Brain Death ความหมาย

อนุสนธิจากการประชุมโต๊ะกลม เรื่องการตายทางการแพทย์และการตายทางกฎหมาย

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2531 แพทย์และนักกฎหมายจากสถาบันต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้เห็นพ้องต้องกันว่า

บุคคลผู้ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าสมองตาย ถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตาย และกำหนดนิยามของอาการ

‘สมองตาย’ ไว้ว่า หมายถึง การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป

คณะกรรมการแพทยสภา

ออกประกาศแพทยสภา ที่ประชุม คณะกรรมการแพทยสภา

ครั้งที่ ๑๐ / ๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓

ประกาศแพทยสภาที่ ๗ /๒๕๕๔เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการวินิจฉัยสมองตาย

อนึ่ง ผู้ป่วยที่สมองตายและแพทย์ได้ทำการยุติการช่วยชีวิตแล้วนั้น สามารถนำอวัยวะไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ตาม ‘ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2538 ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกรรม พ.ศ.2523’ ข้อ 3 โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ด้วย

‘สมองตาย’ แปลง่ายๆ ว่า ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยคนใดสมองตาย ย่อมเท่ากับผู้ป่วยคนนั้นตายจากไปแล้ว

“เกณฑ์สมองตาย ต้องมีข้อวินิจฉัยชัดเจนว่า สมองถูกทำลายโดยไม่สามารถเยียวยาได้

ขั้นที่หนึ่ง จะตรวจสอบจากอาการที่ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ

-โดยมีสาเหตุชัดเจน เช่น การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ และ

-สภาวะนั้น ต้องไม่มีหนทางเยียวยาได้ (irremediable and irreversible structural brain damage)

ขั้นที่สอง ต้องไม่มีภาวะ ที่ผู้ป่วยได้รับสารพิษหรือยาต่างๆ อุณหภูมิด่ำ โรคต่อมไร้ท่อ หรือ ช๊อค

ต้องผ่านสองข้อนี้ คือไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ

บางทีจะให้แน่ชัดต้องอาศัยเวลา ต้องทอดเวลาไปขั้นต่ำก็ 6 ชั่วโมง เพื่อให้มีการยืนยันชัดเจน

ดังนั้น ส่วนใหญ่จะต้องผ่านขั้นตอนการรักษาจนถึงที่สุดก่อน

ขั้นตอนสาม คือการทดสอบการทำงานของก้านหรือแกนสมอง

เพราะ แกนสมองเป็นจุดศูนย์กลางของสมอง ถ้ามันสูญเสียโดยถาวรแล้ว สมองส่วนอื่นๆ ก็ไม่สามารถทำงานต่อได้

แต่ความเป็นจริงแล้ว

สมองส่วนที่จะสูญเสียเป็นอันดับสุดท้ายก็คือแกนสมองนั่นแหละ ฉะนั้น เราจึงใช้เกณฑ์การตรวจแกนสมองเป็นหลัก

การตรวจแกนสมอง

ที่เราตรวจหลักๆ คือ การตรวจการไม่หายใจ

เพราะว่าศูนย์การหายใจเป็นตัวสำคัญของชีวิต

ถ้าไม่ทำงานโดยถาวรแล้ว ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

ซึ่งถ้าตรวจแล้วพบว่าศูนย์การหายใจสูญเสียถาวร ทั่วโลกก็ยอมรับว่าสมองตายและเสียชีวิตแล้ว

โดยจะมีการตรวจ 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 6 ชั่วโมง

ถ้าอายุต่ำกว่า 18 ถึง 1 ขวบ ก็ 12 ชั่วโมง ต่ำกว่า 1 ขวบก็ 24 ชั่วโมง

เพราะพวกที่อายุน้อย สมองอาจจะมีความทนทานมากกว่า

เมื่อสมองตายแล้ว หัวใจอาจจะยังเต้นอยู่หากได้รับการกระตุ้น

แต่ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ หัวใจจะหยุดเต้นภายใน 3 วัน

เพราะแกนสมองคือส่วนที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ

ประโยชน์ที่ได้จากการกำหนดเกณฑ์สมองตาย คือ

ผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าสมองตายนั้น ในระยะแรก อวัยวะต่างๆ จะยังทำงานได้ดี

หากพูดคุยกับทางญาติผู้ตายและยินยอมให้บริจาคอวัยวะ

อวัยวะจากผู้ป่วยสมองตายซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1,000 รายต่อปี ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยคนอื่นๆ

นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าว

Ref.

https://mgronline.com/live/detail/9520000143392

https://sites.google.com/site/neurosun/สมองตาย