Psoriasis

โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) เป็นโรคที่เกี่ยวกับ inflammatory disorder ผิวหนังมีการแบ่งตัวผิดปกติ ( hyperliferative) เกิดจากสาเหตุอะไรยังไม่ทราบแน่ชัดมีการระบุสาเหตุไว้หลายอย่าง เช่น เกิดจากพันธุกรรม, เกิดจากได้รับยาบางประเภท (ได้แก่ lithium, beta-blocker, antimalarials, NSAIDs) , เกิดจาก corticosteriod withdraw

stepped-care therapy ในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ถ้า step แรกไม่ได้ผลให้เปลี่ยนเป็น step 2 และ step ต่อๆไปตามลำดับดังนี้

Step 1 : Emollients and keratolytics โดย emollients ที่ใช้ควรเป็น oil-in-water emulsion เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว และ keratolytics ได้แก่ salicylic acid 6%, lactic acid 5-12 % เพื่อเร่งการหลุดลอกของสะเก็ด

Step 2 : Coal tars กลไกยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าจะไปลดการแบ่งเซลล์ (antimitotic effect)

Step 3 : Topical corticosteroids เช่น clobetasol dipropionate0.05%, Betamethasone diproprionate 0.05% มีทั้งรูปแบบ cream และ ointment ส่วนจะเลือกรูปแบบใดขึ้นกับบริเวณที่ทาด้วย

*ลำดับรูปแบบการดูดซึม topical steroid จากมากไปน้อย ดังนี้ gel > ointment > cream > lotion*

Step 4 : Anthralin มีผลลดการแบ่งตัวของเซลล์

Step 5 : Antimicrobial therapy ทั้ง oral และ topical antifungal และ antibacterial เพราะเชื่อว่าการติดเชื้อ Streptococcus sp. อาจทำให้เกิดสะเก็ดเงินได้

Step 6 : Phototherapy โดยใช้แสง UVB ความยาวคลื่นที่ดีที่สุดในการรักษาสะเก็ดเงิน คือ 313 nm

Step 7 : UVB + crude coal tar (มักเรียกว่า Goeckerman regimen)

Step 8 : Photochemotherapy โดยการให้ photoactive drugs เช่น Psoralen (PUVA), 8-methoxypsoralen ก่อนได้รับ UVA 2 ชั่วโมง

Step 9 : Systemic therapy ได้แก่ vitamin A analogs (etretinate, acitretin), Methotrexate, Cyclosporin

ส่วนการรักษาโรคสะเก็ดเงินโดยการใช้ วิตามิน ดี3 (Calcitriol) ชนิดรับประทาน นั่นพบว่า มีรายงานก่อนหน้านี้ ใน Medical Journal of Osaka University, 1985; 35:51-54 ที่มีการใช้ วิตามิน ดี3 ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ในผู้ป่วยโรคสะเก๊ดเงิน พบว่า ไม่สามารถทำนายอาการไม่พึงประสงค์ของวิตามิน ดี3 ได้ เนื่องจากให้ระดับแคลเซียมในเลือดของสูง เสี่pงต่อการเกิดนิ่วในไตได้

http://drug.pharmacy.psu.ac.th