Post traumatic stress disorder

Postraumatic stress disorder [PTSD]

ความเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ พบได้เป็นอันดับ 4 ของโรคจิตเวชทั้งหมด

เรื่องราวเหตุการณ์สะเทือนขวัญ fearกลัว horrorหวาดหวั่น helplessnessช่วยเหลิอไม่ได้

1.ภัยธรรมชาติ ภูเขาไฟ สึนามิ แผ่นดินไหว

2.ภัยจากความก้าวหน้า ระเบิด กัมมันรังสีรั่วไหล

3.ภัยจากมนุษย์ ก่อการร้าย ทำร้ายร่างกาย อุบัติเหตุจราจร ทารุณทางเพศ ทหารเพื่อนเสียชีวิต

ผู้ที่รอดชีวิตยังมีโอกาสเป็นโรคทางจิดอื่นได้อีก เช่น ซึมเศร้า แพนิค ประสาทวิตกกังวล ใช้ยาติดสารเสพติด ทางกายก็ได้ หอบหืด ความดันสูง หรือ psychosomatic disorder ได้ง่าย

อาการ

กลัว สิ้นหวัง หวาดผวา รู้สึกผิด ละอายใจ โกรธ ไม่มีใครช่วย

ระยะแรก จิตใจช็อต เงียบเฉย งง ไม่ตอบสนอง สับสน เฉยชา ไม่แจ่มใส มักเป็นวันแรกๆ

อาการทีสำคัญ 3 อย่าง

1.Hyper-arousal อาการทางจิตใจ ตื่นตัว สะดุ้ง ตกใจง่าย ผวารุนแรง ไม่มีสมาธิ เครียดง่ายๆแม้เรื่องธรรมดา

2.Re experiencing รู้สึกบ่อยๆ ว่าจะเกิดขึ้นอีก เกิดภาพนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก นึกถึงแล้วนึกถึงอีก หวาดๆอยู่ตลอด อารมณ์แปรปรวน เหงื่อออกใจสั่นหายใจเร็ว เมื่อคิดถึง มีสิ่งกระตุ้นเช่น เสียคนตะโกน เสียงคลื่น เสี่ยงน้ำ เป็นต้น

3.Avoiding/numbing มักเลี่ยงเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่คิดไม่พูดเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ขับรถ กลัวน้ำ กลัวชายหาด เป็นต้น

โดยมีอาการดังกล่าวนานกว่า 1 เดือน

การวินิจฉัย

A. ผู้ป่วยเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ ดังนี้ ทั้ง 2 ข้อ

(1) ผู้ป่วยเป็นผู้ที่ได้รับ พบเห็น หรือเผชิญกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ

การเสียชีวิตหรือคุกคามต่อชีวิต หรือการบาดเจ็บสาหัส หรือคุกคามต่อสภาพร่างกายของตนเองหรือบุคคลอื่น

(2) ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ป่วยประกอบด้วย ความหวาดกลัวอย่างรุนแรง ความรู้สึกหมดหนทาง หรือ ความหวาดผวา

หมายเหตุ: ในเด็กอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สับสน หรือกระวนกระวาย แทน

B. มีความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจนี้อยู่ตลอด มีลักษณะดังต่อไปนี้ ตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป

(1) คิดวนเวียน

มีสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกข์ทรมานผุดขึ้นมาอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งประกอบด้วย มโนภาพ ความคิด หรือการรับรู้

หมายเหตุ: ในเด็กเล็ก อาจมีการเล่นซ้ำ ๆ โดยที่เนื้อหาหรือบางส่วนของเหตุการณ์แสดงออกมาในการเล่น

(2) ฝันร้าย

มีความฝันที่ทำให้ทุกข์ทรมานอยู่ซ้ำ ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์

หมายเหตุ: ในเด็ก อาจมีฝันร้ายที่น่ากลัวโดยที่จำเนื้อหาไม่ได้

(3) รู้สึกกลับไปอยู่ในเหตุการณ์อีก

มีการกระทำหรือความรู้สึกเสมือนหนึ่งเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจเกิดขึ้นมาอีก (ประกอบด้วยความรู้สึกว่าตกอยู่ในเหตุการณ์อีกครั้งหนึ่ง, illusion, อาการประสาทหลอน และ dissociative flashback episodes ซึ่งรวมถึงกรณีที่เกิดขณะเพิ่งตื่นหรือเคลิ้มจากสาร)

