Leptospirosis dx

Leptospirosis

การวินิจฉัยและการรักษา

ผู้เข้าข่ายสงสัย อาชีพหรือประวัติเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ร่วมกับ อาการไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง

หรือ กลุ่มอาการต่างๆตามภาวะแทรกซ้อนดังนี้

1.ไข้เฉียบพลัน +ไข้ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง ไม่มีตาตัวเหลือง(acute febrile illness)

2.ไข้เฉียบพลัน + ตาตัวเหลือง ตับโต กดเจ็บ ไตทำงานปกติ(acute acalculous cholecystitis)

3.ไข้เฉียบพลัน + ไตทำงานผิดปกติ UA,Cr,BUN ผิดปกติ

4.ไข้เฉียบพลัน + ตาตัวเหลือง + ไตทำงานผิดปกติ (Well’s syndrome)

5.ไข้เฉียบพลัน + ระบบประสาทผิดปกติ (meningitis, encephalitis)

6.ไข้เฉียบพลัน + อาการทางระบบหายใจ ไอ หอบ การหายใจล้มเหลว

DDX ต้องแยกออกจากโรคที่มีอาการคล้ายๆกัน

1.Commulity-acquired septicemia : E.coli, Kleibsella spp., Stap aureus : X-ray patchy infiltration

2.Septicemia Melioidosis มักเป็น ชาวนา มีเบาหวาน นิ่วร่วม

3.Scrup typhus

4.DHF ที่มีอาการรุนแรง

Etc.

การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ

1.การตรวจยืนยัน Darkfield exam, leptospira DNA โดย PCR หรือ

การเพาะเลี้ยงจากเลือด-น้ำไขสันหลัง 10 วันแรกที่มีอาการ หรือ จากปัสสาวะ นาน 30 วันหลังมีอาการ

ข้อเสีย ใช้เวลานาน ค่าใช้จ่ายสูง มีเฉพาะบางที่

2. serology หา Ab

-genus specific บาง serovar เป็นการตรวจคัดกรอง :

เทคนิคที่มีใช้ในประเทศไทยขณะนี้ ได้แก่ indirect haemagglutination assay (IHA) , indirect immunofluorescent antibody test (IFA) , macroscopic slide agglutination test (MSAT) , Leptodipstick test , microcapsule agglutination test (MCAT) และ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)

-serogroup specific : microscopic agglutination test(MAT) เป็นมาตรฐานในการตรวจ กรมวิทย์ ตรวจได้ 26 serovar

Positive titer>400 ครั้งเดียว หรือ เพิ่ม> 4เท่า ห่างกัน 3-7 วัน หรือมีอาการเข้าได้

หาก titer ต่ำ 1:50-1:100 และไม่พบ titer ขึ้น บ่งว่าติดเชื้อมานานแล้ว

ในระยะเฉียบพลับ 10% อาจตรวจไม่พบได้ หรือ พบบวกหลังจากมีอาการแล้วถึง 30 วันได้

เกณฑ์วินิจฉัยของ WHO : LEPTOSPIROSIS SCORE

  1. การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซีส :

คะแนนรวมในส่วน ก หรือ ข เท่ากับ 26 คะแนนขึ้นไป หรือ

ส่วน ก , ข และ ค รวมกันเท่ากับ 25 คะแนนขึ้นไป

  1. น่าจะเป็นผู้ป่วยแต่ไม่เป็นการยืนยัน : คะแนนตั้งแต่ 20 ถึง 25

  • เพื่อให้การใช้เกณฑ์องค์การอนามัยโลกในการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรซีสถูกต้อง มีประโยชน์และสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความไวและความจำเพาะได้ถูกต้องมากขึ้น จึงขอให้คำจำกัดความของอาการต่าง ๆ ที่บันทึกและใช้ในการวินิจฉัยในเกณฑ์ดังต่อไปนี้

    • ปวดศีรษะเฉียบพลัน หมายถึง อาการปวดศีรษะที่รุนแรง ซึ่งมีอาการพร้อมไข้หรือภายใจ 48 ชั่วโมง หลังมีไข้ มิใช่อาการปวดเรื้อรังที่เป็นมานาน

    • มีไข้ หมายถึง oral temperature > 38° C

    • ตาแดง หมายถึง เยื่อบุตาแดงทั้งสองข้าง (conjunctival suffusion or injection) หรือมี subconjunctival hemorrhage ข้างใดข้างหนึ่งคอแข็ง หมายถึง อาการแสดงของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (stiffneck)

    • ปวดกล้ามเนื้อ หมายถึง กดเจ็บที่กล้ามเนื้อ (muscle tenderness) โดยเฉพาะที่ กล้ามเนื้อน่อง

การรักษา

สำคัญคือ หากวินิจฉัยโรคได้เร็ว รักษาได้ทันท่วงที ผลการรักษาจะดีมาก

การรักษาจำเพาะ

อาการรุนแรง

Penicillin 1.5 mu iv q 6 hr *7 d

Ampicillin 1 gm iv q 6 hr *7 d

แพ้ให้ Doxycycline 200 mg/day iv 5-7 d(ไทยยังไม่มียาฉีด)

ไม่รุนแรงให้

Doxyxycline 100 mg bid * 7 d หรือ

Amoxicillin, ampicillin 500 mg qid 5-7 d

ในกรณีที่แยกโรคไม่ชัดระหว่าง scrub typhus กับ lepto. ให้ใช้ doxy ได้เลยคุมทั้งสองโรค

ยาใหม่ที่มาทดลองใช้ : cefotaxime, ceftriaxone มีความไวสูงใช้ได้เหมือนกัน แต่ยังไม่การศึกษาที่ชัดเจน

ในกรณีทีแยกจากโรคอื่นยาก

การให้ ceftriaxone 2 gm iv + Doxycycline(100) 1*2 pc

จะครอบคลุมทั้ง leptospirosis, community acquired pneumonia(CAP), scrub typhus ได้ด้วย

Ref.

http://med_sakolhospital.tripod.com/leptoh.html#อาการและอาการแสดง

http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000033/Leptospirosis.pdf

http://medinfo.psu.ac.th/pr/MedBoard/readboard.php?id=592

https://deepblue.lib.umich.edu/bitstream/handle/2027.42/49291/8_ftp.pdf

CAP: strep. pneumonia เป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยใช้ doxy

DOxy: รักษา atypical pneu: Chalmydia pneumonai, Legionella pneumophilus, Mycoplasma pneumonia