Epilepsy ประเภท

The International League against Epilepsy (ILAE)

มีการกำหนดคำจำกัดความ

จัดแบ่งประเภทของการชัก และ โรคลมชัก

ตั้งแต่ปีค.ศ. 1981ซึ่งเป็นแบบที่คุ้นเคย

คำจำกัดความของโรคลมชักใหม่

คือ เป็นภาวะ ผิดปกติของสมองที่ทำให้เกิดการชักอย่างน้อย 1 ครั้ง และ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการชักซ้ำ อีก

รวมถึงเกิดผลเสียต่อเนื่องทางชีวภาพ ของระบบประสาท (neurobiologic) หรือทางสติปัญญา จิตใจ และ สังคมในระยะยาว

คำจำกัดความเดิม คือ เป็นโรคลมชักเมื่อมีอาการชักที่ไม่มีปัจจัยกระตุ้นตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป

ปี 2010 ได้ทบทวนและแบ่งประเภทใหม่

มี 2 ประเภทตาม จุดเริ่มต้นของการชักได้แก่

1.Generalized seizure

คือ การชักที่เริ่มต้นและกระจายไป ทั่วสมองทั้ง 2 ข้างอย่างรวดเร็ว

2.Focal seizure (partial seizure ตาม ILAE classification เดิม)

คือ การชักที่เริ่มต้นจากจุดหนึ่งในสมองเพียงข้างเดียว

โดยอาจจำกัดอยู่เพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือกระจายไป ทั่วภายในสมองข้างนั้นเท่านั้น

ตารางประเภทชัก 1981 2010

ความแตกต่างในการแบ่งประเภทการชักใน ปีค.ศ. 2010จากปีค.ศ. 1981

ดังนี้

1.Neonatal seizure เดิมอยู่ในกลุ่ม unclassified แต่ล่าสุด ไม่ได้แยกออกมา เพราะสามารถแบ่งได้เหมือนกับอาการ ชักในช่วงอายุอื่นตาม classification ใหม่

2.Absence seizure ที่มีลักษณะเฉพาะได้แก่

myoclonic absence และ eyelid myoclonia ได้ถูกรวมเข้ามาอยู่ใน classification ใหม่

3.Myoclonic atonic seizure เรียกแทน myoclonic astatic seizure

4.Infantile spasm ได้เปลี่ยนชื่อเป็น epileptic spasm เนื่องจากอาการชักชนิดนี้สามารถพบได้ต่อหลังจากช่วง infant และจัดอยู่ในกลุ่ม unknown เนื่องจากข้อมูลที่มีใน ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าเป็น focal หรือ generalized seizure

5.Focal seizure (partial seizure ตาม ILAE classification เดิม) ไม่ได้แบ่งเป็น simple หรือ complex partial seizure แต่ให้ประเมินในแต่ละรายว่าจุดประสงค์ที่ต้องการแบ่ง ชนิดคืออะไรเช่น เพื่อประเมินก่อนการผ่าตัด เพื่อใช้แยกกับ non-epileptic event หรือเพื่อใช้ในการวิจัย โดยอาศัย ข้อมูลด้านต่างๆ มาช่วยแบ่งประเภทเช่น seizure semiology, localization ความรู้สึกตัว หรือการเปลี่ยนแปลงในขณะชัก เป็นต้น

นิยามแบบง่ายๆ

-Generalized Seizures

เป็นอาการชักที่เกิดขึ้นกับสมองทั้ง 2 ซีก แบ่งได้เป็น 2 ชนิดย่อย ๆ คือ

  • Absence Seizures อาการชักแบบเหม่อลอย เป็นอาการชักที่มักเกิดขึ้นในเด็ก

  • อาการที่โดดเด่นคือการเหม่อลอย หรือมีการขยับเขยื้อนร่างกายเพียงเล็กน้อย เช่น การกระพริบตาหรือขยับริมฝีปาก อาการชักชนิดนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียการรับรู้ในระยะสั้น ๆ ได้

  • Tonic Seizures อาการชักแบบชักเกร็ง เป็นอาการชักที่ทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยมักจะเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบริเวณหลัง แขนและขา จนทำให้ผู้ป่วยล้มลงได้

