Tonsillar Concretion / tonsillolith

ขี้ไคลทอนซิล : Tonsillar Concretion

ต่อมทอนซิล มีอยู่ 3 ตำแหน่ง

1. พาลาทีนทอนซิล (palatine tonsil) ต่อมที่เราเห็น จะอยู่ด้านข้างของช่องปาก

2. ที่บริเวณโคนลิ้น (lingual tonsil)

3. ที่ช่องหลังโพรงจมูก (adenoid tonsil)

Wikipedia

Tonsils เป็นกลุ่มระบบน้ำเหลือง เรียกว่า Waldeyer's tonsillar ring

มี

1.adenoid tonsil อยู่ที่ roof ของ nasopharynx ใต้กระดูก sphenoid

2.two tubal tonsils อยู่ที่ทางเปิด auditory tube ที่เข้าสู่ nasapharynx

3.two palatine tonsils อยู่ในช่องปาก ที่เราเห็นด้านในเวลาอ้าปาก

4.lingual tonsils อยู่ที่ด้านหลังโคนลิ้น

ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อ immune system.

ขี้ไคลทอนซิล (tonsillar concretion)

ในซอกหลุม มีการตายและหลุดลอกของเซลล์ออกมาเป็นขี้ไคล

มีแบคทีเรีย, เม็ดเลือดขาวและเอ็นไซม์ในน้ำลายเข้าไปย่อยสลาย

เกิดเป็นสารคล้ายเนย สีเหลือง ขาวสะสมอยู่

ก้อนแคลเซียม(tonsillolith) หรือ ก้อนหิน (tonsil stone)

สารที่สะสมแล้วมีการเกิด mineralization มีแคลเซียมมาเกาะของ debris

ในรอยแยกของต่อมทอนซิล อยู่ในร่องของต่อมทอนซิลได้

ใน tonsils stone จะมี biofilm ประกอบด้วย bacteria จำนวนมาก

และทำให้มีกลินเหม็นได้

สาเหตุ

Paratine Tonsils จะมีร่อง หรือซอก (crypts)

-ทำให้เศษอาหารอาจเข้าไปติด หรือตกค้างได้

-เซลล์ที่บุร่องหรือซอกนั้น อาจมีการตาย และหลุดลอกออกมา

คล้ายกับเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุด ที่มีการหลุดออกมาเป็นขี้ไคล

แล้วมีแบคทีเรีย เม็ดเลือดขาว น้ำลายย่อยสลาย

ขี้ไคลทอนซิล อาจทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้

1) ความรำคาญ เหมือนมีอะไรติดๆ อยู่ในลำคอ อาจเจ็บคล้ายก้างปลาติดคอ

2) ทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ เจ็บคอเป็นๆ หายๆ

3) ทำให้มีกลิ่นปาก

4) ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่หู หรือ ไอเรื้อรังได้บางราย

ปัญหาดังกล่าวมักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

เมื่อก้อนดังกล่าวในร่องของต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่กว่าที่ร่องจะรับได้ ก็อาจหลุดออกมาเองได้

หรือเมื่อผู้ป่วยไอ หรือขากเสมหะแรงๆ อาจหลุดออกมาให้เห็นได้

สาเหตุ ปัจจัยกระตุ้น

- ไม่ทราบแน่ชัด

- เนื่องจากบางราย มีร่องหรือซอกของพาลาทีนทอนซิล ทั้งมาก และลึก แต่กลับไม่เกิดปัญหา

แต่ บางรายมีร่องหรือซอกของพาลาทีนทอนซิล ไม่มาก และตื้น แต่กลับเกิดปัญหาขี้ไคลทอนซิลมาก

-มีจำนวนผู้ป่วยไม่น้อย ที่ไม่ทราบว่าตนมีขี้ไคลทอนซิล เนื่องจากไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาข้างต้นมากนัก และมาตรวจพบโดยบังเอิญ

ตรวจร่างกาย

พบก้อนสีขาวเหลือง ตามซอกหลืบของต่อมทอลซิล

Tonsillar Concretion vs Tonsillitis

-tonsillitisส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อ

-ขี้ไคลทอลฃิล สามารถทำให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบเป็นๆหายๆได้