(4) ทุกข์ใจเครียด เวลานึกถึง หรือ เจอสิ่งเร้า

มีความทุกข์ทรมานใจอย่างมากเมื่อเผชิญกับสิ่งที่มาทำให้ระลึกถึง ซึ่งอาจมีความหมายต่อจิตใจหรือเป็นจากสถานการณ์ภายนอกโดยตรง ซึ่งมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์หรือคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ

(5) มีอาการทางกาย เวลานึกถึง หรือ เจอสิ่งเร้า

มีปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายเมื่อเผชิญกับสิ่งที่มาทำให้ระลึกถึง ซึ่งอาจมีความหมายต่อจิตใจหรือเป็นจากสถานการณ์ภายนอกโดยตรง ซึ่งมีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์หรือคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ

C. มีการหลีกเลี่ยงอยู่ตลอดต่อสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ และการตอบสนองทั่วไปจะเป็นแบบมึนเฉย (ไม่พบลักษณะนี้ก่อนเกิดเหตุการณ์) โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป

(1) พยายามเลี่ยงความคิด ความรู้สึก หรือการสนทนาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น

(2) พยายามเลี่ยงกิจกรรม สถานที่ หรือบุคคลที่กระตุ้นให้ระลึกถึงเหตุการณ์นั้น

(3) ไม่สามารถระลึกถึงส่วนที่สำคัญของเหตุการณ์นั้น

(4) ความสนใจหรือการเข้าร่วมในกิจกรรมที่สำคัญต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก

(5) รู้สึกแปลกแยก หรือเหินห่าง ไม่สนิทสนมกับผู้อื่น

(6) ขอบเขตของอารมณ์ลดลง ไร้อารมณ์(เช่น ไม่สามารถมีความรู้สึกรักชอบใครได้)

(7) มองอนาคตไม่ยาวไกล ไม่คิดว่าต้องทำอะไรต่อ(เช่น ไม่คิดหวังจะมีงานทำ แต่งงาน มีลูก หรือมีอายุยืนยาวตามปกติวิสัย)

D. มีอาการของภาวะตื่นตัวมากอยู่ตลอด (ไม่พบลักษณะนี้ก่อนเกิดเหตุการณ์) โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ตั้งแต่สองข้อขึ้นไป

(1) นอนหลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ

(2) หงุดหงิด โกรธง่าย หรือแสดงความโกรธออกมาอย่างรุนแรง

(3) ตั้งสมาธิลำบาก

(4) มีความระวังระไวมากกว่าปกติ

(5) สะดุ้งตกใจมากเกินปกติ

E. ระยะเวลาของความผิดปกติ (อาการตามเกณฑ์ข้อ B,C, และ D) นานกว่า 1 เดือน

F. อาการเหล่านี้ก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆ ที่สำคัญ บกพร่องลง

ประเภทของ PTSD ให้ระบุ

Acute: หากระยะเวลาที่มีอาการน้อยกว่า 3 เดือน

Chronic: หากระยะเวลาที่มีอาการ ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

With Delayed Onset: หากเริ่มมีอาการอย่างน้อย 6 เดือนหลังมีความกดดัน

DDX

· Acute stress disorder

· Adjustment disorders

· Panic disorder

· Generalized anxiety disorder

· Major depressive disorder (MDD)

· Attention-Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD)

· Substance use disorders

· Dissociative disorders

· Conduct disorder

· Borderline or other personality disorder

· Schizophrenia or other psychotic disorder

· Malingering

· Factitious disorder

การรักษา

การใช้ยา

1.Antidepressant

-SSRI selective serotonin reuptake inhibitors :Sertraline, Fluoxetine, paroxetine และ venlafaxineXR

เริ่มขนาดต่ำ ปรับจนอาการดีขึ้นแล้วคงไว้ 6-12 เดือน อาการสงบค่อยๆลดยาแล้วหยุดยา

ยา Sertraline, Fluoxetine ได้รับยายอมรับใน USA ให้ใช้รักษาได้

2. Adrenergic block agents สำหรับเด็กสมาธิสั้น

3. Antianxeity medicatoion: diazepam ,propanolol ไม่แนะนำให้ใช้ในโรคนี้

หากนอนไม่หลับแนะนำให้ใช้ Tricyclic antidepressants

การรักษาแบบอื่นๆ

-Hypnosis สะกดจิต

-Psychotherapy

-anxeity management program

-Group therapy

Ref.

1.http://www.ramamental.com/dsm/

2.http://www.ramamental.com/dsm/posttraumatic_stress_disorder.htm

3.http://www.psyclin.co.th/new_page_62.htm