Asthma

Asthma

Qx Rx: Corticosteroid แบบสูด(ICS) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นยาหลักในการรักษาโรคหืด(กดlinkได้)

Asthma คือ โรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ที่เกิดจากปฎิกิริยาทางภูมิแพ้ของร่างกายต่อสารก่อโรค

ทำให้เกิด bronchial hyper-responsiveness ,BHR ต่อสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อม

พยาธิกำเนิด การเกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมเกิดขึ้นตลอดเวลา

ปัญหา การรักษาที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดพังผืดและมีการหนาตัวของผนังหลอดลม เกิด airway remodeling และมีผลให้เกืดการอุดกั้นหลอดลมถาวร

การรักษา

เป้าหมายการรักษา คือ ควบคุมอาการให้ดีที่สุด และป้องกันไม่ให้กำเริบ

ยาที่ใช้รักษา สำคัญสุดในการรักษา คือ ยาที่ใช้ลดการอักเสบ เป็นหลัก

ก็คือ corticosteroid ชนิดสูดดม ร่วมกับ ยาขยายหลอดลมและยาอื่นๆ

*เป้าหมายคือการควบคุมอาการ ยาสำคัญคือยาพ่นsteroid(ICS)*

การประเมินความรุนแรง แบ่ง 4 ระดับ

ระดับ 1 intermittent และ persistent เป็นระดับ 2-4

1.Intermittent หืดครั้งคราว: หอบกลางวันน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง กลางคืนน้อยกว่า 2 ครั้งต่อเดือน

2.Persistent หือเรื้อรัง แบ่งเป็น 3 ข้อ

2.1 Mild persistent: กลางวันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ กลางคืนมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน

2.2 Moderate persistent: หอบทุกวัน รบกวนกิจกรรมและการนอน หอบกลางคืนมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์

2.3 Severe persistent: หอบตลอดเวลา เป็นบ่อยและรบกวนการทำกิจกรรมต่างๆ หอบกลางคืนบ่อยๆ

ระดับการควบคุม

1.ควบคุมได้:

-หอบกลางวันหรือใช้ยาช่วยลดอาการไม่เกินสัปดาห์ละครั้ง ออกกำลังกายได้ ไม่กวนเวลานอน ------acute exacerbation ไม่มีเลย และ FEV1 ปกติ

2.ควบคุมได้บ้าง :

-หอบกลางวัน/ใช้ยาช่วยลดอาการมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รบกวนการออกกำลังและการนอน

-acute exacerbation อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และ FEV1<80%

3.ควบคุมไม่ได้เลย :

-อาการในข้อ 2 อย่างน้อย 3 ข้อหรือ acute exacerbation 1 ครั้ง ในช่วงสัปดาห์ไหนก็ได้

ยาที่ใช้ มี 2 กลุ่ม หลัก

1.controller ควบคุม

2.reliever บรรเทา/ช่วยลดอาการ

ยาควบคุมโรค คือ ยาป้องกัน

1.Corticosteroid

แบบสูด(ICS) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นยาหลักในการรักษาโรคหืด

แบบรับประทานในขนาดน้อย สำหรับโรคหืดรุนแรงที่รักษาด้วยยาขนานอื่นอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังควบคุมอาการไม่ได้

แบบฉีด สำหรับผู้ป่วยมีอาการกำเริบเฉียบพลันรุนแรง

ออกฤทธิ์ ต่อต้านการอักเสบ ลดความไวต่อสิ่งกระตุ้น ลดความถี่ของอาการหอบ ไม่ทำให้หายหากหยุดใช้กำเริบได้

2.Inhaled long acting β2-agonist(LABA)แต่การใช้ยากลุ่มนี้แบบระยะยาว จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ ICS เสมอ

ฤทธิ์ ขยายหลอดลมและลดการอักเสบ

3.Mixed ICS+LABA : เช่น salmeterol+Fluticasone, formoteral+budesonide

ข้อดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม และ ทำให้ใช้ขนาดยา steroid ลดลง

4.Leukotriene modifierเป็นยาเม็ดกินง่ายแต่แพง

ฤทธิ์ ต้านการสังเคราะห์ Leukotriene หรือ ต้านการออกฤทิ์ของ Leukotriene receptor

ประสิทธิภาพด้อยกว่า ICS

เหมาะเป็นยาเสริมของ ICS ในกรณีหืดรุนแรง หรือเป็นยาเดี่ยวในเด็กหรือผู้เป็นหืดรุนแรงน้อย

ข้อบ่งใช้พิเศษ หอบหืดจากยา NSAIDs และ หืดที่มี allergic rhinitis ร่วมด้วย

5.Xanthine

ฤทธิ์ ต้านการอักเสบ(5-8mg/dl) ขยายหลอดลมเล็กน้อย(10-15mg/dl)

ประสิทธิภาพด้อยกว่า LABA

ปัญหา เกิดอาการข้างเคียงง่าย การปรับระดับยาต้องให้เหมาะสม

6.Anti-IgE : Omalizumab

ฤทธิ์ จับกับ free IgE เกิดเป็น immune complex ทำให้ไม่มี IgE ไปจับกับ mast cell และ basophil

การใช้ยาต้องควบคุมให้ดี มีการวัดระดับ IgE และทำ prick test ก่อนให้ และต้องมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน

ยาบรรเทาอาการ คือ ยาขยายหลอดลม

1.Short acting β2-agonist

ฤทธิ์ ขยายหลอดลม ทำให้ mucociliary clearance ดีขึ้น และ vascular permeability ลดลง ฤทธืไม่นาน 4-6 ชั่วโมง

ปัจจุบัน การให้แบบรับประทานไม่นิยมแล้ว เนื่องจากมีทำให้ใจสั่นมือสั่น

นิยม MDI(200-500mg), Nebulizer(2.5-5mg) เมื่อมีอาการเหนื่อย

2.Anticholinergic/ β2-agonist : iprotropium bromide+fenoterolหรือsalbutamal

ปัจจุบันนิยมใช้ โดยเฉพาะในรายที่หืดกำเริบและใช้ β2-agonist มาก่อนแต่ไม่ได้ผล

3.Methylxanthine

ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม เนื่องจากยาออกฤทธิ์ช้า ไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำ

Aminophylline ฉีด ใช้เฉพาะ acute severe asthma หรือ status asthmaticus ที่ใช้ β2-agonist ไม่ได้ผล

Ref.

1.http://medinfo2.psu.ac.th/commed/document/conf/2012/COPD_asthma_fam%20med.pdf

2.https://docs.google.com/document/d/1gRDzFV8wRAgE8-MNJHK4rrH0WhIwnAhAd1Tj48wrHow/edit?usp=drive_web

3.http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/doc/km54/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%A1%20(Bronchodilators).pdf

4.http://thaipediatrics.org/attchfile/cpg_11-05-23.pdf

5. http://www.asthma.or.th/asthma.php?id=90 รวมยา ICS ยี่ห้อต่างๆ

6. http://annals.org/article.aspx?articleid=724674LABAs related death

7. http://www.asthma.or.th/asthma.php