Urticaria in Pregnancy

Urticaria in Pregnancy
PUPPP : Pruritic Urticarial Papules and Plaques of Pregnancy 
หรือ Polymorphic eruption of pregnancy (PEP) 

ผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ คันมาก บางคนรุนแรงมากทำให้นอนไม่หลับ
อุบัติการณ์

PUPPP รอยโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย และ จำเพาะที่สุด สำหรับหญิงตั้งครรภ์
พบได้ 1:160 – 1:300 ของสตรีตั้งครรภ์
โดย 3/4 เป็นสตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน
พบเพิ่มขึ้น 8-12 เท่าในการตั้งครรภ์แฝด(พบได้ 8:200 ของสตรีที่ตั้งครรภ์แฝด)

สาเหตุ
- เชื่อว่า เกิดจากการยืดผิวหนัง เกิดการทำลาย connective tissue ทำให้เกิดอักเสบตามมา
โดยเฉพาะส่วนที่ยืดมากๆ
- เชื่อว่า เกิดจากการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนในระดับสูง
- เชื่อว่า ปฏิกิริยาจาก fetal antigen ที่ผ่านมาทางกระแสเลือด มีการตรวจพบ fetal DNA รอยโรคที่ผิวหนังได้

อาการและอาการแสดง
ลักษณะจำเพาะคือ “erythematous papules within striae”
โดยจะเริ่มเกิดบริเวณ striae ที่บริเวณหน้าท้องก่อน (ยกเว้นช่วงรอบสะดือ)
จากนั้นจึงจะมีการกระจายของรอยโรคไปยังแขนขา และจะมีการรวมตัวกันเป็น urticarial plaques (hives)
มักจะไม่เกิดบริเวณในหน้า ผ่ามือ และผ่าเท้า
อาจจะพบลักษณะของวงกลมสีขาวล้อมรอบ erythematouse papules ได้บ่อย
เรียกว่า target-like lesion และผู้ป่วยทั้งหมดจะมีอาการคันตามแขนและขาได้

ช่วงเวลาที่พบ
มักเริ่มเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ (ประมาณ 35 สัปดาห์)
แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหลังคลอด
ส่วนไตรมาสที่ 1 และ 2 จะพบน้อยมาก

PUPPP อาจจะมีอาการแย่ลงทันทีหลังคลอด
แต่อาการเหล่านั้นจะหายไปได้เองหลังคลอดประมาณ 15 วัน

การวินิจฉัย
จากประวัติและการตรวจร่างกาย เป็นหลัก
น้อยรายมากที่ต้องอาศัย  skin biopsy โดยจะมีลักษณะที่ไม่จำเพาะ
ได้แก่ การพบ spongiosis และ parakeratosis ในผิวหนังชั้น Epidermis
ในส่วนของชั้น Dermis จะพบเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบผนังหลอดเลือด โดยการชักนำของ T-helper cell
บางครั้งจะเห็น eosinophils หรือ neutrophils ได้หากมีการบวมขึ้นของชั้น Dermis

Subtypes of PUPPP [8]

การรักษา
เป้าหมาย ลดอาการผู้ป่วย
- low - mid potency topical corticosteroids เป็นยาเริ่มร่วมกับครีมบำรุงผิว
- Non sedating oral antihistaminet ผื่นคันควรให้ Cetirizine มากกว่า
- Systemic steroid Ex. Prednisolone 2x2 ประมาณ 3 วัน เป็นตัน 

ยาแก้แพ้ในหญิงตั้งครรภ์
Pregnancy category
First Generation Antihistamine
Category B : CPM, cyproheptadine, Dexchlorphemiramine, Tripelennamine
Category C : Hydroxyzine
Second Generation Antihistamine
Category B : Cetirizine(ผื่นผิวหนังดี), Loratidine(แพ้อากาศดี), Levocetrizine
Category C : Fexofenadine, Desloratidine

Prognosis
ไม่เพิ่มความเสี่ยงในมารดาและทารก

ref.

https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6746/
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/1647/