Gnathostomiasis

Qx Dx: กินกบไก่ปลา ดิบๆสุกๆ ปวดบวม เจ็บจิ๊ดๆ เคลื่อนที่ได้ Eoสูง

Qx Rx: Albendazole 400 mg OD * 21 วัน

Gnathostomiasis โรคพยาธิตัวจิ๊ด

คือ โรคที่เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิตัวจิ๊ดไชเข้าร่างกาย

สาเหตุ

เกิดจากตัวอ่อนของเชื้อพยาธิตัวกลม สกุล Gnathostoma ที่พบบ่อยสุดคือ Gnathostoma spinigerum

Gnathostoma มี 19 ชนิด ในไทยพบเพียง 4 ชนิด

ตัวพยาธิ

เต็มวัย ตัวกลมอ้วนสั้น ยาวประมาณ 1.5-3.0 cm หัวคล้ายรูปฟักทอง หนามรอบหัว ตัวและหัวจะมีหนามยื่น

ตัวอ่อน รูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย แต่หนามน้อย พบขดในถุงหุ้มฝังในเนื้อสัตว์ต่างๆ

ตัวอ่อนในคน เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ ยาวประมาณ 0.5-1 cm

วงจรชีวิต

ตัวเต็มวัยในกระเพาะอาหารสุนัข แมว ->ออกไข่ปนกับอุจจาระ->ลงน้ำ ฟักตัวในน้ำ->

ตัวอ่อนระยะ 1->ถูกกินโดยกุ้งไร cyclops เจริญเป็นระยะที่ 2-> ปลากินไรกุ้ง เจริญเป็นระยะที่ 3

->สุนัข แมวกินปลา เจริญเป็นตัวเต็มวัยในกระเพาะอาหาร

ตัวอ่อนระยะที่ 3 คือระยะติดต่อ

Host

เจริญเป็นตัวเต็มวัยออกไข่ อยู่ในก้อนทูมที่ผนังกระเพาะอาหารของ สุนัข เสือ แมว

ตัวอ่อนระยะที่ 3 ได้แก่ ปลาไหล(ติดเชื้อมากสุด) ปลาน้ำจืด กบ งู เชื้อจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ในเนื้อสัตว์เหล่านี้

นก เป็ด ไก่ หนู กระแต เป็น paratenic host กินสัตว์ที่มีตัวอ่อนระยะ 3 จะไม่เจริญเป็นตัวแก่

คนเป็น accidental host กินตัวอ่อนระยะที่ 3 ที่เป็นซีสต์ฝังตัวในกล้ามเนื้อของสัตว์

จังหวัดที่พบ มีหลายจังหวัด เช่น ราชบุรี ลพบุรี อยุธยา อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี เป็นต้น

การติดต่อ

1.คนกินปลาที่ไม่สุก มีตัวอ่อนระยะ 3 จะไชไปตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย แต่จะไม่เจริญจนออกไข่ได้

2.กินไรกุ้งที่มีตัวอ่อนระยะที่ 3

2.จากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยไชผ่านรก

3.ไชเข้าผิวหนัง ที่เป็นแผล บางคนใช้เนื้อสัตว์สดๆ เช่น กบ ปลา พอกแผล

อาหารที่พบตัวอ่อน ได้แก่ สัมฟัก ลาบ ก้อย แหนม ปลาร้า ปลาเจ่า ยำกบ ปลาไหลผัดเผ็ด ไก่ย่างไม่สุก หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่ปรุงไม่สุก

อาการและอาการแสดง

1.พยาธิไชผิวหนัง ตามลำตัวแขน ใบหน้า มีอาการบวมแดง เป็นรอยทางแดง 4-10 วันแล้วหายได้เอง

และอาจบวมขึ้นมาใหม่ในบริเวณไกล้เคียง

2.พยาธิไชเข้าอวัยวะต่างๆ ตา ปอด กระเพาะปัสสาวะ สมอง(อาเจียน ปวดศีรษะ คอแข็ง ปวดเส้นประสาท)

ที่ตา ทำให้หนังตาบวมปิด ไชเข้าตา ตาบอดได้

3.เป็นก้อนคล้ายเนื้องอกตามอวัยวะต่างๆ

อาการมักไม่หายขาด เป็นๆหายๆ เนื่องจากตัวอ่อนมีอายุยาวและไชไปมา

ตัวอ่อนพยาธิตัวจิ๊ด จากรายงาน ตัวอ่อนสามารถอยู่ในคนได้นานถึง 14 ปี

การวินิจฉัย

Difinite diagnosis ต้องพบตัวพยาธิ

ส่วนใหญ่แล้วพบเนื่องจากไชออกมาทางผิวหนัง เยื่อตาขาว ปัสสาวะ แต่พบน้อยการผ่าตัดชิ้นเนื้อมักไม่พบ

วินิจฉัยจากอาการ ปวดบวมเจ็บคัน เคลื่อนที่ได้และประวัติการกินดิบๆสุกๆ

CBC: Eo สูง

ELISA: ต่อตัวอ่อนระยะ 3

การรักษา

ยังไม่มียาที่ได้ผลดี แต่มียาที่ใช้ได้แก่

Albendazole 400 mg OD * 21 วัน ทำให้พยาธิออกมากจากผู้ป่วยได้

หรือ Thiabendazole50mg/kg/day แบ่ง bid *5 วัน

การป้องกัน

ดื่มน้ำสะอาด ไม่มีไรกุ้งปน อาหารให้กินแบบปรุงสุกทุกอย่าง

Ref.

http://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/public/Gnathostomiasis.htm

http://www.tm.mahidol.ac.th/hospital/hospital-p-gnathostoma-th.php

http://www.school.net.th/library/snet4/gnat/index.html

http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/infectious/parasite/gnathostomiasis.htm#.U2Id_YGSzIc

http://www.healthcarethai.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%8A%E0%B8%94/