (Catapres)] ซึ่งเป็นยาลดความดัน ยานี้จะขัดขวางสัญญาณประสาทบางส่วน บางรายงานพบว่าได้ผลกับผู้ป่วย 40 – 70 เปอร์เซ็นต์ ที่มีกลุ่มอาการตูเรตต์

นอกจากนี้ยังมียาที่ใช้ได้แก่ pimozide, risperidone, ziprasidone, olanzepine, guantacine, clonidine, fluphenazine, clonazepam, และ tetrabenazine

Ref.

1.http://www.ramamental.com/journal/463/v4633.htm

2.www.athasit.com/book/download/46 “กระตุกไป ด่าไป !”

3.http://www.placetolearn.org/Form/health/rdth/rd01/rd_p073.html