Vitamin B1

VItamin B1 หรือ Thiamine

ข่าว 6 ลูกเรือประมง จับนกสีดำกินกลางทะเล ทยอยตายไร้สาเหตุ 1/2559

ทุกคนมีอาการ กินไม่ได้ ท้องอืด หายใจไม่ออก อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง บวม ชาแขนขา

เหนื่อย แน่นหน้าอก และเสียชีวิต

พิสูจน์พบว่า เกิดจากการขาด vitB1

หน้าที่วิตามินบี 1

1.เป็นตัวเร่ง(coenzyme) ในการเผาผลาญ carbohydrate, protein, fat ให้เป็นพลังงาน

2.ระบบประสาท ช่วยนำกระแสความรู้สึก

B1 deficiency : BERIBERI

บุคคลที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

1. ทารกที่กินนมจากแม่ที่ขาดวิตามินบี 1 หรือ กินนมกระป่องที่มีวิตามิน B1 ไม่เพียงพอ

2. ชาวประมงออกเรือ ในทะเลนานๆ

3. กินอาหารที่ต้านฤทธิ์ วิตามิน B1

4. ผู้ที่มีเมตาบอลิซึมสูง

-เด็กกำลังโต หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร

-ออกกำลังกายมาก คนทำงานหนัก

-โรคติดเชื้อ เครียด ผ่าตัด ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

5. การดูดซึมจากลำไส้ลดลง หรือ เสียB1 โรคตับ ยาขับปัสสาวะ ท้องร่วง เป็นต้น

แหล่งอาหาร

มีมากในเนื้อหมู

ข้าวซ้อมมือ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วดำ งา

ระวัง

ข้าวขัดสีมี B1 น้อยมาก

ข้างเหนียวแช่ค้างคืนทิ้งน้ำ มีB1 น้อยมาก

อาหารที่ทำลาย ฺB1

1.สารแบบทนร้อน ได้แก่ กรดแทนนิก กรดคาเฟอิก สารจะไปรวมกับ B1 ทำให้เสียโครงสร้างไป

พบใน ชา กาแฟ ผักผลไม้บางชนิด เช่น ใบชา ใบเมี่ยง หมาก พลู

2.สารแบบไม่ทนร้อน ได้แก่ thiaminase

พบใน ปลาน้ำจืด ปลาร้า และ หอยลาย ยิ่งถ้ากินดิบน้ำย่อยปลาจะทำลายปี1

การขาด VitB1ทำให้เกิดโรคเหน็บชา BeriBeri

โรคขาด B1 ในผู้ใหญ่ เด็กโต

โรคขาด B1 ในเด็กเล็ก

มี 3 แบบ

1.Dry beriberi (paralytis or nervous)

ชา-ไม่บวม-ไม่มีแรง

ชาปลายมือปลายเท้า

กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีแรง นั่งยองลุกขึ้นเองไม่ได้

ไม่บวม

2.Wet beriberi (cardiac)

ชาปลายมือปลายเท้า

บวม น้ำคั่งในท้อง ช่องปอด หอบเหนื่อย หัวใจโตเต้นเร็ว หัวใจวายเสียชีวิตได้

3.Wernicke-Korsakoff syndrome (cerabral) พบบ่อยใน ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง

อาการทางสมอง 3 อย่าง

-การเคลื่อนไหวลูกตาทำได้น้อยหรือไม่ได้เลย

-เดินเซ

-ความผิดปกติทางจิตใจร่วมด้วย เรียกว่า Korsakoff’s psychosis

การรักษา

Vitamin B1 100 mg iv ช้าๆ เช่น ใน 24 ชั่วโมงดีกว่าให้ใน 1 ชั่วโมง

Infantile beriberi

พบในเด็ก 2-3 เดือน ที่กินนมแม่ที่ขาดวิตามิน B1

ต้องระวังมากๆ เพราะมีโอกาสเสียชีวิตสูง

อาการ

กระวนกระวาย ร้องกวน เสียงแหบ ไม่มีเสียง

ท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน กินได้น้อย มือบวมเท้าบางราย

หอบเหนื่อย ตัวบวม หัวใจโต เต้นเร็ว ตับโต ทุกราย ชัก อาจตายได้ใน 2-3 ชั่วโมงถ้ารักษาไม่ถูกต้อง

