Wolff Parkinson White syndrome

Wolff-Parkinson-White syndrome

เมื่อไหร่สงสัย WPW

เมื่อ EKG QRS กว้างกว่า 3 ช่อง พบ delta wave

Delta wave ส่วนของขา R wave ที่ยกขึ้นจะมีลักษณะยึดและโค้งขึ้น

ทำให้ QRS กว้างขึ้นกว่าปกติ

WPW

อยู่ในกลุ่ม pre-excitation syndrome ของหัวใจ

โดยมี congenital accessory pathway ผิดปกติ ทำให้เกิด tachyaahythmia เป็นช่วงๆ

incidence

พบ 1-30 ต่อ 10,000 ราย

มีความเสี่ยงน้อยต่อการเสียชีวิต ไม่เหมือน Brugada มีความเสี่ยงสูง

สาเหตุ

สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถพบไ้ด้ตั้งแต่กำเนิด

Pathophysiology

มีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจาก atrium ไป ventricle ผ่าน acessory pathway และกระตุ้นให้ ventricle เริ่มเต้นก่อนที่กระแสไฟจาก AV node มาถึง ทำให้เกิด ventricular preexcitation เกิดเป็น delta wave และทำให้ QRS กว้างขึ้น

เส้นทางลัด คือ accessory electrical conduction pathway(bundle of Kent) หรือ arterioventricular bypass tract

มีความสามารถการนำไฟฟ้าได้จาก atrium ไป ventricle หรือกลับขึ้นไป atrium ได้หรือ ทั้งขึ้นและลงได้

retrogradeเกิด 15%, antegrade อย่างเดียวพบน้อยมาก

ทิศทางการนำไฟฟ้าเห็นได้ในช่วง sinus rhythm ที่มี tachyarrhythmias จากการ reentry circuit เรียก atrioventricular reentry tachycardias(AVRT)

การคงอยู่ของ WPW-EKG

ช่วงเวลาปกติอาจไม่พบ หรือ อาจพบเป็นครั้งคราวได้

pre-excitation อาจทำให้เกิดได้โดยการ เพิ่ม vagal tone เช่น การทำ Valsava maneuver, ยาที่ทำให้ AV block etc.

Atrioventricular reentry tachycardias(AVRT)

เป็นรูปแบบของ paroxymal supraventricular tachycadia สามารถกระดุ้นได้จาก premature atrial และ premature ventricular beat ซึ่งการ reenty สามารถเกิดได้ทั้งจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบน

เมื่อไหร่สงสัย WPW

เมื่อ EKG QRS กว้างกว่า 3 ช่อง พบ delta wave

delta wave เกิดได้อย่างไร

ปกติ AV node เป็นตัว delay สัญญาน แต่ accessory pathway ไม่มี delay จึงมาถึงก่อน

ทำให้ QRS เริ่มค่อยๆยกตัวก่อนที่ QRS จริงมาถึง

เกณฑ์การวินิจฉัย(จาก AHA and ACC guideline)

1.PR interval < 0.12 sec.

2.slurred initial QRS comples เรียกว่า delta wave (alurring slow rise ช่วงเริ่มQRS)

3.QRS complex กว้าง > 0.12 sec.

4.ST segment-T wave discordant มักตรงข้ามกับ delta wave และ QRS complex

ปล. พบ pseudo infarction pattern ประมาณ 70%: pseudo Q wave(negative delta wave), prominent R wave in v1-3(คล้าย posterior infarction)

แบ่งได้ 2 ชนิด ดูที่ precordial lead(V1-V6)

Type A. Delta wave และ QRS เป็นบวกทุก lead, R/S > 1 in V1 (Rใหญ่ มักสับสนกับ RBBB)

Type B. Delta wave และ QRS เป็นลบ in V1,V2 ที่เหลือเป็น บวก (มักสับสนกับ LBBB)

Type A : WPW R หัวตั้งทุก lead

Type B: WPW R หัวปลัก ก่อน หัวตั้ง

Differential Dx จาก *EKG*

Type A :จะคล้าย RBBB, rt ven. hypertrophy, post. MI

Type B :จะคล้าย LBBB, anterion MI

ลักษณะอาการทางคลินิก

clinical presentation

1. Incidental ตรวจพบโดยบังเอิญ ไม่มีอาการ

2. Tachyarrhythmia หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ มักเป็นๆหายๆ ตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยกลางคน ส่วนน้อยพบครั้งแรกในคนอายุมาก มาด้วยอาการ ใจสั่น เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ เหนื่อย วิตกกังวล จะเกิดแบบ acute onset นานหลายวินาทีถึงหลายชั่วโมง หากอาการรุนแรง เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก เสียชีวิตได้

การรักษา

1.รักษาด้วยยาเมื่อมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ

2.Ablation therapy

Ref.

1.http://www.uptodate.com/contents/wolff-parkinson-white-syndrome-beyond-the-basics#H5

2.http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/WPW_1.pdf

3.http://lifeinthefastlane.com/ecg-library/pre-excitation-syndromes/

4.http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/WPW_1.pdf