เนื่องจากอาจไปอุดกั้นการระบายสารคัดหลั่งจากต่อมทอนซิล

-ผู้ป่วยขี้ไคลทอนซิลหลายราย ก็ไม่เคยเกิดปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบเลย

ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างขี้ไคลทอนซิล และการอักเสบของต่อมทอนซิลเป็นๆหายๆนั้น จึงยังไม่ทราบแน่ชัด

ขี้ไคลทอนซิล : Tonsillar Concretion อันตรายหรือไม่

- ขี้ไคลทอนซิลนั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะไม่เป็นอันตรายใดๆต่อผู้ที่มี แต่อาจทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวข้างต้น

- ซึ่งอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเสียไป เช่น อาจรู้สึกไม่มั่นใจ เวลาพูดกับผู้อื่น เนื่องจากมีกลิ่นปาก

การป้องกัน

-ไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร รวมทั้งโรคกรดไหลย้อนไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคนี้

-แต่ผู้ป่วยอาจสังเกตเองได้ว่า มีพฤติกรรมในการรับประทานอะไร ที่อาจกระตุ้นทำให้มีขี้ไคลทอนซิล

หรือมีปัญหาที่เกิดจากขี้ไคลทอนซิลมากขึ้น ก็ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั้น

การรักษา มี 2 วิธี คือ วิธีไม่ผ่าตัด และวิธีผ่าตัด

1) วิธีไม่ผ่าตัด ได้แก่

- การกลั้วคอแรงๆ หลังรับประทานอาหารด้วยน้ำยากลั้วคอ, น้ำเกลือ หรือน้ำเปล่าธรรมดา

ซึ่งอาจจะช่วยให้ขี้ไคลทอนซิลหลุดออกมาได้ง่ายขึ้น

- การใช้นิ้วนวดบริเวณใต้คางบริเวณมุมขากรรไกรล่าง (ซึ่งตรงกับบริเวณต่อมทอนซิล)

เพื่อให้ขี้ไคลทอนซิลดังกล่าวหลุดออกมา

- การใช้ไม้พันสำลี (cotton bud), ปลายของที่หนีบผม, เครื่องมือที่ใช้เขี่ยขี้หูออก (ear curette), แปรงสีฟัน เขี่ย หรือกดบริเวณต่อมทอนซิล เพื่อเอาขี้ไคลทอนซิลดังกล่าวออก

วิธีนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยทำเอง เนื่องจากอาจมองเห็นไม่ชัด อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณต่อมทอนซิล อาจเกิดแผล หรือมีเลือดออกได้ ควรให้แพทย์เป็นผู้เขี่ยออกให้

ผู้ป่วยบางราย อาจใช้นิ้วล้วงเข้าไปในช่องปาก แล้วกดบริเวณส่วนล่างของต่อมทอนซิล แล้วดันขึ้นบน หรือใช้ลิ้นดัน เพื่อให้ขี้ไคลทอนซิลหลุดออกมาได้

- ใช้ที่พ่นน้ำทำความสะอาดช่องปาก, ฟัน และลิ้น (water pick) ฉีดบริเวณต่อมทอนซิล อาจทำให้ขี้ไคลทอนซิลหลุดออก

2) วิธีผ่าตัด ได้แก่

- ใช้กรด trichloracetic acid หรือเลเซอร์ (laser tonsillotomy) เครื่องจี้ไฟฟ้า

จี้ต่อมทอนซิล เพื่อ เปิดขอบร่อง ปรับพื้นผิว หรือ ซอกของต่อมทอนซิลให้กว้าง

ไม่ให้เป็นซอกหลืบ ที่จะเป็นที่สะสมของสิ่งต่างๆได้อีก

ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ยาชาเฉพาะที่

- ผ่าตัดต่อมทอนซิลออก (tonsillectomy) เป็นการรักษาที่หายขาด

มักจะทำในกรณีที่ใช้วิธีดังกล่าวข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล

ที่มา

-http://www.rcot.org/2016/People/Detail/214

-https://www.blockdit.com/posts/5ed0713ac3f50d0cc277af2f

-https://en.wikipedia.org/wiki/Tonsil