SLE การวินิจฉัย

QxDx : อย่างน้อย 4 in 11

Skin 4 ข้อ : ผื่นแดง ผื่นนูน ผื่นแพ้แสง แผลในปาก

Systemic 5 ข้อ ข้ออักเสบ สมองชัก/โรคจิต ปอดหัวใจ/serositis ไต/ไข่ขาว/cast เลือดRWPต่ำ

Lab 2 ข้อ Immune +, ANA +

ส่งตรวจ CBC,UA,EKG,CXR,joint Xray,AntiDND,Antism,ANA profile

การวินิจฉัย

ต้องเข้าเกณฑ์ อย่างน้อย 4 ใน 11 ข้อ

เป็น อาการแสดง และ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ร่วมกัน

ข้อควรสังเกตสำหรับการวินิจฉัย

1. ต้องแยกภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อและอื่น ๆ ออกไปก่อน

2. มีอาการแสดงไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัย SLE ควรให้การวินิจฉัยว่าเป็น probable SLE

(**ให้การรักษาตามแนวทางการรักษาโรค SLE แต่

** ควรติดตามอาการและอาการแสดงในระยะยาวเพื่อการรวินิจฉัยที่แน่นอน )

3. การวินิจฉัยโรค SLE อาศัยลักษณะอาการทางคลินิกเป็นหลัก

เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรค SLE

อาศัยเกณฑ์ในการวินิจฉัยตาม 1982 The American College of Rheumatology revised criteria for the

classification of systemic lupus erythematosus ร่วมกับ 1997 Updating Classification criteria

ข้อวินิจฉัย คำจำกัดความ

1. Malar rash ผื่นแดง ราบหรือนูนบริเวณโหนกแก้ม ส่วนใหญ่ไม่ involve naso-labial fold

2. Discoid lesion ผื่นนูนแดง ขอบเขตชัดเจน มีสะเก็ด, มี follicular plugging อาจพบลักษณะ

atrophic scar ในรอยโรคเก่า

3. Photosensitivity เป็นผื่น แพ้แสงมากผิดปกติ สังเกตโดยผู้ป่วยเองหรือแพทย์

4. Oral ulcer เป็นแผลในปากหรือ nasopharynx, มักเป็นแผลที่ไม่เจ็บ, สังเกตโดยแพทย์

5. Arthritis อาการ+xray ข้อ

-ข้ออักเสบมากกว่า 2 ข้อ โดยมีลักษณะข้อบวม ปวด และมีนํ้าไขข้อ

-แต่ไม่มีลักษณะกระดูกกร่อน (erosion) ในภาพรังสี

6. Serositis อาการ+CXR

A เยื่อหุ้มปอดอักเสบ Hx/Pleural rub/Pleural effusion

-วินิจฉัยจากประวัติ เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าออก, หรือ

-ฟังได้เสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มปอด (pleural rub) โดยแพทย์, หรือ

-การตรวจพบนํ้าในช่องเยื่อหุ้มปอด หรือ

B เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ EKG/pericardial rub/pericardial effusion

-วินิจฉัยจากการเปลี่ยนแปลงทางคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, หรือ

-ฟังได้เสียงเสียดสีของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial rub) โดยแพทย์, หรือ

-ตรวจพบนํ้าในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ

7. Kidney UA

A ตรวจพบไข่ขาวในปัสสาวะ (proteinuria) มากกว่า 0.5 กรัม/วัน ตลอดเวลา

หรือพบไข่ขาวในปัสสาวะตั้งแต่ +3 (ถ้าไม่ได้ตรวจวัดปริมาณแน่นอน)

หรือ

B มี cast ซึ่งอาจเป็นชนิดเม็ดเลือดแดง, ฮีโมโกลบิน, granular, tubular

หรือพบร่วมกัน

8. Nervous system ชัก หรือ โรคจิต

A ชักโดยไม่ใช่สาเหตุจากยาหรือความผิดปกติทางเมตะบอลิสม เช่น uremia,

ketoacidosis หรือการไม่สมดุลของเกลือแร่ เป็นต้น

หรือ

B โรคจิตที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือความผิดปกติทางเมตะบอลิสม เช่น uremia,

ketoacidosis หรือการไม่สมดุลของเกลือแร่ เป็นต้น

9. Blood RC/WBC/L/Plt ต่ำ

A hemolytic anemia ร่วมกับการเพิ่มขึ้นของ reticulocyte หรือ

B เม็ดเลือดขาวตํ่ากว่า 4,000 เซลล์/มม3 โดยตรวจพบอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือ

C ลิย์มโฟซัยท์ตํ่ากว่า 1,500 เซลล์/มม.3 โดยตรวจพบอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือ

D เกร็ดเลือดตํ่ากว่า 100,000 เซลล์/มม.3 โดยไม่ใช่สาเหตุจากยา

10. Immunologic

A ตรวจพบ anti-native DNA (ds-DNA) ในขนาดที่สูงกว่าคนปกติ หรือ

B ตรวจพบ anti-Sm antibody หรือ

C ตรวจพบ antiphospholipid antibody โดย

(1) พบระดับ IgG หรือ IgM anticardiolipin antibody ในปริมาณที่สูงกว่าคนปกติ

(2) ตรวจพบ lupus anticoagulant ด้วยวิธีมาตรฐาน

(3) ตรวจ serology สำ หรับซิฟิลิสให้ผลบวกลวง เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งทำ การยืนยันด้วย treponema palladium immobilization หรือ fluorescent treponemal antibody absorption test

11. Antinuclear antibody พบ antinuclear antibody ด้วยวิธี immunofluorescence หรือการตรวจที่ เทียบเท่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในปริมาณที่สูงกว่าปกติ และต้องไม่ได้รับยาซึ่ง สามารถก่อให้เกิดกลุ่มอาการ drug-induced lupus

การวินิจฉัยว่าเป็นโรค SLE ผู้ป่วยจะ ต้องมีข้อวินิจฉัยจำ นวน 4 ข้อ หรือมากกว่า จากจำนวนทั้งหมด 11 ข้อ ซึ่งอาจตรวจพบตามลำ ดับหรือพร้อม ๆ กันในระหว่างการดูแลผู้ป่วยก็ได้

เกณฑ์วินิจฉัยดังกล่าว ให้ความไวในการวินิจฉัยโรค SLE 96% และมีความแม่นยำ 96%