การรักษา

Thiamine 25 mg iv ช้าๆ ตามด้วย 25 mg im

ให้ 20 mg วันละครั้ง จนอาการหายดี แล้วให้กิน ต่อ 10 mg หลายสัปดาห์

ส่วนมารดาให้ 50 mg im od 2-3 วันแรกด้วย

การวินิจฉัย

1.อาการ ประวัติการรับประทานอาหาร

2.วัดค่า % thiamin pyrophosphate effect TPPE

คนไทยตายจากการขาด “วิตามินบี 1” 12 คน

ในลูกเรือประมง

การขาดวิตามินบี 1 อย่างรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่รับการรักษาอย่างทันท่วงที

เช่น กลุ่มลูกเรือประมงที่ต้องออกจับปลาในทะเลมหาสมุทรนานเป็นเดือน

โดยในช่วง 3 - 5 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยขาดวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงในกลุ่มลูกเรือประมงหลายเหตุการณ์ การเตรียมความพร้อมก่อนออกเรือประมง โดยให้จัดเตรียมอาหารทดแทนวิตามิน บี 1 เช่น ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วลิสงดิบ ข้าวโพด ลูกเดือย ฯลฯ นำขึ้นไปเก็บสำรองไว้บนเรือด้วย

หากพบลูกเรือประมงเริ่มมีอาการเบื้องต้นของการขาดวิตามินบี 1 ให้เริ่มให้วิตามินบี 1 ชนิดเม็ดรับประทานทันที หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบนำลูกเรือประมงเข้าพบแพทย์โดยทันที

เมื่อออกกำลังมาก กินอาหารที่ทำลาย บี 1 เช่น ปลาร้า ก็มีโอกาสเกิดภาวะขาดวิตามินบี 1 และยิ่งหากไม่มีการเติมบี 1 เข้าร่างกาย โดยปกติร่างกายจะสะสมและนำมาใช้ ซึ่งเฉลี่ยวิตามินบี 1 จะหมดจากร่างกายไปภายใน 30 วัน

อาการขาดวิตามินบี 1

จะเริ่มต้นด้วยการมีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องผูก เป็นตะคริวบ่อยขึ้น

หากมีอาการรุนแรงจะทำให้มีอาการแขนขาไม่มีแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หอบเหนื่อย หัวใจโต หัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้

ภาวะขาดวิตามินบี 1 เป็นภาวะที่สามารถป้องกันได้

ด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช อาทิ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วลิสงดิบ เป็นต้น

สำหรับในประชาชนทั่วไป

สาเหตุที่ทำให้ขาดวิตามินบี 1 มีหลายสาเหตุ

1.ในผู้ที่ออกกำลังมาก

2.กินอาหารที่ทำลายวิตามินบี 1

เช่น อาหารดิบๆ

3.ภาวะติดเชื้อหรือการเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างที่สูญเสียวิตามินบี 1

เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง ไตวายที่ต้องล้างไต ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น

การรักษา

การเสริมวิตามินบี 1 ซึ่งในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีทั้งชนิดรับประทานขนาด 10-100 มิลลิกรัม ชนิดฉีด 100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

วิตามิน บี 1 ขนาด 10 - 100 มก. ทั้งประเภทกินและประเภทฉีดมีอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติตั้งแต่ก่อนปี 2540 สำหรับวิตามิน บี 1 จะใช้ในเป็นตัวช่วยในการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเหน็บชา เหนื่อยง่าย ใจสั่นเป็นระยะเวลานาน ดังนั้น ขนาดการใช้ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ขาด และยาตัวดังกล่าวมีใช้อยู่ในโรงพยาบาลรัฐทุกโรงพยาบาลและในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนก็สามารถซื้อไปใช้ได้ อีกทั้งยาตัวนี้มีราคาค่อนข้างถูกมีขายทั่วไปตามร้านขายยา ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย

“ทั้งนี้ สำหรับผู้บริโภคที่คิดว่าขาดวิตามินบี 1 ควรเลือกรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มในเรื่องวิตามินบี 1 ตามธรรมชาติก่อน และสำหรับผู้ที่เป็นโรคที่ทำให้ขาดวิตามิน บี 1 และกำลังใช้ยาดังกล่าวอยู่ อาจจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมของตัวยา เช่น อาหารสุกๆ ดิบๆ เมี่ยง ชา กาแฟ เป็นต้น ก็จะช่วยในเรื่องการขาดได้”

จากผู้จัดการรายวัน 19/12/2559

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000126095

ref.

http://manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=959000000500

http://www.med.cmu.ac.th/dept/nutrition/DATA/COMMON/B1%20def.pdf