  • Clonic Seizures อาการชักแบบชักกระตุก เป็นอาการชักที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ โดยอาจทำให้เกิดการขยับเขยื้อนในจังหวะซ้ำ มักเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อบริเวณคอ ใบหน้า และแขน

  • Tonic-clonic Seizuresอาการชักแบบชักเกร็งกระตุก เป็นอาการชักที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อในร่างกายทุกส่วน ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งและกระตุก ส่งผลทำให้ผู้ป่วยล้มลง และหมดสติ บางรายอาจร้องไห้ในขณะที่ชักด้วย และหลังจากอาการบรรเทาลง ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อยเนื่องจากอาการชัก

  • Atonic Seizures อาการชักแบบกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการชักที่ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ผู้ป่วยที่มีอาการชักชนิดนี้จะไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อขณะเกิดอาการได้ จนทำให้ผู้ป่วยล้มพับ หรือหกล้มลงได้อย่างเฉียบพลัน

  • Myoclonic Seizuresอาการชักแบบชักสะดุ้ง อาการชักชนิดนี้มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน โดยจะเกิดอาการชักกระตุกของแขนและขาคล้ายกับการโดนไฟฟ้าช็อต ส่วนใหญ่มักจะเกิดหลังจากตื่นนอน บ้างก็เกิดขึ้นร่วมกับอาการชักแบบอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน

สรุป ชักเหม่อลอย ชักเกร็ง ชักกระตุก ชักสะดุ้ง ชักเกร็งกระตุก ชักอ่อนแรง

- Partial หรือ Focal Seizures เกิดที่สมองข้างเดียว หรือ จุดเดียว

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  • Simple Focal Seizuresอาการชักแบบรู้ตัว สำหรับอาการชักประเภทนี้ ขณะที่เกิดอาการ ผู้ป่วยจะยังคงมีสติครบถ้วน โดยผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกแปลก ๆ หรือมีความรู้สึกวูบ ๆ ภายในท้อง บ้างก็อาจรู้สึกเหมือนมีอาการเดจาวู ซึ่งเป็นความรู้สึกเหมือนว่าเคยพบเห็นหรือเกิดเหตุการณ์ที่ประสบอยู่มาก่อน ทั้ง ๆ ที่ไม่เคย อาจเกิดความรู้สึกร่าเริงหรือกลัวอย่างกะทันหัน และได้กลิ่นหรือรับรู้รสชาติแปลกไป รู้สึกชาที่แขนและขา หรือมีอาการชักกระตุกที่แขนและมือ เป็นต้น

  • ทั้งนี้ อาการชักดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการชักชนิดอื่น ๆ ที่กำลังตามมา อาการเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยและคนรอบข้างเตรียมรับมือได้ทัน

  • Complex Partial Seizuresอาการชักแบบไม่รู้ตัว สามารถเกิดขึ้นโดยที่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวและไม่สามารถจดจำได้ว่าเกิดอาการขึ้นเมื่อใด ไม่ว่าจะในขณะที่เกิดอาการหรืออาการสงบแล้ว อาการชักชนิดนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ โดยอาจมีอาการเช่น ขยับริมฝีปาก ถูมือ ทำเสียงแปลก ๆ หมุนแขนไปรอบ ๆ จับเสื้อผ้า เล่นกับสิ่งของในมือ อยู่ในท่าทางแปลก ๆ เคี้ยวหรือกลืนอะไรบางอย่าง นอกจากนี้ ในขณะที่เกิดอาการ ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบข้างได้เลย

บางครั้ง

อาการชักแบบเฉพาะส่วนนั้น อาจคล้ายกับอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอื่น ๆ อาทิ อาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งอาจมีอาการเห็นแสงวูบวาบ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในการนอนหลับ ซึ่งอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบกะทันหัน หรืออาการของโรคจิต จึงมีความจำเป็นมากที่ต้องใช้การทดสอบและการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อแยกโรคลมชักออกจากโรคอื่น ๆ

อื่นๆ

อาการชักต่อเนื่อง (Status Epilepticus) ชักต่อเนื่องกันมากกว่า 30 นาทีขึ้นไป

หรือเป็นอาการชักต่อเนื่องที่ผู้ป่วยไม่สามารถคืนสติในระหว่างที่ชัก

Ref.

http://thaiepilepsysociety.com/wp-content/uploads/2013/07/epidigest_vol1_2012.pdf หน้า 9